ต่างชาติห่วงไทยกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชีย เหตุหนี้ครัวเรือนสูง
สำนักข่าวเอเอฟพี ออกรายงานกึ่งวิเคราะห์ โดย น.ส.คริสตัล ทัน นักวิเคราะห์ของแคปปิตอล อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า
ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้กู้ยืมมากที่สุดในภูมิภาค และจะทำให้ไทยกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด
การขยายตัวมากขึ้นของหนี้ครัวเรือน ไม่เพียงแต่เป็นผลมาจากนโยบายประชานิยมและอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ยังมาจากค่าแรงต่ำที่ทำให้คนยากจนลำบาก และทำให้คนกลุ่มนี้พร้อมจะวิ่งเข้าหาผู้ปล่อยกู้ผิดกฎหมายที่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง?
ซึ่งประเด็นดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยให้ถดถอยลง
น.ส.บัณฑรโฉม แก้วสอาด ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคนไทยถึง 14.6 ล้านคน
มีความรู้ทางด้านการเงินที่ค่อนข้างต่ำ ได้แก่ กลุ่มอาชีพอิสระ พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เกษตรกร เป็นเหตุให้คนกลุ่มนี้มีหนี้ครัวเรือนสูง
http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/เศรษฐกิจภาครัฐ/346861/ไทยป่วยหนี้ครัวเรือน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นึกถึงสหรัฐ กระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเงินมากขึ้นๆเพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าขยายตัวต่อไปได้
เงินเดือนไม่พอก็ใช้เงินเก็บ เงินเก็บร่อยหรอก็ปล่อยกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต
พอเครดิตเริ่มเต็มเอาไงล่ะ งั้นรีไฟแนนซ์สิ เอาบ้านเอารถมาค้ำได้ดอกถูก แล้วไปรูดต่อได้อีกรอบ
สุดท้ายเมื่อมันตันทั้งเงินเก็บเงินกู้ จะเอาเงินที่ไหนไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็ต้องรีเซ็ทกันไปเป็นรอบๆ
บ้านเราก็ใช้หลักเพิ่มรายได้ให้คนรากหญ้าไปเยอะๆ คนเหล่านี้จะหมุนเงินในระบบเร็ว เพราะจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าเก็บเงิน
หลายคนพอได้รายได้เพิ่มกระทันหันก็ใช้เงินเพลินซื้อรถ บ้าน มือถือ ในระยะสั้นเศรษฐกิจเลยวิ่งเร็ว
แต่พอปีต่อไปยังต้องผ่อนสินค้าอยู่ แทนที่จะมีเงินมาหมุนในระบบเศรษฐกิจก็ไปสู่นายทุนเงินกู้
จริงๆรายได้เพิ่มอย่างมีสเถียรภาพแต่ราคาสินค้าไม่วิ่งนำไปเร็วมากน่าจะดีกว่า แต่เราก็ชอบเห็นตัวเลขสูงๆกัน
หรือกรณีไมโครไฟแนนซ์ก็อยากช่วยคนที่ไม่มีสินทรัพย์ในการกู้ยืม แทนที่จะต้องไปกู้ดอกร้อยละ1-3ต่อวัน
แต่ตรงนี้ก็ต้องดูให้ดี ถ้ากู้ไปใช้หมดก็จะกลายเป็นปัญหาการเงิน และนำไปสู่ปัญหาสังคมในระยะยาว
ทว่าถ้าเป็นการช่วยรายย่อยให้มีทุนไปทำมาหากิน ก็จะช่วยรายย่อยที่ไม่มีสินทรัพย์ให้ลืมตาอ้าปากได้
จุดกึ่งกลางจะอยู่ตรงไหนดี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ดึงอนาคตระยะยาวมาพนันกับความเสี่ยงระยะสั้น
เน้นสั้นไม่มองยาวคือไร้วิสัยทัศน์ มองยาวไม่สนสั้นก็กลัวว่าจะรอดไม่ถึงอนาคต เฮ้อ
ไทยป่วยหนี้ครัวเรือน
สำนักข่าวเอเอฟพี ออกรายงานกึ่งวิเคราะห์ โดย น.ส.คริสตัล ทัน นักวิเคราะห์ของแคปปิตอล อีโคโนมิกส์ เปิดเผยว่า
ไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้กู้ยืมมากที่สุดในภูมิภาค และจะทำให้ไทยกลายเป็นคนป่วยแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด
การขยายตัวมากขึ้นของหนี้ครัวเรือน ไม่เพียงแต่เป็นผลมาจากนโยบายประชานิยมและอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ยังมาจากค่าแรงต่ำที่ทำให้คนยากจนลำบาก และทำให้คนกลุ่มนี้พร้อมจะวิ่งเข้าหาผู้ปล่อยกู้ผิดกฎหมายที่คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง?
ซึ่งประเด็นดังกล่าวนับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กำลังฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยให้ถดถอยลง
น.ส.บัณฑรโฉม แก้วสอาด ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีคนไทยถึง 14.6 ล้านคน
มีความรู้ทางด้านการเงินที่ค่อนข้างต่ำ ได้แก่ กลุ่มอาชีพอิสระ พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เกษตรกร เป็นเหตุให้คนกลุ่มนี้มีหนี้ครัวเรือนสูง
http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/เศรษฐกิจภาครัฐ/346861/ไทยป่วยหนี้ครัวเรือน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นึกถึงสหรัฐ กระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเงินมากขึ้นๆเพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าขยายตัวต่อไปได้
เงินเดือนไม่พอก็ใช้เงินเก็บ เงินเก็บร่อยหรอก็ปล่อยกู้สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต
พอเครดิตเริ่มเต็มเอาไงล่ะ งั้นรีไฟแนนซ์สิ เอาบ้านเอารถมาค้ำได้ดอกถูก แล้วไปรูดต่อได้อีกรอบ
สุดท้ายเมื่อมันตันทั้งเงินเก็บเงินกู้ จะเอาเงินที่ไหนไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็ต้องรีเซ็ทกันไปเป็นรอบๆ
บ้านเราก็ใช้หลักเพิ่มรายได้ให้คนรากหญ้าไปเยอะๆ คนเหล่านี้จะหมุนเงินในระบบเร็ว เพราะจำเป็นต้องใช้เงินมากกว่าเก็บเงิน
หลายคนพอได้รายได้เพิ่มกระทันหันก็ใช้เงินเพลินซื้อรถ บ้าน มือถือ ในระยะสั้นเศรษฐกิจเลยวิ่งเร็ว
แต่พอปีต่อไปยังต้องผ่อนสินค้าอยู่ แทนที่จะมีเงินมาหมุนในระบบเศรษฐกิจก็ไปสู่นายทุนเงินกู้
จริงๆรายได้เพิ่มอย่างมีสเถียรภาพแต่ราคาสินค้าไม่วิ่งนำไปเร็วมากน่าจะดีกว่า แต่เราก็ชอบเห็นตัวเลขสูงๆกัน
หรือกรณีไมโครไฟแนนซ์ก็อยากช่วยคนที่ไม่มีสินทรัพย์ในการกู้ยืม แทนที่จะต้องไปกู้ดอกร้อยละ1-3ต่อวัน
แต่ตรงนี้ก็ต้องดูให้ดี ถ้ากู้ไปใช้หมดก็จะกลายเป็นปัญหาการเงิน และนำไปสู่ปัญหาสังคมในระยะยาว
ทว่าถ้าเป็นการช่วยรายย่อยให้มีทุนไปทำมาหากิน ก็จะช่วยรายย่อยที่ไม่มีสินทรัพย์ให้ลืมตาอ้าปากได้
จุดกึ่งกลางจะอยู่ตรงไหนดี ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ดึงอนาคตระยะยาวมาพนันกับความเสี่ยงระยะสั้น
เน้นสั้นไม่มองยาวคือไร้วิสัยทัศน์ มองยาวไม่สนสั้นก็กลัวว่าจะรอดไม่ถึงอนาคต เฮ้อ