สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
Junta ก็เป็น Junta อยู่วันยังค่ำครับ ไม่ว่าจะมีการยิงเป้าหรือใช้ความรุนแรงหรือไม่
junta มักอยู่คู่กับการปกครองแบบ Authoritarianism หรือเผด็จการอำนาจนิยมหรือการปกครองที่กีดกันไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินต่อการปกครอง ถ้าจะให้ยุติธรรม การปกครองประชาธิปไตยที่เต็มใบก็อาจมีท่าทีเช่นนี้แฝงมาไม่ว่ายุคไหนของไทย ที่พรรคการเมืองต้องการมีอำนาจในการปกครองนานๆ ก็ต้องใช้รูปแบบการผูกขาดเช่นนี้ ผสมกับระบบราชการซึ่งยิ่งใหญ่มานานอย่างเช่นทักษิณและเครือข่าย สำหรับเมืองไทยยุคหลังรัฐประหารปีที่แล้ว เป็นระบบราชการที่ยิ่งใหญ่แต่เพียงผู้เดียว
อีกคำหนึ่งที่ผมลองเอามาใช้กับไทยคือ Smart authoritarianism มีการวางแผนกันมาอย่างดีนับจะตั้งแต่ชนชั้นปกครองไทยเห็นความล้มเหลวของการทำรัฐประหารครั้งก่อนเมื่อปี 2549 มาแล้วคือหลีกเลี่ยงการนองเลือด ซึ่งก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้ามองอีกแง่คือกองทัพได้เข้าควบคุมประเทศได้อย่างทุกอณูจนไม่มีกลุ่มไหนสามารถกระดิกกระเดี้ยและสามารถเอาไปอ้างกับต่างชาติได้ว่าเป็น benevolent authoritarianism เผด็จการแบบมีเมตตาไม่เหมือนกับเผด็จการในประเทศอื่นๆ
และใช้วิธีการควบคุมมวลชนให้ละมุนละม่อมมากที่สุดเช่นประดิษฐ์คำว่า "คืนความสุข" และที่เด็ดกว่านั้นคือ "ปรับทัศนคติ" แทนการข่มขู่ต่อกลุ่มที่ต่อต้าน ผมเคยคุยกับคนที่ถูกกองทัพไปเรียกตัว เขาบอกว่าทหารพูดดีมากเป็นมิตร แต่นี่เป็นกลยุทธในการเอาบริบทเป็นเครื่องมือเพราะผู้ถูกเรียกจะรู้ทันทีว่าหากแข็งขืนต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นภายใต้รอยยิ้มหรือการพูดแบบนิ่มๆ หรือการใช้กองทัพเข้าแทรกแซงกลุ่มจัดตั้งมวลชนทุกอย่าง สะกัดกั้นการแสดงออกทางเมืองเชิงกายภาพทุกรูปแบบ แต่ปล่อยให้มีเสรีภาพทางด้านอินเทอร์เน็ตอยู่บ้าง (ก่อนจะพยายามออกกฏหมายควบคุมโลกโซเชียลมีเดียและการควบคุมการชุมนุมประท้วง) แต่ในรูปแบบการวิจารณ์รัฐบาลพอสมควร มากกว่า "การต่อต้าน" รัฐบาล (ตัวอย่างชัดเจนคือรายการ voice TV ) กระนั้นก็พร้อมใช้กฎหมายมาตรา 112 มาเล่นงานฝ่ายตรงกันข้ามได้ทุกเมื่อ
สำหรับเวทีโลก ประเทศเผด็จการต่างๆ ก็จะมีเหตุผลในการอ้างต่อเวทีโลกถึงความจำเป็นในการปกครองแบบเผด็จการไม่ว่าเอเชีย แอฟริกาหรือเอเชีย และประชาชนซึ่งให้การสนับสนุนเผด็จการก็มักจะรู้สึกอินกับข้ออ้าง (เช่นแบบไทยๆ หรือเผด็จการชั่วคราว)เพราะถูกปลูกฝังให้รู้สึกชอบมานาน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของการขัดเกลาทางสังคมของแต่ละประเทศ สำหรับเรา มีการปลูกฝังให้ชื่นชอบเผด็จการแบบแอบแฝงมานาน ถ้าลองไปดูหนังสือเรียนมา ก็มีการปลูกฝังเคียงคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตยซึ่งอ่อนปวกเปียก เป็นฝรั่งมาก อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเมืองแบบรัฐสภาไม่เข้มแข็ง (จะโทษนักการเมืองเป็นหลักก็ได้ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว)
junta มักอยู่คู่กับการปกครองแบบ Authoritarianism หรือเผด็จการอำนาจนิยมหรือการปกครองที่กีดกันไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินต่อการปกครอง ถ้าจะให้ยุติธรรม การปกครองประชาธิปไตยที่เต็มใบก็อาจมีท่าทีเช่นนี้แฝงมาไม่ว่ายุคไหนของไทย ที่พรรคการเมืองต้องการมีอำนาจในการปกครองนานๆ ก็ต้องใช้รูปแบบการผูกขาดเช่นนี้ ผสมกับระบบราชการซึ่งยิ่งใหญ่มานานอย่างเช่นทักษิณและเครือข่าย สำหรับเมืองไทยยุคหลังรัฐประหารปีที่แล้ว เป็นระบบราชการที่ยิ่งใหญ่แต่เพียงผู้เดียว
อีกคำหนึ่งที่ผมลองเอามาใช้กับไทยคือ Smart authoritarianism มีการวางแผนกันมาอย่างดีนับจะตั้งแต่ชนชั้นปกครองไทยเห็นความล้มเหลวของการทำรัฐประหารครั้งก่อนเมื่อปี 2549 มาแล้วคือหลีกเลี่ยงการนองเลือด ซึ่งก็เป็นเรื่องดี แต่ถ้ามองอีกแง่คือกองทัพได้เข้าควบคุมประเทศได้อย่างทุกอณูจนไม่มีกลุ่มไหนสามารถกระดิกกระเดี้ยและสามารถเอาไปอ้างกับต่างชาติได้ว่าเป็น benevolent authoritarianism เผด็จการแบบมีเมตตาไม่เหมือนกับเผด็จการในประเทศอื่นๆ
และใช้วิธีการควบคุมมวลชนให้ละมุนละม่อมมากที่สุดเช่นประดิษฐ์คำว่า "คืนความสุข" และที่เด็ดกว่านั้นคือ "ปรับทัศนคติ" แทนการข่มขู่ต่อกลุ่มที่ต่อต้าน ผมเคยคุยกับคนที่ถูกกองทัพไปเรียกตัว เขาบอกว่าทหารพูดดีมากเป็นมิตร แต่นี่เป็นกลยุทธในการเอาบริบทเป็นเครื่องมือเพราะผู้ถูกเรียกจะรู้ทันทีว่าหากแข็งขืนต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นภายใต้รอยยิ้มหรือการพูดแบบนิ่มๆ หรือการใช้กองทัพเข้าแทรกแซงกลุ่มจัดตั้งมวลชนทุกอย่าง สะกัดกั้นการแสดงออกทางเมืองเชิงกายภาพทุกรูปแบบ แต่ปล่อยให้มีเสรีภาพทางด้านอินเทอร์เน็ตอยู่บ้าง (ก่อนจะพยายามออกกฏหมายควบคุมโลกโซเชียลมีเดียและการควบคุมการชุมนุมประท้วง) แต่ในรูปแบบการวิจารณ์รัฐบาลพอสมควร มากกว่า "การต่อต้าน" รัฐบาล (ตัวอย่างชัดเจนคือรายการ voice TV ) กระนั้นก็พร้อมใช้กฎหมายมาตรา 112 มาเล่นงานฝ่ายตรงกันข้ามได้ทุกเมื่อ
สำหรับเวทีโลก ประเทศเผด็จการต่างๆ ก็จะมีเหตุผลในการอ้างต่อเวทีโลกถึงความจำเป็นในการปกครองแบบเผด็จการไม่ว่าเอเชีย แอฟริกาหรือเอเชีย และประชาชนซึ่งให้การสนับสนุนเผด็จการก็มักจะรู้สึกอินกับข้ออ้าง (เช่นแบบไทยๆ หรือเผด็จการชั่วคราว)เพราะถูกปลูกฝังให้รู้สึกชอบมานาน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของการขัดเกลาทางสังคมของแต่ละประเทศ สำหรับเรา มีการปลูกฝังให้ชื่นชอบเผด็จการแบบแอบแฝงมานาน ถ้าลองไปดูหนังสือเรียนมา ก็มีการปลูกฝังเคียงคู่ไปกับระบอบประชาธิปไตยซึ่งอ่อนปวกเปียก เป็นฝรั่งมาก อันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การเมืองแบบรัฐสภาไม่เข้มแข็ง (จะโทษนักการเมืองเป็นหลักก็ได้ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว)
แสดงความคิดเห็น
คำว่า "military junta" เป็นคำเรียกที่สุภาพหรือเป็นทางการหรือเป็นคำเรียกในเชิงว่า เผด็จการครับ
จากกระทู้หนึ่งใด้อธิบายไว้น่ะครับ
ข่าวนี้เผยแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วในพริบตา สื่อออนไลน์นำไปเผยแพร่ต่อ จนไม่อาจหยุดยั้งได้
การจั่วหัวข้อข่าว เรียก ............ * Military Junta * ถือว่า แรง มาก มาก เปรียบดั่งจอมเผด็จการแถบละตินอเมริกา หรือ อัฟริกา...
...
คำว่า Military Junta แปลว่าอะไรครับ ใน wiki บอกว่าแปลว่า "คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง" แต่ผมยังไม่เชื่อส่ะที่เดียวจึงขอสอบถามหน่อยครับ