ก่อนอื่นนะครับ ขอแนะนำตัวเองว่าผมมีเป็นนักการเงินครับ ผมขี้เกียจบอกคุณวุฒิตัวเองและ เพราะตามคอมเม้นข้างล่าง คนไทยเดี๋ยวก็หาว่าโชว์กันและ เอาเป็นว่าผมจบด้านการเงิน+รัฐศาสตร์ และผมก็สนใจด้านนี้
AEC หรือ ASEAN Economic Community สิ้นปี 2558นี้ เป็นส่วนหนึ่งในแผนของการ Integration of ASEAN ซึ่งประกอบไปด้วย community อีก 2 อัน คือ
ASEAN Political-Security Community (APSC) ประชาคมการเมือง-ความมั่นคง
ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรม
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่เคยเอ่ยถึงการรวมตัวของสองอันที่ว่าเลย
เข้าเรื่องเลยนะครับ พูดถึง AEC พวกคุณก็จะคิดถึง ข้อดังนี้ต่อไปนี้
1. เศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้น
2. การค้าระหว่างประเทศอาเซี่ยนจะคึกคักมาก การค้าจะเพิ่มขึ้น ASEAN จะเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของโลก
3. เราจะใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้น
4. ฉันจะสามารถไปทำงานประเทศอาเซี่ยนได้ และจะมีชาวอาเซี่ยนมาทำงานในประเทศฉัน*** (ข้อสำคัญที่สุด)
5. ฉันจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ประเทศในอาเซี่ยนได้เลย
6. ประเทศเราจะดู international ขึ้น ASEAN จะเป็นเหมือน EU
7. ในอนาคตเราจะมีเงิน ASEAN ไหม (Asian Currency Unit)
และอื่นๆอีกมากมาย ที่คนไทยดูตื่นเต้นมากกว่าชาติใดในอาเซี่ยน เอาจริงๆคนในอาเซี่ยนหลายประเทศ ยังไม่รู้จักเลยว่าอาเซี่ยนคืออะไร เพราะผลกระทบ และประโยชน์ของมันน้อยมาก
ความคิดเห็นนี้ก็ไม่ใช่เฉพาะผมคิดคนเดียวนะครับ แต่นักรัฐศาสตร์ อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนก็คิดเช่นกัน
มาที่คำตอบหล่ะนะครับ ตามข้อๆไป
1. เศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้น
ตอบ: เศรษฐกิจไทยก็อาจจะได้รับผลกระทบดีขึ้นมาหน่อย แต่ปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองของประเทศหมด เป็นปัจจัยใหญ่ ถ้าประเทศไม่มีรัฐบาลที่มั่นคง ยังไงเศรษฐกิจก็ไม่มีวันดีหรอกครับ ถึงอาเซี่ยนเป็นแบบอียูเลย ยังไงเศรษฐกิจในประเทศเราก็ยิ่งไม่ดีขึ้นหรอก เพราะรัฐบาล unstable ทำให้นักลงทุนต่างชาติ กับประชาชนไม่กล้าลงทุน เพราะกังวลในสถานการณ์การเมือง ต่อที่ข้อ2ได้นะครับ ถ้าอยากทราบเพิ่ม
2. การค้าระหว่างประเทศอาเซี่ยนจะคึกคักมาก การค้าจะเพิ่มขึ้น ASEAN จะเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของโลก
ตอบ: ตอนนี้ประเทศสมาชิกอาเซี่ยนนั้นส่งออกให้กับประเทศนอกสมาชิก 80% แต่ส่งออกกันเองแค่เพียง 20% ซึ่งไม่เหมือน EU ที่ส่งออกกันเองเยอะกว่า ซึ่งพวกคุณคงคิดว่า AEC จะช่วย แต่มันก็คงไม่ช่วยนะครับ
เพราะตอนนี้อาเซี่ยนก็มี FTA (เขตการค้าเสรี) และ non-tariff agreements (ข้อตกลงยกเว้นภาษีฯ) มากมาย ซึ่งมีมาตั้งหลายปีแล้ว แต่การค้าระหว่างประเทศสมาชิกก็ไม่เห็นบูมขึ้นมาเลย เพราะเช่นนี้ AEC ก็ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงไรมากหรอก เพราะ AEC ไม่ใช่ข้อตกลงการค้าเสรีฯนะครับผม AEC เป็นเพียงแค่ "แผน" ซึ่งเป็นแค่แผนที่ทำมานานแล้ว แต่..คาดว่า..จะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นปี 2558 เพราะฉะนั้นเข้าใจความหมายของเออีซีให้ถูกต้องด้วยนะครับ ส่วนเรื่องภาษีศุลกากร สมาชิกอาเซี่ยนก็ไม่ได้กำหนดด้วยว่าจะมีภาษีเหมือนกัน เป็น customs union (สหภาพศุลกากร) เหมือนแบบอียูที่ภาษีเหมือนกันทุกประเทศ ส่วนการค้าระหว่างประเทศสมาชิกยังไงก็ต้องขึ้นกับดุลพินิจของประเทศในอาเซี่ยนด้วยนะครับ เพราะหลายประเทศในอาเซี่ยนสถานการณ์การเมืองก็ไม่ได้มั่นคงไปหมด โดยเฉพาะไทย หลายรัฐบาลในประเทศอาเซี่ยน (โดยเฉพาะเพื่อนบ้านเรา) ก็ไม่ได้ให้อิสระทางเศรษฐกิจมากด้วย AEC ไม่ใช่ข้อตกลงที่จะบังคับให้รัฐบาลเหล่านี้เปิดเศรษฐกิจให้มากขึ้น ไม่ใช่ทำผิดกฎ ไม่ทำตาม AEC จะโดนไล่ออกจากอาเซี่ยนเลย
3. เราจะใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้น
ตอบ: จากที่ได้เห็นทั้งราชการกับเอกชนโฆษณาโปรโมท AEC กับพวกโรงเรียนภาษาอังกฤษ พ่อแม่ผู้ปกครอง พาลูกไปเรียนภาษาอังกฤษเพื่อ AEC มันก็ไม่ได้ผิดนะครับ เพราะภาษากลางของ AEC คือภาษาอังกฤษ แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่าจะให้ลูกหลาน พนักงานเอกชน หรือข้าราชการไปอบรมภาษาอังกฤษเพื่อเออีซีทำไม เพราะ AEC เป็นแค่องค์กร common market (ตลาดร่วม) ซึ่งก็หมายถึงว่าเราไม่ได้มีระบบราชการที่ใกล้ชิด หรือคล้ายคลึงกันแบบ EU (ซึ่ง EU มีลักษณะการเมืองที่เป็นสมาชิกมีสัมพันธ์กันประมาณหนึ่ง) ผมว่าคนที่ควรจะเรียนภาษาอังกฤษ ก็ควรจะเป็นแต่ข้าราชการที่ทำงานกระทรวงต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ทูต ซึ่งคนพวกนี้เค้าก็ต้องเรียนกันอยู่แล้ว หรือผู้ที่จะทำการค้าระหว่างประเทศ(ซึ่งอันนี้โยงไปข้อ1,2ได้) ผมเลยสรุปได้ว่าเปิดเออีซีไม่ได้ทำให้เราชาวไทยทุกคนใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้นหรอก เพราะไม่ใช่เปิด AEC แล้วคนไทยทุกคนต้องติดต่อกับประเทศสมาชิก ถ้าจะไปทำงานในประเทศอื่น และได้ภาษาอังกฤษไปก็คงไม่มีประโยชน์มากหรอกครับ เพราะถึงแม้ประเทศในอาเซี่ยนหลายประเทศพูดภาษาอังกฤษเก่งจริง (อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์) แต่ภาษาราชการของเค้าไม่ใช่ภาษาอังกฤษนะครับ (อันนี้ไปต่อข้อ4ได้เลย) และราชการของประเทศสมาชิกก็ไม่ได้เชื่อมโยงกัน จนต้องติดต่อกันทุกหน่วยงานเหมือนของอียู
4. ฉันจะสามารถไปทำงานประเทศอาเซี่ยนได้ และจะมีชาวอาเซี่ยนมาทำงานในประเทศฉัน*** (ข้อสำคัญที่สุด)
ตอบ: ประเด็นนี้คงจะเป็นข้อใหญ่สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน AEC เลยทีเดียว ดูจากที่คนไทยทุกคนดูตื่นเต้นว่าจะมี 8 อาชีพ สามารถเคลื่อนย้ายในอาเซี่ยนได้อิสระ ได้แก่ วิศวะ พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ แพทย์ และล่าสุด ผู้นำเที่ยว(ไกด์) ผมสรุปง่ายได้ว่าอาชีพพวกนี้ เป็นแรงงานมืออาชีพ (skilled labour) เพราะฉะนั้นอาชีพแรงงานอื่นๆ ไม่รวมนะครับ ไม่ใช่อาชีพไหนก็เคลื่อนย้ายไปทำงานได้เลย ถ้าคนที่ทำอาชีพพวกนี้อยู่ก็คงจะดีใจหล่ะสิครับ คิดอีกทีแล้วกันนะครับ อาชีพพวกนี้ถึงเคลื่อนย้ายได้อิสระจริง แต่คุณจะเคลื่อนย้ายไปประเทศไหน คุณก็ต้องไปสอบใบวิชาชีพของประเทศเขาด้วย ซึ่งก็จะเป็นข้อสอบในภาษาเขา แล้วประเทศแต่ละประเทศในอาเซี่ยนมีภาษาที่แตกต่างมาก คือเป็นภาษาที่อยู่คนละรากภาษากันเลย (ASEAN นั้นมีรากภาษา อาทิ กลุ่ม Austro-Asiatic, Sino-Tibetan, Indo-African) แล้วคุณคิดหรอว่าคุณจะเรียนภาษาเค้าได้ แถมต้องผ่านข้อสอบประจำวิชาชีพของประเทศเขาด้วย บวกกับต้องปรับตัวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต กฏหมายที่แตกต่างจากบ้านเมืองเรามาก มันไม่ง่ายเลยนะครับ ถ้าไปเปรียบกับประเทศในอียู การเคลื่อนย้ายเค้ารวมอยู่ทุกอาชีพ และภาษาในยุโรปส่วนมากก็อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกันด้วย (Indo-European) ตอนนี้คนส่วนใหญ่ก็คงคิดว่า "งั้นฉันไปทำงานที่สิงคโปร์ก็ได้ สิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ" ก็ต้องคิดถึงหลักความจริงด้วยครับว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นที่ที่มีการแข่งขันสูงมาก ประชากรเค้าก็ระดับพัฒนาการมนุษย์สูง แรงงานมืออาชีพของเค้าก็มีพอสำหรับประเทศของเขาอยู่แล้วนะครับ และสมมุติถ้าให้เลือกระหว่างหมอสิงคโปร์กับหมอไทย เค้าก็ต้องเลือกจ้างหมอจบประเทศเค้ามากกว่า (มาตรฐานการศึกษาเค้าก็ระดับโลกด้วย) ยกเว้นถ้าคุณเป็นหมอที่เก่งระดับชาติ ใครๆก็ต้องการตัว อย่างงี้ก็ว่าไปอีกอย่างนะครับ หรือไม่ก็อีกตัวอย่าง (ไม่ได้ดูถูกประเทศลาวนะครับ) ถ้าหมอลาว ซึ่งภาษาใกล้เคียงกับเรามาก ผ่านข้อสอบวิชาชีพของไทย และมาทำงานที่ไทย โรงพยาบาลก็มีแนวโน้มที่จะรับหมอสัญชาติไทยมากกว่าอยู่แล้ว หรือไม่ก็มองกลับกันว่าเราเป็นแรงงานมืออาชีพ แล้วเราจะไปทำงานประเทศลาวหรอ? อาชีพที่น่าจะดูโอเคที่สุดนะครับก็คืออาชีพในพวกการท่องเที่ยว อาชีพไกด์ เพราะไกด์ส่วนใหญ่ก็ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาที่นอกจากภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และอาชีพไกด์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
5. ฉันจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ประเทศในอาเซี่ยนได้เลย
ตอบ: ต่อจากข้อ4นะครับ คุณไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปพำนักอยู่ในประเทศกลุ่มอาเซี่ยนได้เลย มีสิทธิ์แค่เคลื่อนย้ายอิสระในอาชีพที่จำกัดไว้เท่านั้น ไม่ได้เหมือนอียูที่มี Freedom of Movement หรือ อิสระในการเคลื่อนย้าย คือไปย้ายไปพำนักอยู่ไหนก็ได้เลย สังเกตุได้จากเวลาเราทำวิซ่ายุโรป มันจะขึ้นว่า EU หรือเห็นจากหนังสือเดินทาง ว่าจะมีคำว่า European Union อยู่บนทุกเล่ม
6. ประเทศเราจะดู international ขึ้น ASEAN จะเป็นเหมือน EU
ตอบ: คำตอบคือไม่เลยครับ อย่างที่บอกไปว่าเรารวมตัวกันแค่เป็น common market (ตลาดร่วม) เราไม่ได้เป็นเหมือนอียูที่เกือบจะเป็น political union หรือ มีการรวมตัวทางการเมืองกัน ซึ่งในอนาคตก็ไม่ได้เหมือนว่าเราจะเป็นแบบอียู หรือก้าวไปถึงขั้นอียู เพราะแต่ละประเทศในอาเซี่ยนมีความแตกต่างกันเยอะ คำนึงถึงผลประโยชน์ตัวเอง บวกกับอาเซี่ยนใช้ระบบการ veto ซึ่งหมายความว่า ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่ง veto (ค้าน) นโยบายที่ทั้งกลุ่มเสนอ นโยบายนั่นก็ไม่สามารถผ่านได้ ถึงจะมีแค่ประเทศเดียวค้านแค่นั้น อีกเรื่องคือประเทศสมาชิกเคารพในกฏ non-interference หรือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการในประเทศกันเอง ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศสมาชิกไม่สามารถเข้าไปยุ่ง ออกความคิดเห็น หรือหยุดเรื่องในประเทศของแต่ละสมาชิก นั้นก็หมายความว่าเราไม่เหมือนอียูเลย ที่มีกฎว่าทุกประเทศต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประเทศไหนยกเลิกระบอบ หรือทำผิดกฎอื่นๆก็จะได้ไล่ออกเลย แต่อาเซี่ยนไม่ได้เป็นแบบนั้น และดูเหมือนในอนาคตเราก็คงจะไม่ก้าวถึงการรวมตัวขั้นนั้น ซึ่งก็ดูได้จากหลายเหตุผล เพราะประเทศอาเซี่ยนมีความแตกต่างกันเยอะ ทั้งภาษา วัฒนธรรม ระบอบการปกครอง และความต้องการของแต่ละสมาชิกไม่เหมือนกัน
7. ในอนาคตเราจะมีเงิน ASEAN ไหม (Asian Currency Unit)
ตอบ: เหมือนกับข้อ6เลย ไม่มีวันมีแน่ๆครับรับรอง เพราะจากข้อ1 ประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซี่ยนส่งออกให้ประเทศนอกสมาชิกมากกว่าครึ่ง แสดงว่าเราไม่มีการส่งออก การค้ากันเองไม่คึกคักเลย ทั้งที่มีข้อตกลงการค้าเสรี และการยกเว้นภาษีฯ มาเนิ่นนานแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่าการค้าจะคึกคักขึ้นเลย ทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็เห็นได้ว่า แต่ละประเทศในอาเซี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (monetary exchange rate) ไม่เหมือนกันเลย และไม่ใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งถ้าจะมีสกุลเงินเดียวกัน ขั้นแรก อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศสมาชิกต้องเหมือน หรือคล้ายคลึงกันก่อนเลย แล้วคุณคิดไหมครับว่าประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินสูง (อาทิ สิงคโปร์) เค้าจะยอมมาลดอัตราแลกเปลี่ยนเค้าให้เข้ากับประเทศที่อัตราต่ำกว่าเขา? เพื่อที่จะมีสกุลเงินเดียวกัน? อันนี้เป็นไปได้ยากมากครับ และดูเหมือนไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่แต่ละประเทศต้องการในอาเซี่ยนด้วย
สุดท้ายก็อยากจะฝากว่า AEC ก็ไม่ได้แย่ แต่คงไม่ส่งผลกระทบที่ดี หรือ โดนเด่นอะไรมาก อย่างที่ราชการ กับเอกชน เสียเงินตั้งหลายบาทหลายสตัง เพื่อโฆษณามัน ประเทศอื่นในสมาชิกเราดูไม่ค่อยจะตื่นเต้นเท่าประเทศเราหรอก เพราะเค้ารู้ว่า AEC ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมากเลย เราก็ควรจะหันมาสนใจด้านการเปิดประชาคมด้านอื่น: APSC กับ ASCC เพราะสิ่งพวกนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราชาวอาเซี่ยนใกล้ชิดกันมากขึ้นอีก ซึ่งความใกล้ชิดเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้การทำธุรกิจ การค้าเติบโตไปได้ด้วยดี พึ่งกันเอง ไม่ต้องพึ่งการลงทุนจากอริยะประเทศนอกสมาชิก สิ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญที่การค้าในประเทศอาเซี่ยนไม่คึกคัก ทั้งที่มีข้อตกลงมาตั้งนานแล้ว เพราะว่าประเทศในอาเซี่ยนไม่กล้าลงทุนในแต่ละประเทศด้วยกันเอง เนื่องจากวัฒนธรรม ผู้คน ภาษาที่แตกต่างกันเกิด และกฎหมายซึ่งไม่ค่อยคล้ายกันมาก ทำให้การรวมตัวทางด้าน สังคม-วัฒนธรรม อาจจะสำคัญต่อการรวมตัวด้านเศรษฐกิจ หรือการรวมตัวด้านการเมือง ซึ่งอาจจะสามารถหยุดใช้ non-interference policy ไป เพื่อช่วยกระตุ้นประเทศบางประเทศเปิดทางทางเศรษฐกิจมากกว่านี้
อ่านแล้ว อาจจะเห็นว่าผมไม่ใช่ terms หรือคำอธิบายอะไรยากเกิน เพราะคนที่อ่านไม่ได้เรียนด้านเดียวเหมือนผมหมด เลยต้องการอธิบายแบบง่ายๆ briefๆ นักวิชาการท่านไหนไม่พอใจ ก็ขอโทษที่นะครับ ที่ต้องอธิบายให้มันบ้านที่สุด
เปิด AEC จะไม่ส่งผลอะไรกับประเทศไทยเลย!
AEC หรือ ASEAN Economic Community สิ้นปี 2558นี้ เป็นส่วนหนึ่งในแผนของการ Integration of ASEAN ซึ่งประกอบไปด้วย community อีก 2 อัน คือ
ASEAN Political-Security Community (APSC) ประชาคมการเมือง-ความมั่นคง
ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรม
ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่เคยเอ่ยถึงการรวมตัวของสองอันที่ว่าเลย
เข้าเรื่องเลยนะครับ พูดถึง AEC พวกคุณก็จะคิดถึง ข้อดังนี้ต่อไปนี้
1. เศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้น
2. การค้าระหว่างประเทศอาเซี่ยนจะคึกคักมาก การค้าจะเพิ่มขึ้น ASEAN จะเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของโลก
3. เราจะใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้น
4. ฉันจะสามารถไปทำงานประเทศอาเซี่ยนได้ และจะมีชาวอาเซี่ยนมาทำงานในประเทศฉัน*** (ข้อสำคัญที่สุด)
5. ฉันจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ประเทศในอาเซี่ยนได้เลย
6. ประเทศเราจะดู international ขึ้น ASEAN จะเป็นเหมือน EU
7. ในอนาคตเราจะมีเงิน ASEAN ไหม (Asian Currency Unit)
และอื่นๆอีกมากมาย ที่คนไทยดูตื่นเต้นมากกว่าชาติใดในอาเซี่ยน เอาจริงๆคนในอาเซี่ยนหลายประเทศ ยังไม่รู้จักเลยว่าอาเซี่ยนคืออะไร เพราะผลกระทบ และประโยชน์ของมันน้อยมาก
ความคิดเห็นนี้ก็ไม่ใช่เฉพาะผมคิดคนเดียวนะครับ แต่นักรัฐศาสตร์ อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนก็คิดเช่นกัน
มาที่คำตอบหล่ะนะครับ ตามข้อๆไป
1. เศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้น
ตอบ: เศรษฐกิจไทยก็อาจจะได้รับผลกระทบดีขึ้นมาหน่อย แต่ปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้นนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมืองของประเทศหมด เป็นปัจจัยใหญ่ ถ้าประเทศไม่มีรัฐบาลที่มั่นคง ยังไงเศรษฐกิจก็ไม่มีวันดีหรอกครับ ถึงอาเซี่ยนเป็นแบบอียูเลย ยังไงเศรษฐกิจในประเทศเราก็ยิ่งไม่ดีขึ้นหรอก เพราะรัฐบาล unstable ทำให้นักลงทุนต่างชาติ กับประชาชนไม่กล้าลงทุน เพราะกังวลในสถานการณ์การเมือง ต่อที่ข้อ2ได้นะครับ ถ้าอยากทราบเพิ่ม
2. การค้าระหว่างประเทศอาเซี่ยนจะคึกคักมาก การค้าจะเพิ่มขึ้น ASEAN จะเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ของโลก
ตอบ: ตอนนี้ประเทศสมาชิกอาเซี่ยนนั้นส่งออกให้กับประเทศนอกสมาชิก 80% แต่ส่งออกกันเองแค่เพียง 20% ซึ่งไม่เหมือน EU ที่ส่งออกกันเองเยอะกว่า ซึ่งพวกคุณคงคิดว่า AEC จะช่วย แต่มันก็คงไม่ช่วยนะครับ เพราะตอนนี้อาเซี่ยนก็มี FTA (เขตการค้าเสรี) และ non-tariff agreements (ข้อตกลงยกเว้นภาษีฯ) มากมาย ซึ่งมีมาตั้งหลายปีแล้ว แต่การค้าระหว่างประเทศสมาชิกก็ไม่เห็นบูมขึ้นมาเลย เพราะเช่นนี้ AEC ก็ไม่ส่งผลเปลี่ยนแปลงไรมากหรอก เพราะ AEC ไม่ใช่ข้อตกลงการค้าเสรีฯนะครับผม AEC เป็นเพียงแค่ "แผน" ซึ่งเป็นแค่แผนที่ทำมานานแล้ว แต่..คาดว่า..จะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นปี 2558 เพราะฉะนั้นเข้าใจความหมายของเออีซีให้ถูกต้องด้วยนะครับ ส่วนเรื่องภาษีศุลกากร สมาชิกอาเซี่ยนก็ไม่ได้กำหนดด้วยว่าจะมีภาษีเหมือนกัน เป็น customs union (สหภาพศุลกากร) เหมือนแบบอียูที่ภาษีเหมือนกันทุกประเทศ ส่วนการค้าระหว่างประเทศสมาชิกยังไงก็ต้องขึ้นกับดุลพินิจของประเทศในอาเซี่ยนด้วยนะครับ เพราะหลายประเทศในอาเซี่ยนสถานการณ์การเมืองก็ไม่ได้มั่นคงไปหมด โดยเฉพาะไทย หลายรัฐบาลในประเทศอาเซี่ยน (โดยเฉพาะเพื่อนบ้านเรา) ก็ไม่ได้ให้อิสระทางเศรษฐกิจมากด้วย AEC ไม่ใช่ข้อตกลงที่จะบังคับให้รัฐบาลเหล่านี้เปิดเศรษฐกิจให้มากขึ้น ไม่ใช่ทำผิดกฎ ไม่ทำตาม AEC จะโดนไล่ออกจากอาเซี่ยนเลย
3. เราจะใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้น
ตอบ: จากที่ได้เห็นทั้งราชการกับเอกชนโฆษณาโปรโมท AEC กับพวกโรงเรียนภาษาอังกฤษ พ่อแม่ผู้ปกครอง พาลูกไปเรียนภาษาอังกฤษเพื่อ AEC มันก็ไม่ได้ผิดนะครับ เพราะภาษากลางของ AEC คือภาษาอังกฤษ แต่ผมก็ไม่เข้าใจว่าจะให้ลูกหลาน พนักงานเอกชน หรือข้าราชการไปอบรมภาษาอังกฤษเพื่อเออีซีทำไม เพราะ AEC เป็นแค่องค์กร common market (ตลาดร่วม) ซึ่งก็หมายถึงว่าเราไม่ได้มีระบบราชการที่ใกล้ชิด หรือคล้ายคลึงกันแบบ EU (ซึ่ง EU มีลักษณะการเมืองที่เป็นสมาชิกมีสัมพันธ์กันประมาณหนึ่ง) ผมว่าคนที่ควรจะเรียนภาษาอังกฤษ ก็ควรจะเป็นแต่ข้าราชการที่ทำงานกระทรวงต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ทูต ซึ่งคนพวกนี้เค้าก็ต้องเรียนกันอยู่แล้ว หรือผู้ที่จะทำการค้าระหว่างประเทศ(ซึ่งอันนี้โยงไปข้อ1,2ได้) ผมเลยสรุปได้ว่าเปิดเออีซีไม่ได้ทำให้เราชาวไทยทุกคนใช้ภาษาอังกฤษเยอะขึ้นหรอก เพราะไม่ใช่เปิด AEC แล้วคนไทยทุกคนต้องติดต่อกับประเทศสมาชิก ถ้าจะไปทำงานในประเทศอื่น และได้ภาษาอังกฤษไปก็คงไม่มีประโยชน์มากหรอกครับ เพราะถึงแม้ประเทศในอาเซี่ยนหลายประเทศพูดภาษาอังกฤษเก่งจริง (อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์) แต่ภาษาราชการของเค้าไม่ใช่ภาษาอังกฤษนะครับ (อันนี้ไปต่อข้อ4ได้เลย) และราชการของประเทศสมาชิกก็ไม่ได้เชื่อมโยงกัน จนต้องติดต่อกันทุกหน่วยงานเหมือนของอียู
4. ฉันจะสามารถไปทำงานประเทศอาเซี่ยนได้ และจะมีชาวอาเซี่ยนมาทำงานในประเทศฉัน*** (ข้อสำคัญที่สุด)
ตอบ: ประเด็นนี้คงจะเป็นข้อใหญ่สำหรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน AEC เลยทีเดียว ดูจากที่คนไทยทุกคนดูตื่นเต้นว่าจะมี 8 อาชีพ สามารถเคลื่อนย้ายในอาเซี่ยนได้อิสระ ได้แก่ วิศวะ พยาบาล สถาปนิก การสำรวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ แพทย์ และล่าสุด ผู้นำเที่ยว(ไกด์) ผมสรุปง่ายได้ว่าอาชีพพวกนี้ เป็นแรงงานมืออาชีพ (skilled labour) เพราะฉะนั้นอาชีพแรงงานอื่นๆ ไม่รวมนะครับ ไม่ใช่อาชีพไหนก็เคลื่อนย้ายไปทำงานได้เลย ถ้าคนที่ทำอาชีพพวกนี้อยู่ก็คงจะดีใจหล่ะสิครับ คิดอีกทีแล้วกันนะครับ อาชีพพวกนี้ถึงเคลื่อนย้ายได้อิสระจริง แต่คุณจะเคลื่อนย้ายไปประเทศไหน คุณก็ต้องไปสอบใบวิชาชีพของประเทศเขาด้วย ซึ่งก็จะเป็นข้อสอบในภาษาเขา แล้วประเทศแต่ละประเทศในอาเซี่ยนมีภาษาที่แตกต่างมาก คือเป็นภาษาที่อยู่คนละรากภาษากันเลย (ASEAN นั้นมีรากภาษา อาทิ กลุ่ม Austro-Asiatic, Sino-Tibetan, Indo-African) แล้วคุณคิดหรอว่าคุณจะเรียนภาษาเค้าได้ แถมต้องผ่านข้อสอบประจำวิชาชีพของประเทศเขาด้วย บวกกับต้องปรับตัวกับวัฒนธรรม วิถีชีวิต กฏหมายที่แตกต่างจากบ้านเมืองเรามาก มันไม่ง่ายเลยนะครับ ถ้าไปเปรียบกับประเทศในอียู การเคลื่อนย้ายเค้ารวมอยู่ทุกอาชีพ และภาษาในยุโรปส่วนมากก็อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกันด้วย (Indo-European) ตอนนี้คนส่วนใหญ่ก็คงคิดว่า "งั้นฉันไปทำงานที่สิงคโปร์ก็ได้ สิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ" ก็ต้องคิดถึงหลักความจริงด้วยครับว่า ประเทศสิงคโปร์เป็นที่ที่มีการแข่งขันสูงมาก ประชากรเค้าก็ระดับพัฒนาการมนุษย์สูง แรงงานมืออาชีพของเค้าก็มีพอสำหรับประเทศของเขาอยู่แล้วนะครับ และสมมุติถ้าให้เลือกระหว่างหมอสิงคโปร์กับหมอไทย เค้าก็ต้องเลือกจ้างหมอจบประเทศเค้ามากกว่า (มาตรฐานการศึกษาเค้าก็ระดับโลกด้วย) ยกเว้นถ้าคุณเป็นหมอที่เก่งระดับชาติ ใครๆก็ต้องการตัว อย่างงี้ก็ว่าไปอีกอย่างนะครับ หรือไม่ก็อีกตัวอย่าง (ไม่ได้ดูถูกประเทศลาวนะครับ) ถ้าหมอลาว ซึ่งภาษาใกล้เคียงกับเรามาก ผ่านข้อสอบวิชาชีพของไทย และมาทำงานที่ไทย โรงพยาบาลก็มีแนวโน้มที่จะรับหมอสัญชาติไทยมากกว่าอยู่แล้ว หรือไม่ก็มองกลับกันว่าเราเป็นแรงงานมืออาชีพ แล้วเราจะไปทำงานประเทศลาวหรอ? อาชีพที่น่าจะดูโอเคที่สุดนะครับก็คืออาชีพในพวกการท่องเที่ยว อาชีพไกด์ เพราะไกด์ส่วนใหญ่ก็ต้องมีความสามารถในการใช้ภาษาที่นอกจากภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และอาชีพไกด์เป็นอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน
5. ฉันจะเคลื่อนย้ายไปอยู่ประเทศในอาเซี่ยนได้เลย
ตอบ: ต่อจากข้อ4นะครับ คุณไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปพำนักอยู่ในประเทศกลุ่มอาเซี่ยนได้เลย มีสิทธิ์แค่เคลื่อนย้ายอิสระในอาชีพที่จำกัดไว้เท่านั้น ไม่ได้เหมือนอียูที่มี Freedom of Movement หรือ อิสระในการเคลื่อนย้าย คือไปย้ายไปพำนักอยู่ไหนก็ได้เลย สังเกตุได้จากเวลาเราทำวิซ่ายุโรป มันจะขึ้นว่า EU หรือเห็นจากหนังสือเดินทาง ว่าจะมีคำว่า European Union อยู่บนทุกเล่ม
6. ประเทศเราจะดู international ขึ้น ASEAN จะเป็นเหมือน EU
ตอบ: คำตอบคือไม่เลยครับ อย่างที่บอกไปว่าเรารวมตัวกันแค่เป็น common market (ตลาดร่วม) เราไม่ได้เป็นเหมือนอียูที่เกือบจะเป็น political union หรือ มีการรวมตัวทางการเมืองกัน ซึ่งในอนาคตก็ไม่ได้เหมือนว่าเราจะเป็นแบบอียู หรือก้าวไปถึงขั้นอียู เพราะแต่ละประเทศในอาเซี่ยนมีความแตกต่างกันเยอะ คำนึงถึงผลประโยชน์ตัวเอง บวกกับอาเซี่ยนใช้ระบบการ veto ซึ่งหมายความว่า ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่ง veto (ค้าน) นโยบายที่ทั้งกลุ่มเสนอ นโยบายนั่นก็ไม่สามารถผ่านได้ ถึงจะมีแค่ประเทศเดียวค้านแค่นั้น อีกเรื่องคือประเทศสมาชิกเคารพในกฏ non-interference หรือการไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการในประเทศกันเอง ซึ่งก็หมายความว่า ประเทศสมาชิกไม่สามารถเข้าไปยุ่ง ออกความคิดเห็น หรือหยุดเรื่องในประเทศของแต่ละสมาชิก นั้นก็หมายความว่าเราไม่เหมือนอียูเลย ที่มีกฎว่าทุกประเทศต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยสมบูรณ์ ประเทศไหนยกเลิกระบอบ หรือทำผิดกฎอื่นๆก็จะได้ไล่ออกเลย แต่อาเซี่ยนไม่ได้เป็นแบบนั้น และดูเหมือนในอนาคตเราก็คงจะไม่ก้าวถึงการรวมตัวขั้นนั้น ซึ่งก็ดูได้จากหลายเหตุผล เพราะประเทศอาเซี่ยนมีความแตกต่างกันเยอะ ทั้งภาษา วัฒนธรรม ระบอบการปกครอง และความต้องการของแต่ละสมาชิกไม่เหมือนกัน
7. ในอนาคตเราจะมีเงิน ASEAN ไหม (Asian Currency Unit)
ตอบ: เหมือนกับข้อ6เลย ไม่มีวันมีแน่ๆครับรับรอง เพราะจากข้อ1 ประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซี่ยนส่งออกให้ประเทศนอกสมาชิกมากกว่าครึ่ง แสดงว่าเราไม่มีการส่งออก การค้ากันเองไม่คึกคักเลย ทั้งที่มีข้อตกลงการค้าเสรี และการยกเว้นภาษีฯ มาเนิ่นนานแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีแนวโน้มว่าการค้าจะคึกคักขึ้นเลย ทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็เห็นได้ว่า แต่ละประเทศในอาเซี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนเงิน (monetary exchange rate) ไม่เหมือนกันเลย และไม่ใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งถ้าจะมีสกุลเงินเดียวกัน ขั้นแรก อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศสมาชิกต้องเหมือน หรือคล้ายคลึงกันก่อนเลย แล้วคุณคิดไหมครับว่าประเทศที่มีอัตราแลกเปลี่ยนเงินสูง (อาทิ สิงคโปร์) เค้าจะยอมมาลดอัตราแลกเปลี่ยนเค้าให้เข้ากับประเทศที่อัตราต่ำกว่าเขา? เพื่อที่จะมีสกุลเงินเดียวกัน? อันนี้เป็นไปได้ยากมากครับ และดูเหมือนไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่แต่ละประเทศต้องการในอาเซี่ยนด้วย
สุดท้ายก็อยากจะฝากว่า AEC ก็ไม่ได้แย่ แต่คงไม่ส่งผลกระทบที่ดี หรือ โดนเด่นอะไรมาก อย่างที่ราชการ กับเอกชน เสียเงินตั้งหลายบาทหลายสตัง เพื่อโฆษณามัน ประเทศอื่นในสมาชิกเราดูไม่ค่อยจะตื่นเต้นเท่าประเทศเราหรอก เพราะเค้ารู้ว่า AEC ไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมากเลย เราก็ควรจะหันมาสนใจด้านการเปิดประชาคมด้านอื่น: APSC กับ ASCC เพราะสิ่งพวกนี้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราชาวอาเซี่ยนใกล้ชิดกันมากขึ้นอีก ซึ่งความใกล้ชิดเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้การทำธุรกิจ การค้าเติบโตไปได้ด้วยดี พึ่งกันเอง ไม่ต้องพึ่งการลงทุนจากอริยะประเทศนอกสมาชิก สิ่งที่เป็นเหตุผลสำคัญที่การค้าในประเทศอาเซี่ยนไม่คึกคัก ทั้งที่มีข้อตกลงมาตั้งนานแล้ว เพราะว่าประเทศในอาเซี่ยนไม่กล้าลงทุนในแต่ละประเทศด้วยกันเอง เนื่องจากวัฒนธรรม ผู้คน ภาษาที่แตกต่างกันเกิด และกฎหมายซึ่งไม่ค่อยคล้ายกันมาก ทำให้การรวมตัวทางด้าน สังคม-วัฒนธรรม อาจจะสำคัญต่อการรวมตัวด้านเศรษฐกิจ หรือการรวมตัวด้านการเมือง ซึ่งอาจจะสามารถหยุดใช้ non-interference policy ไป เพื่อช่วยกระตุ้นประเทศบางประเทศเปิดทางทางเศรษฐกิจมากกว่านี้
อ่านแล้ว อาจจะเห็นว่าผมไม่ใช่ terms หรือคำอธิบายอะไรยากเกิน เพราะคนที่อ่านไม่ได้เรียนด้านเดียวเหมือนผมหมด เลยต้องการอธิบายแบบง่ายๆ briefๆ นักวิชาการท่านไหนไม่พอใจ ก็ขอโทษที่นะครับ ที่ต้องอธิบายให้มันบ้านที่สุด