การละเล่นพื้นเมือง รำแม่มด จังหวัดศรีสะเกษ

กระทู้สนทนา
ประวัติและความเป็นมาของรำแม่มด
              เรือมมะม็วด หรือ รำแม่มด เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวศรีสะเกษ แถบอำเภอขุขันธ์ อำเภอปรางค์กู่ อำเภอขุนหาญ และอำเภอภูสิงห์ ที่มีเชื้อสายเขมร เรียกว่า เรือมมะม็วด หรือ รำแม่มด มีลักษณะ คล้ายการทรงเจ้า เพราะเชื่อว่าเทพหรือผีนั้น มี 2 พวก คือ พวกที่อยากได้สิ่งของโดยให้คนจัดให้กับพวกที่คอยมาดูแลมนุษย์
           เรือมมะม็วด หรือ รำแม่มด จะทำขึ้นเมื่อผู้ป่วย ซึ่งรักษาโดยวิธีการปกติธรรมดาหรือรักษาที่โรงพยาบาล หรือแพทย์แผนปัจจุบันแล้วไม่หาย จึงต้องจัดพิธีกรรมเรือมมะม็วดขึ้น  ส่วนดนตรีที่ใช้ประกอบมี แคน ซอ ขลุ่ย ฆ้องและกลอง ซึ่งต้องเป็นกลองทำจากดินเผา หนังกลองทำจากหนังตะกวด จากการสัมภาษณ์ยายเกวียน ใจนวน ชาวบ้านระกา ทราบว่า การหาสาเหตุ ของการป่วยต้องมีคน 2 กลุ่ม คือ ผู้เข้าทรงแล้วบอกว่าจะมีเทวดาขออยู่ด้วย คนนี้ มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ส่วนอีกกลุ่ม คือ คนถามหาสาเหตุของการเจ็บป่วยเมื่อรู้สาเหตุแล้ว ก็ถามต่อไปว่า จะให้ทำ อย่างไรจึงจะหาย ก็จะมีพิธีกรรม

ความเชื่อเกี่ยวกับรำแม่มด
              ชาวเขมรมีความเชื่อว่า คนทุกคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยปกป้องคุ้มครองบุคคลนั้นอยู่ประจำในขณะมีชีวิตอยู่ซึ่งเรียกว่าเป็นครู หรือ “กรู” ในภาษาเขมร และเมื่อเสียชีวิตไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษก็ยังวนเวียนอยู่เพื่อคอยปกป้องดู และลูกหลานของตน ให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบสัมมาอาชีพ ตามความเชื่อนี้ชนเผ่าเขมรจึงมีความเคารพและไม่ล่วงเกินต่อกันและกัน เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำผิดต่อครูซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของบุคคลอื่น รวมถึงมีความเคารพยำเกรงต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และมีจารีตการปฏิบัติที่แสดงออกถึงการระลึกถึงบุญคุณบรรพบุรุษอยู่เสมอ 

เพลงที่ใช้ในการละเล่น
        มี 9 เพลง ได้แก่
-เพลงครู (เพลาโทม) จังหวะทางใหญ่
-เพลงตาเจนตาจีเวีย
-เพลงมะลุบโดง (ร่มมะพร้าว)
-เพลงอามวล (จังหวะเร็ว)
-เพลงเมินระเงียว (จังหวะไก่ขัน)
-เพลงเจาเบริน (เพลงเร็ว)
-เพลงแถน (ใช้แคนบรรเลง)
-เพลงอมตุ๊ก (พายเรือ)
-เพลงกันจันเจก (เขียดตะปาด)



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่