อุทาหรณ์สำหรับสาว ๆ ที่ชอบทำเล็บ เช็กให้ชัวร์ หากอุปกรณ์ไม่สะอาดอาจมีสิทธิ์ติดเชื้อ HIV ได้ ดังเช่นสาวบราซิลคนนี้ที่ติดเชื้อจากการใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติ
ถ้าพูดถึงเชื้อ HIV หลาย ๆ คนก็คงจะหวาดกลัวเจ้าเชื้อไวรัสอันตรายนี้กันไม่น้อย เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสต้นเหตุของโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาทางรักษาและป้องกันได้ ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการและรับประทานยาต้านเชื้อเท่านั้น หลายคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย แต่หลายคนอาจลืมนึกไปว่า การใช้ของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงเช่นกัน
อย่างเช่นกรณีที่เว็บไซต์ livescience.com รายงานว่า นักวิจัยจากสถาบัน Adolpho Lutz ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ได้ออกมาเปิดเผยให้ทราบว่า มีหญิงสาวชาวบราซิลคนหนึ่งติดเชื้อ HIV โดยไม่รู้ตัว จากการใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติ ตั้งแต่เมื่อ 11 ปีก่อน และเป็นที่ฮือฮาในวงการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเคสแรกที่พบว่าอุปกรณ์ทำเล็บนำไปสู่การแพร่เชื้อ HIV ได้
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 ที่หญิงสาวชาวบราซิลรายหนึ่ง วัย 22 ปี เดินทางไปบริจาคเลือด แต่แพทย์กลับตรวจพบว่า เลือดของเธอมีเชื้อ HIV ซึ่งน่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเธอเองก็ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงใดที่ทำให้เธอมีสิทธิ์จะติดเชื้อ HIV เลย ทั้งไม่เคยมีประวัติว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน รวมทั้งไม่เคยถ่ายเลือด ผ่าตัด เจาะหรือสักตามอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้แพทย์ต้องทำการตัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ออกจนหมด และนำสมาชิกในครอบครัว อย่างผู้เป็นแม่มาตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV และผลที่ออกมาคือเป็นลบ หมายถึงไม่มีเชื้อ นั่นจึงยิ่งทำให้แพทย์เกิดความสงสัยเป็นอย่างมาก
ภายหลังแพทย์จึงได้ทำการสอบประวัติของเธอย้อนหลังไป จนพบว่า เมื่อ 11 ปีก่อน ญาติของเธอที่เป็นช่างทำเล็บได้มาพักที่บ้าน และเธอก็ได้ใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติคนนั้น และเมื่อพาญาติคนดังกล่าวมาตรวจเลือดก็พบว่าเชื้อ HIV ในเลือดของทั้ง 2 คนมีลักษณะจำเพาะที่ตรงกัน นั่นแปลว่าเชื้อ HIV ของคนทั้ง 2 มีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน จึงทำให้นักวิจัยปักใจเชื่อว่าสาเหตุของของการติดเชื้อนั้นมาจากอุปกรณ์ทำเล็บนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถตรวจอุปกรณ์เหล่านั้นเพื่อยืนยันได้ แต่นักวิจัยก็เชื่อว่า เชื้อดังกล่าวถูกส่งผ่านจากอุปกรณ์ทำเล็บได้ไม่ต่างจากการใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์การสักหรือเจาะเลย
ด้านบรรณาธิการวารสารชื่อดังอย่างดอกเตอร์ Brian Foley ได้อธิบายว่า การแพร่กระจายของเชื้อ HIV ผ่านทางอุปกรณ์ทำเล็บเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็อาจจะทำให้คนยิ่งกลัวเชื้อ HIV และกลัวการติดต่อกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV มากขึ้น ถึงกระนั้น เหตุการณ์นี้ก็ทำให้คนตระหนักมากขึ้นว่าไม่ควรแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องใช้ใด ๆ ที่มีคม หรือสามารถทำให้เรามีโอกาสสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อได้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงกับการติดเชื้อ HIV แล้ว ยังเสี่ยงกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอีกด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าหากจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกับผู้อื่น ก็ควรจะตรวจเช็กให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่อาจเป็นอันตรายหรือแม้แต่เชื้อแบคทีเรียค่ะ
ได้ยินเรื่องนี้แล้วก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไป เพราะนักวิจัยเขาให้ข้อมูลย้ำว่า การติดเชื้อ HIV จากอุปกรณ์ทำเล็บไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ และมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเทียบกับการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ดังนั้นถ้าหมั่นสังเกตและระมัดระวังเสียหน่อย เราก็สามารถสวยได้อย่างปลอดภัยค่ะ หรือทางที่ดี อย่าใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกันคนอื่นจะดีที่สุดค่ะ
ที่มา : Kapook
Report : LIV APCO
อันตรายจากอุปกรณ์ทำเล็บ ระวังติดเชื้อ HIV ไม่รู้ตัว
ถ้าพูดถึงเชื้อ HIV หลาย ๆ คนก็คงจะหวาดกลัวเจ้าเชื้อไวรัสอันตรายนี้กันไม่น้อย เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสต้นเหตุของโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาทางรักษาและป้องกันได้ ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการและรับประทานยาต้านเชื้อเท่านั้น หลายคนจึงพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย แต่หลายคนอาจลืมนึกไปว่า การใช้ของใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นก็เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงเช่นกัน
อย่างเช่นกรณีที่เว็บไซต์ livescience.com รายงานว่า นักวิจัยจากสถาบัน Adolpho Lutz ในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ได้ออกมาเปิดเผยให้ทราบว่า มีหญิงสาวชาวบราซิลคนหนึ่งติดเชื้อ HIV โดยไม่รู้ตัว จากการใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติ ตั้งแต่เมื่อ 11 ปีก่อน และเป็นที่ฮือฮาในวงการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเคสแรกที่พบว่าอุปกรณ์ทำเล็บนำไปสู่การแพร่เชื้อ HIV ได้
เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 ที่หญิงสาวชาวบราซิลรายหนึ่ง วัย 22 ปี เดินทางไปบริจาคเลือด แต่แพทย์กลับตรวจพบว่า เลือดของเธอมีเชื้อ HIV ซึ่งน่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะเธอเองก็ไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงใดที่ทำให้เธอมีสิทธิ์จะติดเชื้อ HIV เลย ทั้งไม่เคยมีประวัติว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน รวมทั้งไม่เคยถ่ายเลือด ผ่าตัด เจาะหรือสักตามอวัยวะต่าง ๆ จึงทำให้แพทย์ต้องทำการตัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ออกจนหมด และนำสมาชิกในครอบครัว อย่างผู้เป็นแม่มาตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ HIV และผลที่ออกมาคือเป็นลบ หมายถึงไม่มีเชื้อ นั่นจึงยิ่งทำให้แพทย์เกิดความสงสัยเป็นอย่างมาก
ภายหลังแพทย์จึงได้ทำการสอบประวัติของเธอย้อนหลังไป จนพบว่า เมื่อ 11 ปีก่อน ญาติของเธอที่เป็นช่างทำเล็บได้มาพักที่บ้าน และเธอก็ได้ใช้อุปกรณ์ทำเล็บของญาติคนนั้น และเมื่อพาญาติคนดังกล่าวมาตรวจเลือดก็พบว่าเชื้อ HIV ในเลือดของทั้ง 2 คนมีลักษณะจำเพาะที่ตรงกัน นั่นแปลว่าเชื้อ HIV ของคนทั้ง 2 มีต้นกำเนิดมาจากที่เดียวกัน จึงทำให้นักวิจัยปักใจเชื่อว่าสาเหตุของของการติดเชื้อนั้นมาจากอุปกรณ์ทำเล็บนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถตรวจอุปกรณ์เหล่านั้นเพื่อยืนยันได้ แต่นักวิจัยก็เชื่อว่า เชื้อดังกล่าวถูกส่งผ่านจากอุปกรณ์ทำเล็บได้ไม่ต่างจากการใช้เข็มฉีดยา หรืออุปกรณ์การสักหรือเจาะเลย
ด้านบรรณาธิการวารสารชื่อดังอย่างดอกเตอร์ Brian Foley ได้อธิบายว่า การแพร่กระจายของเชื้อ HIV ผ่านทางอุปกรณ์ทำเล็บเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยากมาก แต่เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็อาจจะทำให้คนยิ่งกลัวเชื้อ HIV และกลัวการติดต่อกับผู้ที่ติดเชื้อ HIV มากขึ้น ถึงกระนั้น เหตุการณ์นี้ก็ทำให้คนตระหนักมากขึ้นว่าไม่ควรแบ่งปันอุปกรณ์เครื่องใช้ใด ๆ ที่มีคม หรือสามารถทำให้เรามีโอกาสสัมผัสกับเลือดที่ติดเชื้อได้ เพราะนอกจากจะเสี่ยงกับการติดเชื้อ HIV แล้ว ยังเสี่ยงกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี และเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจเกิดจากการทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสมและถูกต้องอีกด้วย
อย่างไรก็ตามถ้าหากจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกับผู้อื่น ก็ควรจะตรวจเช็กให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสที่อาจเป็นอันตรายหรือแม้แต่เชื้อแบคทีเรียค่ะ
ได้ยินเรื่องนี้แล้วก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกไป เพราะนักวิจัยเขาให้ข้อมูลย้ำว่า การติดเชื้อ HIV จากอุปกรณ์ทำเล็บไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ และมีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเทียบกับการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ดังนั้นถ้าหมั่นสังเกตและระมัดระวังเสียหน่อย เราก็สามารถสวยได้อย่างปลอดภัยค่ะ หรือทางที่ดี อย่าใช้อุปกรณ์ทำเล็บร่วมกันคนอื่นจะดีที่สุดค่ะ
ที่มา : Kapook
Report : LIV APCO