Risk Control - Stocks - Cut Loss ... สำหรับเม่ามือใหม่

วันนี้แอบเบื่อ เนื่องจากคนเล่นโป้งแปะด้วยไม่สบาย จขกท เลยแอบออกไปแรดนอกบ้าน
แวะไปร้านหนังสือที่ห้างแถวบ้าน ซึ่งทำให้ จขกท พบเม่ามือใหม่ที่ร้านหนังสือโดยบังเอิญ
(จริงๆพบบ่อย เพราะอาทิตย์ไหนไม่ได้เดินจะลงแดงตาย) เม่ามือใหม่กำลังเลือกหนังสือไม่ได้
ว่าจะซื้อเล่มไหนบ้างดี (จริงๆมันก็สมควรนะ เพราะเยอะเหลือเกิน แต่เอาสาระๆจริงๆมีไม่กี่เล่ม)

จขกท เลยขออนุญาติ ส ใส่เกือก แนะนำหนังสือให้ เอาแบบที่ดูแล้วจำเป็นต่อการดำรงชีพในตลาด
เพราะเห็นแล้วสงสาร ไหนจะค่าหนังสือ ไหนจะค่าขึ้นครูในตลาดอีก ฮี่ฮี่ ... แต่ด้วยความหวังดี
เนื่องจากหนังสือที่หยิบให้ไปไม่มีเล่มไหนที่เขียนเรื่อง Risk Control หรือ Money Management
แบบเข้าใจได้ง่ายๆเอาเสียเลย จขกท เลยบอกเม่ามือไปใหม่ว่า 20 ตัวเท่าๆกัน ไว้ก่อนนะช่วงแรกๆ
กันพลาดพอร์ทจะได้ไม่พัง เม่ามือใหม่ ก็รับปากครับ ขอบคุณค๊าบ แล้วเดินจากไป ...

อ๊ะ เกริ่นมายาว เนื่องจากคนเล่นโป้งแปะด้วยหลับไปแล้ว จขกท เลยว่างทำ Excel แบบง่ายๆมาให้ดูกัน
เหตุผลที่เป็น Excel เพราะแต่ก่อนเจ้าของกระทู้ก็สมองกลวง ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องพวกนี้ ตอนนี้ก็ยังคงกลวงอยู่
(เมื่อเทียบกับคนที่เล่นโป้งแปะด้วย เซงจริงๆ) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาที่ เราไม่เข้าใจอะไรก็ตาม จขกท
แนะนำให้พึ่งพาน้อง Excel เป็นอันดับแรก นางมักจะช่วยเรื่อง คำนวณแล้วงงงวยในเบื้องต้นได้เสมอ

(ในกรณีนี้ขอที่จะ กล่าวถึง Risk Control ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ ราคาซื้อ และ ราคาคัทลอสก่อนน๊า)
เริ่มจาก Risk Control โดยปกติแล้ว ถ้าเรารู้ตัวว่าตัวเองมีความแม่นยำต่ำ สิ่งแรกที่สมควรทำคือ
การกระจายความเสี่ยง
ที่พวกนักวิเคราะห์เขาพูดกันนั่นแหละ แน่นอนว่าเวลาเราเสี่ยงเรามีโอกาสเสียเงิน
เพราะฉะนั้น สิ่งถัดมาที่ต้องทำก็คือกำหนดว่าเราจะเสียเงินในแต่ละครั้งเท่าไหร่  โดยในตารางข้างล่างจะสมมติว่า

บรรทัดสีเหลือง
1. เงินต้น = 1,000,000 บาท 2. Risk 1% ของเงินต้น = 10,000 บาท 3. แบ่งเงินซื้อหุ้นออกเป็น 20 ตัว = 50,000 บาท
4. กำไรขาดทุน = ขาดทุนที่ Risk 1% ของเงินต้น  5. % Cut Loss = ( 10,000 / 50,000  ) = 20%

บรรทัดสีเขียว
1. เงินต้น = 990,000 บาท 2. Risk 1% ของเงินต้น = 9,900 บาท 3. แบ่งเงินซื้อหุ้นออกเป็น 20 ตัว = 49,500 บาท
4. กำไรขาดทุน = ขาดทุนที่ Risk 1% ของเงินต้น  5. % Cut Loss = ( 9,900 / 49,500  ) = 20%

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เท่ากันเมื่อเรากำหนด Risk 1% ของเงินต้น คือ จำนวนหุ้น กับ % Cut Loss ที่มีค่า = 20 เท่ากัน



มาดูกันว่า แบ่งเงินซื้อหุ้นออกเป็น 30 ตัวจะได้ % Cut Loss ที่ 30 เหมือนกันไหม



ทีนี้มาลองเปลี่ยนเงินต้นกันดูบ้าง เผื่อใครจะสงสัยว่ามันเป็นเงินต้นที่ 1,000,000 บาทรึเปล่า



แล้วถ้าอยากซื้อน้อยตัวหละ แบบว่า Focus แค่ 5 ตัวอะไรประมาณนี้จะเกิดอะไรขึ้น



จะเห็นได้ว่าเมื่อเรากำหนด Risk 1% ของเงินต้น และ ถือหุ้นจำนวน 5 ตัว ทำให้เราต้อง
มี % Cut Loss ที่มีค่า = 5% ไปด้วย ซึ่งการ Cut Loss ด้วย 5% ดังกล่าวถือว่าน้อยเกินไป
เมื่อเทียบกับการสวิงตัวของหุ้นโดยปกติ อ่าวแล้วจะทำยังไงดีหละ งั้นลองมาปรับ Risk
เป็น 2-3% ดูจะดีไหม ดูสิว่าจะทำให้เรามี % Cut Loss ที่กี่ % อิอิ




อ๊า ... % Cut Loss ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 10% ละ ลองมาปรับ Risk เป็น 3% ดูบ้าง



อ๊ะ ... ได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 15 % แล้ว แต่ว่าละถ้าอยากจะได้ % Cut Loss ที่ 20 % เท่าเดิม
จะต้องกำหนด Risk ที่กี่ % น๊า มาดูกัน ลองเอา Cut Loss 20% หาร จำนวนหุ้นดู 20/5 = 4



อิอิ จบแล้วจ้า หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย ลองไปทำเล่นกันดู จะได้เข้าใจกันมากขึ้นน๊า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความพึงพอใจใน Risk % และ Total Risk % ของ Portfolio ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลนะจ๊ะ
ไว้รอบหน้า จะมาพร้อมกับสมการที่คนหลายคน งงงวย เมื่อเราเริ่มเข้าไปวุ่นวายกับ ราคาซื้อ และ ราคาคัทลอส

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่