นี่เป็นบันทึกของการไปเป็นหมออาสาของ จขกท และเพื่อนๆหมออีก 3 คน
รวมทีมงานพยาบาลศิษย์เก่าพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ และทีมจากศูนย์มะเร็งลำปาง รวม เกือบ 30 ชีวิต ในโครงการ "พยาบาลใต้ใส่ใจเด็กดอย"
ในหมู่บ้านที่ห่างไกลและว่ากันว่ายากจนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
มีการเอ่ยถึงเพจ เพราะเราได้รับการสนับสนุนของบริจาคจากแฟนเพจไป
กระทู้นี้จึงมีอีกหน้าที่นอกจากถ่ายทอดประสบการณ์ คือการขอบคุณในน้ำใจครับ
ของและเงินบริจาคจากหลายแหล่ง
หลายคนผู้ใจดีทำให้เกิดโครงการนี้ได้ ต้องขอขอบคุณมา ณที่นี้ด้วยครับ
"มีใครสนใจจะไปเป็นหมออาสาตรวจบนดอยที่อมก๋อยมั้ย???"
ข้อความนั้นเด้งเตือนเข้ามาในไลน์กลุ่มเพื่อนหมอ ทันทีที่เห็นก็ราวกับมีแรงดึงดูด
คำว่าอาสา และดอยเป็นสองคำที่มีพลังมากสำหรับผม อาสาแปลว่าไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการมอบบางอย่างที่เรามี ที่เราสามารถจะเป็นประโยชน์ได้ให้กับใครซักกลุ่มที่ขาดแคลนและต้องการ
ดอย แม้ตอนนั้นจะยังไม่รู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของอมก๋อย แต่ขึ้นชื่อว่าดอยในช่วงหน้าหนาวอย่างนี้ นึกถึงควันที่เป่าออกจากปากยามหายใจ ต้นไม้ใบหญ้าเขียวสดใสและลำธารไหลเย็น ไม่มีอะไรดีกว่าการไปดอยเป็นแน่ หลังจากปรึกษาเพื่อนรัก และตัดสินใจลางาน จองตั๋วเครื่องบิน เท่านั้นทุกอย่างก็พร้อมแล้วสำหรับการไปเป็นหมออาสาที่ดอยอมก๋อย ในอีก1เดือนข้างหน้า
วันเวลาผ่านไปตามปกติของมันไม่ช้าไม่เร็วไปกว่าทุกเดือน การประกาศรับบริจาคตามช่องทางต่างๆ ทั้งในเฟซบุคส่วนตัวและในเพจที่ทำอยู่ร่วมถึงการประกาศปากเปล่า ก็นำพาของบริจาค ที่เต็มไปด้วยน้ำจิตน้ำใจของผู้ใจดีทั้งจากใกล้ตัว ใกล้บ้าน ไปจนถึงต่างบ้านต่างเมือง ให้หลั่งไหลมารวมกันที่เชียงใหม่ ศูนย์รวมกำลังพลและข้าวของสำหรับโครงการนี้ คงยากจะหาคำอธิบายความตื้นตันใจที่มีต่อน้ำใจของทุกๆคนของบริจาคแต่ละกล่องล้วนกล่องใหญ่เป็นของสภาพดีและสามารถนำไปใช้ได้จริง คำขอบคุณแทนชาวบ้านที่ได้สวมใสเสื้อผ้าบร้จาคเพื่อกันหนาว คงเป็นคำที่มีค่าที่สุด ขอบคุณครับ
ข้าวของพร้อม กายพร้อมใจพร้อม แล้วเราก็ไปอมก๋อยกัน
จากคำบอกเล่าของใครหลายๆคน เราจะใช้เวลาเดินทางจากเชียงใหม่ไปอำเภออมก๋อย4ชั่วโมง อย่านะ อย่าคิดว่าถึงแล้วทำไมง่ายจัง ถ้าง่ายขนาดนั้นเราอาจจะไม่ต้องไปกันครับ ความจริงมีอยู่ว่า อมก๋อยเป็นเขตอำเภอที่กว้างใหญ่ประกอบด้วยตำบลและหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอหรือกระเหรี่ยงที่เราคุ้นเคยกัน มากมายหลายสิบหมู่บ้าน และที่ที่เราเลือกไปกัน คือหมู่บ้าน"ทีผะแหล่" จากตัวอำเภออมก๋อยไปโดยรถโฟร์วีล ใช้เวลาอีก4ชั่วโมง "นั่นคือคำบอกเล่า"
ในเช้าวันเดินทางคณะของเรา ออกจากเชียงใหม่ด้วยรถประจำทางที่ได้เช่าเหมาไว้
ทุกคนแลดูตื่นเต้นไม่แพ้กัน ที่จะได้ไปประสพกับความแปลกใหม่และน่าจะท้าทายเราไม่น้อย สองข้างทางเต็มไปด้วยทัศนียภาพแม่น้ำลำธารทุ่งนาภูเขา 4ชั่วโมงกว่าผ่านไปเรามาถึงอมก๋อย
แต่การเดินทางที่แท้จริง มันเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ต่างหาก รถโฟร์วีลกระบะ4คัน ที่ล้อมกรงรอบคันมารอรับเราพร้อมด้วยครูยุทธ์ ครูหนุ่มจากใต้ผู้ที่มีอายุอานามรุ่นราวคราวเดียวกับพวกเราจบ food science แต่ตัดสินใจจากบ้านเกิดมาเป็นครูดอยด้วยความมุ่งมั่น ทิ้งเงินเดือนหลักหมื่นมาเป็นเรือจ้างในดินแดนที่ห่างไกลชื่อไม่คุ้นหู
หลังจากเติมพลังด้วยข้าวผัด
ขนของบริจาคและของส่วนตัวทั้งหมดกระจายขึ้นรถทั้ง4คัน แบ่งกำลังพลกระจายไปแต่ละคัน
การเดินทางที่สุดยอดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ก็เริ่มขึ้น รถขับเคลื่อนสี่ล้อค่อยๆพาผู้อาสาเข้าสู่ดินแดนที่ยากแก่การเข้าถึง ล้อที่แข็งแกร่งพาเราฝ่าถนนลูกรัง ฝ่าฝุ่นควัน ฝ่าเขาสูงชัน ขับข้ามลำธารนับสิบสาย กับอีกหลายหมู่บ้าน ด้วยความที่ถนน จริงๆจะเรียกถนนก็ดูจะเป็นการดูถูกเส้นทางสู่หมู่บ้านทีผะแหล่จนเกินไปเพราะเอาเข้าจริงมันเป็นแค่ทางดินแดงเกือบตลอดทั้งเส้นระยะทางกว่าร้อนกิโลเมตร ด้วยความทรหดของทางรถนี้ ทำให้ผู้ร่วมทางหลายคนเกือบพ่ายแพ้ ล้มหมอนนอนเสื่อด้วยอาการเมารถกันไปหลายราย
ควายในปลักที่ไม่เคยเห็นทุกคนตื่นเต้นคว้ากล้องมาถ่ายรูปกันใหญ่
ขับต่อไปอีกระยะนึงขณะข้ามลำธารก็ได้ยินเสียง "ฉ่า" พร้อมควันขึ้นเป็นสัญญาณว่าล้อรถความร้อนสูงเกินไป ติองลงไปช่วยกันวิดน้ำรดล้อ
"สรพงศ์" คนขับรถคันของเราเป็นชายหนุ่มปะกากะยออารมณ์ดีพูดไทยได้ชัดเจนทีเดียวบอกเราหลังจากเดินทางด้วยรถโฟร์วีล มาเกิน4ชั่วโมงตามที่ได้รับบอกกล่าวมาแล้วว่า "อินิเดียวคระ อิ2ชั่วโม ก็ถึและ" คุณพระ!!! นั่นแปลว่าเราจะใช้เวลาเดินทางรวมกว่า6ชั่วโมง จากตัวอำเภออมก๋อย
ณ จดอีก2ชั่วโมงถึงทีผะแหล่
เวลาเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ยามเย็น แสงสดใสค่อนข้างแรงในช่วงบ่าย เริ่มอ่อนโยนลงค่อยๆเปลี่ยนเป็นแสงสีส้มทองพอให้เราได้ชื่นชมทัศนียภาพของทิวเขาสูงเบื้องหน้า เบื้องข้างได้บ้าง
จากจุดนี้ อีก4หมู่บ้าน 13กิโล แม้ว ม้ง หรือเผ่าไหนก็ตามเราจะถึงทีผะแหล่ แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันค่อนข้างมาก 3-4กิโล เมื่อหารตัวเลขออกมา อาจดูไม่เยอะเลยในสายตาคนเมือง แต่ถ้าคุณๆได้ลองมาสัมผัสกิโลแม้วซักครั้งที่รถสามารถเคลื่อนได้ประมาณ15-20กิโลเมตรต่อชั่วโมง และหนทางคือดินแดง ลำธาร และลูกรัง นึกภาพไม่ออกเลยว่าถ้ามีคนป่วยหนักอยู่ในหมู่บ้าน แล้วรถที่มีอยู่ไม่กี่คันนั้นเกิดไม่อยู่ในระยะไหว้วานได้ อะไรจะรออยู่นอกจากความตาย
แสงอาทิตย์อ่อนลงเต็มที และเริ่มที่จะคล้อยต่ำหลบมุมสู่แนวหุบเขา
หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่าที่เราผ่านไป มีเด็กๆตัวน้อยหน้าตามอมแมม ออกมายืนไหว้สวัสดีชาวคณะอย่างแข็งขันเป็นที่แปลกใจของพวกเรามาก ก็รู้ๆกันอยู่เด็กวัย 2,3,4,5 ขวบ ที่อยู่ในเมือง สอนกันแทบแย่จะให้ยกมือไหว้คนรู้จักยังยาก แต่นี่เราคือคนแปลกหน้าที่เห็นกันแค่เสี้ยวเวลาที่รถผ่าน แต่เด็กๆแทบทุกคนกลับยกมือไหว้เรา ทำไมกันนะ?
"สรพงศ์"คนเดิมให้ข้อมูลตอบข้อสงสัยของเราว่า เด็กๆเหล่านี้ได้รับการสอนจากครูในโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ให้ใช้การไหว้และกล่าวสวัสดีขบวนของคณะที่เข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับ ซึ่งมันเป็นนิสัยที่น่ารักมากๆเชียวล่ะ
ทางช่วงสุดท้ายก่อนถึงทีผะแหล่เรียกได้ว่า "ของจริง" พวกเราบางส่วนที่นั่งและยืนหลังกระบะ ต้องใช้วิทยายุทธข้อแข็ง เกาะเกี่ยวราวเหล็กรอบรถเอาไว้จนกล้ามเนื้อตึงเกร็งไปทุกส่วน และยังไม่วายต้องเอาหัวหลบให้พ้นทางกิ่งไม้ที่พร้อมจะมาปะทะได้จากทุกทิศทาง
แล้วในเฮือกสุดท้ายก่อนทุกคนจะหมดแรง หลังคาบ้านหลายหลัง ลำธารใสพร้อมเสียงน้ำไหลก็ปรากฎแก่สายตาและโสตประสาทของเรา 10ชั่วโมงจากเชียงใหม่ถึงในเขตจังหวัดเดียวกันอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้านั่งเครื่องบินก็ไปเกือบถึงฝรั่งเศสแล้ว "ทีผะแหล่" อยู่ตรงหน้าเรานี่เอง
ในเย็นวันแรกที่ไปถึงบ้านทีผะแหล่ หลังจากช่วยกันขนย้ายของบริจาคเข้าที่เก็บของ และสัมภาระส่วนตัวเข้าที่พักซึ่งก็คือตัวโรงเรียนเรียบร้อยแล้วโดยมีผู้ช่วยคนของคือเด็กๆตัวเล็กตัวโต คุณครูยุทธและครูหญิงประจำโรงเรียนทีผะแหล่และคุณครูอีก2คนที่เดินทางมาจากต่างหมู่บ้านเพื่อรอรับเรา
ก็ได้เวลาไปชำระล้างฝุ่นดินแดงที่เกาะกรังตามตัวตามผมไม่เว้นแม้กระทั่งรูจมูกออกไปบ้าง คืนความสดชื่นให้กับร่างพังๆกันหน่อย และที่อาบน้ำของเราก็ไม่ใช่ที่อื่นไกล คือลำน้ำเงาข้างโรงเรียนที่หล่อเลี้ยงหมู่บ้านทีผะแหล่นั่นเอง
ลำธารใสไหลเย็นสดชื่นเมื่อได้กระโดดลงไปแช่ชำระล้างคราบไคลฝุ่นควัน ฟอกสบู่แชมพูกันให้หอมเคล้าวิวป่าเขาที่ล้อมรอบและพระอาทิตย์ที่ทอแสงทองสุดท้ายก่อนลับทิวเขาไป พูดไปก็จะหาว่าเหลือเกิน แต่ความเหนื่อยล้าจากการกระเด้งกระดึ๋งกระแทกกระทั้นบนเส้นทางอันหฤโหด6ชั่วโมง ก็บรรเทาเบาบางลงราวกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น ใครจะรู้กันว่าลำธารน้ำเงานี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจทำให้อยากอยู่ที่นี่ไปอีกนานๆ
บนดอยและในหมู่บ้านไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ไม่ว่าจะค่ายไหนๆ 2G3G4G ไม่มีกระดิก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม้เล็กๆที่น่ารัก มีบ้านต้นไม้หลังเล็กที่เรายึดเป็นเรือนนอน
สิ่งปลูกสร้างล้วนก่อร่างสร้างขึ้นด้วยแรงงานอาสาและครูดอยหนุ่มสาว เด็กๆที่น่ารัก ก็ทำให้เราลืมโลกเสมือนบนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คไปได้ไม่ยาก
หมอ พยาบาลอาสา ที่ทีผะแหล่ หมู่บ้านห่างไกลในอมก๋อย บันทึกประสบการณ์ที่สุดในชีวิต
รวมทีมงานพยาบาลศิษย์เก่าพยาบาลสงขลานครินทร์หาดใหญ่ และทีมจากศูนย์มะเร็งลำปาง รวม เกือบ 30 ชีวิต ในโครงการ "พยาบาลใต้ใส่ใจเด็กดอย"
ในหมู่บ้านที่ห่างไกลและว่ากันว่ายากจนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
มีการเอ่ยถึงเพจ เพราะเราได้รับการสนับสนุนของบริจาคจากแฟนเพจไป
กระทู้นี้จึงมีอีกหน้าที่นอกจากถ่ายทอดประสบการณ์ คือการขอบคุณในน้ำใจครับ
ของและเงินบริจาคจากหลายแหล่ง
หลายคนผู้ใจดีทำให้เกิดโครงการนี้ได้ ต้องขอขอบคุณมา ณที่นี้ด้วยครับ
"มีใครสนใจจะไปเป็นหมออาสาตรวจบนดอยที่อมก๋อยมั้ย???"
ข้อความนั้นเด้งเตือนเข้ามาในไลน์กลุ่มเพื่อนหมอ ทันทีที่เห็นก็ราวกับมีแรงดึงดูด
คำว่าอาสา และดอยเป็นสองคำที่มีพลังมากสำหรับผม อาสาแปลว่าไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการมอบบางอย่างที่เรามี ที่เราสามารถจะเป็นประโยชน์ได้ให้กับใครซักกลุ่มที่ขาดแคลนและต้องการ
ดอย แม้ตอนนั้นจะยังไม่รู้ตำแหน่งที่แน่ชัดของอมก๋อย แต่ขึ้นชื่อว่าดอยในช่วงหน้าหนาวอย่างนี้ นึกถึงควันที่เป่าออกจากปากยามหายใจ ต้นไม้ใบหญ้าเขียวสดใสและลำธารไหลเย็น ไม่มีอะไรดีกว่าการไปดอยเป็นแน่ หลังจากปรึกษาเพื่อนรัก และตัดสินใจลางาน จองตั๋วเครื่องบิน เท่านั้นทุกอย่างก็พร้อมแล้วสำหรับการไปเป็นหมออาสาที่ดอยอมก๋อย ในอีก1เดือนข้างหน้า
วันเวลาผ่านไปตามปกติของมันไม่ช้าไม่เร็วไปกว่าทุกเดือน การประกาศรับบริจาคตามช่องทางต่างๆ ทั้งในเฟซบุคส่วนตัวและในเพจที่ทำอยู่ร่วมถึงการประกาศปากเปล่า ก็นำพาของบริจาค ที่เต็มไปด้วยน้ำจิตน้ำใจของผู้ใจดีทั้งจากใกล้ตัว ใกล้บ้าน ไปจนถึงต่างบ้านต่างเมือง ให้หลั่งไหลมารวมกันที่เชียงใหม่ ศูนย์รวมกำลังพลและข้าวของสำหรับโครงการนี้ คงยากจะหาคำอธิบายความตื้นตันใจที่มีต่อน้ำใจของทุกๆคนของบริจาคแต่ละกล่องล้วนกล่องใหญ่เป็นของสภาพดีและสามารถนำไปใช้ได้จริง คำขอบคุณแทนชาวบ้านที่ได้สวมใสเสื้อผ้าบร้จาคเพื่อกันหนาว คงเป็นคำที่มีค่าที่สุด ขอบคุณครับ
ข้าวของพร้อม กายพร้อมใจพร้อม แล้วเราก็ไปอมก๋อยกัน
จากคำบอกเล่าของใครหลายๆคน เราจะใช้เวลาเดินทางจากเชียงใหม่ไปอำเภออมก๋อย4ชั่วโมง อย่านะ อย่าคิดว่าถึงแล้วทำไมง่ายจัง ถ้าง่ายขนาดนั้นเราอาจจะไม่ต้องไปกันครับ ความจริงมีอยู่ว่า อมก๋อยเป็นเขตอำเภอที่กว้างใหญ่ประกอบด้วยตำบลและหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอหรือกระเหรี่ยงที่เราคุ้นเคยกัน มากมายหลายสิบหมู่บ้าน และที่ที่เราเลือกไปกัน คือหมู่บ้าน"ทีผะแหล่" จากตัวอำเภออมก๋อยไปโดยรถโฟร์วีล ใช้เวลาอีก4ชั่วโมง "นั่นคือคำบอกเล่า"
ในเช้าวันเดินทางคณะของเรา ออกจากเชียงใหม่ด้วยรถประจำทางที่ได้เช่าเหมาไว้
ทุกคนแลดูตื่นเต้นไม่แพ้กัน ที่จะได้ไปประสพกับความแปลกใหม่และน่าจะท้าทายเราไม่น้อย สองข้างทางเต็มไปด้วยทัศนียภาพแม่น้ำลำธารทุ่งนาภูเขา 4ชั่วโมงกว่าผ่านไปเรามาถึงอมก๋อย
แต่การเดินทางที่แท้จริง มันเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ต่างหาก รถโฟร์วีลกระบะ4คัน ที่ล้อมกรงรอบคันมารอรับเราพร้อมด้วยครูยุทธ์ ครูหนุ่มจากใต้ผู้ที่มีอายุอานามรุ่นราวคราวเดียวกับพวกเราจบ food science แต่ตัดสินใจจากบ้านเกิดมาเป็นครูดอยด้วยความมุ่งมั่น ทิ้งเงินเดือนหลักหมื่นมาเป็นเรือจ้างในดินแดนที่ห่างไกลชื่อไม่คุ้นหู
หลังจากเติมพลังด้วยข้าวผัด
ขนของบริจาคและของส่วนตัวทั้งหมดกระจายขึ้นรถทั้ง4คัน แบ่งกำลังพลกระจายไปแต่ละคัน
การเดินทางที่สุดยอดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต ก็เริ่มขึ้น รถขับเคลื่อนสี่ล้อค่อยๆพาผู้อาสาเข้าสู่ดินแดนที่ยากแก่การเข้าถึง ล้อที่แข็งแกร่งพาเราฝ่าถนนลูกรัง ฝ่าฝุ่นควัน ฝ่าเขาสูงชัน ขับข้ามลำธารนับสิบสาย กับอีกหลายหมู่บ้าน ด้วยความที่ถนน จริงๆจะเรียกถนนก็ดูจะเป็นการดูถูกเส้นทางสู่หมู่บ้านทีผะแหล่จนเกินไปเพราะเอาเข้าจริงมันเป็นแค่ทางดินแดงเกือบตลอดทั้งเส้นระยะทางกว่าร้อนกิโลเมตร ด้วยความทรหดของทางรถนี้ ทำให้ผู้ร่วมทางหลายคนเกือบพ่ายแพ้ ล้มหมอนนอนเสื่อด้วยอาการเมารถกันไปหลายราย
ควายในปลักที่ไม่เคยเห็นทุกคนตื่นเต้นคว้ากล้องมาถ่ายรูปกันใหญ่
ขับต่อไปอีกระยะนึงขณะข้ามลำธารก็ได้ยินเสียง "ฉ่า" พร้อมควันขึ้นเป็นสัญญาณว่าล้อรถความร้อนสูงเกินไป ติองลงไปช่วยกันวิดน้ำรดล้อ
"สรพงศ์" คนขับรถคันของเราเป็นชายหนุ่มปะกากะยออารมณ์ดีพูดไทยได้ชัดเจนทีเดียวบอกเราหลังจากเดินทางด้วยรถโฟร์วีล มาเกิน4ชั่วโมงตามที่ได้รับบอกกล่าวมาแล้วว่า "อินิเดียวคระ อิ2ชั่วโม ก็ถึและ" คุณพระ!!! นั่นแปลว่าเราจะใช้เวลาเดินทางรวมกว่า6ชั่วโมง จากตัวอำเภออมก๋อย
ณ จดอีก2ชั่วโมงถึงทีผะแหล่
เวลาเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ยามเย็น แสงสดใสค่อนข้างแรงในช่วงบ่าย เริ่มอ่อนโยนลงค่อยๆเปลี่ยนเป็นแสงสีส้มทองพอให้เราได้ชื่นชมทัศนียภาพของทิวเขาสูงเบื้องหน้า เบื้องข้างได้บ้าง
จากจุดนี้ อีก4หมู่บ้าน 13กิโล แม้ว ม้ง หรือเผ่าไหนก็ตามเราจะถึงทีผะแหล่ แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันค่อนข้างมาก 3-4กิโล เมื่อหารตัวเลขออกมา อาจดูไม่เยอะเลยในสายตาคนเมือง แต่ถ้าคุณๆได้ลองมาสัมผัสกิโลแม้วซักครั้งที่รถสามารถเคลื่อนได้ประมาณ15-20กิโลเมตรต่อชั่วโมง และหนทางคือดินแดง ลำธาร และลูกรัง นึกภาพไม่ออกเลยว่าถ้ามีคนป่วยหนักอยู่ในหมู่บ้าน แล้วรถที่มีอยู่ไม่กี่คันนั้นเกิดไม่อยู่ในระยะไหว้วานได้ อะไรจะรออยู่นอกจากความตาย
แสงอาทิตย์อ่อนลงเต็มที และเริ่มที่จะคล้อยต่ำหลบมุมสู่แนวหุบเขา
หมู่บ้านแล้วหมู่บ้านเล่าที่เราผ่านไป มีเด็กๆตัวน้อยหน้าตามอมแมม ออกมายืนไหว้สวัสดีชาวคณะอย่างแข็งขันเป็นที่แปลกใจของพวกเรามาก ก็รู้ๆกันอยู่เด็กวัย 2,3,4,5 ขวบ ที่อยู่ในเมือง สอนกันแทบแย่จะให้ยกมือไหว้คนรู้จักยังยาก แต่นี่เราคือคนแปลกหน้าที่เห็นกันแค่เสี้ยวเวลาที่รถผ่าน แต่เด็กๆแทบทุกคนกลับยกมือไหว้เรา ทำไมกันนะ?
"สรพงศ์"คนเดิมให้ข้อมูลตอบข้อสงสัยของเราว่า เด็กๆเหล่านี้ได้รับการสอนจากครูในโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ให้ใช้การไหว้และกล่าวสวัสดีขบวนของคณะที่เข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการต้อนรับ ซึ่งมันเป็นนิสัยที่น่ารักมากๆเชียวล่ะ
ทางช่วงสุดท้ายก่อนถึงทีผะแหล่เรียกได้ว่า "ของจริง" พวกเราบางส่วนที่นั่งและยืนหลังกระบะ ต้องใช้วิทยายุทธข้อแข็ง เกาะเกี่ยวราวเหล็กรอบรถเอาไว้จนกล้ามเนื้อตึงเกร็งไปทุกส่วน และยังไม่วายต้องเอาหัวหลบให้พ้นทางกิ่งไม้ที่พร้อมจะมาปะทะได้จากทุกทิศทาง
แล้วในเฮือกสุดท้ายก่อนทุกคนจะหมดแรง หลังคาบ้านหลายหลัง ลำธารใสพร้อมเสียงน้ำไหลก็ปรากฎแก่สายตาและโสตประสาทของเรา 10ชั่วโมงจากเชียงใหม่ถึงในเขตจังหวัดเดียวกันอย่างไม่น่าเชื่อ ถ้านั่งเครื่องบินก็ไปเกือบถึงฝรั่งเศสแล้ว "ทีผะแหล่" อยู่ตรงหน้าเรานี่เอง
ในเย็นวันแรกที่ไปถึงบ้านทีผะแหล่ หลังจากช่วยกันขนย้ายของบริจาคเข้าที่เก็บของ และสัมภาระส่วนตัวเข้าที่พักซึ่งก็คือตัวโรงเรียนเรียบร้อยแล้วโดยมีผู้ช่วยคนของคือเด็กๆตัวเล็กตัวโต คุณครูยุทธและครูหญิงประจำโรงเรียนทีผะแหล่และคุณครูอีก2คนที่เดินทางมาจากต่างหมู่บ้านเพื่อรอรับเรา
ก็ได้เวลาไปชำระล้างฝุ่นดินแดงที่เกาะกรังตามตัวตามผมไม่เว้นแม้กระทั่งรูจมูกออกไปบ้าง คืนความสดชื่นให้กับร่างพังๆกันหน่อย และที่อาบน้ำของเราก็ไม่ใช่ที่อื่นไกล คือลำน้ำเงาข้างโรงเรียนที่หล่อเลี้ยงหมู่บ้านทีผะแหล่นั่นเอง
ลำธารใสไหลเย็นสดชื่นเมื่อได้กระโดดลงไปแช่ชำระล้างคราบไคลฝุ่นควัน ฟอกสบู่แชมพูกันให้หอมเคล้าวิวป่าเขาที่ล้อมรอบและพระอาทิตย์ที่ทอแสงทองสุดท้ายก่อนลับทิวเขาไป พูดไปก็จะหาว่าเหลือเกิน แต่ความเหนื่อยล้าจากการกระเด้งกระดึ๋งกระแทกกระทั้นบนเส้นทางอันหฤโหด6ชั่วโมง ก็บรรเทาเบาบางลงราวกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น ใครจะรู้กันว่าลำธารน้ำเงานี้มีเสน่ห์ดึงดูดใจทำให้อยากอยู่ที่นี่ไปอีกนานๆ
บนดอยและในหมู่บ้านไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ไม่ว่าจะค่ายไหนๆ 2G3G4G ไม่มีกระดิก แต่ด้วยสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม้เล็กๆที่น่ารัก มีบ้านต้นไม้หลังเล็กที่เรายึดเป็นเรือนนอน
สิ่งปลูกสร้างล้วนก่อร่างสร้างขึ้นด้วยแรงงานอาสาและครูดอยหนุ่มสาว เด็กๆที่น่ารัก ก็ทำให้เราลืมโลกเสมือนบนโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คไปได้ไม่ยาก