พักหลังนี้เทคโนโลยีหนึ่งที่เริ่มเป็นที่น่าสนใจอีกครั้งในวงการโทรศัพท์มือถือคือระบบชาร์จแบตแบบไร้สาย (Wireless Charger) ที่ถูกนำมาใช้ในมือถือหลายรุ่น หลายคนคงสงสัยว่าพลังงานส่งผ่านอากาศไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างไร ?
การทำงานของ Wireless charging นั้น มีชื่อหลักการทางวิทยาศาตร์ว่า Inductive charging (การชาร์จประจุไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ) การเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่มือถือเรา ใช้หลักการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กแผ่ออกไป ภายในแผ่น Charging Pad ที่ดูหรูหรา แท้จริงแล้วภายในก็เป็นขดลวดอาบน้ำยาขดๆอยู่หลายสิบรอบนี้แหละครับ ซึ่งขดลวดนี้จะตอบสนองกับขดลวดในมือถือเรา โดยเมื่อเรานำมือถือไปวางไว้ในจุดที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตัดผ่าน ก็จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในขดลวดนี้ ดังนั้นเราสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ ไปชาร์จเข้ากับแบตเตอรี่มือถือได้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม การส่งต่อพลังงานด้วยการเหนี่ยวนำเช่นนี้ยังไงก็ต้องมีพลังงานที่สูญเสีย นี่คือข้อแตกต่างของ Wireless Charger แต่ละเจ้า และเจ้าที่ถูกนำมาใช้เยอะที่สุดในตอนนี้คือยี่ห้อ Qi (อ่านว่า ชี่ มาจากพลังงานชี่นั่นเอง) ที่บอกว่าอัตราการส่งต่อพลังงานทำได้ถึง 70% จึงเปลืองค่าไฟน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ และข้อดีของการที่แต่ละเจ้าใช้ผลิตภัณฑ์ของ Qi คือ เราสามารถใช้งานข้ามยี่ห้อกันได้ เช่น เอา Lumia 920 ไปชาร์จบนแท่นของ Nexus 4 เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้เจ้าไหน ก็เตรียมจ่ายเงินค่าไฟเพิ่มได้เพราะยังไงพลังงานก็มีการสูญเสีย และสิ่งที่แถมมาคือกว่าจะชาร์จเต็มก็ใช้เวลามากขึ้น แต่แลกกับความสะดวกแล้วก็ถือว่าคุ้มนะ เป็น Gadget ให้ความสะดวกสบายที่ดู cool ประดับห้องของคุณ เหมาะสำหรับคนใจร้อน หรือเร่งรีบตลอดเวลา ไม่ชอบให้มีสายเกะกะ และเวลารีบถอดที่ชาร์ตไม่ต้องกลัวว่าช่องเสียบจะพังอีกด้วย
- ข้อดีคือ การชาร์จแบบนี้จะสะดวกสบายในการชาร์จไม่มีสายมารบกวน และไม่มีการกระชากของกระแสไฟฟ้าขณะที่ถอดเข้าออก
- ข้อเสียของการชาร์จแบบนี้คือ ประสิทธิภาพในการชาร์ตไม่เท่าการชาร์ตแบบปกติ เนื่องจากเกิดการสูญเสียในการส่งถ่ายพลังงานจากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า + ราคาค่อนข้างแพง
ปล.ไม่ทำให้เครื่องร้อน แค่อุ่นเฉยๆ
หลายคนสงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wireless Charger วันนี้ผมมีคำตอบครับ
การทำงานของ Wireless charging นั้น มีชื่อหลักการทางวิทยาศาตร์ว่า Inductive charging (การชาร์จประจุไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ) การเหนี่ยวนำที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่มือถือเรา ใช้หลักการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นสนามแม่เหล็กแผ่ออกไป ภายในแผ่น Charging Pad ที่ดูหรูหรา แท้จริงแล้วภายในก็เป็นขดลวดอาบน้ำยาขดๆอยู่หลายสิบรอบนี้แหละครับ ซึ่งขดลวดนี้จะตอบสนองกับขดลวดในมือถือเรา โดยเมื่อเรานำมือถือไปวางไว้ในจุดที่มีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าตัดผ่าน ก็จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นในขดลวดนี้ ดังนั้นเราสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ ไปชาร์จเข้ากับแบตเตอรี่มือถือได้โดยตรง
อย่างไรก็ตาม การส่งต่อพลังงานด้วยการเหนี่ยวนำเช่นนี้ยังไงก็ต้องมีพลังงานที่สูญเสีย นี่คือข้อแตกต่างของ Wireless Charger แต่ละเจ้า และเจ้าที่ถูกนำมาใช้เยอะที่สุดในตอนนี้คือยี่ห้อ Qi (อ่านว่า ชี่ มาจากพลังงานชี่นั่นเอง) ที่บอกว่าอัตราการส่งต่อพลังงานทำได้ถึง 70% จึงเปลืองค่าไฟน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ และข้อดีของการที่แต่ละเจ้าใช้ผลิตภัณฑ์ของ Qi คือ เราสามารถใช้งานข้ามยี่ห้อกันได้ เช่น เอา Lumia 920 ไปชาร์จบนแท่นของ Nexus 4 เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้เจ้าไหน ก็เตรียมจ่ายเงินค่าไฟเพิ่มได้เพราะยังไงพลังงานก็มีการสูญเสีย และสิ่งที่แถมมาคือกว่าจะชาร์จเต็มก็ใช้เวลามากขึ้น แต่แลกกับความสะดวกแล้วก็ถือว่าคุ้มนะ เป็น Gadget ให้ความสะดวกสบายที่ดู cool ประดับห้องของคุณ เหมาะสำหรับคนใจร้อน หรือเร่งรีบตลอดเวลา ไม่ชอบให้มีสายเกะกะ และเวลารีบถอดที่ชาร์ตไม่ต้องกลัวว่าช่องเสียบจะพังอีกด้วย
- ข้อดีคือ การชาร์จแบบนี้จะสะดวกสบายในการชาร์จไม่มีสายมารบกวน และไม่มีการกระชากของกระแสไฟฟ้าขณะที่ถอดเข้าออก
- ข้อเสียของการชาร์จแบบนี้คือ ประสิทธิภาพในการชาร์ตไม่เท่าการชาร์ตแบบปกติ เนื่องจากเกิดการสูญเสียในการส่งถ่ายพลังงานจากการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า + ราคาค่อนข้างแพง
ปล.ไม่ทำให้เครื่องร้อน แค่อุ่นเฉยๆ