สวัสดีฮะ วันนี้ผมคงไม่ได้อยู่บางขุนพรหมสักวันหนึ่งล่ะนะ... ผมคงต้องมาดูข่าวพระดังว่าจะปราชิกหรือไม่ (คงไม่ต้องเดาล่ะ) ก็เป็นที่ทราบผลแล้วว่าเป็นอย่างไร
ผมจึงนำธรรมะดีๆ อันหนึ่ง "เหตุให้"สัทธรรมปฏิรูป" (ธรรมะปลอม) แทรกพระพุทธศาสนา" มาฝากแก่ชาวพันทิปกันครับผม
อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗
อปริหานิยธรรม๗ ใน มหาปรินิพพานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักหมั่นประชุมกันเนืองๆ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อม เพรียงกันเลิกประชุม และจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงกระทำ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุ ผู้เป็นเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้นอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหาอันจะก่อให้เกิดภพใหม่ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้ยินดีในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใดพึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งสติไว้ในภายในว่า ไฉนหนอเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังมิได้มา พึงมาเถิดและที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุกดังนี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
พระสูตร ชื่อว่า "อาณิ" อันพระพุทธเจ้าได้อุปมาด้วยตะโพนก้ามปูซึ่งอันตรธานไปด้วยลิ่มไม้ที่เขานำมาซ่อมแซม จนทำให้เนื้อตะโพนเดิมสูญหายไปหมด เหลือแต่ของเทียมทั้งแท่งแทนที่กัน
พระพุทธโคดม ได้แสดงอาการแห่งภัย คือ ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในโลกนี้ ว่า จะเสื่อมลงด้วยนัยอย่างนี้ คือ เมื่อใด นักปราชญ์ หรือพระสาวก พากันแต่งตำรา หรือใช้ภาษิตอธิบายธรรมเป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่ถือแนวแห่งพุทธภาษิตเป็นเกณฑ์ กล่าวภาษิตตามแบบฉบับของตนโดยมีพุทธภาษิตแซมอยู่บ้างในตอนต้น ในภายหลัง ภาษิตที่เกิดจากพระสาวก จะไม่อ้างถึงพุทธพจน์อีกเลย แล้ว พุทธพจน์ก็อันตรธานไปโดยนัยอย่างนั้น เหมือนอย่างอาการที่ตะโพนก้ามปูเริ่มเปลี่ยนเนื้อวัสดุไปด้วยการซ่อมแซม ตัวก้ามปูนั้นย่อมลดน้อยลงไป เป็นเพียงของที่แซมอยู่ในระหว่างเนื้อไม้ แล้วท้ายที่สุด เนื้อก้ามปูนั้นก็หายไปสิ้น เหลือแต่เนื้อไม้ แต่ก็ยังเรียกกันว่า ตะโพนอานกะ เหมือนเดิม
เหมือนพระพุทธศาสนาหรือพุทธธรรม ซึ่ง เนื้อเดิมแท้เป็นพุทธภาษิต และเป็นภาษิตของพระพุทธโคดมด้วย ไม่ใช่ขององค์อื่น ไม่ใช่ของพระสาวก. เมื่อผ่านกาลเวลามา เมื่อพุทธบริษัทไม่ใส่ใจรักษา พากันไปสนใจถ้อยคำแปลกๆแหวกแนวด้วยรู้สึกว่า เข้าใจง่าย สะดวกดี อย่างนี้ ต่อมาภายหลัง ชนเหล่านั้นก็จะรักษาแต่สาวกภาษิตที่มีพุทธพจน์แซมอยู่บ้าง จนถึงไม่มีพุทธพจน์เจืออยู่เลย แล้วก็ยังคงเรียกว่า นี่คือพระพุทธศาสนา คือ พุทธธรรม
มูลของสาวกภาษิต
ธรรมดาของภูมินิสัยแห่งพระสัมพุทธเจ้า ย่อมละเอียดละออ เป็นสุขุมาลชาติ พิจารณาแง่มุมแห่งธรรมต่างๆละเอียดยิบ ถ้อยคำแม้สักน้อยสักนิดที่จะเป็นเหตุให้คนเข้าใจธรรมผิดเพี้ยน แม้ว่า พิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็แสดงธรรมนั้นๆได้ แต่ โทษมันมี อย่างนี้ พระองค์ก็เลี่ยงเสีย ใช้ถ้อยคำที่รัดกุมที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด นำไปสู่การพ้นทุกข์ได้อย่างยิ่ง พระองค์จึงกล่าวว่า พุทธพจน์ของพระองค์ประกอบไปด้วยสุญญตธรรม ลึกซึ้ง
เพราะ พุทธภาษิต ผ่านการพิจารณาคัดกรองมาตลอด 4อสงไขยแสนกัปป์บ้าง 8อสงไขยแสนกัปป์บ้าง 16อสงไขยแสนกัปป์บ้าง ในระหว่างบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์เจ้าก็ได้มนสิการ ค้นหาวิธีการแสดงธรรม ว่าทำอย่างไรจะแสดงธรรมได้ตรง ได้แม่นยำ มีคุณมาก มีสุญญตมาก เป็นเหตุให้สัตว์บรรลุธรรมได้มาก
ก็เพราะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย อบรมตนในเรื่องการแถลงคารม การบัญญัติธรรม เมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว คราวที่พรหมอาราธนาพระองค์ พระพุทธโคดมก็ยังได้กล่าวแก่พรหมว่า พระองค์เป็นผู้คล่องแคล่วแล้วในธรรม ไม่ใช่ว่าที่คิดว่าจะไม่สอนโลก เพราะพระองค์ไม่คล่องแคล่วก็หามิได้
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี จึงได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้สำหรับท่านแล้ว ผู้มีโสตจงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลำบาก จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีตซึ่งเราให้คล่องแคล่วแล้วในหมู่มนุษย์ ดังนี้ ฯ
เรื่องความช่ำชองคล่องแคล่วในการบัญญัติธรรม แสดงธรรมนี้ เป็นพุทธวิสัยของพระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มีในข้อนี้
เรื่องการบัญญัติธรรมนั้น เป็นวิสัยของพระสัมพุทธเจ้า แต่ เรื่องการแสดงธรรมนั้น พระสาวกของพระพุทธเจ้าก็แสดงได้คล่องแคล่ว เมื่อได้เห็นพุทธลีลาและแนวแห่งถ้อยคำที่จะใช้แสดงจากพระพุทธเจ้า เรียกว่า ได้นิสัยในการแสดงธรรมมา
ก็หากว่า พระสาวกจะดำเนินตามนิสัยของพระพุทธเจ้า ที่พระสาวกรุ่นแรกๆพากันดำเนินมา พระพุทธศาสนาก็จะไม่เสื่อมเสียไป แต่ ในธรรมดาแห่งโลก ก็หาได้เป็นไปอย่างนั้น
ในภายหลัง เมื่อพระสาวกรุ่นหลังๆ ผู้ไม่ละเอียดอ่อนในวิสัยแห่งธรรม ว่า วิสัยในการบัญญัติธรรมนั้น เป็นของพระสัมพุทธเจ้า อาศัยความเป็นผู้ไม่เห็นภัยคือความเสื่อมแห่งพระศาสนาจากถ้อยคำที่ไม่รอบคอบนั้น พระสาวกรุ่นหลังๆ ย่อมก้าวล่วงเข้าไปเพื่อจะเป็นผู้บัญญัติธรรมด้วย ไม่ใช่เพียงแต่แสดงเฉยๆ แต่ บัญญัติขึ้นเป็นแบบฉบับของตนด้วย
เหตุที่บัญญัติถ้อยคำที่ใช้แสดงธรรมตั้งแต่ต้นจนอวสานใหม่นั้น ก็เกิดจาก ความประสงค์ที่จะทำให้ผู้ฟังธรรม เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า ทำไมมันถึงแปลกๆแปร่งๆไปจากที่เคยได้ยินได้ฟังมา คือ จากพุทธภาษิตที่แพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อเขาสนใจแล้ว ก็จึงแสดงอรรถาธิบายในถ้อยคำนั้น ชี้แนะผู้สงสัยให้กระจ่างในข้อธรรม
เมื่อผู้สงสัย คลายสงสัยได้จากพระสาวกรูปนั้นๆ ด้วยลักษณะแห่งถ้อยคำแบบนั้นๆ เขาก็ย่อมเกิดความเข้าใจว่า ภาษิตของพระสาวกนี้ น่าอัศจรรย์จริงๆ น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่าของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ ควรแก่การใส่ใจศึกษาเล่าเรียนวิธีการแสดงธรรมแบบนี้
เปรียบเหมือนในโลกของการค้า พวกพ่อค้าใช้เล่ห์อุบายต่างๆที่จะดึงดูดลูกค้าของตนให้มาสนใจใส่ใจในสินค้า เขาก็ต้องค้นหาจุดที่มันแปลกไปจากคนอื่น แปลกไปจากของเดิม ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นสินค้าใหม่สุดๆ ทันสมัยสุดๆ เท่ห์สุดๆ แล้ววัยรุ่นผู้ไม่พิจารณาก็หลงใหลไปตามอุบายของพ่อค้านั้น
แม้พระสาวกก็เช่นกัน เนื่องด้วยท่านไม่ใช่สุขุมาลชาติดังพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา จึงได้บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่พาบัญญัติ แล้วเป็นอันละบัญญัติที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ด้วย อันนี้ มันขัดกับหลักอปริหานิยธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ช่วงก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานไม่นานนักว่า
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
การแต่งตำราทั้งสิ้น ที่ไม่ใช่พุทธพจน์ ย่อมเป็นเหมือนการตอกลิ่มไม้ลงไปยังตะโพนอานกะ เพื่อจะอธิบายจุดที่ดูเหมือนจะเข้าใจยากในพุทธพจน์นั้นๆ แต่ ทั้งสิ้นนั้นในคัมภีร์ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา ไม่ใช่พุทธพจน์ทั้งสิ้น เป็นประดุจลิ่มไม้ทั้งสิ้น ไม่ใช่เนื้อตะโพนแท้ ย่อมมีความผิดพลาดที่ซ่อนเร้นอยู่โดยพิจารณาไม่ถึงโทษภัยนั้น ด้วยว่า คุณประโยชน์มันมี และดูเหมือนมาก คือ ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้นกว่าอ่านหรือฟังพุทธพจน์โดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน โทษที่มันมีมากมันก็มี คือ มันจะย้อนกลับมาทำพระพุทธศาสนาให้เสื่อมลงไป
หากเทียบชั้นคัมภีร์ ก็จะเห็นว่า อรรถกถา มีพุทธพจน์เจืออยู่มากที่สุด แต่ ก็เป็นของผสม ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วตำราหรือคัมภีร์ที่เขาจัดเป็นชั้นที่ ๓ ที่ ๔ ลงไป ปริมาณแห่งพุทธพจน์ที่ยกขึ้นอ้างอิงก็ยิ่งลดน้อยลงไปตามลำดับ จนถึง ไม่มีเจืออยู่เลย เป็นอัตโนมัติไป
ผู้ใส่ใจพุทธพจน์โดยตรง หาได้น้อยลงไปเรื่อยๆ และ ผู้ที่สนใจอัตโนมัติ (ความคิดความเห็นหรือญาณทัศนะส่วนตัวอันยังไม่ถึงขั้น"สัพพัญญุตญาณ"เทียบเท่าของพระพุทธเจ้า ของเกจิอาจารย์หรือหลวงปู่หลวงพ่อต่างๆ) นั้น ดูมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จน"คำพระสาวก" ดูจะมีค่ามีน้ำหนักกว่า"คำพระพุทธเจ้า"ไปเสียแล้ว...
มูลเหตุที่พระสาวกแต่งตำราขึ้นให้มีอักษรอันวิจิตร ละเอียดพิสดารนั้น ก็ด้วยประสงค์ว่า ขอให้ผู้คนหันมาสนใจพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น หากนำเสนอในรูปแบบเดิม คือ พุทธพจน์ล้วนๆ คนเขาไม่สนใจ จึงต้องได้แต่งเติมเสริมมุขที่เป็นเอกลักษณ์ของตนลงไปด้วยเพื่อให้คนสนใจ ใส่ใจ
ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น คือ บัญญัติธรรมในหลายรูปแบบ เพื่อจะให้คนผู้ฟังธรรม สนใจธรรม ใส่ใจธรรม ปฏิบัติธรรมให้ได้มาก ให้ได้ง่าย แต่ ธรรมบัญญัติทั้งสิ้นของพระองค์แต่ละบทแต่ละบาท แต่ละถ้อยคำ พระองค์ย่อมพิจารณาในอันที่จะไม่ให้สุญญตธรรมเสื่อมเสียไป ไม่ให้ประโยชน์มันบกบางลงไปด้วย ปัจจัยที่นำมาประกอบกันในการพิจารณา ย่อมมีมากกว่าที่พระสาวกพิจารณา เพราะ พระองค์ประสงค์ว่า ขอให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้นานด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่า ให้คนสนใจมากๆ ในเฉพาะหน้าเท่านั้น
ที่มาจากที่นี่ครับ>>
http://www.phuttawong.net/index.aspx?ContentID=ContentID-061219091905217
[บทความดีๆ] เหตุให้"สัทธรรมปฏิรูป" (ธรรมะปลอม) แทรกพระพุทธศาสนา
ผมจึงนำธรรมะดีๆ อันหนึ่ง "เหตุให้"สัทธรรมปฏิรูป" (ธรรมะปลอม) แทรกพระพุทธศาสนา" มาฝากแก่ชาวพันทิปกันครับผม
อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ...
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗
อปริหานิยธรรม๗ ใน มหาปรินิพพานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรมทั้ง ๗ แก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักหมั่นประชุมกันเนืองๆ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อม เพรียงกันเลิกประชุม และจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์พึงกระทำ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุ ผู้เป็นเถระ ผู้รัตตัญญู บวชนาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก และจักเชื่อฟังถ้อยคำของท่านเหล่านั้นอยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่ลุอำนาจแก่ตัณหาอันจะก่อให้เกิดภพใหม่ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียวไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเป็นผู้ยินดีในเสนาสนะป่า อยู่เพียงใดพึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักเข้าไปตั้งสติไว้ในภายในว่า ไฉนหนอเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักที่ยังมิได้มา พึงมาเถิดและที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นผาสุกดังนี้ อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม เพียงนั้น ฯ
พระสูตร ชื่อว่า "อาณิ" อันพระพุทธเจ้าได้อุปมาด้วยตะโพนก้ามปูซึ่งอันตรธานไปด้วยลิ่มไม้ที่เขานำมาซ่อมแซม จนทำให้เนื้อตะโพนเดิมสูญหายไปหมด เหลือแต่ของเทียมทั้งแท่งแทนที่กัน
พระพุทธโคดม ได้แสดงอาการแห่งภัย คือ ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในโลกนี้ ว่า จะเสื่อมลงด้วยนัยอย่างนี้ คือ เมื่อใด นักปราชญ์ หรือพระสาวก พากันแต่งตำรา หรือใช้ภาษิตอธิบายธรรมเป็นแบบฉบับของตนเอง ไม่ถือแนวแห่งพุทธภาษิตเป็นเกณฑ์ กล่าวภาษิตตามแบบฉบับของตนโดยมีพุทธภาษิตแซมอยู่บ้างในตอนต้น ในภายหลัง ภาษิตที่เกิดจากพระสาวก จะไม่อ้างถึงพุทธพจน์อีกเลย แล้ว พุทธพจน์ก็อันตรธานไปโดยนัยอย่างนั้น เหมือนอย่างอาการที่ตะโพนก้ามปูเริ่มเปลี่ยนเนื้อวัสดุไปด้วยการซ่อมแซม ตัวก้ามปูนั้นย่อมลดน้อยลงไป เป็นเพียงของที่แซมอยู่ในระหว่างเนื้อไม้ แล้วท้ายที่สุด เนื้อก้ามปูนั้นก็หายไปสิ้น เหลือแต่เนื้อไม้ แต่ก็ยังเรียกกันว่า ตะโพนอานกะ เหมือนเดิม
เหมือนพระพุทธศาสนาหรือพุทธธรรม ซึ่ง เนื้อเดิมแท้เป็นพุทธภาษิต และเป็นภาษิตของพระพุทธโคดมด้วย ไม่ใช่ขององค์อื่น ไม่ใช่ของพระสาวก. เมื่อผ่านกาลเวลามา เมื่อพุทธบริษัทไม่ใส่ใจรักษา พากันไปสนใจถ้อยคำแปลกๆแหวกแนวด้วยรู้สึกว่า เข้าใจง่าย สะดวกดี อย่างนี้ ต่อมาภายหลัง ชนเหล่านั้นก็จะรักษาแต่สาวกภาษิตที่มีพุทธพจน์แซมอยู่บ้าง จนถึงไม่มีพุทธพจน์เจืออยู่เลย แล้วก็ยังคงเรียกว่า นี่คือพระพุทธศาสนา คือ พุทธธรรม
มูลของสาวกภาษิต
ธรรมดาของภูมินิสัยแห่งพระสัมพุทธเจ้า ย่อมละเอียดละออ เป็นสุขุมาลชาติ พิจารณาแง่มุมแห่งธรรมต่างๆละเอียดยิบ ถ้อยคำแม้สักน้อยสักนิดที่จะเป็นเหตุให้คนเข้าใจธรรมผิดเพี้ยน แม้ว่า พิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง ก็แสดงธรรมนั้นๆได้ แต่ โทษมันมี อย่างนี้ พระองค์ก็เลี่ยงเสีย ใช้ถ้อยคำที่รัดกุมที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด นำไปสู่การพ้นทุกข์ได้อย่างยิ่ง พระองค์จึงกล่าวว่า พุทธพจน์ของพระองค์ประกอบไปด้วยสุญญตธรรม ลึกซึ้ง
เพราะ พุทธภาษิต ผ่านการพิจารณาคัดกรองมาตลอด 4อสงไขยแสนกัปป์บ้าง 8อสงไขยแสนกัปป์บ้าง 16อสงไขยแสนกัปป์บ้าง ในระหว่างบำเพ็ญบารมี พระโพธิสัตว์เจ้าก็ได้มนสิการ ค้นหาวิธีการแสดงธรรม ว่าทำอย่างไรจะแสดงธรรมได้ตรง ได้แม่นยำ มีคุณมาก มีสุญญตมาก เป็นเหตุให้สัตว์บรรลุธรรมได้มาก
ก็เพราะ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย อบรมตนในเรื่องการแถลงคารม การบัญญัติธรรม เมื่อสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว คราวที่พรหมอาราธนาพระองค์ พระพุทธโคดมก็ยังได้กล่าวแก่พรหมว่า พระองค์เป็นผู้คล่องแคล่วแล้วในธรรม ไม่ใช่ว่าที่คิดว่าจะไม่สอนโลก เพราะพระองค์ไม่คล่องแคล่วก็หามิได้
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวมหาพรหมนั้นได้กราบทูลแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี จึงได้ตรัสกะท้าวมหาพรหมนั้นด้วยพระคาถาว่า เราได้เปิดเผยประตูอมตะไว้สำหรับท่านแล้ว ผู้มีโสตจงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เรารู้สึกลำบาก จึงมิได้กล่าวธรรมอันประณีตซึ่งเราให้คล่องแคล่วแล้วในหมู่มนุษย์ ดังนี้ ฯ
เรื่องความช่ำชองคล่องแคล่วในการบัญญัติธรรม แสดงธรรมนี้ เป็นพุทธวิสัยของพระสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มีในข้อนี้
เรื่องการบัญญัติธรรมนั้น เป็นวิสัยของพระสัมพุทธเจ้า แต่ เรื่องการแสดงธรรมนั้น พระสาวกของพระพุทธเจ้าก็แสดงได้คล่องแคล่ว เมื่อได้เห็นพุทธลีลาและแนวแห่งถ้อยคำที่จะใช้แสดงจากพระพุทธเจ้า เรียกว่า ได้นิสัยในการแสดงธรรมมา
ก็หากว่า พระสาวกจะดำเนินตามนิสัยของพระพุทธเจ้า ที่พระสาวกรุ่นแรกๆพากันดำเนินมา พระพุทธศาสนาก็จะไม่เสื่อมเสียไป แต่ ในธรรมดาแห่งโลก ก็หาได้เป็นไปอย่างนั้น
ในภายหลัง เมื่อพระสาวกรุ่นหลังๆ ผู้ไม่ละเอียดอ่อนในวิสัยแห่งธรรม ว่า วิสัยในการบัญญัติธรรมนั้น เป็นของพระสัมพุทธเจ้า อาศัยความเป็นผู้ไม่เห็นภัยคือความเสื่อมแห่งพระศาสนาจากถ้อยคำที่ไม่รอบคอบนั้น พระสาวกรุ่นหลังๆ ย่อมก้าวล่วงเข้าไปเพื่อจะเป็นผู้บัญญัติธรรมด้วย ไม่ใช่เพียงแต่แสดงเฉยๆ แต่ บัญญัติขึ้นเป็นแบบฉบับของตนด้วย
เหตุที่บัญญัติถ้อยคำที่ใช้แสดงธรรมตั้งแต่ต้นจนอวสานใหม่นั้น ก็เกิดจาก ความประสงค์ที่จะทำให้ผู้ฟังธรรม เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า ทำไมมันถึงแปลกๆแปร่งๆไปจากที่เคยได้ยินได้ฟังมา คือ จากพุทธภาษิตที่แพร่หลายอยู่ก่อนแล้ว
เมื่อเขาสนใจแล้ว ก็จึงแสดงอรรถาธิบายในถ้อยคำนั้น ชี้แนะผู้สงสัยให้กระจ่างในข้อธรรม
เมื่อผู้สงสัย คลายสงสัยได้จากพระสาวกรูปนั้นๆ ด้วยลักษณะแห่งถ้อยคำแบบนั้นๆ เขาก็ย่อมเกิดความเข้าใจว่า ภาษิตของพระสาวกนี้ น่าอัศจรรย์จริงๆ น่าอัศจรรย์ยิ่งกว่าของพระพุทธเจ้าด้วยซ้ำ ควรแก่การใส่ใจศึกษาเล่าเรียนวิธีการแสดงธรรมแบบนี้
เปรียบเหมือนในโลกของการค้า พวกพ่อค้าใช้เล่ห์อุบายต่างๆที่จะดึงดูดลูกค้าของตนให้มาสนใจใส่ใจในสินค้า เขาก็ต้องค้นหาจุดที่มันแปลกไปจากคนอื่น แปลกไปจากของเดิม ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นสินค้าใหม่สุดๆ ทันสมัยสุดๆ เท่ห์สุดๆ แล้ววัยรุ่นผู้ไม่พิจารณาก็หลงใหลไปตามอุบายของพ่อค้านั้น
แม้พระสาวกก็เช่นกัน เนื่องด้วยท่านไม่ใช่สุขุมาลชาติดังพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดา จึงได้บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่พาบัญญัติ แล้วเป็นอันละบัญญัติที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ด้วย อันนี้ มันขัดกับหลักอปริหานิยธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ช่วงก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานไม่นานนักว่า
๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุจักไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้แล้ว จักไม่ถอนสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว จักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว อยู่เพียงใด พึงหวังได้ซึ่งความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อมเพียงนั้น ฯ
การแต่งตำราทั้งสิ้น ที่ไม่ใช่พุทธพจน์ ย่อมเป็นเหมือนการตอกลิ่มไม้ลงไปยังตะโพนอานกะ เพื่อจะอธิบายจุดที่ดูเหมือนจะเข้าใจยากในพุทธพจน์นั้นๆ แต่ ทั้งสิ้นนั้นในคัมภีร์ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา ไม่ใช่พุทธพจน์ทั้งสิ้น เป็นประดุจลิ่มไม้ทั้งสิ้น ไม่ใช่เนื้อตะโพนแท้ ย่อมมีความผิดพลาดที่ซ่อนเร้นอยู่โดยพิจารณาไม่ถึงโทษภัยนั้น ด้วยว่า คุณประโยชน์มันมี และดูเหมือนมาก คือ ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้นกว่าอ่านหรือฟังพุทธพจน์โดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน โทษที่มันมีมากมันก็มี คือ มันจะย้อนกลับมาทำพระพุทธศาสนาให้เสื่อมลงไป
หากเทียบชั้นคัมภีร์ ก็จะเห็นว่า อรรถกถา มีพุทธพจน์เจืออยู่มากที่สุด แต่ ก็เป็นของผสม ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วตำราหรือคัมภีร์ที่เขาจัดเป็นชั้นที่ ๓ ที่ ๔ ลงไป ปริมาณแห่งพุทธพจน์ที่ยกขึ้นอ้างอิงก็ยิ่งลดน้อยลงไปตามลำดับ จนถึง ไม่มีเจืออยู่เลย เป็นอัตโนมัติไป
ผู้ใส่ใจพุทธพจน์โดยตรง หาได้น้อยลงไปเรื่อยๆ และ ผู้ที่สนใจอัตโนมัติ (ความคิดความเห็นหรือญาณทัศนะส่วนตัวอันยังไม่ถึงขั้น"สัพพัญญุตญาณ"เทียบเท่าของพระพุทธเจ้า ของเกจิอาจารย์หรือหลวงปู่หลวงพ่อต่างๆ) นั้น ดูมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จน"คำพระสาวก" ดูจะมีค่ามีน้ำหนักกว่า"คำพระพุทธเจ้า"ไปเสียแล้ว...
มูลเหตุที่พระสาวกแต่งตำราขึ้นให้มีอักษรอันวิจิตร ละเอียดพิสดารนั้น ก็ด้วยประสงค์ว่า ขอให้ผู้คนหันมาสนใจพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น หากนำเสนอในรูปแบบเดิม คือ พุทธพจน์ล้วนๆ คนเขาไม่สนใจ จึงต้องได้แต่งเติมเสริมมุขที่เป็นเอกลักษณ์ของตนลงไปด้วยเพื่อให้คนสนใจ ใส่ใจ
ความจริงแล้ว พระพุทธเจ้าของเรา พระองค์ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น คือ บัญญัติธรรมในหลายรูปแบบ เพื่อจะให้คนผู้ฟังธรรม สนใจธรรม ใส่ใจธรรม ปฏิบัติธรรมให้ได้มาก ให้ได้ง่าย แต่ ธรรมบัญญัติทั้งสิ้นของพระองค์แต่ละบทแต่ละบาท แต่ละถ้อยคำ พระองค์ย่อมพิจารณาในอันที่จะไม่ให้สุญญตธรรมเสื่อมเสียไป ไม่ให้ประโยชน์มันบกบางลงไปด้วย ปัจจัยที่นำมาประกอบกันในการพิจารณา ย่อมมีมากกว่าที่พระสาวกพิจารณา เพราะ พระองค์ประสงค์ว่า ขอให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้นานด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่า ให้คนสนใจมากๆ ในเฉพาะหน้าเท่านั้น
ที่มาจากที่นี่ครับ>> http://www.phuttawong.net/index.aspx?ContentID=ContentID-061219091905217