ดร.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณ กับธุรกิจและกำกับดูแล (APaR) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสถาบันคมนาคมระหว่างประเทศ (IIC) ร่วมกับชมรมคอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุ และโทรทัศน์ไทย จัดสัมมนา เรื่อง “ทิศทางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไทย หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิทัล” วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 58 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องสัมมนา อาคาร 10 ชั้น 2 (ห้อง 1201) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต
ในงานสัมมนาฯจะได้พบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงแนวโน้มในอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมของประเทศ หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตอล และโมเดลที่ควรจะเป็น อาทิ ศ.ถวิล พึ่งมา อดีตอธิการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโทรคมนาคมหนึ่งเดียวของไทยอย่างแท้จริง, รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดี คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณกับธุรกิจและกำกับดูแล, ดร.ปิยบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้าน ภาคเอกชน และสถาบันคมนาคมระหว่างประเทศที่เข้าร่วม อาทิ นายวรภัทร ภัทรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานโยบายการสื่อสารประจำภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (ISOC) - นายอภิรักษ์ วรรณสาธพ รองผู้อำนวยการสำนักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) - ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐสัมพันธ์ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย (จำกัด)
การจัดสัมมนาดังกล่าว สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 58 ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอล หรือ “ดิจิตอลอีโคโนมี” จำนวน 8 ฉบับ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งขณะที่อยู่ระหว่างการยกร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะประเด็นที่ก่อให้เกิดคำถามต่อผู้คนในสังคมก็คือ จะถือเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ คือ คณะกรรมการกิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ไปสู่การ “คณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ” หรือไม่ ? จะมีผลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพย์สินของชาติหรือไม่ รวมถึงทิศทางในอนาคตอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
สถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณกับธุรกิจและกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงได้ร่วมกับชมรมคอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุ และโทรทัศน์ไทย จึงกำหนดจัดสัมมนา “ทิศทางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไทย...หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตัล” เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมสะท้อนมุมมองที่จะยังประโยชน์ให้แก่ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปเป็นข้อมูลจากผู้รอบรู้เหล่านี้ไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบการปฏิรูปการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอล ที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศน์และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต
อยากจะย้ำว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ ไม่มีเรื่องของการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต หรือสื่อที่เข้าร่วมนั้นการันตีได้ว่าแต่ละท่านมีความมุ่งมั่นที่ต้องการเห็นโมเดลของการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศเดินหน้าอย่างแท้จริง!
ม.หอการค้าไทยร่วมกับชมรมคอลัมนิสต์ฯ จัดสัมมนา "ทิศทางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไทย หลังปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิทัล"
ในงานสัมมนาฯจะได้พบกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาวิเคราะห์เจาะลึกถึงแนวโน้มในอนาคตของโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมของประเทศ หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตอล และโมเดลที่ควรจะเป็น อาทิ ศ.ถวิล พึ่งมา อดีตอธิการสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญโทรคมนาคมหนึ่งเดียวของไทยอย่างแท้จริง, รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดี คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานสถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณกับธุรกิจและกำกับดูแล, ดร.ปิยบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ดร.พัชรสุทธิ์ สุจริตตานนท์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.พิรงรอง รามสูตร รณะนันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้าน ภาคเอกชน และสถาบันคมนาคมระหว่างประเทศที่เข้าร่วม อาทิ นายวรภัทร ภัทรธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานโยบายการสื่อสารประจำภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด - นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (ISOC) - นายอภิรักษ์ วรรณสาธพ รองผู้อำนวยการสำนักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) - ดร.พิเชษฐ์ ฤกษ์ปรีชา ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะและรัฐสัมพันธ์ บริษัท กูเกิล ประเทศไทย (จำกัด)
การจัดสัมมนาดังกล่าว สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 58 ได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอล หรือ “ดิจิตอลอีโคโนมี” จำนวน 8 ฉบับ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งขณะที่อยู่ระหว่างการยกร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ได้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยในหลายมิติ โดยเฉพาะประเด็นที่ก่อให้เกิดคำถามต่อผู้คนในสังคมก็คือ จะถือเป็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจจากองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ คือ คณะกรรมการกิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ไปสู่การ “คณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ” หรือไม่ ? จะมีผลต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพย์สินของชาติหรือไม่ รวมถึงทิศทางในอนาคตอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด
สถาบันวิชาการนโยบายกิจการสาธารณกับธุรกิจและกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงได้ร่วมกับชมรมคอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุ และโทรทัศน์ไทย จึงกำหนดจัดสัมมนา “ทิศทางโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมไทย...หลังการปฏิรูปเศรษฐกิจดิจิตัล” เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมสะท้อนมุมมองที่จะยังประโยชน์ให้แก่ภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปเป็นข้อมูลจากผู้รอบรู้เหล่านี้ไปเป็นข้อมูลในการพิจารณาประกอบการปฏิรูปการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจบนฐานดิจิตอล ที่จะเป็นรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศน์และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต
อยากจะย้ำว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ ไม่มีเรื่องของการเมืองใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ต หรือสื่อที่เข้าร่วมนั้นการันตีได้ว่าแต่ละท่านมีความมุ่งมั่นที่ต้องการเห็นโมเดลของการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมพื้นฐานของประเทศเดินหน้าอย่างแท้จริง!