ผมได้อ่านหนังสือพิมพ์ M2F ฉบับวันที่ 26 มกราคม 2558 หน้า 16
เรื่อง 6 ภาษาเรียนไว้ ไม่มีตกงาน ได้แก่
ภาษาจีน (จีนกลาง+จีนกวางตุ้ง)
ภาษาสเปน
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาเยอรมัน
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอารบิก
อ่านแล้ว ก็เกิดความสงสัยว่า
มีจำนวนผู้ใช้ภาษาเหล่านี้
เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย
เป็นจำนวนเท่าใด
อย่างเช่น ภาษาสเปนเป็นภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ก็จริง
แต่สำหรับ คนที่อยู่เมืองไทยตลอดๆ
มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่จะได้ใช้ภาษาสเปนในไทย
(เว้นแต่จะไว้ฝึกพูดกับน้องญาญ่า ใน คห. 8)
ผมจึงได้นำข้อมูลจำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ในปี 2557
ทั้งแบบนับรวมทุกช่องทาง (ทุกด่าน ทุกสนามบิน)
และเฉพาะที่ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง
จากเว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มาจัดเรียงข้อมูล ตามกลุ่มภาษาที่ใช้ 24 อันดับแรก
แล้วเพิ่มเติมอีก 3 ภาษา
จะได้ดังตารางนี้
ถ้าเรียงอันดับของผู้ใช้ภาษาต่างๆ ที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ในปี 2557 จะได้ดังนี้
1. ภาษาจีนกลาง
2. ภาษาอังกฤษ
3. ภาษาญี่ปุ่น
4. กลุ่มภาษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย
(โดยข้อสันนิษฐานว่า ชาวมาเลเซียทุกเชื้อสาย น่าจะใช้ บาฮาซามาเลเซีย ได้)
5. ภาษาฮินดี
(โดยข้อสันนิษฐานว่า ชาวอินเดียทุกรัฐ น่าจะใช้ ภาษาฮินดี ได้ ตามนโยบาย Three-Language Formula)
6. ภาษารัสเซีย
7. ภาษาเกาหลี
8. ภาษาเยอรมัน
9. ภาษาฝรั่งเศส
10. ภาษาจีนกวางตุ้ง
11. ภาษาเวียดนาม
12. ภาษาสวีดิช
13. ภาษาพม่า
14. ภาษาตากาล็อก
15. ภาษาอารบิก
16. ภาษาอิตาเลียน
17. ภาษาดัตช์
18. ภาษาฮิบรู
19. ภาษานอร์วีเจี้ยน
20. ภาษาสเปน
21. ภาษาแดนิช
22. ภาษาเขมร
23. ภาษาเบงกาลี
24. ภาษาฟินนิช
25. ภาษาอูรดู
26. ภาษาสิงหล
27. ภาษาลาว
ถึงแม้ว่า ผู้ใช้ภาษาบางกลุ่ม จะเดินทางเข้าประเทศไทยไม่มาก แต่กระเป๋าหนักก็มีนะ
และผมคิดว่า ถ้าเรามีความเชี่ยวชาญในภาษาใด
โอกาสที่จะได้ไปประเทศต้นทางของภาษานั้นก็มีมากขึ้นนะ
24 ภาษา ที่เข้ามาเมืองไทยแล้วนะเธอ
เรื่อง 6 ภาษาเรียนไว้ ไม่มีตกงาน ได้แก่
ภาษาจีน (จีนกลาง+จีนกวางตุ้ง)
ภาษาสเปน
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาเยอรมัน
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาอารบิก
อ่านแล้ว ก็เกิดความสงสัยว่า
มีจำนวนผู้ใช้ภาษาเหล่านี้
เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย
เป็นจำนวนเท่าใด
อย่างเช่น ภาษาสเปนเป็นภาษาที่ใช้ในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ก็จริง
แต่สำหรับ คนที่อยู่เมืองไทยตลอดๆ
มีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่จะได้ใช้ภาษาสเปนในไทย
(เว้นแต่จะไว้ฝึกพูดกับน้องญาญ่า ใน คห. 8)
ผมจึงได้นำข้อมูลจำนวนชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ในปี 2557
ทั้งแบบนับรวมทุกช่องทาง (ทุกด่าน ทุกสนามบิน)
และเฉพาะที่ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง
จากเว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มาจัดเรียงข้อมูล ตามกลุ่มภาษาที่ใช้ 24 อันดับแรก
แล้วเพิ่มเติมอีก 3 ภาษา
จะได้ดังตารางนี้
ถ้าเรียงอันดับของผู้ใช้ภาษาต่างๆ ที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ในปี 2557 จะได้ดังนี้
1. ภาษาจีนกลาง
2. ภาษาอังกฤษ
3. ภาษาญี่ปุ่น
4. กลุ่มภาษามาเลเซีย-อินโดนีเซีย
(โดยข้อสันนิษฐานว่า ชาวมาเลเซียทุกเชื้อสาย น่าจะใช้ บาฮาซามาเลเซีย ได้)
5. ภาษาฮินดี
(โดยข้อสันนิษฐานว่า ชาวอินเดียทุกรัฐ น่าจะใช้ ภาษาฮินดี ได้ ตามนโยบาย Three-Language Formula)
6. ภาษารัสเซีย
7. ภาษาเกาหลี
8. ภาษาเยอรมัน
9. ภาษาฝรั่งเศส
10. ภาษาจีนกวางตุ้ง
11. ภาษาเวียดนาม
12. ภาษาสวีดิช
13. ภาษาพม่า
14. ภาษาตากาล็อก
15. ภาษาอารบิก
16. ภาษาอิตาเลียน
17. ภาษาดัตช์
18. ภาษาฮิบรู
19. ภาษานอร์วีเจี้ยน
20. ภาษาสเปน
21. ภาษาแดนิช
22. ภาษาเขมร
23. ภาษาเบงกาลี
24. ภาษาฟินนิช
25. ภาษาอูรดู
26. ภาษาสิงหล
27. ภาษาลาว
ถึงแม้ว่า ผู้ใช้ภาษาบางกลุ่ม จะเดินทางเข้าประเทศไทยไม่มาก แต่กระเป๋าหนักก็มีนะ
และผมคิดว่า ถ้าเรามีความเชี่ยวชาญในภาษาใด
โอกาสที่จะได้ไปประเทศต้นทางของภาษานั้นก็มีมากขึ้นนะ