انا لله وانا اليه راجعون
อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮิรอญีอูน
แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์
ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ ประธานมูลนิธิจุฬาราชมนตรี บุตรสาวของอดีตจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ ได้กลับคืนสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์แล้วเมื่อคืนวานนี้ และในวันนี้ได้มีการทำละหมาดญานาซะฮ์(ขอพรแด่ผู้วายชน์) เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลา 14.00น ที่ผ่านมา ณ มัสยิดฮารูน เขตบางรัก กรุงเทพฯ
ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านและขอให้ท่านรอดพ้นจากอะซาบในกูบุร อามีน
พิธีละหมาดญานาซะฮ์(ร่วมขอพรแด่ผู้วายชนม์)และฝังร่างท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ โดยมีคณะผู้แทนพระองค์ และพวงหรีดพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์พร้อมเครื่องขมาศพและดินพระราชทานมาในการนี้แด่ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์
ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ หรือชื่อภาษาอาหรับว่า ฮัจยะห์ อาบีบะห์ บินตี ฮัจยีอิสมาอีล เป็นบุตรของอดีตจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์(ฮัจยีอิสมาอีล สุวรรณศาสน์) และนางสาย สุวรรณศาสน์ เกิดวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2471 ปัจจุบัน อายุ 84 ปี อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯมาโดยกำเนิดและใช้ชีวิตในกรุงเทพฯตลอด แต่มีพ่อที่มีความเคร่งครัดศรัทธาในการปฏิบัติศาสนกิจและเป็นผู้ที่มีความรู้ ซึ่งทุก คนจะเรียกว่า“ครูต่วน” ท่านได้ให้ความรู้กับคนโดยทั่วไปตั้งแต่ท่านกลับมาจากนครมักกะห์ เพราะฉะนั้นจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านผู้หญิงเองก็ไม่ได้เรียนภาษาไทยเหมือนกัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีอะไรมากนัก ผู้หญิงก็ไม่ได้ออก จากบ้าน ก็จะอยู่ในบ้านในเรือน ปฏิบัติตามหลักศาสนาแต่คุณพ่อ(อาเยาะห์) เป็นคนที่มองการณ์ไกล เห็นประโยชน์ของการศึกษาจึงได้ส่งไปเรียนภาคสามัญ นอกบ้าน แต่ว่าอยู่ใกล้ๆกับบ้านนั้นเอง ตอนนั้นอายุ 7 ขวบ เรียนอยู่ที่โรงเรียนสุริวงศ์ ซึ่งเป็นชื่อถนน ถนนสุริวงศ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอประชุมอัยยูมันอิสลาม แล้วเข้ามาเรียนชั้นมัธยม5 และ 6 ที่โรงเรียนอัสสัมชันคอนเวนต์ ในปี2488 เรียนต่อที่โรงเรียนพาณิชยการพระนครตั้งอยู่ที่วังบูรพา3 ปี ก็จบสูงสุดของ อาชีวะความรู้ที่ได้ก็คือบัญชี การค้าและก็เศรษฐศาสตร์ แล้วก็พาณิชยการพระนครนี้สามารถเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้โดยไม่ต้องสอบ พอไปอยู่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ 6 เดือน แล้วก็จำเป็นต้องออก เพราะว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัยนั้นมีห้องประชุมเล็กมากที่เดียว เรียนได้เป็นรุ่นๆ ประมาณ 40-50 คนประมาณนี้ ที่ก็ไม่กว้างขวาง เวลาเราไปต้องมีเพื่อนจองที่ไว้ก่อน เพื่อนอยู่แถววัดคนละฝั่งกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขามาแต่เช้าแล้วก็จองที่ ให้เราแต่ว่าเราเกรงใจมากเพราะวันหนึ่งก็แล้ว สองวันก็แล้วเราไม่ได้ไปฟัง เลคเชอร์ เพราะฉะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย เพื่อนก็ทรมาน เราก็ทรมานใจที่ไม่ได้ไป แล้วก็คิดถึงเพื่อน ที่เพื่อนต้องทำประโยชน์ให้แก่เราแต่เรานั้นรับประโยชน์นั้น ไม่ได้ เรียนได้ 6 เดือนนั้น ก็มีความจำเป็นต้องออก แล้วจะเรียนต่อไปก็ไม่ไหว แล้ว ยิ่งเรียนสูงขึ้นงานก็ต้องมากขึ้น และต้องทำงานของตัวเองด้วย เพราะในปี นั้นคุณพ่อก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเป็นคนแรกของ พระราชบัญญัติ ท่านนั้นได้ตำแหน่งแต่ว่าไม่มีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งอะไรเลย นอกจากเงิน การประชุมคณะกรรมการกลาง แล้วก็เงินสำหรับท่านเป็นค่าตอบแทนท่าน เลขานุการก็ ไม่มี ค่าเครื่องเขียนใดๆ ก็ไม่มี วันหนึ่งท่านจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้บอกกับ คุณพ่อว่าอยากให้ลูกทำงานหน้าที่นี้ ถามคุณพ่อว่ามีลูกอยู่กี่คน ก็มีอยู่สองคน ลูกชายนั้นก็เรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย ส่วนลูกสาวนั้นก็เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่ท่านถามถึงเรื่องลูกนั้นเป็นเพราะตำแหน่งนี้ไม่มีค่าตอบแทน อยากได้ลูกมาทำหน้าที่เป็นเลขานุการ จึงมอบหน้าที่เลขานุการให้เราตั้งแต่ปี 2490 ทำงานได้หน่อยนึง ก็ต้องแต่งงาน ก็เป็นไปตามความเห็นของผู้ใหญ่ ซึ่ง บอกว่าถ้าเผื่อมีใครมาขอแล้วอยู่ในอีหม่าน ก็จะให้ แล้วเราก็ไม่ได้มีห่วงว่าเรามีใครอยู่เพราะฉะนั้นเราก็แต่งงานไปแล้วก็ทำงานไป
“เมื่อก่อนนั้นไม่สะดวกเหมือนกับเดียวนี้ ไม่มีรถ เราก็ได้รถประจำ ตำแหน่งจากสำนักนายกฯเอามาใช้อยู่คันหนึ่ง แล้วก็การทำพิมพ์หรือทำจดหมาย ราชการ เราก็ต้องขวนขวาย เท่ากับเราเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ทางกระทรวงให้ ความร่วมมือในการมาสอนให้ มาแนะนำ มาชี้ให้ว่าวิธีการติดต่อราชการเป็น อย่างไร เราเรียนที่พาณิชยการฯเราก็ได้ในเรื่องการพิมพ์ดีดมาแล้ว เพราะฉะนั้น เป็นการสะดวก เรามีพิมพ์อยู่เราก็ทำไป แล้วก็เรื่องของการถ่ายเอกสารมันก็ไม่ง่าย เหมือนเครื่องในปัจจุบัน เราก็ต้องทำเองทั้งหมด ก็ได้ความรู้จากกระทรวงมหาดไทยว่าอันนี้จะต้องทำอย่างนี้ ต้องติดต่ออย่างนี้ กระทรวงก็มีหลายกระทรวง ว่าจะไป ติดต่ออะไรที่ไหนก็แนะนำให้สักปีหนึ่ง เพราะว่าเราจะไปเรียนที่เขาตลอดก็ไม่ได้ เขาก็มีงาน พร้อมกับมีหน้าที่ติดตามท่านจุฬาฯ ไปต่างจังหวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปเยี่ยมราษฏรมุสลิม ช่วยท่านจุฬาฯจัดการพิมพ์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานฉบับความหมายภาษาไทยตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้เวลา13 ปี ในการถอดความหมายภาษาอาหรับเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเราก็ทำหน้าที่เลขานุการนี้มาโดยตลอดจนถึงท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 ปี2524 พอหลังจากหลังนั้นแล้วทางกระทรวงก็ให้รักษาการแทน 3 เดือน หลังจากนั้นก็งด เรื่องนี้ไม่รับตำแหน่งอะไรสักอย่างเดียว” ท่านผู้หญิง เล่าถึงการทำงานช่วงเริ่มต้น ที่ได้ทำงานช่วยคุณพ่อ(อาเยาะห์)
ท่านผู้หญิงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงเรียนและครูของโรงเรียนด้วยทั้งนี้เป็นเพราะว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เราสอนแบบชนิดที่ว่าให้ความช่วยเหลือคนที่ยากจนเด็กกำพร้าแล้วก็พ่อแม่ที่มีลูกมากตามเจตนาของเจ้าของที่ดินคือนายห้างเออี นานา ซึ่งเป็นพ่อของคุณเล็ก นานา แล้วเราก็ได้ทำอยู่เราทำก็ไม่ได้กำไรทำแล้วมันก็ขาดทุนแต่จำเป็นที่จะต้องทำเพราะว่าโรงเรียนมุสลิมในตอนนั้นมีไม่มากนักแต่ก่อนที่จะหมดตำแหน่งเลขาฯจุฬาฯก็ได้งานอีกอย่างหนึ่งคืองานผู้พิพากษาสมทบของกรุงเทพฯของศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางอยู่ตรงใกล้ๆสนามหลวงที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในสถานพินิจมีเด็กทั้งพุทธทั้งมุสลิมได้ไปจัดอบรมเด็กเรื่องศาสนาตลอดจนกระทั่งไปทำหอประชุมให้กับสถานพินิจบ้านการุณาและก็อบรมเด็กทุกวันอังคารโดยหาอาจารย์จากข้างนอกแล้วก็เดือนถือศีลอดเราก็จัดของไปซึ่งเป็นที่แรกที่เราจัดที่เกี่ยวกับนักโทษหรือเรื่องเด็กในสถานพินิจ เราก็เป็นรายแรกที่ทำกัน ตอนนั้นมุสลิมที่เป็นกรรมการ กับมุสลิมที่เป็นผู้พิพากษาสมทบในกรุงเทพฯก็มีน้อย เราก็ใช้ทุนของเราซื้อไปให้นำของหวานบ้าง อินทผลัม ของกินอะไรต่อมิอะไร ก็เท่ากับเราไปเผยแพร่อยู่ใน นั้น เป็นผู้พิพากษาสมทบตั้งแต่ปี 2519 เรียกว่าเป็น มุสลิมประมาณคนที่สองหรือสาม แต่เราเป็นผู้เริ่มใน เรื่องการทำงานนี้ จนกระทั่งสุดท้าย ต่อมาก็ขยายไป จังหวัดอื่นๆ
อุปสรรคการทำงานนั้นท่านผู้หญิงเล่าว่า“ในการทำงานที่มีอุปสรรคหรือเรื่องท้อก็มีมากบางครั้งเราน้ำตาร่วงแต่ก็คิดอีกทีว่าเราต้องสู้เพราะเราทำงานในด้านศาสนาหลายอย่างคนเราชอบก็มีไม่ชอบกันก็มากเพราะฉะนั้นเรื่องนี้เราต้องหนักแน่นถึงแม้ว่าเราจะโกรธเราก็ข่มเอาไว้เวลามันข่มไม่ได้ก็มีร้องไห้ต่อหน้าก็มีคือการทำอะไรมารยาทของมุสลิมเป็นมารยาทที่สอนให้ทุกคนนั้นอ่อนหวานดีทั้งต่อหน้าและลับหลังถ้าดีก็ดีต่อหน้าถ้าไม่ชอบก็บอกว่าไม่ชอบเลยแล้วคนอื่นก็ไม่ชอบด้วยไม่มีใครหรอกที่จะพูดอย่างงี้ยอกันไปก็ยอกันมาเพราะฉันนั้นความจริงเป็นเรื่องสำคัญให้คิดถึงอกเขาอกเราเขาทำให้เราดีใจอย่างไงเราก็ต้องให้ทำให้เขาดีใจอย่างงั้นในทางที่ถูกต้องไม่ไช่ทำไปเพราะเยินยอหรือทำให้เขารักเพราะฉะนั้นในฮาดิษของท่านนบีก็มีที่พูดว่าสิ่งที่ไม่ควรทำเนี่ย การที่ทำให้คนอื่นช้ำใจยังใง ให้นิ่งมากกว่าที่จะพูดออกไป”
ขอฝากถึงพี่น้องมุสลิมในเรื่องของการวางตัวของเราในเรื่องของมุสลิม ในเรื่องความเป็นอิสลาม จะพูดเฉพาะผู้หญิงน่ะ ผู้หญิงเป็นคนที่ต้องอยู่ในบ้านในเรือน เรียกว่าตลอดชีวิต ถ้ายังสาวโสดอยู่ก็ไม่ได้ทำงาน ข้างนอก ก็ต้องเก็บตัวอยู่ข้างใน แต่ถ้าเผื่อว่าเป็นคนที่สามารถที่แต่งงานได้ ก็ควรแต่งงาน ชีวิตเรามีหลาย ระดับด้วยกัน เราก็จะต้องวางตัวให้ถูกต้อง ถ้าเผื่อเราศึกษาในด้านศาสนาแล้วเราจะมองว่าอิสลามเราได้วาง ระเบียบแบบแผนไว้อย่างดี เป็นแต่เราเอาอันนั้น มาให้พวกเราเข้าใจเป็นระเบียบภาษาไทย ซึ่งจะมีหมด ตั้งแต่ด้านการแต่งกาย การพูดจาการเข้าสังคม ทุกอย่าง อะไรถูกอะไรผิด อะไรควรจะทำหรือไม่ควรจะทำ มีหมด เพราะฉะนั้นเราจะเป็นสตรีมุสลิมที่ดีก็ต้องวางตัวให้ดี ศึกษาเล่าเรียนในด้านนี้บ้างเราก็จะวางตัวเราถูกเวลาที่ เราเข้าสังคมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
24591-2524 เป็นเลขานุการจุฬาราชมนตรี ประมุขฝ่ายอิสลาม
2495-2512 เป็นผู้จัดการ ครูใหญ่ ครูโรงเรียนเอกชน ที่ได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียรัฐบาล
ซึ่งดำรงตำแหน่งนานที่สุด
2513-2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าเป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชน
กลาง ปัจจุบันคือศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
2526-ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี และรับงานจัดพิมพ์อัลกุรอานและ
ความหมายภาษาไทย ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินงาน
2538 ได้รับโล่เกียรติคุณ การคัดเลือกนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นประเภทนักสังคมสงเคราะห์
อาสาสมัคร
2539-ปัจจุบัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นลูกเสือผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการลูกเสือ
แห่งชาติ และส่งเสริมกิจการลูกเสือที่นับถือศาสนาอิสลาม และให้ความร่วมมือกับ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ จัดทำเอกสาร “แนวทางปฏิบัติ
ลูกเสือต่างศาสนากระทำมวลกิจกรรมร่วมกันฉันท์พี่น้อง”
รางวัลเกียรติยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
2510 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
2513 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้าและให้ใช้คำนำหน้านามว่า“คุณหญิง”
2519 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า
2522 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
2523 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
2526 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิดิยาภรณ์มงกุฏไทย
2528 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิดิยาภรณ์ช้างเผือก
2532 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า
2543 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และให้ใช้คำนำหน้านามว่า
“ท่านผู้หญิง”
2546 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปถมาภรณ์มงกุฏไทย
2548 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติ “รามกีรติ”
2551 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปถมาภรณ์ ช้างเผือก
www.facebook.com/BangyeeTik
www.thaimuslim.com/home/?p=3839
อินนาลิลลาฮ์ฯ ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ สตรีมุสลิมผู้ทุ่มเทให้ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
อินนาลิลลาฮ์ วะอินนาอิลัยฮิรอญีอูน
แท้จริงเราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และแท้จริงเราจะต้องกลับคืนสู่พระองค์
ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ ประธานมูลนิธิจุฬาราชมนตรี บุตรสาวของอดีตจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ ได้กลับคืนสู่ความเมตตาของอัลลอฮ์แล้วเมื่อคืนวานนี้ และในวันนี้ได้มีการทำละหมาดญานาซะฮ์(ขอพรแด่ผู้วายชน์) เป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลา 14.00น ที่ผ่านมา ณ มัสยิดฮารูน เขตบางรัก กรุงเทพฯ
พิธีละหมาดญานาซะฮ์(ร่วมขอพรแด่ผู้วายชนม์)และฝังร่างท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ โดยมีคณะผู้แทนพระองค์ และพวงหรีดพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์พร้อมเครื่องขมาศพและดินพระราชทานมาในการนี้แด่ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์
ท่านผู้หญิงสมร ภูมิณรงค์ หรือชื่อภาษาอาหรับว่า ฮัจยะห์ อาบีบะห์ บินตี ฮัจยีอิสมาอีล เป็นบุตรของอดีตจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์(ฮัจยีอิสมาอีล สุวรรณศาสน์) และนางสาย สุวรรณศาสน์ เกิดวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2471 ปัจจุบัน อายุ 84 ปี อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯมาโดยกำเนิดและใช้ชีวิตในกรุงเทพฯตลอด แต่มีพ่อที่มีความเคร่งครัดศรัทธาในการปฏิบัติศาสนกิจและเป็นผู้ที่มีความรู้ ซึ่งทุก คนจะเรียกว่า“ครูต่วน” ท่านได้ให้ความรู้กับคนโดยทั่วไปตั้งแต่ท่านกลับมาจากนครมักกะห์ เพราะฉะนั้นจึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านผู้หญิงเองก็ไม่ได้เรียนภาษาไทยเหมือนกัน เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีอะไรมากนัก ผู้หญิงก็ไม่ได้ออก จากบ้าน ก็จะอยู่ในบ้านในเรือน ปฏิบัติตามหลักศาสนาแต่คุณพ่อ(อาเยาะห์) เป็นคนที่มองการณ์ไกล เห็นประโยชน์ของการศึกษาจึงได้ส่งไปเรียนภาคสามัญ นอกบ้าน แต่ว่าอยู่ใกล้ๆกับบ้านนั้นเอง ตอนนั้นอายุ 7 ขวบ เรียนอยู่ที่โรงเรียนสุริวงศ์ ซึ่งเป็นชื่อถนน ถนนสุริวงศ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอประชุมอัยยูมันอิสลาม แล้วเข้ามาเรียนชั้นมัธยม5 และ 6 ที่โรงเรียนอัสสัมชันคอนเวนต์ ในปี2488 เรียนต่อที่โรงเรียนพาณิชยการพระนครตั้งอยู่ที่วังบูรพา3 ปี ก็จบสูงสุดของ อาชีวะความรู้ที่ได้ก็คือบัญชี การค้าและก็เศรษฐศาสตร์ แล้วก็พาณิชยการพระนครนี้สามารถเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้โดยไม่ต้องสอบ พอไปอยู่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ 6 เดือน แล้วก็จำเป็นต้องออก เพราะว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัยนั้นมีห้องประชุมเล็กมากที่เดียว เรียนได้เป็นรุ่นๆ ประมาณ 40-50 คนประมาณนี้ ที่ก็ไม่กว้างขวาง เวลาเราไปต้องมีเพื่อนจองที่ไว้ก่อน เพื่อนอยู่แถววัดคนละฝั่งกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เขามาแต่เช้าแล้วก็จองที่ ให้เราแต่ว่าเราเกรงใจมากเพราะวันหนึ่งก็แล้ว สองวันก็แล้วเราไม่ได้ไปฟัง เลคเชอร์ เพราะฉะนั้นไม่เป็นประโยชน์เลย เพื่อนก็ทรมาน เราก็ทรมานใจที่ไม่ได้ไป แล้วก็คิดถึงเพื่อน ที่เพื่อนต้องทำประโยชน์ให้แก่เราแต่เรานั้นรับประโยชน์นั้น ไม่ได้ เรียนได้ 6 เดือนนั้น ก็มีความจำเป็นต้องออก แล้วจะเรียนต่อไปก็ไม่ไหว แล้ว ยิ่งเรียนสูงขึ้นงานก็ต้องมากขึ้น และต้องทำงานของตัวเองด้วย เพราะในปี นั้นคุณพ่อก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเป็นคนแรกของ พระราชบัญญัติ ท่านนั้นได้ตำแหน่งแต่ว่าไม่มีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งอะไรเลย นอกจากเงิน การประชุมคณะกรรมการกลาง แล้วก็เงินสำหรับท่านเป็นค่าตอบแทนท่าน เลขานุการก็ ไม่มี ค่าเครื่องเขียนใดๆ ก็ไม่มี วันหนึ่งท่านจอมพลป.พิบูลสงคราม ได้บอกกับ คุณพ่อว่าอยากให้ลูกทำงานหน้าที่นี้ ถามคุณพ่อว่ามีลูกอยู่กี่คน ก็มีอยู่สองคน ลูกชายนั้นก็เรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย ส่วนลูกสาวนั้นก็เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่ท่านถามถึงเรื่องลูกนั้นเป็นเพราะตำแหน่งนี้ไม่มีค่าตอบแทน อยากได้ลูกมาทำหน้าที่เป็นเลขานุการ จึงมอบหน้าที่เลขานุการให้เราตั้งแต่ปี 2490 ทำงานได้หน่อยนึง ก็ต้องแต่งงาน ก็เป็นไปตามความเห็นของผู้ใหญ่ ซึ่ง บอกว่าถ้าเผื่อมีใครมาขอแล้วอยู่ในอีหม่าน ก็จะให้ แล้วเราก็ไม่ได้มีห่วงว่าเรามีใครอยู่เพราะฉะนั้นเราก็แต่งงานไปแล้วก็ทำงานไป
“เมื่อก่อนนั้นไม่สะดวกเหมือนกับเดียวนี้ ไม่มีรถ เราก็ได้รถประจำ ตำแหน่งจากสำนักนายกฯเอามาใช้อยู่คันหนึ่ง แล้วก็การทำพิมพ์หรือทำจดหมาย ราชการ เราก็ต้องขวนขวาย เท่ากับเราเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ทางกระทรวงให้ ความร่วมมือในการมาสอนให้ มาแนะนำ มาชี้ให้ว่าวิธีการติดต่อราชการเป็น อย่างไร เราเรียนที่พาณิชยการฯเราก็ได้ในเรื่องการพิมพ์ดีดมาแล้ว เพราะฉะนั้น เป็นการสะดวก เรามีพิมพ์อยู่เราก็ทำไป แล้วก็เรื่องของการถ่ายเอกสารมันก็ไม่ง่าย เหมือนเครื่องในปัจจุบัน เราก็ต้องทำเองทั้งหมด ก็ได้ความรู้จากกระทรวงมหาดไทยว่าอันนี้จะต้องทำอย่างนี้ ต้องติดต่ออย่างนี้ กระทรวงก็มีหลายกระทรวง ว่าจะไป ติดต่ออะไรที่ไหนก็แนะนำให้สักปีหนึ่ง เพราะว่าเราจะไปเรียนที่เขาตลอดก็ไม่ได้ เขาก็มีงาน พร้อมกับมีหน้าที่ติดตามท่านจุฬาฯ ไปต่างจังหวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปเยี่ยมราษฏรมุสลิม ช่วยท่านจุฬาฯจัดการพิมพ์พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานฉบับความหมายภาษาไทยตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้เวลา13 ปี ในการถอดความหมายภาษาอาหรับเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งเราก็ทำหน้าที่เลขานุการนี้มาโดยตลอดจนถึงท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 ปี2524 พอหลังจากหลังนั้นแล้วทางกระทรวงก็ให้รักษาการแทน 3 เดือน หลังจากนั้นก็งด เรื่องนี้ไม่รับตำแหน่งอะไรสักอย่างเดียว” ท่านผู้หญิง เล่าถึงการทำงานช่วงเริ่มต้น ที่ได้ทำงานช่วยคุณพ่อ(อาเยาะห์)
ท่านผู้หญิงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการโรงเรียนและครูของโรงเรียนด้วยทั้งนี้เป็นเพราะว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่เราสอนแบบชนิดที่ว่าให้ความช่วยเหลือคนที่ยากจนเด็กกำพร้าแล้วก็พ่อแม่ที่มีลูกมากตามเจตนาของเจ้าของที่ดินคือนายห้างเออี นานา ซึ่งเป็นพ่อของคุณเล็ก นานา แล้วเราก็ได้ทำอยู่เราทำก็ไม่ได้กำไรทำแล้วมันก็ขาดทุนแต่จำเป็นที่จะต้องทำเพราะว่าโรงเรียนมุสลิมในตอนนั้นมีไม่มากนักแต่ก่อนที่จะหมดตำแหน่งเลขาฯจุฬาฯก็ได้งานอีกอย่างหนึ่งคืองานผู้พิพากษาสมทบของกรุงเทพฯของศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางอยู่ตรงใกล้ๆสนามหลวงที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าในสถานพินิจมีเด็กทั้งพุทธทั้งมุสลิมได้ไปจัดอบรมเด็กเรื่องศาสนาตลอดจนกระทั่งไปทำหอประชุมให้กับสถานพินิจบ้านการุณาและก็อบรมเด็กทุกวันอังคารโดยหาอาจารย์จากข้างนอกแล้วก็เดือนถือศีลอดเราก็จัดของไปซึ่งเป็นที่แรกที่เราจัดที่เกี่ยวกับนักโทษหรือเรื่องเด็กในสถานพินิจ เราก็เป็นรายแรกที่ทำกัน ตอนนั้นมุสลิมที่เป็นกรรมการ กับมุสลิมที่เป็นผู้พิพากษาสมทบในกรุงเทพฯก็มีน้อย เราก็ใช้ทุนของเราซื้อไปให้นำของหวานบ้าง อินทผลัม ของกินอะไรต่อมิอะไร ก็เท่ากับเราไปเผยแพร่อยู่ใน นั้น เป็นผู้พิพากษาสมทบตั้งแต่ปี 2519 เรียกว่าเป็น มุสลิมประมาณคนที่สองหรือสาม แต่เราเป็นผู้เริ่มใน เรื่องการทำงานนี้ จนกระทั่งสุดท้าย ต่อมาก็ขยายไป จังหวัดอื่นๆ
อุปสรรคการทำงานนั้นท่านผู้หญิงเล่าว่า“ในการทำงานที่มีอุปสรรคหรือเรื่องท้อก็มีมากบางครั้งเราน้ำตาร่วงแต่ก็คิดอีกทีว่าเราต้องสู้เพราะเราทำงานในด้านศาสนาหลายอย่างคนเราชอบก็มีไม่ชอบกันก็มากเพราะฉะนั้นเรื่องนี้เราต้องหนักแน่นถึงแม้ว่าเราจะโกรธเราก็ข่มเอาไว้เวลามันข่มไม่ได้ก็มีร้องไห้ต่อหน้าก็มีคือการทำอะไรมารยาทของมุสลิมเป็นมารยาทที่สอนให้ทุกคนนั้นอ่อนหวานดีทั้งต่อหน้าและลับหลังถ้าดีก็ดีต่อหน้าถ้าไม่ชอบก็บอกว่าไม่ชอบเลยแล้วคนอื่นก็ไม่ชอบด้วยไม่มีใครหรอกที่จะพูดอย่างงี้ยอกันไปก็ยอกันมาเพราะฉันนั้นความจริงเป็นเรื่องสำคัญให้คิดถึงอกเขาอกเราเขาทำให้เราดีใจอย่างไงเราก็ต้องให้ทำให้เขาดีใจอย่างงั้นในทางที่ถูกต้องไม่ไช่ทำไปเพราะเยินยอหรือทำให้เขารักเพราะฉะนั้นในฮาดิษของท่านนบีก็มีที่พูดว่าสิ่งที่ไม่ควรทำเนี่ย การที่ทำให้คนอื่นช้ำใจยังใง ให้นิ่งมากกว่าที่จะพูดออกไป”
ขอฝากถึงพี่น้องมุสลิมในเรื่องของการวางตัวของเราในเรื่องของมุสลิม ในเรื่องความเป็นอิสลาม จะพูดเฉพาะผู้หญิงน่ะ ผู้หญิงเป็นคนที่ต้องอยู่ในบ้านในเรือน เรียกว่าตลอดชีวิต ถ้ายังสาวโสดอยู่ก็ไม่ได้ทำงาน ข้างนอก ก็ต้องเก็บตัวอยู่ข้างใน แต่ถ้าเผื่อว่าเป็นคนที่สามารถที่แต่งงานได้ ก็ควรแต่งงาน ชีวิตเรามีหลาย ระดับด้วยกัน เราก็จะต้องวางตัวให้ถูกต้อง ถ้าเผื่อเราศึกษาในด้านศาสนาแล้วเราจะมองว่าอิสลามเราได้วาง ระเบียบแบบแผนไว้อย่างดี เป็นแต่เราเอาอันนั้น มาให้พวกเราเข้าใจเป็นระเบียบภาษาไทย ซึ่งจะมีหมด ตั้งแต่ด้านการแต่งกาย การพูดจาการเข้าสังคม ทุกอย่าง อะไรถูกอะไรผิด อะไรควรจะทำหรือไม่ควรจะทำ มีหมด เพราะฉะนั้นเราจะเป็นสตรีมุสลิมที่ดีก็ต้องวางตัวให้ดี ศึกษาเล่าเรียนในด้านนี้บ้างเราก็จะวางตัวเราถูกเวลาที่ เราเข้าสังคมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
24591-2524 เป็นเลขานุการจุฬาราชมนตรี ประมุขฝ่ายอิสลาม
2495-2512 เป็นผู้จัดการ ครูใหญ่ ครูโรงเรียนเอกชน ที่ได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียรัฐบาล
ซึ่งดำรงตำแหน่งนานที่สุด
2513-2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าเป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชน
กลาง ปัจจุบันคือศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
2526-ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิต่วน สุวรรณศาสน์ จุฬาราชมนตรี และรับงานจัดพิมพ์อัลกุรอานและ
ความหมายภาษาไทย ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินงาน
2538 ได้รับโล่เกียรติคุณ การคัดเลือกนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่นประเภทนักสังคมสงเคราะห์
อาสาสมัคร
2539-ปัจจุบัน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นลูกเสือผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการลูกเสือ
แห่งชาติ และส่งเสริมกิจการลูกเสือที่นับถือศาสนาอิสลาม และให้ความร่วมมือกับ
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภาลูกเสือแห่งชาติ จัดทำเอกสาร “แนวทางปฏิบัติ
ลูกเสือต่างศาสนากระทำมวลกิจกรรมร่วมกันฉันท์พี่น้อง”
รางวัลเกียรติยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์
2510 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
2513 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้าและให้ใช้คำนำหน้านามว่า“คุณหญิง”
2519 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้า
2522 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
2523 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
2526 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิดิยาภรณ์มงกุฏไทย
2528 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทวิดิยาภรณ์ช้างเผือก
2532 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า
2543 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และให้ใช้คำนำหน้านามว่า
“ท่านผู้หญิง”
2546 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปถมาภรณ์มงกุฏไทย
2548 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติ “รามกีรติ”
2551 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปถมาภรณ์ ช้างเผือก
www.facebook.com/BangyeeTik
www.thaimuslim.com/home/?p=3839