แนวทางการหลีกทางให้รถฉุกเฉิน
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
หลายคนคงเคยตกอยู่ในสภาวะขับรถอยู่บนถนนแล้วเห็นรถพยาบาลฉุกเฉินแต่ไม่รู้ว่าจะหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินได้อย่างไร บางคนเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณของรถพยาบาลฉุกเฉินก็เกิดอาการตกใจจนไม่สามารถบังคับรถให้หลีกทางได้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงได้จัดทำแนวทางเรื่องการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ
โดยนพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุว่า แนวทางการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินในสากลนั้นจะปฏิบัติดังนี้
1.เมื่อประชาชนเห็นสัญญาณไฟและได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนก็มักจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นก่อนอื่นผู้ขับขี่ควรตั้งสติ
2.พยายามมองกระจกหลังเพื่อกะระยะของรถพยาบาลที่วิ่งมา
3.เมื่อพิจารณาปริมาณรถทั้งซ้ายและขวาที่อยู่ใกล้แล้วพบว่าไม่มีอันตรายและเราสามารถเบี่ยงชิดซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถและเบี่ยงซ้ายเพื่อหลีกทางให้รถพยาบาลทันที
4.หากไม่สามารถหลีกทางได้ด้วยเพราะสภาพรถที่หนาแน่นและมีอันตรายก็ให้หยุดชะลอรถให้นิ่งเพื่อให้รถพยาบาลฉุกเฉินหาทางวิ่งผ่านเราไปให้ได้
5.เมื่อรถพยาบาลฉุกเฉินวิ่งผ่านไปแล้วห้ามขับตามเด็ดขาด
6.กรณีรถติดและรถพยาบาลฉุกเฉินอยู่ด้านหลังพอดีให้พิจารณาว่าควรชิดซ้ายหรือชิดขวาดี ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ให้ผู้ขับขี่เลือกว่าจะหลบทางไหนและเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้สัญญาณให้รถพยาบาลฉุกเฉิน ได้แซงผ่านไปได้สะดวก
นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 76 เรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้รถใช้ถนน เดินเท้า ต่อรถพยาบาลจะต้องหลบและหลีกให้พ้นผิวจราจรทางด้านซ้ายทันทีเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนหรือเห็นไฟวับวาบ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนี้ในส่วนของคนขับรถพยาบาลเองก็จะต้องปฏิบัติตามกฏจราจรอย่าเคร่งครัดโดยไม่มีข้อยกเว้นและการขอทางก็จะต้องเปิดสัญญานไฟให้ถูกต้อง
นพ.อนุชากล่าวต่อว่า สำหรับคนขับรถพยาบาลเองก็ต้องมีความระมัดระวัง และจะต้องแซงรถคันอื่นอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันโดยการแซงจะต้องแซงด้านขวาเสมอ แต่สามารถแซงด้านซ้ายได้ในกรณีเดียวคือถนนมีลักษณะเป็น 2 เลนส์ และก่อนแซงทุกครั้งจะต้องให้สัญญาณไฟไม่แซงรถคันอื่นครั้งละมากกว่า 1 คัน
อย่างไรก็ตามในวันที่ 13 ก.พ. จะถึงนี้ สพฉ.ได้จัดให้การแข่งขันการขับรถพยาบาลปลอดภัยระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ศูนย์สอนขับรถบรรทุกขนาดใหญ่ กรมการขนส่งทางบก อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาทักษะและทัศนคติในการขับรถพยาบาลอย่างปลอดภัยเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนและผู้ใช้ทางร่วมกันอีกด้วย
แนวทางการหลีกทางให้รถฉุกเฉิน
หลายคนคงเคยตกอยู่ในสภาวะขับรถอยู่บนถนนแล้วเห็นรถพยาบาลฉุกเฉินแต่ไม่รู้ว่าจะหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินได้อย่างไร บางคนเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณของรถพยาบาลฉุกเฉินก็เกิดอาการตกใจจนไม่สามารถบังคับรถให้หลีกทางได้ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจึงได้จัดทำแนวทางเรื่องการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินให้ประชาชนได้รับทราบเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ
โดยนพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ระบุว่า แนวทางการหลีกทางให้รถพยาบาลฉุกเฉินในสากลนั้นจะปฏิบัติดังนี้
1.เมื่อประชาชนเห็นสัญญาณไฟและได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนก็มักจะตกใจและทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นก่อนอื่นผู้ขับขี่ควรตั้งสติ
2.พยายามมองกระจกหลังเพื่อกะระยะของรถพยาบาลที่วิ่งมา
3.เมื่อพิจารณาปริมาณรถทั้งซ้ายและขวาที่อยู่ใกล้แล้วพบว่าไม่มีอันตรายและเราสามารถเบี่ยงชิดซ้ายได้ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถและเบี่ยงซ้ายเพื่อหลีกทางให้รถพยาบาลทันที
4.หากไม่สามารถหลีกทางได้ด้วยเพราะสภาพรถที่หนาแน่นและมีอันตรายก็ให้หยุดชะลอรถให้นิ่งเพื่อให้รถพยาบาลฉุกเฉินหาทางวิ่งผ่านเราไปให้ได้
5.เมื่อรถพยาบาลฉุกเฉินวิ่งผ่านไปแล้วห้ามขับตามเด็ดขาด
6.กรณีรถติดและรถพยาบาลฉุกเฉินอยู่ด้านหลังพอดีให้พิจารณาว่าควรชิดซ้ายหรือชิดขวาดี ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ให้ผู้ขับขี่เลือกว่าจะหลบทางไหนและเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้สัญญาณให้รถพยาบาลฉุกเฉิน ได้แซงผ่านไปได้สะดวก
นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 76 เรื่องสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้รถใช้ถนน เดินเท้า ต่อรถพยาบาลจะต้องหลบและหลีกให้พ้นผิวจราจรทางด้านซ้ายทันทีเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณไซเรนหรือเห็นไฟวับวาบ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนี้ในส่วนของคนขับรถพยาบาลเองก็จะต้องปฏิบัติตามกฏจราจรอย่าเคร่งครัดโดยไม่มีข้อยกเว้นและการขอทางก็จะต้องเปิดสัญญานไฟให้ถูกต้อง
นพ.อนุชากล่าวต่อว่า สำหรับคนขับรถพยาบาลเองก็ต้องมีความระมัดระวัง และจะต้องแซงรถคันอื่นอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกันโดยการแซงจะต้องแซงด้านขวาเสมอ แต่สามารถแซงด้านซ้ายได้ในกรณีเดียวคือถนนมีลักษณะเป็น 2 เลนส์ และก่อนแซงทุกครั้งจะต้องให้สัญญาณไฟไม่แซงรถคันอื่นครั้งละมากกว่า 1 คัน
อย่างไรก็ตามในวันที่ 13 ก.พ. จะถึงนี้ สพฉ.ได้จัดให้การแข่งขันการขับรถพยาบาลปลอดภัยระดับชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ศูนย์สอนขับรถบรรทุกขนาดใหญ่ กรมการขนส่งทางบก อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เพื่อพัฒนาทักษะและทัศนคติในการขับรถพยาบาลอย่างปลอดภัยเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถใช้ถนนและผู้ใช้ทางร่วมกันอีกด้วย