โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 16 ก.พ. 2558 05:30
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยวเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ราคาถูกเกินเหตุ จะถูกหลอกลวง ชี้มิจฉาชีพทำงานเป็นระบบ โดยช่วงแรกจะมีการออกทัวร์จริงเพื่อสร้างกระแสในโลกโซเชียลแล้วค่อยโกงในภายหลัง เผยจังหวัดกระบี่และสตูลมีการหลอกลวงมากที่สุด ขณะนี้ได้ยกเลิกไม่ให้ร่วมงานเที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกแล้วนับ 10 บริษัท
นายเจริญ วังอนานนท์ อุปนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) เปิดเผยว่า สมาคมมีการตรวจพบว่า ที่ผ่านมาหลายกรณีเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการหลอกลวงขายแพ็กเกจท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการขายแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ และ เกาะหลีเป๊ะของจังหวัดสตูล จึงต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาคมท่องเที่ยวในพื้นที่เร่งแก้ปัญหา ก่อนที่จะกระทบภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัด เพราะล่าสุดในการเตรียมจัดงานเที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ครั้งที่ 16 ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.พ.ถึง 1 มี.ค.นี้ที่ศูนย์การ ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางสมาคมได้ยกเลิกการจองบูธ ประมาณ 10 บริษัท ซึ่งมีความน่าสงสัย
ในการทำธุรกิจโดยบริษัทส่วนใหญ่มาจากกระบี่ และสตูล และสมาคมในฐานะผู้จัดงานหลักได้ มีการสั่งการให้พนักงาน เข้มงวดกับการเข้ามาซื้อบูธของบริษัทที่มาจากกระบี่และสตูลเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากจะต้องมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังจะต้องได้รับจดหมายรับรองจากสมาคมท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆอีกด้วย เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นก่อนเกิดปัญหากับผู้บริโภค
“ผมอยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาคมท่องเที่ยวท้องถิ่นนั้นๆเข้ามาช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย เพราะกระบี่และสตูลมีการหลอกขายแพ็กเกจตามงานส่งเสริมการขายสินค้าท่องเที่ยวมากที่สุด ถ้ายังปล่อยปละละเลยอย่างนี้ เชื่อแน่ว่าจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของทั้งสองจังหวัด จึงอยากเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการออกกฎระเบียบและทำจดหมายเวียนไป ยังโรงแรมในจังหวัด ที่มีการขายห้องพ่วงกับบริษัททัวร์ที่มาออกงาน ให้ร่วมรับผิดชอบในกรณีที่บริษัททัวร์นั้นๆ เชิดเงินลูกค้า เพราะเชื่อว่าการทำสัญญาขายหรือจองระหว่างโรงแรมกับบริษัททัวร์นั้น ต้องมีเอกสารและรู้ที่มาที่ไปของกันและกัน ดังนั้น การอ้างว่าไม่รับรู้เลยจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง”
นายเจริญยังกล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนการหลอกขายแพ็กเกจนั้นมีมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นข่าวมาแล้ว หลายครั้ง แต่การใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายของพวกมิจฉาชีพ ทำให้หลายๆ คดีจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถส่งฟ้องได้ เพราะต้องรอรวบรวมคำร้องจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายหลายคนก็ไม่อยากเสียเวลาจึงปล่อยเลยตามเลย เหมือนอย่างเช่นกรณีคดีของบริษัทกระบี่ภูพระนางรีสอร์ทที่หลอกขายแพ็กเกจทัวร์และที่พัก ในตอนนี้ก็ยังไม่มีการส่งฟ้องศาลเพราะติดขั้นตอนการรวบรวมคำร้องของผู้เสียหายอยู่ ด้วยเหตุนี้ ผู้กระทำผิดและบริษัทที่หลอกลวงก็ยังคงลอยนวลอยู่และยังคงเป็นหน้าเดิมๆ แต่มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทและจดทะเบียนใหม่ โดยทุนจดทะเบียนเพียง แค่ 10,000 บาท แต่การหลอกลวงขายแพ็กเกจ ในงานส่งเสริมการขายสินค้าท่องเที่ยว อาจจะได้เงินมากถึง 800,000- 1,000,000 บาทต่อครั้ง ทำให้ ธุรกิจการหลอกขายแพ็กเกจทัวร์นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว และยังมีการออกบูธตามห้างสรรพสินค้าชานเมืองอีกด้วย
นายเจริญกล่าวต่อว่า การนำเสนอขายแพ็กเกจของกลุ่มมิจฉาชีพนี้ จะมีการเสนอขายแพ็กเกจที่ราคาถูกกว่าราคาขายทั่วไปประมาณ 30-50% และมีการแถมให้ในกรณีซื้อหลายแพ็กเกจเพื่อเป็นการจูงใจลูกค้า โดยในเบื้องต้น บริษัทเหล่านี้จะยอมขาดทุนก่อน โดยมีการออกทัวร์จริง พาไปเที่ยวและบริการดีจริง เพื่อให้เกิดกระแสการรีวิวในสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง แต่หลังจากนั้นเมื่อเป็นที่รู้จักมียอดขายสูง บริษัทก็จะหายไปเหมือนดังที่เป็นข่าว ดังนั้น ทางสมาคมอยากเตือนผู้บริโภคให้มีความระมัดระวังในการจอง อย่ามองเพียงแต่เรื่องราคาถูก แต่ดูด้วยว่า ราคาที่นำเสนอนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่.
เตือนอย่าซื้อทัวร์ถูกเกินเหตุ! กระบี่-เกาะหลีเป๊ะเจอหลอกลวงมากสุด
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 16 ก.พ. 2558 05:30
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยวเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อแพ็กเกจทัวร์ราคาถูกเกินเหตุ จะถูกหลอกลวง ชี้มิจฉาชีพทำงานเป็นระบบ โดยช่วงแรกจะมีการออกทัวร์จริงเพื่อสร้างกระแสในโลกโซเชียลแล้วค่อยโกงในภายหลัง เผยจังหวัดกระบี่และสตูลมีการหลอกลวงมากที่สุด ขณะนี้ได้ยกเลิกไม่ให้ร่วมงานเที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลกแล้วนับ 10 บริษัท
นายเจริญ วังอนานนท์ อุปนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) เปิดเผยว่า สมาคมมีการตรวจพบว่า ที่ผ่านมาหลายกรณีเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการหลอกลวงขายแพ็กเกจท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นการขายแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ และ เกาะหลีเป๊ะของจังหวัดสตูล จึงต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาคมท่องเที่ยวในพื้นที่เร่งแก้ปัญหา ก่อนที่จะกระทบภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัด เพราะล่าสุดในการเตรียมจัดงานเที่ยวทั่วไทย ไปทั่วโลก ครั้งที่ 16 ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.พ.ถึง 1 มี.ค.นี้ที่ศูนย์การ ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทางสมาคมได้ยกเลิกการจองบูธ ประมาณ 10 บริษัท ซึ่งมีความน่าสงสัย
ในการทำธุรกิจโดยบริษัทส่วนใหญ่มาจากกระบี่ และสตูล และสมาคมในฐานะผู้จัดงานหลักได้ มีการสั่งการให้พนักงาน เข้มงวดกับการเข้ามาซื้อบูธของบริษัทที่มาจากกระบี่และสตูลเป็นพิเศษ ซึ่งนอกจากจะต้องมีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังจะต้องได้รับจดหมายรับรองจากสมาคมท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นๆอีกด้วย เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นก่อนเกิดปัญหากับผู้บริโภค
“ผมอยากให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและสมาคมท่องเที่ยวท้องถิ่นนั้นๆเข้ามาช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย เพราะกระบี่และสตูลมีการหลอกขายแพ็กเกจตามงานส่งเสริมการขายสินค้าท่องเที่ยวมากที่สุด ถ้ายังปล่อยปละละเลยอย่างนี้ เชื่อแน่ว่าจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของทั้งสองจังหวัด จึงอยากเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการออกกฎระเบียบและทำจดหมายเวียนไป ยังโรงแรมในจังหวัด ที่มีการขายห้องพ่วงกับบริษัททัวร์ที่มาออกงาน ให้ร่วมรับผิดชอบในกรณีที่บริษัททัวร์นั้นๆ เชิดเงินลูกค้า เพราะเชื่อว่าการทำสัญญาขายหรือจองระหว่างโรงแรมกับบริษัททัวร์นั้น ต้องมีเอกสารและรู้ที่มาที่ไปของกันและกัน ดังนั้น การอ้างว่าไม่รับรู้เลยจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง”
นายเจริญยังกล่าวว่า ปัจจุบันจำนวนการหลอกขายแพ็กเกจนั้นมีมากขึ้น แม้ว่าจะเป็นข่าวมาแล้ว หลายครั้ง แต่การใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายของพวกมิจฉาชีพ ทำให้หลายๆ คดีจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถส่งฟ้องได้ เพราะต้องรอรวบรวมคำร้องจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายหลายคนก็ไม่อยากเสียเวลาจึงปล่อยเลยตามเลย เหมือนอย่างเช่นกรณีคดีของบริษัทกระบี่ภูพระนางรีสอร์ทที่หลอกขายแพ็กเกจทัวร์และที่พัก ในตอนนี้ก็ยังไม่มีการส่งฟ้องศาลเพราะติดขั้นตอนการรวบรวมคำร้องของผู้เสียหายอยู่ ด้วยเหตุนี้ ผู้กระทำผิดและบริษัทที่หลอกลวงก็ยังคงลอยนวลอยู่และยังคงเป็นหน้าเดิมๆ แต่มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทและจดทะเบียนใหม่ โดยทุนจดทะเบียนเพียง แค่ 10,000 บาท แต่การหลอกลวงขายแพ็กเกจ ในงานส่งเสริมการขายสินค้าท่องเที่ยว อาจจะได้เงินมากถึง 800,000- 1,000,000 บาทต่อครั้ง ทำให้ ธุรกิจการหลอกขายแพ็กเกจทัวร์นั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว และยังมีการออกบูธตามห้างสรรพสินค้าชานเมืองอีกด้วย
นายเจริญกล่าวต่อว่า การนำเสนอขายแพ็กเกจของกลุ่มมิจฉาชีพนี้ จะมีการเสนอขายแพ็กเกจที่ราคาถูกกว่าราคาขายทั่วไปประมาณ 30-50% และมีการแถมให้ในกรณีซื้อหลายแพ็กเกจเพื่อเป็นการจูงใจลูกค้า โดยในเบื้องต้น บริษัทเหล่านี้จะยอมขาดทุนก่อน โดยมีการออกทัวร์จริง พาไปเที่ยวและบริการดีจริง เพื่อให้เกิดกระแสการรีวิวในสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง แต่หลังจากนั้นเมื่อเป็นที่รู้จักมียอดขายสูง บริษัทก็จะหายไปเหมือนดังที่เป็นข่าว ดังนั้น ทางสมาคมอยากเตือนผู้บริโภคให้มีความระมัดระวังในการจอง อย่ามองเพียงแต่เรื่องราคาถูก แต่ดูด้วยว่า ราคาที่นำเสนอนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่.