ไม่ไหวจะเคลียร์ละคะ บ้านนี้เมืองนี้ ไม่มีหน่วยงานไหนออกมาทำอะไร ก็ขอลองเองสักทีเถอะ
คือวันนี้แม่ห้ามใช้สบู่เหลวอาบน้ำแล้วค่ะ หลังจากห้ามมามากมายหลายสิ่งเพราะไอฟอร์เวิร์ดพวกนี้
อันอื่นก็ทนบ้าง ไม่มีชื่ออ้างบ้าง แต่วันนี้ความอดทนหมดละ มีชื่อพอดี ขอเคลียร์หน่อยเถอะค่ะ
อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว!!
ถ้าคุณชอบอาบน้ำด้วยสบู่เหลวละก้อ ควรอ่านบทความนี้...
เดี๋ยวนี้สบู่เหลวได้รับ ความนิยมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลของความสะดวกสบายเป็นสำคัญ แต่คุณรู้ไหมว่า สบู่เหลวที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่ใช่สบู่
แต่เป็นสารเคมีล้วนๆ สบู่เหลวที่ดีจริงๆจะต้องมีส่วนผสมของเนื้อสบู่อย่างน้อย 25% แล้วที่เหลือเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสบู่เหลวแบบนี้วางขายอยู่เลย
เพราะผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่วางขายอยู่นั้น เป็นแค่ใช้สารซักฟอกหรือดีเทอเจนผสมกับสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ แล้วทำให้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งสารซักฟอกหรือดีเทอเจนก็คือสารเคมีหลัก ที่ใช้ในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น หรือแม้แต่น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำนั่นเอง
จะผิดกันก็แต่ว่าความเข้มข้นของสารซักฟอก ที่ใช้ทำสบู่เหลวมีความเจือจางกว่าเท่านั้น
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สบู่เหลว คงไม่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที แต่จะสะสมเป็นปัญหาในระยะยาวได้ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในผิวหนัง อวัยวะ ภายใน และกระแสเลือดได้ทุกครั้งที่เราอาบน้ำ SLS หรือโซเดียม ลอริลซัลเฟต เป็นตัวอย่างหนึ่งของสารเคมีหลักที่มักใช้ในสบู่ คุณลองไปพลิกพวกผลิตภัณฑ์ซักล้างทุกอย่างดู จะเห็นส่วนผสมนี้จริงๆ บางทีใช้ชื่อว่าลอริล) และเป็นสารเคมีอันตราย หลายประเทศในยุโรปและอเมริกามีกฏหมายห้ามใช้ แล้วและบางประเทศก็จำกัดให้มีการใช้น้อยลง แต่ในบ้านเรากลับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆที่ SLS เป็นสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ง่ายและรวดเร็ว สามารถสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ ตับ และก่อปัญหาในระยะยาว หากยิ่งมีการใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลอามีน ก็จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด
เพราะฉะนั้น เราอาจต้องถามตัวเองดูใหม่ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใช้สบู่เหลว ซึ่งจริงๆแล้วคือสารเคมีล้วนๆ แต่ถ้ายังคงต้องการที่จะใช้ การใช้สบู่เหลวสำหรับเด็กก็จะดีกว่า ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เพียงแต่มีสารเคมีเจือจางกว่าเท่านั้น
แต่ถ้าจะให้ดี การกลับไปใช้สบู่ก้อนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ข้อมูลจากวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ
กิตสุนี รุจิชานันทกุล
มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 413/38
ถ.อรุณ อัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร.
02-424-5768
1 ขอถามนะคะ แหล่งที่มาถูกต้องมั้ยคะ มาจากวารสารชื่อนี้ คนชื่อนี้ใช่มั้ย ถ้าไม่ใช่โดนตัดต่อมา ขอโทษนะคะ
2 ถ้าใช่ ขอแหล่งข้อมูลอ้างอิงด้วยคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ไม่ไหวจริงๆคะ พูดอะไรกะแม่ไม่ได้ ขอเคลียร์กะต้นตอหน่อยค่ะ
ขอโทษนะคะ วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ หรือ คุณกิตสุนี รุจิชานันทกุล ช่วยเข้ามาเคลียร์หน่อยคะ
คือวันนี้แม่ห้ามใช้สบู่เหลวอาบน้ำแล้วค่ะ หลังจากห้ามมามากมายหลายสิ่งเพราะไอฟอร์เวิร์ดพวกนี้
อันอื่นก็ทนบ้าง ไม่มีชื่ออ้างบ้าง แต่วันนี้ความอดทนหมดละ มีชื่อพอดี ขอเคลียร์หน่อยเถอะค่ะ
อาบน้ำด้วยสบู่เหลว ตายเร็ว!!
ถ้าคุณชอบอาบน้ำด้วยสบู่เหลวละก้อ ควรอ่านบทความนี้...
เดี๋ยวนี้สบู่เหลวได้รับ ความนิยมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลของความสะดวกสบายเป็นสำคัญ แต่คุณรู้ไหมว่า สบู่เหลวที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่ใช่สบู่
แต่เป็นสารเคมีล้วนๆ สบู่เหลวที่ดีจริงๆจะต้องมีส่วนผสมของเนื้อสบู่อย่างน้อย 25% แล้วที่เหลือเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสบู่เหลวแบบนี้วางขายอยู่เลย
เพราะผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่วางขายอยู่นั้น เป็นแค่ใช้สารซักฟอกหรือดีเทอเจนผสมกับสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ แล้วทำให้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งสารซักฟอกหรือดีเทอเจนก็คือสารเคมีหลัก ที่ใช้ในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น หรือแม้แต่น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำนั่นเอง
จะผิดกันก็แต่ว่าความเข้มข้นของสารซักฟอก ที่ใช้ทำสบู่เหลวมีความเจือจางกว่าเท่านั้น
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สบู่เหลว คงไม่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที แต่จะสะสมเป็นปัญหาในระยะยาวได้ เพราะสารเคมีเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในผิวหนัง อวัยวะ ภายใน และกระแสเลือดได้ทุกครั้งที่เราอาบน้ำ SLS หรือโซเดียม ลอริลซัลเฟต เป็นตัวอย่างหนึ่งของสารเคมีหลักที่มักใช้ในสบู่ คุณลองไปพลิกพวกผลิตภัณฑ์ซักล้างทุกอย่างดู จะเห็นส่วนผสมนี้จริงๆ บางทีใช้ชื่อว่าลอริล) และเป็นสารเคมีอันตราย หลายประเทศในยุโรปและอเมริกามีกฏหมายห้ามใช้ แล้วและบางประเทศก็จำกัดให้มีการใช้น้อยลง แต่ในบ้านเรากลับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆที่ SLS เป็นสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ง่ายและรวดเร็ว สามารถสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ ตับ และก่อปัญหาในระยะยาว หากยิ่งมีการใช้ร่วมกับสารประกอบตระกูลอามีน ก็จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด
เพราะฉะนั้น เราอาจต้องถามตัวเองดูใหม่ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องใช้สบู่เหลว ซึ่งจริงๆแล้วคือสารเคมีล้วนๆ แต่ถ้ายังคงต้องการที่จะใช้ การใช้สบู่เหลวสำหรับเด็กก็จะดีกว่า ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย เพียงแต่มีสารเคมีเจือจางกว่าเท่านั้น
แต่ถ้าจะให้ดี การกลับไปใช้สบู่ก้อนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ข้อมูลจากวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ
กิตสุนี รุจิชานันทกุล
มูลนิธิ โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 413/38
ถ.อรุณ อัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทร.
02-424-5768
1 ขอถามนะคะ แหล่งที่มาถูกต้องมั้ยคะ มาจากวารสารชื่อนี้ คนชื่อนี้ใช่มั้ย ถ้าไม่ใช่โดนตัดต่อมา ขอโทษนะคะ
2 ถ้าใช่ ขอแหล่งข้อมูลอ้างอิงด้วยคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ไม่ไหวจริงๆคะ พูดอะไรกะแม่ไม่ได้ ขอเคลียร์กะต้นตอหน่อยค่ะ