สวัสดีครับ
จากการที่ผมได้อ่านกระทู้
http://ppantip.com/topic/33178810 แล้ว
ทำให้ผมอยากเขียนเรื่องที่ผมเจอมาบ้าง
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัดคนนึง ที่ได้เข้ามาเรียน ม.ปลายในกรุงเทพ
โรงเรียน ม.ต้น ของผมน่าจะคล้ายๆกับโรงเรียนที่ได้มีการพูดถึงในกระทู้ตามลิ้งด้านบนนะครับ
แต่แตกต่างตรงที่โรงเรียนผมเวลาสอบ o-net จะเลือกเอาเฉพาะคนเก่งๆไปสอบ(ไม่รู้เหมือนกันนะครับว่ามันทำได้หรือเปล่า)
ทำให้คะแนนโดยรวมของโรงเรียนออกมาดีมาก แต่ความจริงแล้วไม่เป็นแบบนั้นเลยครับ
นักเรียน ม.3 เกือบๆครึ่งระดับ ไม่สามารถแก้สมการกำลัง 2 ได้,ไม่รู้จัก ปิทากอลัส, ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ไม่สามารถเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้
มีช่วงนึงโรงเรียนผมพยายามเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสอน เพราะอาจารย์หลายๆคนเชื่อว่ามันจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้มากขึ้น
พอเริ่มเรียนหลักสูตรใหม่ไปได้ระยะนึง ก็มีการสอบ โดยวิชาวิทยาศาสตร์ห้องผมสอบผ่านเพียง 4 คน โดย 4 คนถือว่าเยอะมากแล้วเมื่อเทียบกับห้องอื่น
ทำให้ต้องล้มเลิกการเปลี่ยนแปลงไป เพราะเนื้อหายากเกินไปนักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบได้
พอผมเข้า ม.ปลาย ได้ย้ายเข้ามาเรียนแถวๆ กรุงเทพ ได้เจอเพื่อนที่มาจากโรงเรียนอื่นๆ คนที่เก่งกว่ามากๆ
สิ่งที่ผมคิดอย่างแรกคือ ที่โรงเรียนเค้าสอนกันยังไง ทำไมทุกคนที่จบ ม.ต้นออกมามีความรู้เยอะขนาดนี้
พอถึงเวลาเรียนก็มีเนื้อหาหลายๆอย่างที่อาจารย์บอกว่าโรงเรียน ม.ต้นต้องสอนมาแล้ว เพื่อนๆในห้องหลายๆคนเรียนมาแล้ว
แต่ก็มีอีกหลายคนครับ ที่ไม่ได้เรียนเนื้อหาพวกนั้นมา รวมถึงตัวผมเองด้วย
ผมได้มีโอกาสไปอยู่เกาหลีใต้ และ อเมริกา มา ทำให้ผมรู้สึกว่าการศึกษาประเทศเราพัฒนาช้าจริงๆครับ
ที่ 2 ประเทศนั้นหลักสูตรจะได้รับการเปลี่ยนแปลงบ่อย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอะไรใหม่ๆ ที่ทันสมัย
การเรียนที่ 2 ประเทศนั้นมีอิสระในการเรียนมากกว่า วิชาบังคับมีน้อยกว่า
ทำให้สามารถเลือกเรียนตามที่ตัวเองสนใจได้ และ ไม่จำเป็นต้องเรียนในสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้
(เช่นบังคับให้สายศิลป์เรียน แคลคูลลัส หรือ บังคับให้สายวิทย์ไปเรียนภาษาที่ 3)
ในความคิดของผมปัจจัยที่ทำให้การศึกษาของประเทศเราพัฒนาช้าก็มีหลายสาเหตุนะครับ
- หลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศเราไม่ค่อยพัฒนา
- อาจารย์บางท่านไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น
- หรืออาจจะรับฟังอย่างเดียวแต่ก็ไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งที่นักเรียนพูด
- การถามคำถามในห้องถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกในประเทศไทย
- อาจารย์บางท่านยึดมั่นในวิธีการสอนของตัวเองเกินไป
- สังผมของเราไม่ได้ให้เกียรติคนที่ทำอาชีพครูเท่าที่ควร
- การเรียนในประเทศไทยเน้นที่คะแนนมากกว่าความรู้
- ในระบบการบริหารการศึกษาของประเทศเรามีการคอรัปชั่นมากเกินไป
นี่คือเท่าที่ผมนึกออกในตอนนี้ครับ
ใครมีความเห็นยังไงก็แสดงความเห็นมาได้เลยนะครับ
ปล.ขอถามความเห็นเพิ่มว่าระหว่างการนำเงินจำนวนมากไปพัฒนาคนกลุ่มเล็กๆ กับการนำเงินจำนวนนั้นกระจายไปให้ทุกๆคน
คนที่เข้ามาอ่านคิดว่ายัง ขอให้เสนอความคิดเห็นมาได้เลยนะครับ (ของดดราม่านะครับ)
ปล2.พิมผิดตรงไหนขอโทษด้วยนะครับ
เราจะแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศไทยได้ยังไงครับ ??
จากการที่ผมได้อ่านกระทู้ http://ppantip.com/topic/33178810 แล้ว
ทำให้ผมอยากเขียนเรื่องที่ผมเจอมาบ้าง
ผมเป็นเด็กต่างจังหวัดคนนึง ที่ได้เข้ามาเรียน ม.ปลายในกรุงเทพ
โรงเรียน ม.ต้น ของผมน่าจะคล้ายๆกับโรงเรียนที่ได้มีการพูดถึงในกระทู้ตามลิ้งด้านบนนะครับ
แต่แตกต่างตรงที่โรงเรียนผมเวลาสอบ o-net จะเลือกเอาเฉพาะคนเก่งๆไปสอบ(ไม่รู้เหมือนกันนะครับว่ามันทำได้หรือเปล่า)
ทำให้คะแนนโดยรวมของโรงเรียนออกมาดีมาก แต่ความจริงแล้วไม่เป็นแบบนั้นเลยครับ
นักเรียน ม.3 เกือบๆครึ่งระดับ ไม่สามารถแก้สมการกำลัง 2 ได้,ไม่รู้จัก ปิทากอลัส, ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ไม่สามารถเอามาใช้ในชีวิตประจำวันได้
มีช่วงนึงโรงเรียนผมพยายามเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการสอน เพราะอาจารย์หลายๆคนเชื่อว่ามันจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้มากขึ้น
พอเริ่มเรียนหลักสูตรใหม่ไปได้ระยะนึง ก็มีการสอบ โดยวิชาวิทยาศาสตร์ห้องผมสอบผ่านเพียง 4 คน โดย 4 คนถือว่าเยอะมากแล้วเมื่อเทียบกับห้องอื่น
ทำให้ต้องล้มเลิกการเปลี่ยนแปลงไป เพราะเนื้อหายากเกินไปนักเรียนไม่สามารถทำข้อสอบได้
พอผมเข้า ม.ปลาย ได้ย้ายเข้ามาเรียนแถวๆ กรุงเทพ ได้เจอเพื่อนที่มาจากโรงเรียนอื่นๆ คนที่เก่งกว่ามากๆ
สิ่งที่ผมคิดอย่างแรกคือ ที่โรงเรียนเค้าสอนกันยังไง ทำไมทุกคนที่จบ ม.ต้นออกมามีความรู้เยอะขนาดนี้
พอถึงเวลาเรียนก็มีเนื้อหาหลายๆอย่างที่อาจารย์บอกว่าโรงเรียน ม.ต้นต้องสอนมาแล้ว เพื่อนๆในห้องหลายๆคนเรียนมาแล้ว
แต่ก็มีอีกหลายคนครับ ที่ไม่ได้เรียนเนื้อหาพวกนั้นมา รวมถึงตัวผมเองด้วย
ผมได้มีโอกาสไปอยู่เกาหลีใต้ และ อเมริกา มา ทำให้ผมรู้สึกว่าการศึกษาประเทศเราพัฒนาช้าจริงๆครับ
ที่ 2 ประเทศนั้นหลักสูตรจะได้รับการเปลี่ยนแปลงบ่อย เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอะไรใหม่ๆ ที่ทันสมัย
การเรียนที่ 2 ประเทศนั้นมีอิสระในการเรียนมากกว่า วิชาบังคับมีน้อยกว่า
ทำให้สามารถเลือกเรียนตามที่ตัวเองสนใจได้ และ ไม่จำเป็นต้องเรียนในสิ่งที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้
(เช่นบังคับให้สายศิลป์เรียน แคลคูลลัส หรือ บังคับให้สายวิทย์ไปเรียนภาษาที่ 3)
ในความคิดของผมปัจจัยที่ทำให้การศึกษาของประเทศเราพัฒนาช้าก็มีหลายสาเหตุนะครับ
- หลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศเราไม่ค่อยพัฒนา
- อาจารย์บางท่านไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น
- หรืออาจจะรับฟังอย่างเดียวแต่ก็ไม่ได้ใส่ใจกับสิ่งที่นักเรียนพูด
- การถามคำถามในห้องถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกในประเทศไทย
- อาจารย์บางท่านยึดมั่นในวิธีการสอนของตัวเองเกินไป
- สังผมของเราไม่ได้ให้เกียรติคนที่ทำอาชีพครูเท่าที่ควร
- การเรียนในประเทศไทยเน้นที่คะแนนมากกว่าความรู้
- ในระบบการบริหารการศึกษาของประเทศเรามีการคอรัปชั่นมากเกินไป
นี่คือเท่าที่ผมนึกออกในตอนนี้ครับ
ใครมีความเห็นยังไงก็แสดงความเห็นมาได้เลยนะครับ
ปล.ขอถามความเห็นเพิ่มว่าระหว่างการนำเงินจำนวนมากไปพัฒนาคนกลุ่มเล็กๆ กับการนำเงินจำนวนนั้นกระจายไปให้ทุกๆคน
คนที่เข้ามาอ่านคิดว่ายัง ขอให้เสนอความคิดเห็นมาได้เลยนะครับ (ของดดราม่านะครับ)
ปล2.พิมผิดตรงไหนขอโทษด้วยนะครับ