มันมาจาก Auld Lang Syne บทกวีสกอตแลนด์ ที่เขียนขึ้นโดยโรเบิร์ต เบิร์นส ในปี ค.ศ. 1788 เป็นที่รู้จักในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ (รวมถึงไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ) และมักจะร้องเพื่อเฉลิมฉลองในการเริ่มต้นปีใหม่ในช่วงเสียงตีของนาฬิกาเที่ยงคืน นอกจากนั้นยังใช้ร้องในงานศพ พิธีสำเร็จการศึกษา และการร่ำลา เป็นต้น ชื่อของเพลง "Auld Lang Syne" นั้น เมื่อแปลแล้ว หมายถึง "เมื่อเนิ่นนานมา" ส่วนเนื้อเพลงนี้มีเนื้อส่วนใหญ่ว่าด้วยเรื่องของการให้อภัยและการลืมเรื่องบาดหมางที่ผ่านมา
ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้ในวันจบการศึกษาและในงานศพ ในญี่ปุ่นมีผู้แปลงเป็นเพลงชื่อ Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน นอกจากนั้นปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดีย รพินทรนารถ ฐากูร นำทำนองมาแต่งเป็น About the Old Days สำหรับในประเทศไทย มีการนำเพลง "ออลด์แลงไซน์" มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย ใช้ชื่อเพลงว่า "
สามัคคีชุมนุม" ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นภาษาไทยคือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
http://en.wikipedia.org/wiki/Auld_Lang_Syne
Auld Lang Syne - Burns’ original Scots verse
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Should auld acquaintance be forgot,
and never brought to mind?
Should auld acquaintance be forgot,
and auld lang syne*?
CHORUS:
For auld lang syne, my jo,
for auld lang syne,
we’ll tak' a cup o’ kindness yet,
for auld lang syne.
And surely ye’ll be your pint-stoup!
and surely I’ll be mine!
And we’ll tak' a cup o’ kindness yet,
for auld lang syne.
CHORUS
We twa hae run about the braes,
and pou’d the gowans fine;
But we’ve wander’d mony a weary fit,
sin' auld lang syne.
CHORUS
We twa hae paidl’d in the burn,
frae morning sun till dine;
But seas between us braid hae roar’d
sin' auld lang syne.
CHORUS
And there’s a hand, my trusty fiere!
and gie's a hand o’ thine!
And we’ll tak' a right gude-willie waught,
for auld lang syne.
CHORUS
ผู้ประพันธ์คำร้องภาษาไทยของเพลง
สามัคคีชุมนุม พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ โดยใช้ทำนองเพลง ออลด์แลงไซน์(Auld Lang Syne)
ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พวกเราเหล่ามาชุมนุม
ต่างคุมใจรัก สมัครสมาน
ล้วนมิตร จิตชื่นบาน
สราญเริงอยู่ ทุกผู้ทุกนาม
* อันความกลมเกลียว
กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรี
ทุกสิ่งประสงค์จงใจ
จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี
กิจใด ธ ประสงค์มี
ร่วมใจภักดีแด่พระจอมสยาม
พร้อมพรึ่บดังมือเดียวยาม
ยากเย็นเห็นง่าย บ่หน่าย บ่จาง
*(สร้อยเพลง)
ที่หนักก็จักเบาคลาย
ที่อันตราย ขจัดขัดขวาง
ฉลองพระเดชบ่จาง กตเวทิคุณ พระกรุณา
*(สร้อยเพลง)
สามัคคีนี่แหละล้ำเลิศ
จักชูชาติเชิด พระศาสนา
สยามรัฐจักวัฒนา-
ปรากฏเกียรติฟุ้งเฟื่อง กระเดื่องแดนดิน
*(สร้อยเพลง)
วันนี้รู้แล้วว่าเพลง "สามัคคีชุมนุม" มาจากไหน
ในไต้หวันใช้ทำนองเพลงนี้ในวันจบการศึกษาและในงานศพ ในญี่ปุ่นมีผู้แปลงเป็นเพลงชื่อ Hotaru no Hikari (แสงหิ่งห้อย) ใช้ในงานพิธีจบการศึกษาเช่นกัน นอกจากนั้นปราชญ์วรรณกรรมชาวอินเดีย รพินทรนารถ ฐากูร นำทำนองมาแต่งเป็น About the Old Days สำหรับในประเทศไทย มีการนำเพลง "ออลด์แลงไซน์" มาใส่เนื้อร้องภาษาไทย ใช้ชื่อเพลงว่า "สามัคคีชุมนุม" ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเป็นภาษาไทยคือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี
http://en.wikipedia.org/wiki/Auld_Lang_Syne
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ท่านได้รับการยกย่องว่า สามารถใส่เนื้อร้องภาษาไทยเข้าไปให้สอดคล้องกับทำนองเดิมได้อย่างเหมาะเจาะ สามารถร้องเนื้อภาษาไทยไปพร้อมๆกับเนื้อภาษาเดิมของเพลงได้อย่างไม่ขัดเขิน เนื้อเพลงมีความหมายลึกซึ้ง ให้ความรู้สึกถึงความสามัคคีเป็นอันดีต่อหมู่คณะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้