☆☆☆ ละครพาไป :: ตอนมวยคาดเชือก ☆☆☆

☆☆☆ ละครพาไป  :: ตอนมวยคาดเชือก ☆☆☆

จขกท. เป็นคนที่ค่อนข้างแปลกคือเวลาดูละคร ดูหนัง ดูซีรีส์แล้วมีอะไรสงสัย
หรือน่าสนใจ ก็จะไปเสิร์ชหาข้อมูลนั้นๆต่อ บางทีดูได้แค่ตอน 2 ตอน แต่พอเราหาข้อมูลเพิ่ม
มีความรู้สึกว่ามันทำให้เราดูละคร/ซีรีส์ สนุกขึ้น คือดูแล้วอินกว่าเดิม แถมได้ความรู้เพิ่มด้วย
เป็นการดูละครแล้วได้ความรู้ไปอีกทางนึง ไม่ใช่เลือกเสพย์แต่ความน้ำเน่าของละคร

อย่างล่าสุดได้ดูคาดเชือกทางช่อง 7 คือดูแล้วรู้สึกชอบ
อาจจะเพราะที่บ้านเป็นค่ายมวยมั้ง พ่อ หรือพี่ชาย น้องชายก็เป็นนักมวย
ดูแล้วฮึกเหิม ฮาๆ ก็เลยไปหาข้อมูลซะหน่อย ปรากฏว่าข้อมูลเยอะและน่าสนใจมาก
ก็เลยลองรวมๆแล้วเอามาเขียนกระทู้ดู จะได้แบ่งปันความรู้ มีทั้งประวัติและก็สายของมวยไทยสมัยก่อน
รวมไปถึงแม่ไม้/ลูกไม้ มวยไทย

ผมพยายามตัดเนื้อหาที่สำคัญๆมา เผื่อว่าเยอะแล้วบางคนขี้เกียจอ่าน
เลยเอาแบบที่เนื้อๆเน้นๆ เลยจะได้ประโยชน์กว่า ว่าแล้วก็เข้าเนื้อหากระทู้กันดีกว่า


ประวัติมวยไทย
สมัยกรุงสุโขทัย
          [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สมัยกรุงศรีอยุธยา
          [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สมัยกรุงธนบุรี
        [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
         [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

การจัดการแข่งขันมวยไทย
         การแข่งขันมวยไทยครั้งสมัยโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีกติกาแน่นอนอย่างไรบ้าง ผู้มีอำนาจเด็ดขาด ได้แก่ นายสนามมวย แต่เมื่อมวยสากลได้รับการเผยแพร่เข้ามาครั้งแรก โดยหม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล เมื่อ พ.ศ. 2455 ทางวงการมวยไทยจึงได้วางกติกาขึ้น ซึ่งการชกในสมัยนี้ก็ยังคงมีการคาดเชือกกันอยู่ ต่อมาจึงได้สวมนวมชกกัน แต่การชกก็ยังเหมือนเดิม คือยังใช้การถีบ เตะ ชก ศอก เข่า ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมวยไทยเป็นกีฬาที่เก่าที่สุดของเรา ได้วิวัฒนาการในเรื่องของกติกาและการจัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน โดยย่อ ๆ ดังนี้
พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ร่างกติกาคุ้มครองมวยไทยและมวยสากล เพื่อเป็นการแข่งขันชั่วคราว
พ.ศ.2479 กรมพลศึกษา มีหน้าที่ในการจัดการแข่งขันมวยโดยตรง ได้ตั้งกรรมการขึ้นชุดหนึ่งทำการปรับปรุงแก้ไขกติกามวยไทยและมวยสากล และประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2480 เป็นต้นมา และได้จัดพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2482
การแข่งขันที่เป็นหลักฐานเริ่มอย่างจริงจังในสมัยรัชกาลที่ 6 (ก่อนหน้านี้ขึ้นไปไม่มีหลักฐานที่แน่นอน) ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นสมัยต่าง ๆ ได้ 5 สมัย ดังนี้
         1. สมัยสวนกุหลาบ สมัยนี้ประชาชนนิยมการชกมวย และชมการแข่งขันชกมวยกันเป็นจำนวนมาก การชกมวยไทยในสมัยนี้ยังมีการคาดเชือก (นักมวยสมัยเก่าใช้ด้ายดิบเส้นโตขนาดดินสอดำชุบแป้งให้แข็ง พันมือตั้งแต่สันมือตลอดถึงข้อศอก และพันรัดเป็นปมทางด้านหลังของข้อนิ้วมือหรือสันหมัด เป็นรูปก้นหอย ที่เรียกกันว่า"คาดเชือก") การชกได้กำหนดจำนวนยกไว้แน่นอนแล้ว มีกรรมการชี้ขาด ผู้ตัดสินส่วนมากนั่งอยู่ข้างเวทีและให้อาณัติสัญญาณนักมวยหยุดชกด้วยเสียงหรือนกหวีด

        2. สมัยท่าช้าง ในสมัยนี้เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการคาดเชือกมาเป็นสวมนวม (พ.ศ. 2462) สมัยนี้ได้ดำเนินการจัดการแข่งขันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรในที่สุดสนามก็เลิกไป กรรมการผู้ชี้ขาดที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ก็คือ นายทิม อติเปรมานนท์ และนายนิยม ทองชิตร์

       3. สมัยสวนสนุก การจัดการแข่งขันในสมัยนี้นายสนามดำเนินงานได้ดี และยืนยาวอยู่หลายปี นักมวยที่มีชื่อเสียง เช่น สมาน ดิลกวิลาศ และสมพงศ์ เวชชสิทธิ์ สมัยนี้มีการแข่งขันทั้งมวยไทยและมวยสากล กรรมการผู้ตัดสินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หลวงพิพัฒน์ พลกาย นายสุนทร ทวีสิทธิ์ (ครูกิมเส็ง) และ นายนิยม ทองชิตร์

      4. สมัยหลักเมืองและสวนเจ้าเชษฐ์ การแข่งขันชกมวยในสมัยนี้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพราะทางราชการทหารเข้ามาร่วมมือช่วยเหลือ และมีผลเป็นรายได้บำรุงกองทัพจำนวนมาก นักมวยที่มีชื่อในยุคนี้ได้แก่
สุข ปราสาทหินพิมาย ผล พระประแดง เพิก สิงหพัลลภ ประเสริฐ ส.ส. ถวัลย์ วงศ์เทเวศน์ และทองใบ
ยนตรกิจ การแข่งขันสมัยนี้ดำเนินมาหลายปีจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สองจึงได้เลิกไป กรรมการผู้ตัดสินในสมัยนี้ได้แก่ นายสังเวียน หิรัญเลขา นายเจือ จักษุรักษ์ และนายวงศ์ หิรัญเลขา

       5. สมัยปัจจุบัน ได้ทำการแข่งขัน ณ เวทีราชดำเนินและเวทีลุมพีนีเป็นประจำ และยังมีเวทีมวยที่เปิดการแข่งขันถาวรและชั่วคราวทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดอีกมากมาย
ปัจจุบันมี พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 มีสำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย สำนักงานกีฬาอาชีพ ของการกีฬาแห่งประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.นี้ ให้มีหน้าที่ส่งเสริม คุ้มครอง สนับสนุน และควบคุมกิจการมวยในประเทศไทยให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกของวงการมวยเมืองไทย






เครดิต

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

กระทู้เก่า เกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากละคร เผื่อว่าใครชอบอ่าน
http://ppantip.com/topic/32964350

**ชื่อกระทู้เลียนแบบรายการหนังพาไป พี่บอลพี่ยอดคงไม่ว่านะคร๊าบบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่