นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน...
ที่มา:
http://www.voicetv.co.th/blog/162162.html
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
บรรณาธิการรายการข่าว Voice TV
ใกล้ช่วงเทศกาลหนังออสการ์เข้าไปแล้ว เหล่าบรรดาภาพยนตร์ต่างๆที่ได้เข้าชิงก็ทยอยเข้าโรงภาพยนตร์บ้านเราเพื่อให้ ได้ร่วมชื่นชมบทบาทการแสดง ซึ่งปีนี้เหล่าบรรดาภาพยนตร์ตัวเต็งที่ทยอยเข้าชิงสาขาใหญ่ๆ ส่วนมากมีจุดร่วมเดียวกันคือ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างอ้างอิงจากเรื่องจริงและชีวประวัติของคนธรรมดาที่มีชีวิตน่าสนใจ
เริ่มจาก The imitation game ที่ผมชอบเรื่องนี้ที่สุดในบรรดาหนังที่ได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แห่งปีของออสการ์ และนำแสดงนำชายยอดเยี่ยม เบเนดิต คัมเบอร์แบทช์ ที่มารับบทของ อลัน ทูริง ผู้คิดนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่นำไปสู่ต้นกำเนิดของสิ่งที่เราเรียกว่า “คอมพิวเตอร์”ในปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่เล่าถึงช่วงชีวิตในวัยเด็ก บทบาทของทูริงในช่วงสงครามโลกที่มีส่วนให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะนาซี และจุดจบที่น่าเศร้าของชีวิตเพียงเพราะ “เขาไม่เหมือนคนอื่น” และยังมี เคียร่า ไนท์ลีย์ เข้าชิงรางวัลนักแสดงนำหญิง ในบท “โจน คลาร์ก” คู่หมั้นของเขาด้วย
เรื่องต่อมาที่พูดถึงชีวิตคนจริงๆคือ Foxcatcher ที่ การแสดงของ สตีฟ คาร์เรลล์ พลิกบทบาทมารับบทมหาเศรษฐีชื่อก้องโลกอย่าง จอห์น ดูปองต์ เจ้าของเครือดูปองต์เจ้าของธุรกิจบริษัทเคมีภัณฑ์รายใหญ่ของโลก ที่ชะตาพลิกผันไปตลอดกาล เมื่อเขาหันมาสนับสนุนกีฬามวยปล้ำของทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในค่าย Foxcatcher ทำให้เราเห็นภาพสะท้อนของความไม่สมบูรณ์ของมหาเศรษฐีระดับโลก ที่สุดท้ายจบชีวิตในคุกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาร์เรลล์ ถ่ายทอดความเหงา ความสับสนในจิตใจ และบุคลิกของดูปองต์ ออกมาได้น่ากลัวเสียจนขนลุก
และที่กำลังเข้าฉายในบ้านเราเร็วๆนี้ก็คือ Theory of everything ที่เล่าชีวิตของอัจฉริยะแห่งยุคอย่าง สตีเฟน ฮอว์คิง ผู้บัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และเจ้าของหนังสือ “จักรวาลในเปลือกนัท” โดยภาพยนตร์จะเล่าชีวิตฮอว์คิงวัยหนุ่ม ที่เขาได้พบรักกับภรรยาคนแรกอย่างเจน ไวลด์ ในตอนที่เขามีอายุได้ 21 ปี และเริ่มมีอาการของโรค ALS ขั้นเริ่มต้น(ในปัจจุบันฮอว์คิงสภาพร่างกายแทบจะเป็นอัมพาตทั่วร่าง) และแพทย์บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้แค่เพียงอีก 2 ปี แต่ทั้งสองก็ไม่ย่อท้อต่อโรคร้ายและร่วมต่อสู้ไปด้วยกัน ก่อนที่ฮอว์คิงจะผลิตผลงานวิชาการเปลี่ยนโลกออกมา ซึ่งเอ็ดดี้ เรดเมย์น และเฟเลซิตี้ โจนส์ เข้าชิงทั้งดารนำชายและหญิง รวมไปถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
เรื่องสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ American Sniper แบรดลีย์ คูเปอร์ได้เข้าชิงรางวัลดารานำชายในบทของ คริส ไคลน์ มือสไนเปอร์ที่ดังและเหี้ยมที่สุดเท่าที่กองทัพสหรัฐฯเคยมี พูดถึงชีวิตส่วนตัว ความคิด และทัศนคติต่อสงครามได้น่าสนใจ และเป็นตัวเต็งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของเวทีออสการ์เช่นกัน
แต่พอหันมามองประเทศไทยการที่เราจะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยว กับบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริง แทบจะเป็นไปไม่ได้หากไม่ใช่ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ความภูมิใจระดับประเทศ เพราะใช้ภาษีประชาชนไปอุดหนุนอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ยังคงเดินหน้าทำภาคต่อหลังจากสงครามยุทธหัตถี หรืออย่างสุริโยไท
หากย้อนมองชีวิตสามัญชนล่าสุดที่ถูกนำไปสร้างเป็นหนังน่าจะเป็น “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ที่รับบทโดย เปาวลี ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ย้อนไปไกลกว่านั้นอาจจะเป็นยุคของ ซีอุย แซ่อึ้ง เวอร์ชั่น 2547ที่นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา ถูกนำมาตีความใหม่จากเวอร์ชันแรกที่สะท้อนแค่ภาพของมนุษย์กินคนเท่านั้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนมักจะติดภาพปีศาจกินคนไปแล้ว เรียกได้ว่าหากสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตคนจริงๆของสังคม หากไม่ทำแบบอวยกันแบบสุดๆก็จะออกแนวทำให้เป็นภาพลบไปเลย เพราะสังคมไทยส่วนมากมักจะมองแค่มิติแบบขาว-ดำ
แย่ไปกว่านั้นหลายๆเรื่องกับถูกเสียงคัดค้านในสังคม เช่น คืนบาปพรหมพิราม ที่เล่าถึงคดีสะเทือนขวัญที่เกิดเหตุรุมข่มขืนคนในหมู่บ้านพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดนคัดค้านว่าทำให้ภาพลักษณ์เสื่อมเสีย หรือบางเรื่องแค่มีไอเดียจะสร้างก็ถูกพับเก็บไป เช่น เกือบสิบปีก่อน มีไอเดียจะทำ “สอ เสถบุตร พจนานุกรมชีวิต” ชีวิตของหนึ่งในคณะกบฏบวรเดชที่กลายเป็นต้นตำรับดิกชันนารีไทย-อังกฤษ หรือที่เคยมีไอเดียอยากจะทำชีวิตของ ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยไทย ก็ไม่มีความคืบหน้า
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็เพราะสังคมไทยละเอียดอ่อนกับคนที่มีผลต่อความเกี่ยวเนื่องรอบข้างที่ยังมีชีวิตอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะทำประวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยที่ไม่อ้างถึงการสังหารหมู่ 14 ตุลาคม 2516 หรือเบื้องหลังกรณีบวชเณรเข้าประเทศจนเห็นเหตุ 6 ตุลาคม 2519 ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะสายตระกูล'กิตติขจร'หรือบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากช่วงถนอมเรืองอำนาจ ก็คงออกมาคัดค้าน
ประเทศไทยจึงมีหนังแบบเดียว ประวัติศาสตร์แบบเดียว……แบบที่คนธรรมดาไม่มีสิทธิ์มีเสียง แบบที่มองโลกขาว-ดำ
ภาพยนตร์ไทยไม่มีเนื้อที่ให้กับ 'บุคคลสามัญ'
ที่มา: http://www.voicetv.co.th/blog/162162.html
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
บรรณาธิการรายการข่าว Voice TV
ใกล้ช่วงเทศกาลหนังออสการ์เข้าไปแล้ว เหล่าบรรดาภาพยนตร์ต่างๆที่ได้เข้าชิงก็ทยอยเข้าโรงภาพยนตร์บ้านเราเพื่อให้ ได้ร่วมชื่นชมบทบาทการแสดง ซึ่งปีนี้เหล่าบรรดาภาพยนตร์ตัวเต็งที่ทยอยเข้าชิงสาขาใหญ่ๆ ส่วนมากมีจุดร่วมเดียวกันคือ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างอ้างอิงจากเรื่องจริงและชีวประวัติของคนธรรมดาที่มีชีวิตน่าสนใจ
เริ่มจาก The imitation game ที่ผมชอบเรื่องนี้ที่สุดในบรรดาหนังที่ได้เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม แห่งปีของออสการ์ และนำแสดงนำชายยอดเยี่ยม เบเนดิต คัมเบอร์แบทช์ ที่มารับบทของ อลัน ทูริง ผู้คิดนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่นำไปสู่ต้นกำเนิดของสิ่งที่เราเรียกว่า “คอมพิวเตอร์”ในปัจจุบัน ภาพยนตร์ที่เล่าถึงช่วงชีวิตในวัยเด็ก บทบาทของทูริงในช่วงสงครามโลกที่มีส่วนให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเอาชนะนาซี และจุดจบที่น่าเศร้าของชีวิตเพียงเพราะ “เขาไม่เหมือนคนอื่น” และยังมี เคียร่า ไนท์ลีย์ เข้าชิงรางวัลนักแสดงนำหญิง ในบท “โจน คลาร์ก” คู่หมั้นของเขาด้วย
เรื่องต่อมาที่พูดถึงชีวิตคนจริงๆคือ Foxcatcher ที่ การแสดงของ สตีฟ คาร์เรลล์ พลิกบทบาทมารับบทมหาเศรษฐีชื่อก้องโลกอย่าง จอห์น ดูปองต์ เจ้าของเครือดูปองต์เจ้าของธุรกิจบริษัทเคมีภัณฑ์รายใหญ่ของโลก ที่ชะตาพลิกผันไปตลอดกาล เมื่อเขาหันมาสนับสนุนกีฬามวยปล้ำของทีมชาติสหรัฐอเมริกา ในค่าย Foxcatcher ทำให้เราเห็นภาพสะท้อนของความไม่สมบูรณ์ของมหาเศรษฐีระดับโลก ที่สุดท้ายจบชีวิตในคุกเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา คาร์เรลล์ ถ่ายทอดความเหงา ความสับสนในจิตใจ และบุคลิกของดูปองต์ ออกมาได้น่ากลัวเสียจนขนลุก
และที่กำลังเข้าฉายในบ้านเราเร็วๆนี้ก็คือ Theory of everything ที่เล่าชีวิตของอัจฉริยะแห่งยุคอย่าง สตีเฟน ฮอว์คิง ผู้บัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และเจ้าของหนังสือ “จักรวาลในเปลือกนัท” โดยภาพยนตร์จะเล่าชีวิตฮอว์คิงวัยหนุ่ม ที่เขาได้พบรักกับภรรยาคนแรกอย่างเจน ไวลด์ ในตอนที่เขามีอายุได้ 21 ปี และเริ่มมีอาการของโรค ALS ขั้นเริ่มต้น(ในปัจจุบันฮอว์คิงสภาพร่างกายแทบจะเป็นอัมพาตทั่วร่าง) และแพทย์บอกว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้แค่เพียงอีก 2 ปี แต่ทั้งสองก็ไม่ย่อท้อต่อโรคร้ายและร่วมต่อสู้ไปด้วยกัน ก่อนที่ฮอว์คิงจะผลิตผลงานวิชาการเปลี่ยนโลกออกมา ซึ่งเอ็ดดี้ เรดเมย์น และเฟเลซิตี้ โจนส์ เข้าชิงทั้งดารนำชายและหญิง รวมไปถึงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
เรื่องสุดท้ายที่จะพูดถึงคือ American Sniper แบรดลีย์ คูเปอร์ได้เข้าชิงรางวัลดารานำชายในบทของ คริส ไคลน์ มือสไนเปอร์ที่ดังและเหี้ยมที่สุดเท่าที่กองทัพสหรัฐฯเคยมี พูดถึงชีวิตส่วนตัว ความคิด และทัศนคติต่อสงครามได้น่าสนใจ และเป็นตัวเต็งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของเวทีออสการ์เช่นกัน
แต่พอหันมามองประเทศไทยการที่เราจะสร้างภาพยนตร์สักเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยว กับบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริง แทบจะเป็นไปไม่ได้หากไม่ใช่ภาพยนตร์ระดับมหากาพย์ความภูมิใจระดับประเทศ เพราะใช้ภาษีประชาชนไปอุดหนุนอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ยังคงเดินหน้าทำภาคต่อหลังจากสงครามยุทธหัตถี หรืออย่างสุริโยไท
หากย้อนมองชีวิตสามัญชนล่าสุดที่ถูกนำไปสร้างเป็นหนังน่าจะเป็น “พุ่มพวง ดวงจันทร์” ที่รับบทโดย เปาวลี ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ย้อนไปไกลกว่านั้นอาจจะเป็นยุคของ ซีอุย แซ่อึ้ง เวอร์ชั่น 2547ที่นิดา สุทัศน์ ณ อยุธยา ถูกนำมาตีความใหม่จากเวอร์ชันแรกที่สะท้อนแค่ภาพของมนุษย์กินคนเท่านั้น แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนมักจะติดภาพปีศาจกินคนไปแล้ว เรียกได้ว่าหากสร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับชีวิตคนจริงๆของสังคม หากไม่ทำแบบอวยกันแบบสุดๆก็จะออกแนวทำให้เป็นภาพลบไปเลย เพราะสังคมไทยส่วนมากมักจะมองแค่มิติแบบขาว-ดำ
แย่ไปกว่านั้นหลายๆเรื่องกับถูกเสียงคัดค้านในสังคม เช่น คืนบาปพรหมพิราม ที่เล่าถึงคดีสะเทือนขวัญที่เกิดเหตุรุมข่มขืนคนในหมู่บ้านพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก โดนคัดค้านว่าทำให้ภาพลักษณ์เสื่อมเสีย หรือบางเรื่องแค่มีไอเดียจะสร้างก็ถูกพับเก็บไป เช่น เกือบสิบปีก่อน มีไอเดียจะทำ “สอ เสถบุตร พจนานุกรมชีวิต” ชีวิตของหนึ่งในคณะกบฏบวรเดชที่กลายเป็นต้นตำรับดิกชันนารีไทย-อังกฤษ หรือที่เคยมีไอเดียอยากจะทำชีวิตของ ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ที่มีส่วนเปลี่ยนแปลงการปกครองประชาธิปไตยไทย ก็ไม่มีความคืบหน้า
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งก็เพราะสังคมไทยละเอียดอ่อนกับคนที่มีผลต่อความเกี่ยวเนื่องรอบข้างที่ยังมีชีวิตอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าจะทำประวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร โดยที่ไม่อ้างถึงการสังหารหมู่ 14 ตุลาคม 2516 หรือเบื้องหลังกรณีบวชเณรเข้าประเทศจนเห็นเหตุ 6 ตุลาคม 2519 ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะสายตระกูล'กิตติขจร'หรือบุคคลที่ได้รับประโยชน์จากช่วงถนอมเรืองอำนาจ ก็คงออกมาคัดค้าน
ประเทศไทยจึงมีหนังแบบเดียว ประวัติศาสตร์แบบเดียว……แบบที่คนธรรมดาไม่มีสิทธิ์มีเสียง แบบที่มองโลกขาว-ดำ