พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.ได้เห็นชอบให้แก้ไขร่างกฎหมายเกี่ยวกับการค้ำประกันและจำนอง โดยให้สถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำประกัน สามารถทำสัญญากับนิติบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้ โดยระบุให้เจ้าหนี้สามารถเรียกเก็บหนี้กับสถาบันการเงินได้เท่ากับเรียกเก็บกับลูกหนี้ และสถาบันการเงินยังสามารถต่อรองกับเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่มีเงินใช้ สถาบันการเงินจะจ่ายหนี้ให้ก่อน แต่เจ้าหนี้ต้องขยายระยะเวลาให้ลูกหนี้ตามความเหมาะสม โดยร่างกฎหมายดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ก.พ.นี้
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ครม.ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับไปพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการปรับแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยให้เชิญผู้แทนธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา ซึ่งจากการหารือ ก็เห็นสมควรให้แก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้ำประกันและจำนอง
อย่างไรก็ตามสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แสดงความเห็นว่า กรณีที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ที่เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้คุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันและจำนอง ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น โดยกำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำต้องรับผิดชอบอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม หรือในฐานะเป็นลูกหนี้เป็นโมฆะ อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจว่า ครอบคลุมถึงการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดให้ผู้ค้ำที่เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันเพื่อรับผิดเท่ากับลูกหนี้ และทำข้อตกลงล่วงหน้ายินยอมให้ผ่อนผันเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพค้ำประกัน
ขณะเดียวกันการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นไปตามมติครม.เดิม ซึ่งถือว่า เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ไม่อยู่ในกลุ่มกฎหมายเพิ่มประสิทธิภาพส่วนราชการตามแผนการเสนอร่างกฎหมายในระยะ 1 ปี (ต.ค.57 - ต.ค.58) ตามข้อสั่งการด้านกฎหมายของนายกรัฐมนตรี และไม่ได้อยู่ในการจัดลำดับความสำคัญของร่างกฎหมายที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามมติครม.
ทั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ยังได้ขอให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องเสนอความเห็นประกอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาของครม.ในครั้งต่อไปด้วย.
ครม.อนุมัติแก้กฏหมาย ค้ำประกัน-จำนองแล้ว มีผลต่อหุ้น finance อย่างไรบ้างครับ
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ครม.ได้มอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับไปพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นการปรับแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยให้เชิญผู้แทนธนาคารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณา ซึ่งจากการหารือ ก็เห็นสมควรให้แก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้ำประกันและจำนอง
อย่างไรก็ตามสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แสดงความเห็นว่า กรณีที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ที่เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้คุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมกับผู้ค้ำประกันและจำนอง ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นต้น โดยกำหนดให้ข้อตกลงที่ให้ผู้ค้ำต้องรับผิดชอบอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วม หรือในฐานะเป็นลูกหนี้เป็นโมฆะ อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจว่า ครอบคลุมถึงการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้ำ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจ จึงกำหนดให้ผู้ค้ำที่เป็นนิติบุคคลสามารถผูกพันเพื่อรับผิดเท่ากับลูกหนี้ และทำข้อตกลงล่วงหน้ายินยอมให้ผ่อนผันเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพค้ำประกัน
ขณะเดียวกันการดำเนินการดังกล่าวยังเป็นไปตามมติครม.เดิม ซึ่งถือว่า เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ไม่อยู่ในกลุ่มกฎหมายเพิ่มประสิทธิภาพส่วนราชการตามแผนการเสนอร่างกฎหมายในระยะ 1 ปี (ต.ค.57 - ต.ค.58) ตามข้อสั่งการด้านกฎหมายของนายกรัฐมนตรี และไม่ได้อยู่ในการจัดลำดับความสำคัญของร่างกฎหมายที่มีความสำคัญเร่งด่วนตามมติครม.
ทั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ยังได้ขอให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องเสนอความเห็นประกอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อประกอบการพิจารณาของครม.ในครั้งต่อไปด้วย.