เพลงประกอบ ภาพยนตร์ อินทรีแดง 2553
เพลง ในคืนนี้
โดย เพชร โอสถานุเคราะห์
นานแล้วที่ยอดมนุษย์ไทยๆ ห่างนานไปนานจากจอเงินจอแก้วบ้านเรา
ด้วยการตีความและบท ที่ไม่สัมพันธ์กับทุนสร้าง รสนิยมผู้ชม ทำให้ผลงานออกมาน่าผิดหวัง
เพลง มิดชิด
ขับร้อง ธนกฤต พานิชวิทย์
สายลับเชน เป็นเรื่องล่าสุดในยุคที่cg มีคุณภาพและราคาที่ต่ำพอกับการผลิตละครยุคhd และทำได้ดี
แต่ด้วยบทที่ยืดยาด ไม่ได้ใช้สูตรสำเร็จแบบที่ญี่ปุ่นใช้ ที่แต่ละตอนจะมีตัวร้ายย่อยมาสู้กับพระเอก
พร้อมเหล่าสมุนหางแถว แล้วพระเอกแปลงร่างใช้ไม้ตายจบตอนแบบเท่ๆ โดยแฝงคติสอนใจไว้ในตอนท้าย
ทำให้การดำเนินเรื่องเต็มไปด้วย เรื่องของพระรองเสียมากเพื่อยืดเวลาแต่ละช่วงให้มากพอที่จะได้จำนวนตอนที่ตั้งธงไว้
การเดินเรื่องของเชน เอาเข้าจริง ไม่เกินครึ่งเรื่อง นอกนั้นเป็นน้ำเสียมาก ถ้าเนื้อหาอัดแน่น เดินเรื่องเร็ว ทุนมากกว่านี้
คงจะรุ่งมากกว่าที่เป็น มีอย่างที่ไหนพระรอง ตัวสูงกว่าพระเอก นางรองวี้ดว๊ายกระตู้หู้จนน่าเบื่อ
เด็กสาวที่เป็นแกนกลางเดินกลับกลับลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ จนเป็นตัวแถม ทั้งที่แสดงดีกว่าที่โตแล้ว
เลือกมาดี แต่บทกลับเขียนไม่ดี อนิจจา
น้องใหม่ความตั้งใจดี แต่ลักลั่นในหลายๆอย่าง ละครเรื่องนี้ผลิตยาก คิวบู๊เยอะ และทุนไม่สุด
ควรปรับเปลี่ยนให้งานผลิตออกมาเหมาะสม มากกว่ายืดการเดินเรื่อง ทำให้สิ่งสร้างสรรค์ในละครด้อยคุณค่าไป
พระเอก เล่นดีความตั้งใจเกินร้อย เคารพแนวทางรุ่นพี่ๆ แสดงคุณธรรมน้ำมิตรชาวยุทธ ไม่ฆ่าคนส่งเดชได้ดี
งานนี้เชนได้เปรียบดุลการค้า มีสาวน้อยมหัศจรรย์เป็นคู่หู ต่อมากลายเป็นนางแมว แถมสาวแก่ แม่หม่ายเป็นแม่ยก
แต่มาพ่ายรักให้หมวดสาวพันธุ์ดุ จนท้อแท้ขอกลับไปเลียแผลใจ ยังถิ่นเก่าแถววังบูรพาภิรมย์
นางเอก จ้างคนเดียว เล่นสองคน เต็มที่กับบท บู๊ได้ ไม่สำออย แต่งพีเรียดขึ้น
ตัวร้ายเรื่องนี้ แสดงดีมาก มีความแตกต่างในแต่ละตัวอย่างชัดเจน ในที่สุดตัวร้ายไทยก็คิดครองโลกเสียที
หลังจากปล่อยให้สารพัดองค์การทำไปก่อน จนมีสารพัดยอดขบวนการ ยอดมนุษย์ ตำรวจอวกาศ ไปปราบจนเสียดุลการค้า
มิสเตอร์โอเค จิตป่วนจนสะกดไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ผู้สร้างปืนมหาประลัย บุ๋มบิ๋ม ในยุคที่วิทยุยังใช้ถ่านหลอด
ดร.อาทิตย์ วิญญูชนจอมปลอม ทำได้ทุกอย่างเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ จนไปเรียกตัวร้ายที่สุดแต่ไม่ยักโดนดูดเลือดตาย
ไซลาร์ แรกทีมาอย่างเท่ แบบมอเทิ้ลคอมบอท ผสมเบน ในอัศวินรัตติกาลผงาด แต่มาเจอมุกบ้านผีปอบ เลยโดนส่งกลับไปบ้านเก่า
ดีไม่จับถ่วงน้ำลงหม้อปิดผ้ายันต์ หรือส่งไปในหนังเป็นชู้กับผี(เคหาสน์สนธยา)จะได้มีเพื่อนใหม่มาแก้เบื่อ
นักแสดงสมทบ แสดงดี เหมาะกับบท โดยเฉพาะทีมสตันท์ชุดดำ แสดงดีจนเหล่าพระเอกเด่นเท่ เดินมารับลูกปืนอย่างมีสไตล์
ลินดาผู้ช่วยเชน เหมาะกับบทมาก สวย แต่งขึ้น ใช้แส้ได้ดี แต่นี่เป็นละครไทยคนไทยต้องคู่กัน ไม่เสียดุลการค้า
cg ในฉากยิงกันดูง่ายแบบละครเด็ก มีความปลอดภัยในการถ่ายทำ และสถานที่ เอฟเฟ็คตามตัวก็ไม่รุนแรงเกินไป
แต่ระดับความรุนแรงในหนัง แรกก็เบาๆจนติงต๊องและหนักขึ้นเรื่อยๆ ดีกรีโหดตามผู้ร้ายที่มากขึ้น
เพลงประกอบ ดีมากเข้ากับเรื่อง เพลงร้องซึ้งตรึงใจ
เรื่องนี้ใช้ปืนได้สมจริงมีปลอกเก็บเสียง เตรียมอาวุธ ใส่เสื้อเกราะ กระสุนหมด หลบที่กำบัง โดนยิงตอนกำลังหนี
ไม่ใช่ห่างกันก้าวเดียวยิงกันไม่โดน วิ่งหนีไปที่โล่งแต่ยิงไม่ถูก และถ่ายช้า นิ่ง แช่ เด็กดูทัน
พออยู่ในโลกเชน มาตามสูตรสำเร็จหนังเด็ก ปืนไม่เคยหมดกระสุน พระเอกไม่มีทางต้องคมกระสุน อย่างมากแค่เฉี่ยว
และต้องช่วยสาวสวยทันท่วงที ผู้ร้ายหนีได้ตามระเบียบ ขืนตายหนังจบ แต่ไม่มีแปลงร่าง ใช้ท่าไม้ตาย มีแต่พูดอาขยาน
ต้นแบบของสายลับเชน น่าจะมาจาก
เหยี่ยวราตรี (Night Falcon) มากกว่าอินทรีแดงเพียงอย่างเดียว
ผลงานของ ‘ส.เนาวราช’ (สนิท โกศะรถ)หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารสตรี ‘ขวัญเรือน’
อินทรีแดงและเหยี่ยวราตรี ออกสู่สายตานักอ่าน ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙
ไล่เลี่ยกันจนยากจะบอกได้ว่าใครมาก่อนมาทีหลัง
เส้นทางของเหยี่ยวราตรีในถนนหนังสือและโลกภาพยนตร์ไม่ได้สวยงามเท่าไหร่นัก
หลังจากเริ่มตีพิมพ์เป็นตอนสั้นๆในนิตรสารบางกอก แล้วได้รับความนิยมจากผู้อ่านพอสมควร
เหยี่ยวราตรี ตอนหน้ากากผี โดยเซียนเป๋ สนั่น นาคสู่สุข
ก็ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์จอเงินในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยมีดาราหนุ่ม ‘แมน ธีระพล’
รับบทเป็นเหยี่ยวราตรี แต่ได้รับความนิยมในระดับหนึ่งไม่มากมายนัก
ต่างจากอินทรีแดง ถึงแม้จะสร้างเป็นหนังใหญ่ช้ากว่าหนึ่งปีแต่กลับได้รับความนิยมถล่มทลาย
จนมีผลกระทบต่อการตีพิมพ์ของเหยี่ยวราตรีไปด้วย เพราะคนส่วนใหญ่รู้จักอินทรีแดงจากสื่อภาพยนตร์มากกว่า
เลยทำให้เหยี่ยวราตรีถูกมองว่า เป็นแค่นิยายเลียนแบบตามความสำเร็จของอินทรีแดง
‘ส.เนาวราช’ จึงตัดสินใจยุติบทบาทของเหยี่ยวราตรีลงในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึงแม้จะถูกเปรียบเทียบกันเสมอ
แต่เหยี่ยวราตรี กลับมีคาแร็คเตอร์ที่ต่างจาก อินทรีแดงโดยสิ้นเชิง
ในขณะที่อินทรีแดงมุ่งเน้นใช้ไหวพริบในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนอย่างรอบคอบ
แต่เหยี่ยวราตรีกลับปฏิบัติการรวดเร็ว ดุดัน และรุนแรง ตอบโต้เหล่าร้ายแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน
ถ้าเปรียบเทียบกับตัวการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโร่ก็ใกล้เคียงกับ ‘พันนิชเชอร์’(Punisher) ผู้ลงทัณฑ์แห่งค่ายมาร์เวล(Marvel)
ที่ใช้อาวุธทันสมัยบวกทักษะการต่อสู้ ปราบปรามเหล่าร้ายอย่างถึงลูกถึงคน
ศัตรูของเหยี่ยวราตรีมีตั้งแต่กุ๊ยข้างถนน นักการเมืองโกงชาติ ไปถึงอาชญากรวายร้ายระดับอินเตอร์
บางครั้งก็ต้องต่อกรกับ เหล่านักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ที่คิดสร้างอาวุธมหาประลัย
หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถาจิตวิปริต ที่หมายครอบงำประเทศ
ตัวจริงของเหยี่ยวราตรีคือ ‘แมน ดำเกิงเดช’ คุณพ่อของเขามีศักดิ์เป็นพระยา ครอบครองทรัพย์สมบัติมากมาย
แมนเป็นลูกชายคนเดียวได้รับมอบหมายให้สืบทอดกิจการทั้งหมด เขาถูกคุณพ่อส่งไปเรียนที่ยุโรปตั้งแต่วัยเยาว์
แต่ชะตาชีวิตผลิกผัน แมนประสบอุบัติเหตุตกจากม้าจนหลังหัก และสมองได้รับความกระทบกระเทือน
จากชายหนุ่มรูปงามกลายเป็นชายปัญญาอ่อน หลังพิการ ขาเป๋
คุณพ่อของเขาพยายามหาหมอมือดีมารักษาแต่ก็ไม่ดีขึ้น จนได้ข่าวว่ามีหมอผู้เชี่ยวชาญในทิเบตจึงส่งแมนไปรักษา
แต่แมนกลับหายสาบสูญในทิเบตจนทุกคนเข้าใจว่าเขาเสียชีวิตแล้ว คุณพ่อของแมนป่วยเพราะตรอมใจจนเสียชีวิต
แต่หลังจากนั้นอีกสามปีโดยไม่มีใครคาดคิด แมนกลับมาเมืองไทยเพื่อจัดการมรดก
แต่เขาก็ยังคงเป็นชายอัปลักษณ์หลังโกง ขาเป๋ นิสัยคุ้มดีคุ้มร้ายจนไม่มีใครอยากเข้าใกล้
แม้แต่คู่หมั้นสาวสวยที่เฝ้ารอการกลับมาของเขายังขอถอนหมั้น
แมนขายกิจการทั้งหมดของพ่อเหลือไว้แต่คฤหาสน์ส่วนตัว และเงินสดจำนวนมากในธนาคาร
ทุกวันชาวบ้านแถวนั้นจะ ได้ยินเสียงเปียโนกับเสียงหัวเราะอันวิกลจริตของแมน
ดังก้องออกจากคฤหาสน์ ที่ทรุดโทรมเหมือนบ้านผีสิงเข้าไปทุกวัน
ยามกลางวันเขาคือ คนบ้าในสายตาผู้คน แต่ในยามราตรีเขาคือ ยมทูตของเหล่าคนชั่ว
ที่แท้แมนได้รักษาตัวเองจนหายดีแล้ว เขาได้ร่ำเรียนการบำเพ็ญจิตและทักษะการต่อสู้จากนักบวชในทิเบต
หลังจากสำเร็จวิชาทั้งหมด แมนตัดสินใจยุติชีวิตลูกพระยาที่แสนสบาย เที่ยวเล่น เจ้าชู้จีบผู้หญิงไปวันๆ
ตั้งอุดมการณ์ใหม่ออกปราบอธรรมเพื่อช่วยเหลือชาวโลกผู้อ่อนแอกว่า
ในนามวีรบุรุษผู้สวมหน้ากากสีดำ ‘เหยี่ยวราตรี’
อาชญนิยายชุดเหยี่ยวราตรีมีด้วยกันทั้งหมด 12 ตอน ทั้งหมดตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บางกอก
ในยุคเดียวกันยังมีฮีโร่สวมหน้ากากออกมาประชันกันอีกมาก อาทิ
เขี้ยวพิษ พ.ศ. 2506 ของ แก้วฟ้า
กำกับ-ส.อาสนจินดา
มิตร-อมรา-ชนะ-ประจวบ-รุจน์-อดุลย์-บุศรา-ปรียา-วิไลวรรณ
ลือชัย นฤนาท จอมโจรหน้ากากดำใน ดอกฟ้าในมือโจร ประกบ อมรา อัศวนนท์
จากนิยายของ อดุลย์ ราชวังอินทร์ พ.ศ.2501
และไม่เพียงแต่ฝ่ายชายที่สวมหน้ากากเป็นฮีโร่ นางเอกสวยเก่งอย่าง อมรา อัศวนนท์ ก็ขอรับบท นางโจรสาว
ผู้มาพร้อมกับอันตรายสุดขั้ว และเซ็กซี่สุดขีด จาก เห่าดง (๒๕๐๑) บทประพันธ์ของ พนมเทียน
สร้างเงื่อนงำให้ชีวิตของหญิงสาวต้องจับปืนกลายเป็นอาชญากร เพื่อสืบหาความจริงที่ถูกปิดบังบางอย่าง
และทวงถามความยุติธรรมสำหรับเธอ ขณะที่เส้นทางโจรของเธอ ก็เป็นสิ่งที่ทางการต้องยับยั้ง
และปราบปรามให้ได้โดยเร็ว
นายตำรวจฝีมือดีจึงถูกส่งตัวมาปฏิบัติภารกิจนี้ โดยที่เขาไม่อาจล่วงรู้มาก่อนว่า เสน่ห์ของเธอจะทำให้เขา
ไขว้เขวได้ ไชยา สุริยัน ได้รับเลือกจาก ศิริ ศิริจินดา ผู้กำกับให้มารับบท
ประกบกับอีกหนึ่งนางเอกจากเวทีนางงาม งามตา ศุภพงศ์
จากการสร้างของ แท้ ประกาศวุฒิสาร แห่งไทยไตรมิตรภาพยนตร์
ภาพลักษณ์นางเอกบู๊ ของ อมรา ยังปรากฏต่อเนื่องใน สี่คิงส์ จากอาชญนิยายของ เศก ดุสิต
โดยมีการสวมหน้ากาก ควงปืน ออกไล่ล่าศัตรูร้ายของชาติซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ข้ามชาติเลยทีเดียว
ยอดมนุษย์ชุดดำของไทย มีพัฒนาการร่วม 50 ปี และผู้สร้างรุ่นต่อมาได้คงเอกลักษณ์ความโด่งดังในอดีตไว้
ขอบคุณผู้จัดและคณะ ช่อง3 ที่กล้าผลิตละครแนวนี้ หวังว่าจะปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
เพลง เมื่อไหร่จะให้พบ
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์
ขับร้อง ญารินดา บุนนาค (ต้นฉบับ ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ศิลปินแห่งชาติ)
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.actionbookclub.com/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%84/106-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A9-%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E2%80%98%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E2%80%99.html
http://darathai.net/?p=316
http://www.oknation.net/blog/magicsoundsong/2012/11/04/entry-1
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%8C
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%87
http://www.thaimiss.com/?attachment_id=11416
http://ppantip.com/topic/30561079
http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4612&page=5&keyword=
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1717
การจากไป ของวีรบุรุษชุดดำ ผู้เร้นกาย
เพลง ในคืนนี้
โดย เพชร โอสถานุเคราะห์
นานแล้วที่ยอดมนุษย์ไทยๆ ห่างนานไปนานจากจอเงินจอแก้วบ้านเรา
ด้วยการตีความและบท ที่ไม่สัมพันธ์กับทุนสร้าง รสนิยมผู้ชม ทำให้ผลงานออกมาน่าผิดหวัง
ขับร้อง ธนกฤต พานิชวิทย์
สายลับเชน เป็นเรื่องล่าสุดในยุคที่cg มีคุณภาพและราคาที่ต่ำพอกับการผลิตละครยุคhd และทำได้ดี
แต่ด้วยบทที่ยืดยาด ไม่ได้ใช้สูตรสำเร็จแบบที่ญี่ปุ่นใช้ ที่แต่ละตอนจะมีตัวร้ายย่อยมาสู้กับพระเอก
พร้อมเหล่าสมุนหางแถว แล้วพระเอกแปลงร่างใช้ไม้ตายจบตอนแบบเท่ๆ โดยแฝงคติสอนใจไว้ในตอนท้าย
ทำให้การดำเนินเรื่องเต็มไปด้วย เรื่องของพระรองเสียมากเพื่อยืดเวลาแต่ละช่วงให้มากพอที่จะได้จำนวนตอนที่ตั้งธงไว้
การเดินเรื่องของเชน เอาเข้าจริง ไม่เกินครึ่งเรื่อง นอกนั้นเป็นน้ำเสียมาก ถ้าเนื้อหาอัดแน่น เดินเรื่องเร็ว ทุนมากกว่านี้
คงจะรุ่งมากกว่าที่เป็น มีอย่างที่ไหนพระรอง ตัวสูงกว่าพระเอก นางรองวี้ดว๊ายกระตู้หู้จนน่าเบื่อ
เด็กสาวที่เป็นแกนกลางเดินกลับกลับลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ จนเป็นตัวแถม ทั้งที่แสดงดีกว่าที่โตแล้ว
เลือกมาดี แต่บทกลับเขียนไม่ดี อนิจจา
น้องใหม่ความตั้งใจดี แต่ลักลั่นในหลายๆอย่าง ละครเรื่องนี้ผลิตยาก คิวบู๊เยอะ และทุนไม่สุด
ควรปรับเปลี่ยนให้งานผลิตออกมาเหมาะสม มากกว่ายืดการเดินเรื่อง ทำให้สิ่งสร้างสรรค์ในละครด้อยคุณค่าไป
พระเอก เล่นดีความตั้งใจเกินร้อย เคารพแนวทางรุ่นพี่ๆ แสดงคุณธรรมน้ำมิตรชาวยุทธ ไม่ฆ่าคนส่งเดชได้ดี
งานนี้เชนได้เปรียบดุลการค้า มีสาวน้อยมหัศจรรย์เป็นคู่หู ต่อมากลายเป็นนางแมว แถมสาวแก่ แม่หม่ายเป็นแม่ยก
แต่มาพ่ายรักให้หมวดสาวพันธุ์ดุ จนท้อแท้ขอกลับไปเลียแผลใจ ยังถิ่นเก่าแถววังบูรพาภิรมย์
นางเอก จ้างคนเดียว เล่นสองคน เต็มที่กับบท บู๊ได้ ไม่สำออย แต่งพีเรียดขึ้น
ตัวร้ายเรื่องนี้ แสดงดีมาก มีความแตกต่างในแต่ละตัวอย่างชัดเจน ในที่สุดตัวร้ายไทยก็คิดครองโลกเสียที
หลังจากปล่อยให้สารพัดองค์การทำไปก่อน จนมีสารพัดยอดขบวนการ ยอดมนุษย์ ตำรวจอวกาศ ไปปราบจนเสียดุลการค้า
มิสเตอร์โอเค จิตป่วนจนสะกดไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ผู้สร้างปืนมหาประลัย บุ๋มบิ๋ม ในยุคที่วิทยุยังใช้ถ่านหลอด
ดร.อาทิตย์ วิญญูชนจอมปลอม ทำได้ทุกอย่างเพื่ออำนาจและผลประโยชน์ จนไปเรียกตัวร้ายที่สุดแต่ไม่ยักโดนดูดเลือดตาย
ไซลาร์ แรกทีมาอย่างเท่ แบบมอเทิ้ลคอมบอท ผสมเบน ในอัศวินรัตติกาลผงาด แต่มาเจอมุกบ้านผีปอบ เลยโดนส่งกลับไปบ้านเก่า
ดีไม่จับถ่วงน้ำลงหม้อปิดผ้ายันต์ หรือส่งไปในหนังเป็นชู้กับผี(เคหาสน์สนธยา)จะได้มีเพื่อนใหม่มาแก้เบื่อ
นักแสดงสมทบ แสดงดี เหมาะกับบท โดยเฉพาะทีมสตันท์ชุดดำ แสดงดีจนเหล่าพระเอกเด่นเท่ เดินมารับลูกปืนอย่างมีสไตล์
ลินดาผู้ช่วยเชน เหมาะกับบทมาก สวย แต่งขึ้น ใช้แส้ได้ดี แต่นี่เป็นละครไทยคนไทยต้องคู่กัน ไม่เสียดุลการค้า
cg ในฉากยิงกันดูง่ายแบบละครเด็ก มีความปลอดภัยในการถ่ายทำ และสถานที่ เอฟเฟ็คตามตัวก็ไม่รุนแรงเกินไป
แต่ระดับความรุนแรงในหนัง แรกก็เบาๆจนติงต๊องและหนักขึ้นเรื่อยๆ ดีกรีโหดตามผู้ร้ายที่มากขึ้น
เพลงประกอบ ดีมากเข้ากับเรื่อง เพลงร้องซึ้งตรึงใจ
เรื่องนี้ใช้ปืนได้สมจริงมีปลอกเก็บเสียง เตรียมอาวุธ ใส่เสื้อเกราะ กระสุนหมด หลบที่กำบัง โดนยิงตอนกำลังหนี
ไม่ใช่ห่างกันก้าวเดียวยิงกันไม่โดน วิ่งหนีไปที่โล่งแต่ยิงไม่ถูก และถ่ายช้า นิ่ง แช่ เด็กดูทัน
พออยู่ในโลกเชน มาตามสูตรสำเร็จหนังเด็ก ปืนไม่เคยหมดกระสุน พระเอกไม่มีทางต้องคมกระสุน อย่างมากแค่เฉี่ยว
และต้องช่วยสาวสวยทันท่วงที ผู้ร้ายหนีได้ตามระเบียบ ขืนตายหนังจบ แต่ไม่มีแปลงร่าง ใช้ท่าไม้ตาย มีแต่พูดอาขยาน
ต้นแบบของสายลับเชน น่าจะมาจาก เหยี่ยวราตรี (Night Falcon) มากกว่าอินทรีแดงเพียงอย่างเดียว
ผลงานของ ‘ส.เนาวราช’ (สนิท โกศะรถ)หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารสตรี ‘ขวัญเรือน’
อินทรีแดงและเหยี่ยวราตรี ออกสู่สายตานักอ่าน ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙
ไล่เลี่ยกันจนยากจะบอกได้ว่าใครมาก่อนมาทีหลัง
เส้นทางของเหยี่ยวราตรีในถนนหนังสือและโลกภาพยนตร์ไม่ได้สวยงามเท่าไหร่นัก
หลังจากเริ่มตีพิมพ์เป็นตอนสั้นๆในนิตรสารบางกอก แล้วได้รับความนิยมจากผู้อ่านพอสมควร
เหยี่ยวราตรี ตอนหน้ากากผี โดยเซียนเป๋ สนั่น นาคสู่สุข
ก็ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์จอเงินในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยมีดาราหนุ่ม ‘แมน ธีระพล’
รับบทเป็นเหยี่ยวราตรี แต่ได้รับความนิยมในระดับหนึ่งไม่มากมายนัก
ต่างจากอินทรีแดง ถึงแม้จะสร้างเป็นหนังใหญ่ช้ากว่าหนึ่งปีแต่กลับได้รับความนิยมถล่มทลาย
จนมีผลกระทบต่อการตีพิมพ์ของเหยี่ยวราตรีไปด้วย เพราะคนส่วนใหญ่รู้จักอินทรีแดงจากสื่อภาพยนตร์มากกว่า
เลยทำให้เหยี่ยวราตรีถูกมองว่า เป็นแค่นิยายเลียนแบบตามความสำเร็จของอินทรีแดง
‘ส.เนาวราช’ จึงตัดสินใจยุติบทบาทของเหยี่ยวราตรีลงในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ถึงแม้จะถูกเปรียบเทียบกันเสมอ
แต่เหยี่ยวราตรี กลับมีคาแร็คเตอร์ที่ต่างจาก อินทรีแดงโดยสิ้นเชิง
ในขณะที่อินทรีแดงมุ่งเน้นใช้ไหวพริบในการปฏิบัติงาน มีการวางแผนอย่างรอบคอบ
แต่เหยี่ยวราตรีกลับปฏิบัติการรวดเร็ว ดุดัน และรุนแรง ตอบโต้เหล่าร้ายแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน
ถ้าเปรียบเทียบกับตัวการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโร่ก็ใกล้เคียงกับ ‘พันนิชเชอร์’(Punisher) ผู้ลงทัณฑ์แห่งค่ายมาร์เวล(Marvel)
ที่ใช้อาวุธทันสมัยบวกทักษะการต่อสู้ ปราบปรามเหล่าร้ายอย่างถึงลูกถึงคน
ศัตรูของเหยี่ยวราตรีมีตั้งแต่กุ๊ยข้างถนน นักการเมืองโกงชาติ ไปถึงอาชญากรวายร้ายระดับอินเตอร์
บางครั้งก็ต้องต่อกรกับ เหล่านักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง ที่คิดสร้างอาวุธมหาประลัย
หรือผู้เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถาจิตวิปริต ที่หมายครอบงำประเทศ
ตัวจริงของเหยี่ยวราตรีคือ ‘แมน ดำเกิงเดช’ คุณพ่อของเขามีศักดิ์เป็นพระยา ครอบครองทรัพย์สมบัติมากมาย
แมนเป็นลูกชายคนเดียวได้รับมอบหมายให้สืบทอดกิจการทั้งหมด เขาถูกคุณพ่อส่งไปเรียนที่ยุโรปตั้งแต่วัยเยาว์
แต่ชะตาชีวิตผลิกผัน แมนประสบอุบัติเหตุตกจากม้าจนหลังหัก และสมองได้รับความกระทบกระเทือน
จากชายหนุ่มรูปงามกลายเป็นชายปัญญาอ่อน หลังพิการ ขาเป๋
คุณพ่อของเขาพยายามหาหมอมือดีมารักษาแต่ก็ไม่ดีขึ้น จนได้ข่าวว่ามีหมอผู้เชี่ยวชาญในทิเบตจึงส่งแมนไปรักษา
แต่แมนกลับหายสาบสูญในทิเบตจนทุกคนเข้าใจว่าเขาเสียชีวิตแล้ว คุณพ่อของแมนป่วยเพราะตรอมใจจนเสียชีวิต
แต่หลังจากนั้นอีกสามปีโดยไม่มีใครคาดคิด แมนกลับมาเมืองไทยเพื่อจัดการมรดก
แต่เขาก็ยังคงเป็นชายอัปลักษณ์หลังโกง ขาเป๋ นิสัยคุ้มดีคุ้มร้ายจนไม่มีใครอยากเข้าใกล้
แม้แต่คู่หมั้นสาวสวยที่เฝ้ารอการกลับมาของเขายังขอถอนหมั้น
แมนขายกิจการทั้งหมดของพ่อเหลือไว้แต่คฤหาสน์ส่วนตัว และเงินสดจำนวนมากในธนาคาร
ทุกวันชาวบ้านแถวนั้นจะ ได้ยินเสียงเปียโนกับเสียงหัวเราะอันวิกลจริตของแมน
ดังก้องออกจากคฤหาสน์ ที่ทรุดโทรมเหมือนบ้านผีสิงเข้าไปทุกวัน
ยามกลางวันเขาคือ คนบ้าในสายตาผู้คน แต่ในยามราตรีเขาคือ ยมทูตของเหล่าคนชั่ว
ที่แท้แมนได้รักษาตัวเองจนหายดีแล้ว เขาได้ร่ำเรียนการบำเพ็ญจิตและทักษะการต่อสู้จากนักบวชในทิเบต
หลังจากสำเร็จวิชาทั้งหมด แมนตัดสินใจยุติชีวิตลูกพระยาที่แสนสบาย เที่ยวเล่น เจ้าชู้จีบผู้หญิงไปวันๆ
ตั้งอุดมการณ์ใหม่ออกปราบอธรรมเพื่อช่วยเหลือชาวโลกผู้อ่อนแอกว่า
ในนามวีรบุรุษผู้สวมหน้ากากสีดำ ‘เหยี่ยวราตรี’
อาชญนิยายชุดเหยี่ยวราตรีมีด้วยกันทั้งหมด 12 ตอน ทั้งหมดตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บางกอก
ในยุคเดียวกันยังมีฮีโร่สวมหน้ากากออกมาประชันกันอีกมาก อาทิ
เขี้ยวพิษ พ.ศ. 2506 ของ แก้วฟ้า
กำกับ-ส.อาสนจินดา
มิตร-อมรา-ชนะ-ประจวบ-รุจน์-อดุลย์-บุศรา-ปรียา-วิไลวรรณ
ลือชัย นฤนาท จอมโจรหน้ากากดำใน ดอกฟ้าในมือโจร ประกบ อมรา อัศวนนท์
จากนิยายของ อดุลย์ ราชวังอินทร์ พ.ศ.2501
และไม่เพียงแต่ฝ่ายชายที่สวมหน้ากากเป็นฮีโร่ นางเอกสวยเก่งอย่าง อมรา อัศวนนท์ ก็ขอรับบท นางโจรสาว
ผู้มาพร้อมกับอันตรายสุดขั้ว และเซ็กซี่สุดขีด จาก เห่าดง (๒๕๐๑) บทประพันธ์ของ พนมเทียน
สร้างเงื่อนงำให้ชีวิตของหญิงสาวต้องจับปืนกลายเป็นอาชญากร เพื่อสืบหาความจริงที่ถูกปิดบังบางอย่าง
และทวงถามความยุติธรรมสำหรับเธอ ขณะที่เส้นทางโจรของเธอ ก็เป็นสิ่งที่ทางการต้องยับยั้ง
และปราบปรามให้ได้โดยเร็ว
นายตำรวจฝีมือดีจึงถูกส่งตัวมาปฏิบัติภารกิจนี้ โดยที่เขาไม่อาจล่วงรู้มาก่อนว่า เสน่ห์ของเธอจะทำให้เขา
ไขว้เขวได้ ไชยา สุริยัน ได้รับเลือกจาก ศิริ ศิริจินดา ผู้กำกับให้มารับบท
ประกบกับอีกหนึ่งนางเอกจากเวทีนางงาม งามตา ศุภพงศ์
จากการสร้างของ แท้ ประกาศวุฒิสาร แห่งไทยไตรมิตรภาพยนตร์
ภาพลักษณ์นางเอกบู๊ ของ อมรา ยังปรากฏต่อเนื่องใน สี่คิงส์ จากอาชญนิยายของ เศก ดุสิต
โดยมีการสวมหน้ากาก ควงปืน ออกไล่ล่าศัตรูร้ายของชาติซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ข้ามชาติเลยทีเดียว
ยอดมนุษย์ชุดดำของไทย มีพัฒนาการร่วม 50 ปี และผู้สร้างรุ่นต่อมาได้คงเอกลักษณ์ความโด่งดังในอดีตไว้
ขอบคุณผู้จัดและคณะ ช่อง3 ที่กล้าผลิตละครแนวนี้ หวังว่าจะปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป
ท้ายนี้ผิดพลาดประการใด ผู้เขียนต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอบคุณครับ
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์
ขับร้อง ญารินดา บุนนาค (ต้นฉบับ ขับร้องโดย มัณฑนา โมรากุล ศิลปินแห่งชาติ)
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้