โฆษกอัยการ” แจงคดีเขายายเที่ยงจบไปแล้ว “สุรยุทธ์” ไม่มีความผิด เนื่องจากขาดเจตนารุกป่า ผวจ.โคราช เห็นชอบตามคำสั่งไม่ฟ้องอัยการสีคิ้วแล้ว ส่วนการคืนสิทธิ์ครอบครองที่ดินกรมป่าไม้ต้องดำเนินการ อัยการไม่มีอำนาจ ยันไม่ใช่สองมาตรฐาน
วันนี้ (8 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 100 ปี ชั้น 4 สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงชี้แจงกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กับพวก คดีบุกรุกเขายายเที่ยงว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเขต 3 มีคำสั่งไม่ฟ้องตามพนักงานสอบสวนไปเมื่อวันที่ 15 ต.ค.2552 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มีความเห็นชอบกับอัยการไปเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552
ดังนั้น คดีจึงเสร็จเด็ดขาด โดยเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากที่ดินบนเขายายเที่ยงแปลงที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ครอบครองนั้น จากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมีหลักฐานว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งกำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่น (เขายายเที่ยง) ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลลาดบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้าได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่มีเอกสารสิทธิจำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2518 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยง เพื่อจัดสรรให้ราษฎรทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ (ให้ทำกินครอบครัวละ 14 ไร่ 2 งาน และให้เป็นที่อยู่อาศัยอีก 2 งาน) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธ์ครอบครองตกทอดถึงทายาทโดยธรรมได้เป็นการถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนมาครอบครองโดยวิธีกว้านซื้อ โดยกรมป่าไม้จะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวโดยจัดตั้งในรูปหมู่บ้านป่าไม้ นายเบ้า และบุตรเขย จึงได้รับการจัดสรรที่ดินคนละ 15 ไร่ รวม 30 ไร่ และได้มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ตลอดมา ตั้งแต่ปี 2520-2538
ต่อมานายเบ้า ได้ขายที่ดินของตนเองและบุตรเขย จำนวน 20 ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ เมื่อปี 2538 พร้อมมอบหลักฐานการแสดงภาษี ให้แก่นายนพดล ด้วย และนายนพดล ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างปี 2538-2540 ต่อมา พ.อ.สุรฤทธ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2540-2545 และในวันที่ 6 ก.ค.2543 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ไปยื่นขอออกเลขที่บ้าน เลขที่ 10 ตำบลคลองไผ่ (เดิมอยู่ในเขตตำบลลาดบัวขาว) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในปัจจุบัน และในวันที่ 4 ก.ค. 2546 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังดังกล่าว
ในปี 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีหลักฐานว่าผู้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ในที่ดินดังกล่าว คือ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยาของ พล.อ.สุรยุทธ์ ซึ่งที่ผ่านมากรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกับผู้ใดเลย ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2550 นายคุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว กับพวกรวม 12 คน ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวก ในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เขายายเที่ยงดังกล่าว โดยพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ (ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ต้องหาที่ 3 และนายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นผู้ต้องหาที่ 4
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินฯ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการจังหวัดสี้คิ้วพิจารณาตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 โดยพนักงานอัยการจังหวัดสี้คิ้วได้พิจารณาและสอบสวนเพิ่มเติมบางประเด็นและเสนอสำนวนให้อธิบดีอัยการเขต 3 มีคำสั่ง ซึ่งอธิบดีอัยการเขต 3 ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 เช่นเดียวกันกับพนักงานสอบสวนโดยเห็นว่า นายเบ้า และราษฎร มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองต่อมาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ์ของนายเป้า จึงขาดเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องของอธิบดีอัยการเขต 3 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
กรณีการครอบครองที่ดินผิดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรี อัยการจังหวัดสีคิ้ว ได้มีหนังสือ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของแผนงานจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในรูปหมู่บ้าน ป่าไม้และสหกรณ์การเกษตร ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
นายธนพิชญ์กล่าวย้ำว่า หนังสือที่อัยการแจ้งให้ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรนั้น เพียงแต่ ให้ดำเนินตามมติ ครม. ที่ให้นำที่ดินคืนแก่ผู้ครอบครอง หรือทายาทผู้ครอบครองที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น ส่วนกรมป่าไม้ จะดำเนินการเอาที่ดินคืนจาก พล.อ.สุรยุทธ์ หรือไม่อย่างไรเป็นหน้าที่ของกรมป่าไม้ที่จะพิจารณาดำเนินการอัยการไม่มีอำนาจหน้าที่ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ละเว้นไม่ดำเนินการให้การครอบครองที่ดินเป็นไปตามเงื่อนไข มติ ครม. ปี 2518 ก็น่าคิดว่าอาจจะเป็นความผิดละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่ากรมป่าไม้จะดำเนินการอย่างไร
เมื่อถามว่า หากกรมป่าไม้จะต้องดำเนินการเอาที่ดินจาก พล.อ.สุรยุทธ์ แล้วจะต้องมีการฟ้องคืนขับไล่ที่ สามารถส่งให้อัยการดำเนินการได้หรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย อาจจะแจ้งความ ซึ่งกรมป่าไม้จะต้องเป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อถามว่า อัยการยืนยันว่าพร้อมจะฟ้องขับไล่ที่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ องคมนตรี หรือไม่ หากกรมป่าไม้ขอให้ดำเนินคดี นายธนพิชญ์ กล่าวว่า อัยการจะพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งคดีการบุกรุกที่ดังกล่าวอัยการก็ดำเนินการตามที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวน แต่คงไม่ตอบว่าจะไม่พิจารณากรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์
เมื่อถามว่า ที่กลุ่มคนเสื้อแดงอ้างว่าผู้ที่ครอบครองที่ดินเชิงเขาถูกดำเนินคดีต่างจากกับกรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์ นายธนพิชญ์กล่าวว่า การครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นคนละกรณีกัน โดยที่ดินบนเขาที่ พล.อ.สุรยุทธ์ สร้างบ้านไว้ เจ้าของเดิมได้รับการจัดสรรจากกรมป่าไม้ตามมติ ครม. ให้ชาวบ้านที่อยู่บนเขาถือครองได้คนละ 15 ไร่ แต่กรมป่าไม้ไม่มีการจัดสรรที่ดินเชิงเขาให้ชาวบ้าน ดังนั้นผู้ที่เข้าไปยึดครองจึงมีความผิดฐานบุกรุก
เมื่อถามว่า การที่นายเบ้าซึ่งได้รับจัดสรรที่ตามติ ครม.นำที่ดินมาขายต่อ ซึ่งฝ่าฝืนเงื่อนการครอบครองที่ดิน จะมีการดำเนินคดีได้หรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า มติ ครม. เป็นข้อห้ามการซื้อขาย แต่ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้นนายเบ้าจึงไม่มีความผิด ส่วน พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ซื้อที่ดินไปแม้จะไม่มีความผิดเช่นกันแต่ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ซึ่งสิทธิ์ครอบครองที่แท้จริงต้องตกเป็นของทายาทนายเบ้า
อัยการสั่งไม่ฟ้อง “สุรยุทธ์” ชี้ขาดเจตนารุกเขายายเที่ยง
วันนี้ (8 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 100 ปี ชั้น 4 สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด แถลงชี้แจงกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้อง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี กับพวก คดีบุกรุกเขายายเที่ยงว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีเขต 3 มีคำสั่งไม่ฟ้องตามพนักงานสอบสวนไปเมื่อวันที่ 15 ต.ค.2552 ที่ผ่านมา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา มีความเห็นชอบกับอัยการไปเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2552
ดังนั้น คดีจึงเสร็จเด็ดขาด โดยเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้องเนื่องจากที่ดินบนเขายายเที่ยงแปลงที่ พล.อ.สุรยุทธ์ ครอบครองนั้น จากการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมีหลักฐานว่าที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 67 (พ.ศ.2508) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ซึ่งกำหนดให้ป่าเขาเตียนและป่าเขาเขื่อนลั่น (เขายายเที่ยง) ในท้องที่ตำบลจันทึก อำเภอปากช่อง และตำบลลาดบัวขาว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ก่อนที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จะเข้าครอบครองปลูกเป็นที่พักอาศัย ที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนายเบ้า สินนอก และบุตรเขย ซึ่งนายเบ้าได้ซื้อที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่มีเอกสารสิทธิจำนวน 10 ไร่ โดยไม่ทราบว่าเป็นที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวนฯ แล้วเข้าไปทำไร่มันสำปะหลัง ละหุ่ง และข้าวโพด นอกจากนั้นที่ดินในเขตป่าสงวนเขายายเที่ยงยังมีราษฎรเข้าไปอยู่อาศัยทำกินเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2518 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการปรับปรุงป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยง เพื่อจัดสรรให้ราษฎรทำกินครอบครัวละไม่เกิน 15 ไร่ (ให้ทำกินครอบครัวละ 14 ไร่ 2 งาน และให้เป็นที่อยู่อาศัยอีก 2 งาน) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธ์ครอบครองตกทอดถึงทายาทโดยธรรมได้เป็นการถาวร เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนมาครอบครองโดยวิธีกว้านซื้อ โดยกรมป่าไม้จะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวโดยจัดตั้งในรูปหมู่บ้านป่าไม้ นายเบ้า และบุตรเขย จึงได้รับการจัดสรรที่ดินคนละ 15 ไร่ รวม 30 ไร่ และได้มีการเสียภาษีบำรุงท้องที่ (ภ.บ.ท.5) ตลอดมา ตั้งแต่ปี 2520-2538
ต่อมานายเบ้า ได้ขายที่ดินของตนเองและบุตรเขย จำนวน 20 ไร่ ให้นายนพดล พิทักษ์วาณิชย์ เมื่อปี 2538 พร้อมมอบหลักฐานการแสดงภาษี ให้แก่นายนพดล ด้วย และนายนพดล ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ระหว่างปี 2538-2540 ต่อมา พ.อ.สุรฤทธ์ จันทราทิพย์ เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2540-2545 และในวันที่ 6 ก.ค.2543 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ไปยื่นขอออกเลขที่บ้าน เลขที่ 10 ตำบลคลองไผ่ (เดิมอยู่ในเขตตำบลลาดบัวขาว) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในปัจจุบัน และในวันที่ 4 ก.ค. 2546 พล.ต.สุรฤทธ์ เป็นผู้ขออนุญาตใช้ไฟฟ้าในบ้านหลังดังกล่าว
ในปี 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีหลักฐานว่าผู้ยื่นเสียภาษีบำรุงท้องที่ ในที่ดินดังกล่าว คือ พ.อ.หญิง คุณหญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยาของ พล.อ.สุรยุทธ์ ซึ่งที่ผ่านมากรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เคยดำเนินคดีข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติกับผู้ใดเลย ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2550 นายคุ้มพงษ์ ภูมิภูเขียว กับพวกรวม 12 คน ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ กับพวก ในข้อหาบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ เขายายเที่ยงดังกล่าว โดยพนักงานสอบสวนได้ดำเนินคดีกับ พล.อ.สุรยุทธ์ (ขณะเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ต้องหาที่ 1 นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ต้องหาที่ 3 และนายวิชัย แหลมวิไล อธิบดีกรมป่าไม้ เป็นผู้ต้องหาที่ 4
ทั้งนี้ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติและร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ในที่ดินฯ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 โดยส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการจังหวัดสี้คิ้วพิจารณาตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551 โดยพนักงานอัยการจังหวัดสี้คิ้วได้พิจารณาและสอบสวนเพิ่มเติมบางประเด็นและเสนอสำนวนให้อธิบดีอัยการเขต 3 มีคำสั่ง ซึ่งอธิบดีอัยการเขต 3 ได้มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 เช่นเดียวกันกับพนักงานสอบสวนโดยเห็นว่า นายเบ้า และราษฎร มีสิทธิครอบครองที่ดินโดยชอบตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงเป็นการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองต่อมาของ พล.อ.สุรยุทธ์ จึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ์ของนายเป้า จึงขาดเจตนากระทำผิดตามข้อกล่าวหา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้ให้ความเห็นชอบกับคำสั่งไม่ฟ้องของอธิบดีอัยการเขต 3 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
กรณีการครอบครองที่ดินผิดเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรี อัยการจังหวัดสีคิ้ว ได้มีหนังสือ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2553 แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 8 (นครราชสีมา) ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขของแผนงานจัดที่ดินให้แก่ราษฎรในรูปหมู่บ้าน ป่าไม้และสหกรณ์การเกษตร ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
นายธนพิชญ์กล่าวย้ำว่า หนังสือที่อัยการแจ้งให้ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรนั้น เพียงแต่ ให้ดำเนินตามมติ ครม. ที่ให้นำที่ดินคืนแก่ผู้ครอบครอง หรือทายาทผู้ครอบครองที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น ส่วนกรมป่าไม้ จะดำเนินการเอาที่ดินคืนจาก พล.อ.สุรยุทธ์ หรือไม่อย่างไรเป็นหน้าที่ของกรมป่าไม้ที่จะพิจารณาดำเนินการอัยการไม่มีอำนาจหน้าที่ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ละเว้นไม่ดำเนินการให้การครอบครองที่ดินเป็นไปตามเงื่อนไข มติ ครม. ปี 2518 ก็น่าคิดว่าอาจจะเป็นความผิดละเว้นปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่ากรมป่าไม้จะดำเนินการอย่างไร
เมื่อถามว่า หากกรมป่าไม้จะต้องดำเนินการเอาที่ดินจาก พล.อ.สุรยุทธ์ แล้วจะต้องมีการฟ้องคืนขับไล่ที่ สามารถส่งให้อัยการดำเนินการได้หรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ต้องมีขั้นตอนตามกฎหมาย อาจจะแจ้งความ ซึ่งกรมป่าไม้จะต้องเป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อถามว่า อัยการยืนยันว่าพร้อมจะฟ้องขับไล่ที่กับ พล.อ.สุรยุทธ์ องคมนตรี หรือไม่ หากกรมป่าไม้ขอให้ดำเนินคดี นายธนพิชญ์ กล่าวว่า อัยการจะพิจารณาตามกฎหมาย ซึ่งคดีการบุกรุกที่ดังกล่าวอัยการก็ดำเนินการตามที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวน แต่คงไม่ตอบว่าจะไม่พิจารณากรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์
เมื่อถามว่า ที่กลุ่มคนเสื้อแดงอ้างว่าผู้ที่ครอบครองที่ดินเชิงเขาถูกดำเนินคดีต่างจากกับกรณีของ พล.อ.สุรยุทธ์ นายธนพิชญ์กล่าวว่า การครอบครองที่ดินดังกล่าวเป็นคนละกรณีกัน โดยที่ดินบนเขาที่ พล.อ.สุรยุทธ์ สร้างบ้านไว้ เจ้าของเดิมได้รับการจัดสรรจากกรมป่าไม้ตามมติ ครม. ให้ชาวบ้านที่อยู่บนเขาถือครองได้คนละ 15 ไร่ แต่กรมป่าไม้ไม่มีการจัดสรรที่ดินเชิงเขาให้ชาวบ้าน ดังนั้นผู้ที่เข้าไปยึดครองจึงมีความผิดฐานบุกรุก
เมื่อถามว่า การที่นายเบ้าซึ่งได้รับจัดสรรที่ตามติ ครม.นำที่ดินมาขายต่อ ซึ่งฝ่าฝืนเงื่อนการครอบครองที่ดิน จะมีการดำเนินคดีได้หรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า มติ ครม. เป็นข้อห้ามการซื้อขาย แต่ไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้นนายเบ้าจึงไม่มีความผิด ส่วน พล.อ.สุรยุทธ์ ที่ซื้อที่ดินไปแม้จะไม่มีความผิดเช่นกันแต่ไม่มีสิทธิ์ครอบครอง ซึ่งสิทธิ์ครอบครองที่แท้จริงต้องตกเป็นของทายาทนายเบ้า