*บทความนี้มีการสปอยเนื้อหา
" Out of the fire of love come ashes. Even the greatest love eventually fizzles out."
-Cinema Paradiso (1988)
“ทำไมเราต้องไปเสียน้ำตากับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องด้วย” คำถามๆนี้ผุดขึ้นมาในหัวของผมสมัยผมยังละอ่อน ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ และเมื่อหนังได้เดินมาถึงฉากกระชากอารมณ์ในตอนท้ายเรื่อง ผมก็เหลือบไปเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเธอนำมือมาบรรจบกันตรงบริเวณสันจมูกเพื่อปกปิดน้ำตาที่หลังไหลออกมา เมื่อผมได้เห็นนั้นผมก็ตั้งคำถามดังกล่าวขึ้นมา ตอนนั้นยังคิดตลกว่า จะไปร้องไห้ เสียใจ โกรธ หรือเกลียดแทนตัวละครในหนังทำไมทั้งๆที่มันไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆทั้งสิ้นต่อชีวิตของเราเลย “พระเอกตายแล้วไง! นางเอกรอดแล้วไง! เขาบอกรักเธอ เธอตอบรักเขา แล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับเรา จะไปดีใจแทนเขาทำไม” ในตอนนั้นผมไม่ได้เข้าใจอะไรเลยอาจเป็นเพราะว่าประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในตอนนั้นอาจจะยังน้อยเกินไปที่จะเข้าใจ หรืออาจเพราะว่าความรู้สึกของผมในตอนนั้นคงจะหยาบกร้านเกินกว่าที่จะรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้มีโอกาสดูหนังหลากหลายเรื่องหลากหลายแนวมากขึ้น รวมไปถึงประสบการณ์การชีวิตที่มากขึ้น ผมเริ่มสามารถรับรู้ เข้าใจ และซึมซับสิ่งต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาทางแผ่นฟิล์ม เมื่อเวลาผ่านไป การดูหนังของผมก็เริ่มเปลี่ยนไป จากการดูเอาสนุกเอามัน อย่างเดียว การดูหนังที่ค่อนข้างจะเป็นมิติเดียวนี้อาจทำให้ความผูกพันระหว่างคนดูและหนังนั้นขาดหายไป อารมณ์ร่วมย่อมไม่เกิด การดูหนังซักเรื่องก็คงไม่ต่างจากการที่เราอยากจะรู้จักใครซักคนหนึ่ง อยากรู้จักว่านิสัยเขาเป็นอย่างไรทั้งภายนอกและภายใน อยากจะเข้าไปเรียนรู้ อยากจะเข้าไปศึกษา อยากเข้าไปอ่านไปสัมผัส เมื่อเปรียบหนังเรื่องหนึ่งคือสาส์นอันมีค่าที่ถูกบรรจงเขียนขึ้นจากคนทำหนังแล้วคนดูอย่างเราๆก็คงเป็นผู้รับสาส์น สาส์นที่สมบูรณ์นั้นย่อมต้องประกอบด้วยคนเขียนและคนอ่านที่ดีและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ คนส่งสาส์น คนที่มีหน้าที่นำข้อความที่ผู้สร้างจับใส่มือให้นำไปส่งต่อแก่ผู้รับสาส์น คนส่งสาส์นคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คนฉายหนัง นั่นเอง
เดินตามความฝันสร้างสรรค์ความทรงจำ
“โตขึ้นผมจะเป็นคนฉายหนังครับ”
จะมีเด็กซักกี่คนนะที่จะตอบคำถามแบบนี้เมื่อคุณครูซักถามถึงความต้องการของตนเองในสิ่งที่จะเป็นในอนาคต
Cinema Paradiso เป็นภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของเด็กน้อยคนหนึ่งที่มีความฝันที่อยากจะเป็นนักฉายหนัง -Salvator’Toto’ Divita-
หรือเรียกสั้นๆว่า โตโต้ โตโต้นั้นหลงใหลในการดูภาพยนตร์ในห้องฉายแคบๆที่เป็นที่ทำงานของ อัลเฟรโด คนฉายหนัง ณ โรงภาพยนตร์ Cinema Paradiso ณ ขณะนั้น ด้วยความที่ตนเองมีใจรักในการฉายหนัง โตโต้ได้คะยั้นคะยอ ขอร้องให้อัลเฟรโด้สอนเขาถึงวิธีการทำงานของอัลเฟรโด้เอง หนังในช่วงแรกนั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่มาของความรักที่ทั้งสองมีให้กันเยี่ยงพ่อลูก แต่เดิมทีอัลเฟรโด้ได้ปฏิเสธโตโต้อย่างไม่ไยดีด้วยน้ำเสียงรำคาญปนเป็นห่วง เพราะตัวเขาเองเห็นว่าอาชีพฉายหนังนั้น มันอาจไม่เหมาะกับเด็กน้อยช่างฝันอย่างโตโต้ ที่จะนำพาชีวิตในอนาคตที่สดใสของเขาไปจมปลักอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆคอยสลับแผ่นฟิล์มที่ฉายซ้ำๆเดิมๆทุกวัน ก็เป็นได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นงานที่เขาคิดว่าได้สำรองไว้ให้กับผู้ไร้การศึกษาเท่านั้นไม่มีที่ว่างสำหรับเด็กหัวดีมีการศึกษาอย่างโตโต้ แต่ยิ่งผลักไสเท่าไหร่ โตโต้ก็ไม่สนใจและยังยืนกรานที่จะเป็นนักฉายหนังให้ได้ อาจเป็นเพราะความดื้อรั้นและความฝันที่บริสุทธิ์นี้เองที่ทำให้กำแพงที่กั้นอยู่ระหว่างทั้งสองเริ่มทลายลงทีละน้อย ความสัมพันธ์ของโตโต้และอัลเฟรโด้ไต่เต้าขึ้นมาจากคนที่ไม่รู้จักกัน กลายมาเป็นศิษย์และอาจารย์ จนสุดท้ายความรักที่มีให้กันของทั้งสองถ้าจะเปรียบเป็นความรักระหว่างพ่อที่มีต่อลูกแล้วก็คงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ ทั้งสองคอยเติมเต็มช่องว่างที่ต่างคนต่างขาดหายไปในชีวิตซึ่งกันและกัน การที่คนหนึ่งขาดพ่อส่วนอีกคนหนึ่งไม่มีลูกนั้นได้เป็นแรงยึดเหนี่ยวมหาศาลซึ่งกันและกัน ประหนึ่งเป็นพันธะทางเคมีของอะตอมสองหน่วยที่ดึงดูดกันและกัน เพื่อคอยเติมเต็มประจุที่ขาดหายไปและสร้างสภาวะเสถียรซึ่งกันและกันขึ้นมาในท้ายสุด
โรงภาพยนตร์สถานที่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำ
อีกหนึ่งความสัมพันธ์ที่ Cinema Paradiso ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างสวยงามก็คือความสัมพันธ์ระหว่างคนดูหนังและโรงภาพยนตร์ บทบาทของโรงภาพยนตร์ก่อนโดยอิงมาจากโรงภาพยนตร์ Cinema Paradiso นั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างไปจากโรงหนังในปัจจุบันกาลพอสมควรซึ่งโรงหนังในสมัยนั้นเปรียบเหมือนกับแหล่งศูนย์รวมของคนในชุมชนนั้นๆ เป็นแหล่งรวมความสุข ความเศร้า มีการพูดคุยโห่ร้อง เมื่อหนังดำเนินเรื่องมาถึงฉากเลิฟซีนแต่ดันถูกตัดไปโดยบาทหลวงที่มีหน้าที่ดั่งกองเซนเซอร์หัวโบราณในปัจจุบัน การตัดฉากเลิฟซีนที่มีให้เห็นนั้นสามารถสะท้อนถึงประเด็นการปิดกั้นถึงเสรีภาพเรื่องเพศที่ถูกฉายผ่านแผ่นฟิล์มได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ต่างกันนัก ฉากที่บาทหลวงสั่นกระดิ่งนั้นผมถึงกับหัวเราะกับตนเองและแปลกใจว่า หน้าที่อันสูงส่งนี้มันเหมาะกับผู้มีคุณธรรมอันสูงส่งอย่างบาทหลวงขนาดนั้นเลยหรือ แล้วถ้ามองย้อนกลับมา กองเซนเซอร์หนังในปัจจุบันนั้นก็เปรียบเสมือนผู้สืบทอดหน้าที่อันเต็มเปี่ยมไปด้วยความสูงส่งทางศีลธรรมอันจอมปลอม คอยกำหนดตรรกะความดีเลว แทนผู้คนนับล้านโดยใช้ไม้บรรทัดที่บิ่นและแตกหักแต่ภายนอกกลับดูดีมีสีสันสวยงามของตนเองมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินแทนผู้อื่น
อีกอย่างที่ผมสังเกตเห็นก็คือเรื่องของคนในสมัยนั้น พวกเขาช่างมีความผูกพันใกล้ชิดกับโรงหนังเหลือเกิน ดูเหมือนว่าพวกเขาจ่ายตั๋วเข้ามาเสพหนังเรื่องนั้นจริงๆ สิ่งที่ทุกคนมีไม่ต่างกันก็คืออารมณ์ร่วมที่มีต่อหนัง ราวกับพวกเขานั้นเป็นนักแสดงในเรื่องเสียเอง และพอมองย้อนกลับมาที่ปัจจุบันอีกครั้ง นิยามการดูหนังในโรงภาพยนตร์ของพวกเราหลายๆคนกลับเปลี่ยนไปจากการดูหนังกลายมาเป็นการใช้เป็นกิจกรรมยามว่างเพื่อฆ่าเวลาเท่านั้น การดูหนังเป็นเพียงกิจกรรมที่หลายๆคนใช้ร่วมกับเพื่อน คนรักหรือครอบครัว การเลือกดูโปรแกรมหนังจากหน้าโรงโดยตัดสินใจเพียงแค่หนังเรื่องนี้จบกี่โมง จ่ายค่าตั๋วไปเพียงแค่ได้นั่งใกล้กับคนรัก และเมื่อสุดท้ายหนังไม่สนุกอย่างที่คิดไว้ การกระทำอันเป็นการเสียมารยาทในโรงหนังก็เป็นสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกลี่ยงไม่ได้
และที่น่าขำขันไปกว่านั้นก็คงเป็นประโยคคำถามที่ว่า “ทำไมไปดูหนังคนเดียวถ้าต้องไปคนเดียวโหลดมาดูดีกว่า” คำถามที่พบเจอบ่อยและสามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรสนิยมการดูหนังในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี บางครั้งการไปดูหนังคนเดียวในโรงกลับกลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดสำหรับเราไปเสียแล้ว มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญว่าเราจะไปดูหนังคนเดียวหรือดูกับใคร สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือเราได้รับอะไรจากการที่เราสละเวลาดูหนังเรื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามทางเทคนิคการถ่ายทำหรือความลึกซึ้งในเนื้อหาที่หนังเรื่องนั้นต้องการจะสื่อ และก็คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่เราจะร้องไห้และหัวเราะไปกับมัน
ความทรงจำอันหอมหวานและกาลเวลาที่หมุนผ่าน
เคยกันไหมครับเวลานั่งคุยเรื่องเก่าๆกับเพื่อนสมัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นตอนประถม ตอนแข่งกีฬาประจำโรงเรียน การมีรักแรก ตอนเข้าค่ายอาสา หรือตอนเข้าค่ายเขาชนไก่ เราจะคุยกันได้เป็นชั่วโมง ฉากละครฉากเก่าๆถูกดึงขึ้นมาฉายอีกครั้งผ่านคำพูดเจ้าของประสบการณ์ ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรังสรรค์ใหม่ขึ้นมาหากแต่เป็นสิ่งที่เราเคยผ่านมาแล้ว เป็นประสบการณ์ที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังต่างร่วมวาดมันขึ้นมาในขณะนั้น และเมื่อเวลาผ่านไปเหตุการณ์เหล่านั้นก็ถูกเก็บอยู่ในจิตใจเบื้องลึกของเราที่เรียกว่า “ความทรงจำ” ความทรงจำไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป บางครั้งก็เป็นความผิดหวัง ความเศร้าโศก เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจดจำ บางครั้งความทรงจำก็เป็นสิ่งที่เจ็บปวดแต่ก็ดูสวยงามไปในตัว เป็นความทรงจำที่ไม่อยากจำแต่กลับยากที่จะลืม ก็เหมือนกับความรักระหว่างโตโต้ และเอเลน่า หญิงสาวผู้ใสซื่อบริสุทธิ์ เธอดูสวยงามและอ่อนหวาน และเป็นรักแรกของโตโต้ ความรักทั้งสองดูไม่แตกต่างอะไรไปจากนิยายคลาสสิก ที่พระเอกต้องมีฐานะปกติแต่ฝ่ายหญิงกลับมีฐานะสูงส่งและร่ำรวย แน่นอนว่าความเหลื่อล้ำนี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อทั้งสองในการแสดงออกถึงวามรักซึ่งกันและกันอย่างเปิดเผย แต่เมื่อสุดท้ายรักแท้ของโตโต้กลับเบียดชนะใจเอเลน่า แต่ไม่สามารถเบียดแทรกโชคชะตาที่ไม่มีวันบรรจบกันของทั้งสองไว้ได้
แต่ถึงกระนั้นทั้งสองก็ได้สร้างความทรงจำอันสวยงามมากมาย และเป็นสิ่งที่เขา โตโต้ ยึดติดมาตลอดไม่มีวันลืมแม้เวลาจะผ่านไปเท่าไหร่ก็ตามเมื่อถึงช่วงท้ายของหนัง เมื่อโตโต้ได้เป็นผู้กำกับชื่อดังหลังจากเขาจากลาบ้านเกิดและจากลาคนรักอย่างที่ไม่ได้มีโอกาสบอกลาใดๆทั้งสิ้น เขาต้องกลับมาบ้านเขาอีกครั้งเมื่อรู้ว่าอัลเฟรโด้เสียชีวิตแล้ว และต้องไปร่วมงานศพ เมื่อโตโต้ได้มีโอกาสได้ไปเหยียบสถานที่ต่างๆที่เขาเดินผ่านสมัยเมื่อยังเด็ก แม้ว่าสภาพโดยรวมต่างๆจะเปลี่ยนไปมากเพียงใดแต่ความทรงจำต่อสิ่งเหล่านั้นของโตโต้กลับไม่เปลี่ยนแปลง เขาโหยหาและยึดติดอยู่กับเรื่องราวสมัยก่อน ราวกลับเป็นคนแก่ใกล้เข้าโรง จนเป็นที่มาของบทฟิล์มม้วนสุดท้ายของอัลเฟรโด้ที่ฝากให้โตโต้ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เป็นฉากจบความยาวสามนาทีที่ไร้ซึ่งบทพูดใดๆ มีเพียงภาพจากแผ่นฟิล์มทีอัลเฟรโด้ร้อยเรียงขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความทรงจำที่หายไปในสมัยเด็กของลูกสุดที่รักของเขา ความทรงจำที่หายไป ก็คงเป็นของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดเท่าที่คนแก่ตาพิการคนหนึ่งจะให้ได้ ม้วนฟิล์มม้วนนั้นมิได้มีแผ่นป้ายติดราคากำหนด แต่มันกลับเป็นของขวัญที่ไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขได้สำหรับโตโต้ไปเสียแล้ว
Credit: บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ฝากเพจและผลงานอื่นๆ วิจารณ์ ติชมได้เลยครับ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl
<Cinema Paradiso> โรงละครแห่งความทรงจำ
" Out of the fire of love come ashes. Even the greatest love eventually fizzles out."
-Cinema Paradiso (1988)
“ทำไมเราต้องไปเสียน้ำตากับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องด้วย” คำถามๆนี้ผุดขึ้นมาในหัวของผมสมัยผมยังละอ่อน ครั้งหนึ่งผมได้มีโอกาสได้ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ และเมื่อหนังได้เดินมาถึงฉากกระชากอารมณ์ในตอนท้ายเรื่อง ผมก็เหลือบไปเห็นผู้หญิงคนหนึ่งเธอนำมือมาบรรจบกันตรงบริเวณสันจมูกเพื่อปกปิดน้ำตาที่หลังไหลออกมา เมื่อผมได้เห็นนั้นผมก็ตั้งคำถามดังกล่าวขึ้นมา ตอนนั้นยังคิดตลกว่า จะไปร้องไห้ เสียใจ โกรธ หรือเกลียดแทนตัวละครในหนังทำไมทั้งๆที่มันไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆทั้งสิ้นต่อชีวิตของเราเลย “พระเอกตายแล้วไง! นางเอกรอดแล้วไง! เขาบอกรักเธอ เธอตอบรักเขา แล้วมันไปเกี่ยวอะไรกับเรา จะไปดีใจแทนเขาทำไม” ในตอนนั้นผมไม่ได้เข้าใจอะไรเลยอาจเป็นเพราะว่าประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในตอนนั้นอาจจะยังน้อยเกินไปที่จะเข้าใจ หรืออาจเพราะว่าความรู้สึกของผมในตอนนั้นคงจะหยาบกร้านเกินกว่าที่จะรับรู้สิ่งเหล่านี้ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้มีโอกาสดูหนังหลากหลายเรื่องหลากหลายแนวมากขึ้น รวมไปถึงประสบการณ์การชีวิตที่มากขึ้น ผมเริ่มสามารถรับรู้ เข้าใจ และซึมซับสิ่งต่างๆ ที่ถูกถ่ายทอดออกมาทางแผ่นฟิล์ม เมื่อเวลาผ่านไป การดูหนังของผมก็เริ่มเปลี่ยนไป จากการดูเอาสนุกเอามัน อย่างเดียว การดูหนังที่ค่อนข้างจะเป็นมิติเดียวนี้อาจทำให้ความผูกพันระหว่างคนดูและหนังนั้นขาดหายไป อารมณ์ร่วมย่อมไม่เกิด การดูหนังซักเรื่องก็คงไม่ต่างจากการที่เราอยากจะรู้จักใครซักคนหนึ่ง อยากรู้จักว่านิสัยเขาเป็นอย่างไรทั้งภายนอกและภายใน อยากจะเข้าไปเรียนรู้ อยากจะเข้าไปศึกษา อยากเข้าไปอ่านไปสัมผัส เมื่อเปรียบหนังเรื่องหนึ่งคือสาส์นอันมีค่าที่ถูกบรรจงเขียนขึ้นจากคนทำหนังแล้วคนดูอย่างเราๆก็คงเป็นผู้รับสาส์น สาส์นที่สมบูรณ์นั้นย่อมต้องประกอบด้วยคนเขียนและคนอ่านที่ดีและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ คนส่งสาส์น คนที่มีหน้าที่นำข้อความที่ผู้สร้างจับใส่มือให้นำไปส่งต่อแก่ผู้รับสาส์น คนส่งสาส์นคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก คนฉายหนัง นั่นเอง
เดินตามความฝันสร้างสรรค์ความทรงจำ
“โตขึ้นผมจะเป็นคนฉายหนังครับ”
จะมีเด็กซักกี่คนนะที่จะตอบคำถามแบบนี้เมื่อคุณครูซักถามถึงความต้องการของตนเองในสิ่งที่จะเป็นในอนาคต
Cinema Paradiso เป็นภาพยนตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวของเด็กน้อยคนหนึ่งที่มีความฝันที่อยากจะเป็นนักฉายหนัง -Salvator’Toto’ Divita-
หรือเรียกสั้นๆว่า โตโต้ โตโต้นั้นหลงใหลในการดูภาพยนตร์ในห้องฉายแคบๆที่เป็นที่ทำงานของ อัลเฟรโด คนฉายหนัง ณ โรงภาพยนตร์ Cinema Paradiso ณ ขณะนั้น ด้วยความที่ตนเองมีใจรักในการฉายหนัง โตโต้ได้คะยั้นคะยอ ขอร้องให้อัลเฟรโด้สอนเขาถึงวิธีการทำงานของอัลเฟรโด้เอง หนังในช่วงแรกนั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่มาของความรักที่ทั้งสองมีให้กันเยี่ยงพ่อลูก แต่เดิมทีอัลเฟรโด้ได้ปฏิเสธโตโต้อย่างไม่ไยดีด้วยน้ำเสียงรำคาญปนเป็นห่วง เพราะตัวเขาเองเห็นว่าอาชีพฉายหนังนั้น มันอาจไม่เหมาะกับเด็กน้อยช่างฝันอย่างโตโต้ ที่จะนำพาชีวิตในอนาคตที่สดใสของเขาไปจมปลักอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆคอยสลับแผ่นฟิล์มที่ฉายซ้ำๆเดิมๆทุกวัน ก็เป็นได้ ยิ่งไปกว่านั้นมันเป็นงานที่เขาคิดว่าได้สำรองไว้ให้กับผู้ไร้การศึกษาเท่านั้นไม่มีที่ว่างสำหรับเด็กหัวดีมีการศึกษาอย่างโตโต้ แต่ยิ่งผลักไสเท่าไหร่ โตโต้ก็ไม่สนใจและยังยืนกรานที่จะเป็นนักฉายหนังให้ได้ อาจเป็นเพราะความดื้อรั้นและความฝันที่บริสุทธิ์นี้เองที่ทำให้กำแพงที่กั้นอยู่ระหว่างทั้งสองเริ่มทลายลงทีละน้อย ความสัมพันธ์ของโตโต้และอัลเฟรโด้ไต่เต้าขึ้นมาจากคนที่ไม่รู้จักกัน กลายมาเป็นศิษย์และอาจารย์ จนสุดท้ายความรักที่มีให้กันของทั้งสองถ้าจะเปรียบเป็นความรักระหว่างพ่อที่มีต่อลูกแล้วก็คงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ ทั้งสองคอยเติมเต็มช่องว่างที่ต่างคนต่างขาดหายไปในชีวิตซึ่งกันและกัน การที่คนหนึ่งขาดพ่อส่วนอีกคนหนึ่งไม่มีลูกนั้นได้เป็นแรงยึดเหนี่ยวมหาศาลซึ่งกันและกัน ประหนึ่งเป็นพันธะทางเคมีของอะตอมสองหน่วยที่ดึงดูดกันและกัน เพื่อคอยเติมเต็มประจุที่ขาดหายไปและสร้างสภาวะเสถียรซึ่งกันและกันขึ้นมาในท้ายสุด
โรงภาพยนตร์สถานที่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำ
อีกหนึ่งความสัมพันธ์ที่ Cinema Paradiso ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้อย่างสวยงามก็คือความสัมพันธ์ระหว่างคนดูหนังและโรงภาพยนตร์ บทบาทของโรงภาพยนตร์ก่อนโดยอิงมาจากโรงภาพยนตร์ Cinema Paradiso นั้นค่อนข้างที่จะแตกต่างไปจากโรงหนังในปัจจุบันกาลพอสมควรซึ่งโรงหนังในสมัยนั้นเปรียบเหมือนกับแหล่งศูนย์รวมของคนในชุมชนนั้นๆ เป็นแหล่งรวมความสุข ความเศร้า มีการพูดคุยโห่ร้อง เมื่อหนังดำเนินเรื่องมาถึงฉากเลิฟซีนแต่ดันถูกตัดไปโดยบาทหลวงที่มีหน้าที่ดั่งกองเซนเซอร์หัวโบราณในปัจจุบัน การตัดฉากเลิฟซีนที่มีให้เห็นนั้นสามารถสะท้อนถึงประเด็นการปิดกั้นถึงเสรีภาพเรื่องเพศที่ถูกฉายผ่านแผ่นฟิล์มได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ต่างกันนัก ฉากที่บาทหลวงสั่นกระดิ่งนั้นผมถึงกับหัวเราะกับตนเองและแปลกใจว่า หน้าที่อันสูงส่งนี้มันเหมาะกับผู้มีคุณธรรมอันสูงส่งอย่างบาทหลวงขนาดนั้นเลยหรือ แล้วถ้ามองย้อนกลับมา กองเซนเซอร์หนังในปัจจุบันนั้นก็เปรียบเสมือนผู้สืบทอดหน้าที่อันเต็มเปี่ยมไปด้วยความสูงส่งทางศีลธรรมอันจอมปลอม คอยกำหนดตรรกะความดีเลว แทนผู้คนนับล้านโดยใช้ไม้บรรทัดที่บิ่นและแตกหักแต่ภายนอกกลับดูดีมีสีสันสวยงามของตนเองมาใช้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินแทนผู้อื่น
อีกอย่างที่ผมสังเกตเห็นก็คือเรื่องของคนในสมัยนั้น พวกเขาช่างมีความผูกพันใกล้ชิดกับโรงหนังเหลือเกิน ดูเหมือนว่าพวกเขาจ่ายตั๋วเข้ามาเสพหนังเรื่องนั้นจริงๆ สิ่งที่ทุกคนมีไม่ต่างกันก็คืออารมณ์ร่วมที่มีต่อหนัง ราวกับพวกเขานั้นเป็นนักแสดงในเรื่องเสียเอง และพอมองย้อนกลับมาที่ปัจจุบันอีกครั้ง นิยามการดูหนังในโรงภาพยนตร์ของพวกเราหลายๆคนกลับเปลี่ยนไปจากการดูหนังกลายมาเป็นการใช้เป็นกิจกรรมยามว่างเพื่อฆ่าเวลาเท่านั้น การดูหนังเป็นเพียงกิจกรรมที่หลายๆคนใช้ร่วมกับเพื่อน คนรักหรือครอบครัว การเลือกดูโปรแกรมหนังจากหน้าโรงโดยตัดสินใจเพียงแค่หนังเรื่องนี้จบกี่โมง จ่ายค่าตั๋วไปเพียงแค่ได้นั่งใกล้กับคนรัก และเมื่อสุดท้ายหนังไม่สนุกอย่างที่คิดไว้ การกระทำอันเป็นการเสียมารยาทในโรงหนังก็เป็นสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกลี่ยงไม่ได้
และที่น่าขำขันไปกว่านั้นก็คงเป็นประโยคคำถามที่ว่า “ทำไมไปดูหนังคนเดียวถ้าต้องไปคนเดียวโหลดมาดูดีกว่า” คำถามที่พบเจอบ่อยและสามารถบ่งบอกถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรสนิยมการดูหนังในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี บางครั้งการไปดูหนังคนเดียวในโรงกลับกลายเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดสำหรับเราไปเสียแล้ว มันไม่ใช่ประเด็นสำคัญว่าเราจะไปดูหนังคนเดียวหรือดูกับใคร สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือเราได้รับอะไรจากการที่เราสละเวลาดูหนังเรื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็นความสวยงามทางเทคนิคการถ่ายทำหรือความลึกซึ้งในเนื้อหาที่หนังเรื่องนั้นต้องการจะสื่อ และก็คงไม่ใช่เรื่องผิดอะไรที่เราจะร้องไห้และหัวเราะไปกับมัน
ความทรงจำอันหอมหวานและกาลเวลาที่หมุนผ่าน
เคยกันไหมครับเวลานั่งคุยเรื่องเก่าๆกับเพื่อนสมัยเรียน ไม่ว่าจะเป็นตอนประถม ตอนแข่งกีฬาประจำโรงเรียน การมีรักแรก ตอนเข้าค่ายอาสา หรือตอนเข้าค่ายเขาชนไก่ เราจะคุยกันได้เป็นชั่วโมง ฉากละครฉากเก่าๆถูกดึงขึ้นมาฉายอีกครั้งผ่านคำพูดเจ้าของประสบการณ์ ประเด็นเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรังสรรค์ใหม่ขึ้นมาหากแต่เป็นสิ่งที่เราเคยผ่านมาแล้ว เป็นประสบการณ์ที่ทั้งผู้พูดและผู้ฟังต่างร่วมวาดมันขึ้นมาในขณะนั้น และเมื่อเวลาผ่านไปเหตุการณ์เหล่านั้นก็ถูกเก็บอยู่ในจิตใจเบื้องลึกของเราที่เรียกว่า “ความทรงจำ” ความทรงจำไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่ดีเสมอไป บางครั้งก็เป็นความผิดหวัง ความเศร้าโศก เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจดจำ บางครั้งความทรงจำก็เป็นสิ่งที่เจ็บปวดแต่ก็ดูสวยงามไปในตัว เป็นความทรงจำที่ไม่อยากจำแต่กลับยากที่จะลืม ก็เหมือนกับความรักระหว่างโตโต้ และเอเลน่า หญิงสาวผู้ใสซื่อบริสุทธิ์ เธอดูสวยงามและอ่อนหวาน และเป็นรักแรกของโตโต้ ความรักทั้งสองดูไม่แตกต่างอะไรไปจากนิยายคลาสสิก ที่พระเอกต้องมีฐานะปกติแต่ฝ่ายหญิงกลับมีฐานะสูงส่งและร่ำรวย แน่นอนว่าความเหลื่อล้ำนี้ย่อมเป็นอุปสรรคต่อทั้งสองในการแสดงออกถึงวามรักซึ่งกันและกันอย่างเปิดเผย แต่เมื่อสุดท้ายรักแท้ของโตโต้กลับเบียดชนะใจเอเลน่า แต่ไม่สามารถเบียดแทรกโชคชะตาที่ไม่มีวันบรรจบกันของทั้งสองไว้ได้
แต่ถึงกระนั้นทั้งสองก็ได้สร้างความทรงจำอันสวยงามมากมาย และเป็นสิ่งที่เขา โตโต้ ยึดติดมาตลอดไม่มีวันลืมแม้เวลาจะผ่านไปเท่าไหร่ก็ตามเมื่อถึงช่วงท้ายของหนัง เมื่อโตโต้ได้เป็นผู้กำกับชื่อดังหลังจากเขาจากลาบ้านเกิดและจากลาคนรักอย่างที่ไม่ได้มีโอกาสบอกลาใดๆทั้งสิ้น เขาต้องกลับมาบ้านเขาอีกครั้งเมื่อรู้ว่าอัลเฟรโด้เสียชีวิตแล้ว และต้องไปร่วมงานศพ เมื่อโตโต้ได้มีโอกาสได้ไปเหยียบสถานที่ต่างๆที่เขาเดินผ่านสมัยเมื่อยังเด็ก แม้ว่าสภาพโดยรวมต่างๆจะเปลี่ยนไปมากเพียงใดแต่ความทรงจำต่อสิ่งเหล่านั้นของโตโต้กลับไม่เปลี่ยนแปลง เขาโหยหาและยึดติดอยู่กับเรื่องราวสมัยก่อน ราวกลับเป็นคนแก่ใกล้เข้าโรง จนเป็นที่มาของบทฟิล์มม้วนสุดท้ายของอัลเฟรโด้ที่ฝากให้โตโต้ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เป็นฉากจบความยาวสามนาทีที่ไร้ซึ่งบทพูดใดๆ มีเพียงภาพจากแผ่นฟิล์มทีอัลเฟรโด้ร้อยเรียงขึ้นมาเพื่อเติมเต็มความทรงจำที่หายไปในสมัยเด็กของลูกสุดที่รักของเขา ความทรงจำที่หายไป ก็คงเป็นของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดเท่าที่คนแก่ตาพิการคนหนึ่งจะให้ได้ ม้วนฟิล์มม้วนนั้นมิได้มีแผ่นป้ายติดราคากำหนด แต่มันกลับเป็นของขวัญที่ไม่สามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเลขได้สำหรับโตโต้ไปเสียแล้ว
Credit: บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ฝากเพจและผลงานอื่นๆ วิจารณ์ ติชมได้เลยครับ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl