กว่ารบ.จีนจะ ‘ไฟเขียว’ขายหุ้น ‘ซิติก’$1หมื่นล้านแก่ ‘ซีพีไทย+อิโตชูญี่ปุ่น’
โดย ไฉซิน ออนไลน์
30 มกราคม 2558 23:41 น.
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Citic $10b sale faced government doubts
By Caixin Online
28/01/2015
กระทรวงการคลังของจีนได้แสดงความลังเลข้องใจ กรณีการขายหุ้นจำนวนราวหนึ่งในห้าของบริษัท ซิติก จำกัด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่กลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นและไทย ซึ่งกลายเป็นข้อตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา
กระทรวงการคลังของจีนได้แสดงความลังเลข้องใจ กรณีการขายหุ้นจำนวนราวหนึ่งในห้าของบริษัท ซิติก จำกัด ( Citic Ltd) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่กลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นและไทย ซึ่งกลายเป็นข้อตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แหล่งข่าวจากซิติกรายหนึ่ง เปิดเผย
รัฐวิสาหกิจจีนซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงรายนี้ ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาว่า บริษัท เจี่ยไต๋ไบรต์อินเวสต์เมนต์ จำกัด (Chia Tai Bright Investment Co. Ltd.) ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนของ อิโตชู คอร์ป (Itochu Corp.) กลุ่มบริษัทเทรดดิ้งคอมปานียักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น กับ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่มซีพี) ของไทย จะเข้าถือหุ้นของบริษัทเป็นจำนวน 20% โดยผ่านการทำธุรกรรมซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน และอยู่ในวงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดีลคราวนี้ถือเป็นการตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา รวมทั้งยังเป็นการทำลายสถิติมูลค่าข้อตกลงสูงสุดเฉพาะในส่วนการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศจีนอีกด้วย โดยที่เมื่อทำธุรกรรมทั้งหลายเสร็จสิ้นลง เจี่ยไต๋ไบรต์ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบริษัทซิติกจำกัด รองลงมาจากกลุ่มซิติก (Citic Group) เท่านั้น
แหล่งข่าวจากซิติกรายนี้อธิบายว่า กลุ่มซิติกเป็นรัฐวิสาหกิจจีนขนาดมหึมา ซึ่งพึ่งพาเน้นหนักกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐาน, อสังหาริมทรัพย์, และบริการทางการเงิน ทว่าขาดประสบการณ์ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เป็นต้นว่า การค้าปลีก และธุรกิจการเกษตร อันเป็นธุรกิจที่ อิโตชู และ กลุ่มซีพี กลับมีความชำนาญและมีความสามารถในการแข่งขันสูง
“ซิติกเวลานี้ต้องการที่จะรวมศูนย์และทำให้ธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่ในมืออยู่แล้วแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็กำลังสำรวจหาลู่ทางในพื้นที่ใหม่ๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคทั้งหลาย” เขาแจกแจง
แหล่งข่าวรายนี้เล่าว่า ในเบื้องต้นทีเดียวกระทรวงการคลังของจีนปฏิเสธไม่ยอมอนุมัติการขายหุ้นครั้งนี้ เนื่องจากมองว่าเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในซิติกลงมาจนต่ำกว่าที่รัฐบาลเคยคาดหมายเอาไว้
ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ค่อยอยากจะยอมขยับตัว และการเจรจาหลายๆ ครั้งประสบภาวะชะงักงัน แหล่งข่าวจากซิติกรายนี้เล่าต่อ อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา รัฐบาลจึงได้เห็นพ้องกับแผนการครั้งนี้ โดยดูเหมือนเนื่องจากเกิดความหวังว่ามันจะสามารถใช้เป็นตัวอย่างให้รัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ เจริญรอยตามได้ “โดยอาศัยการซื้อขายหุ้นรายนี้ กระทรวงการคลังต้องการใช้เป็นตัวอย่างเพื่อผลักดันการปฏิรูปของรัฐวิสาหกิจให้เดินหน้าไปก้าวใหญ่กว่าเดิม และเดินหน้าไปไกลมากขึ้นบนถนนสู่ความเป็นสากล” แหล่งข่าวรายนี้ระบุ
คาดหมายกันว่า ขั้นตอนแรกของการตกลงลงทุนคราวนี้จะเสร็จสิ้นลงได้ในเดือนเมษายน ส่วนขั้นตอนที่สองก็จะจบได้ในเดือนตุลาคม
ทั้งนี้ขั้นตอนแรกเลย เจี่ยไต๋ไบรต์ จะเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัทซิติกจำกัดเอาไว้เกือบๆ 2,500 ล้านหุ้น หรือเท่ากับหุ้น 10% ของบริษัท ในราคา 34,400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากนั้นก็จะเข้าครอบครองหุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพ (convertible preferred share) ของซิติกอีก 3,330 ล้านหุ้นในราคา 45,900 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หุ้นบุริมสิทธิ์เหล่านี้จะถูกนำไปขอแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหลังถือครองนาน 3 เดือน อันเป็นระยะเวลาขั้นต่ำที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงกำหนดให้ผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องถือเอาไว้ก่อนจะขอแปลงสภาพได้
หลังจากแปลงสภาพเรียบร้อยแล้ว คาดหมายว่า เจี่ยไต๋ไบรต์ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20.6% ของบริษัทซิติกจำกัด ขณะที่สัดส่วนการถือครองของกลุ่มซิติก จะลดลงจาก 77.9%ในปัจจุบัน เหลือ 59.9%
ดีลคราวนี้ยังกำหนดว่า อิโตชู และ ซีพี กรุ๊ป โดยรวม จะมีสิทธิแต่งตั้งบุคคล 2 คนเข้าไปนั่งในคณะกรรมการบริษัท (board of directors) ของซิติก ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน
มือเก่ามากประสบการณ์ในเรื่องจีน
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับดีลนี้รายหนึ่งเปิดเผยว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งสามได้เริ่มเจรจาเรื่องนี้กันตั้งแต่ต้นปี 2014 ตอนที่ ซิติกกรุ๊ป ซึ่งมีฐานะเป็น กลุ่มที่มีเครือกิจการกระจายตัวทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคการเงินรายใหญ่ที่สุดของจีน กำลังเตรียมการทำธุรกรรมทางการเงินแบบควบรวมกลับข้าง (reverse merger) โดยให้กิจการลูกของตนซึ่งจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงและเวลานั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ซิติก แปซิฟิก (Citic Pacific) กลับเข้ามาเป็นผู้ควบรวมบริษัทแม่ (ดูรายละเอียดได้ที่
http://english.caixin.com/2014-04-17/100666823.html)
ธุรกรรมดังกล่าวนี้เสร็จสิ้นลงในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และ ซิติก แปซิฟิก ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่กลายเป็น บริษัทซิติกจำกัด
กลุ่มซีพีนั้น เป็น 1 ใน 27 นักลงทุนยุทธศาสตร์ของบริษัทซิติกจำกัด นักลงทุนยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้รับการเชื้อเชิญเข้ามาเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเข้าตลาด โดยที่ซีพีกรุ๊ปถือหุ้นซิติกเป็นจำนวน 1% ผ่านทางเจี่ยไต๋ไบรต์
ซีพีกรุ๊ปแถลงเอาไว้ตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนเข้าตลาดของซิติกแล้วว่า มีเจตนาที่จะซื้อหุ้นตัวนี้เพิ่มเพิ่มขึ้นอีก ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ แหล่งข่าวเปิดเผย ต่อมาในเดือนกันยายน เจี่ยไต๋ไบรต์ได้เปิดเจรจากับซิติกอีกครั้งในเรื่องที่ต้องการเพิ่มการลงทุน ปรากฏว่าคราวนี้ใช้เวลาไม่นานนัก ก็สามารถตกลงกันที่จะให้เจี่ยไต๋ไบรต์เพิ่มสัดส่วนถือครองหุ้นของซิติกเป็น 20%
แหล่งข่าวที่มีความรู้เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองกันคราวนั้นรายหนึ่ง อธิบายว่า การที่เจี่ยไต๋ไบรต์ต้องการถือหุ้นซิติก 20% เพราะถ้าถือครองในสัดส่วนต่ำกว่านั้น ก็จะไม่สามารถนำเอาผลกำไรในอนาคตของซิติก เข้ามาบันทึกไว้ในงบดุลของตนได้
ทั้งนี้ ตามระเบียบกฎเกณฑ์ทางบัญชีนั้น มูลค่าทางธุรกรรมของการลงทุนรายหนึ่งๆ มีวิธีที่จะบันทึกเอาไว้อยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้ทำการลงทุนมีอิทธิพลอย่างสำคัญเหนือกิจการที่เข้าไปลงทุกมากน้อยแค่ไหน โดยที่อิทธิพลมากน้อยนี้วัดเอาจากสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทที่เข้าไปลงทุน
ถ้าการลงทุนอยู่ในระดับไม่ถึง 20% ปกติแล้วจะต้องบันทึกไว้ในทางบัญชีว่าเป็นค่าใช้จ่าย ขณะที่หากเป็นการลงทุนตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แม้ในตอนแรกจะบันทึกไว้ในทางบัญชีว่าเป็นค่าใช้จ่ายเช่นกัน ทว่าหลังจากนั้นสามารถที่จะปรับเปลี่ยน เพื่อให้เป็นไปตามส่วนแบ่งกำไรหรือส่วนแบ่งขาดทุนซึ่งผู้ทำการลงทุนได้รับจากกิจการลงทุนนั้นๆ ภายหลังการเข้าซื้อแล้ว
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้า เจี่ยไต๋ไบรต์ ถือหุ้นในบริษัทซิติกจำกัดไม่ถึง 20%ภายหลังทำการลงทุนแล้ว ก็จะไม่สามารถบันทึกในทางบัญชีถึงส่วนแบ่งในกำไรที่ซิติกคาดหมายว่าจะทำได้
“โดยเฉพาะสำหรับอิโตชูแล้ว การทุ่มเทลงทุนก้อนมหึมาถึงขนาดนี้จะกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ไปเลย ถ้าหากสิ่งที่ซื้อไว้ไม่สามารถให้ประโยชน์ต่องบดุลบัญชีการเงินของบริษัท” แหล่งข่าวที่มาจากซิติก แจกแจง
สำหรับรายรับซึ่งจะได้จากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์คราวนี้ ซิติกเตรียมจะนำเอาไปใช้พัฒนาธุรกิจต่างๆ ตลอดจนนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้นมาแต่มีศักยภาพสูง ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของแหล่งข่าวรายหนึ่งในบริษัทซิติกซีเคียวริตีส์ (Citic Securities) ซึ่งเป็นกิจการในเครือซิติกเองและทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่การทำธุรกรรมคราวนี้
ทางด้านบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ (Moody's) แถลงว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนโดยรวม (consolidated debt-to-capital ratio) ของซิติก จะลดลงมาเหลือ 36% จากที่เคยอยู่ในระดับ 40% ณ เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หากมีการนำเอารายรับครึ่งหนึ่งจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์นี้ไปชำระหนี้ของบริษัท
ในส่วนของอิโตชูแถลงว่า บริษัทและหุ้นส่วนของตนต่างคาดหมายว่าจะได้กำไรจากการลงทุนคราวนี้ เนื่องจากความแข็งแกร่งในด้านธุรกิจบริการทางการเงินของซิติก รวมทั้งจากการที่รัฐวิสาหกิจแห่งนี้มีเครือข่ายที่กว้างขวางและมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแข็งแรงทั้งกับรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลในระดับท้องถิ่นต่างๆ
ทั้ง อิโตชู และ ซีพีกรุ๊ป ต่างเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างคึกคักอยู่ในประเทศจีนมาเป็นเวลายาวนานแล้ว อิโตชูระบุว่าตนเป็นบริษัทแรกที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลจีนให้มีฐานะเป็น “บริษัทเทรดดิ้งผู้เป็นเพื่อนมิตร” (friendly trading company) ตั้งแต่ปี 1972 แล้ว ส่วนกลุ่มซีพีเข้ามาในจีนเมื่อปี 1979 ไม่นานนักหลังจากประเทศนี้เปิดประตูรับการลงทุนจากต่างชาติ
หลิว ไช่ผิง (Liu Caiping) ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ และ หยาง กัง (Yang Gang) ผู้สื่อข่าวประจำฮ่องกง ร่วมกันรายงานข่าวชิ้นนี้ โดยมี หวัง อี้ว์เฉียน (Wang Yuqian) เป็นผู้เรียบเรียง
ไฉซิน ออนไลน์ (Caixin Online) เป็นหนึ่งในกิจการของบริษัทไฉซิน มีเดีย จำกัด (Caixin Media Co.Ltd.) กลุ่มกิจการสื่อซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในปักกิ่ง และมุ่งเน้นการหาข่าวและสารสนเทศทางด้านการเงินและธุรกิจ และนำเสนอผ่านทางนิตยสาร, ออนไลน์, แอปมือถือ, การจัดการประชุมสัมมนา, หนังสือ, รายการทีวี/วิดีโอ
ข่าวนี้ เจียไต๋จะทำให้ cpf วิ่งไหมนี่
โดย ไฉซิน ออนไลน์
30 มกราคม 2558 23:41 น.
(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Citic $10b sale faced government doubts
By Caixin Online
28/01/2015
กระทรวงการคลังของจีนได้แสดงความลังเลข้องใจ กรณีการขายหุ้นจำนวนราวหนึ่งในห้าของบริษัท ซิติก จำกัด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่กลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นและไทย ซึ่งกลายเป็นข้อตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา
กระทรวงการคลังของจีนได้แสดงความลังเลข้องใจ กรณีการขายหุ้นจำนวนราวหนึ่งในห้าของบริษัท ซิติก จำกัด ( Citic Ltd) คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่กลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นและไทย ซึ่งกลายเป็นข้อตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แหล่งข่าวจากซิติกรายหนึ่ง เปิดเผย
รัฐวิสาหกิจจีนซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงรายนี้ ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาว่า บริษัท เจี่ยไต๋ไบรต์อินเวสต์เมนต์ จำกัด (Chia Tai Bright Investment Co. Ltd.) ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนของ อิโตชู คอร์ป (Itochu Corp.) กลุ่มบริษัทเทรดดิ้งคอมปานียักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น กับ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (กลุ่มซีพี) ของไทย จะเข้าถือหุ้นของบริษัทเป็นจำนวน 20% โดยผ่านการทำธุรกรรมซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน และอยู่ในวงเงิน 80,000 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดีลคราวนี้ถือเป็นการตกลงเข้าลงทุนในรัฐวิสาหกิจจีนของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา รวมทั้งยังเป็นการทำลายสถิติมูลค่าข้อตกลงสูงสุดเฉพาะในส่วนการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศจีนอีกด้วย โดยที่เมื่อทำธุรกรรมทั้งหลายเสร็จสิ้นลง เจี่ยไต๋ไบรต์ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นอันดับ 2 ในบริษัทซิติกจำกัด รองลงมาจากกลุ่มซิติก (Citic Group) เท่านั้น
แหล่งข่าวจากซิติกรายนี้อธิบายว่า กลุ่มซิติกเป็นรัฐวิสาหกิจจีนขนาดมหึมา ซึ่งพึ่งพาเน้นหนักกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐาน, อสังหาริมทรัพย์, และบริการทางการเงิน ทว่าขาดประสบการณ์ในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค เป็นต้นว่า การค้าปลีก และธุรกิจการเกษตร อันเป็นธุรกิจที่ อิโตชู และ กลุ่มซีพี กลับมีความชำนาญและมีความสามารถในการแข่งขันสูง
“ซิติกเวลานี้ต้องการที่จะรวมศูนย์และทำให้ธุรกิจต่างๆ ที่มีอยู่ในมืออยู่แล้วแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็กำลังสำรวจหาลู่ทางในพื้นที่ใหม่ๆ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคทั้งหลาย” เขาแจกแจง
แหล่งข่าวรายนี้เล่าว่า ในเบื้องต้นทีเดียวกระทรวงการคลังของจีนปฏิเสธไม่ยอมอนุมัติการขายหุ้นครั้งนี้ เนื่องจากมองว่าเป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐในซิติกลงมาจนต่ำกว่าที่รัฐบาลเคยคาดหมายเอาไว้
ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่ค่อยอยากจะยอมขยับตัว และการเจรจาหลายๆ ครั้งประสบภาวะชะงักงัน แหล่งข่าวจากซิติกรายนี้เล่าต่อ อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา รัฐบาลจึงได้เห็นพ้องกับแผนการครั้งนี้ โดยดูเหมือนเนื่องจากเกิดความหวังว่ามันจะสามารถใช้เป็นตัวอย่างให้รัฐวิสาหกิจรายอื่นๆ เจริญรอยตามได้ “โดยอาศัยการซื้อขายหุ้นรายนี้ กระทรวงการคลังต้องการใช้เป็นตัวอย่างเพื่อผลักดันการปฏิรูปของรัฐวิสาหกิจให้เดินหน้าไปก้าวใหญ่กว่าเดิม และเดินหน้าไปไกลมากขึ้นบนถนนสู่ความเป็นสากล” แหล่งข่าวรายนี้ระบุ
คาดหมายกันว่า ขั้นตอนแรกของการตกลงลงทุนคราวนี้จะเสร็จสิ้นลงได้ในเดือนเมษายน ส่วนขั้นตอนที่สองก็จะจบได้ในเดือนตุลาคม
ทั้งนี้ขั้นตอนแรกเลย เจี่ยไต๋ไบรต์ จะเข้าซื้อหุ้นสามัญของบริษัทซิติกจำกัดเอาไว้เกือบๆ 2,500 ล้านหุ้น หรือเท่ากับหุ้น 10% ของบริษัท ในราคา 34,400 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง จากนั้นก็จะเข้าครอบครองหุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพ (convertible preferred share) ของซิติกอีก 3,330 ล้านหุ้นในราคา 45,900 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หุ้นบุริมสิทธิ์เหล่านี้จะถูกนำไปขอแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหลังถือครองนาน 3 เดือน อันเป็นระยะเวลาขั้นต่ำที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงกำหนดให้ผู้ลงทุนรายใหญ่ต้องถือเอาไว้ก่อนจะขอแปลงสภาพได้
หลังจากแปลงสภาพเรียบร้อยแล้ว คาดหมายว่า เจี่ยไต๋ไบรต์ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20.6% ของบริษัทซิติกจำกัด ขณะที่สัดส่วนการถือครองของกลุ่มซิติก จะลดลงจาก 77.9%ในปัจจุบัน เหลือ 59.9%
ดีลคราวนี้ยังกำหนดว่า อิโตชู และ ซีพี กรุ๊ป โดยรวม จะมีสิทธิแต่งตั้งบุคคล 2 คนเข้าไปนั่งในคณะกรรมการบริษัท (board of directors) ของซิติก ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน
มือเก่ามากประสบการณ์ในเรื่องจีน
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับดีลนี้รายหนึ่งเปิดเผยว่า บริษัทที่เกี่ยวข้องทั้งสามได้เริ่มเจรจาเรื่องนี้กันตั้งแต่ต้นปี 2014 ตอนที่ ซิติกกรุ๊ป ซึ่งมีฐานะเป็น กลุ่มที่มีเครือกิจการกระจายตัวทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคการเงินรายใหญ่ที่สุดของจีน กำลังเตรียมการทำธุรกรรมทางการเงินแบบควบรวมกลับข้าง (reverse merger) โดยให้กิจการลูกของตนซึ่งจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงและเวลานั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ซิติก แปซิฟิก (Citic Pacific) กลับเข้ามาเป็นผู้ควบรวมบริษัทแม่ (ดูรายละเอียดได้ที่ http://english.caixin.com/2014-04-17/100666823.html)
ธุรกรรมดังกล่าวนี้เสร็จสิ้นลงในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว และ ซิติก แปซิฟิก ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่กลายเป็น บริษัทซิติกจำกัด
กลุ่มซีพีนั้น เป็น 1 ใน 27 นักลงทุนยุทธศาสตร์ของบริษัทซิติกจำกัด นักลงทุนยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้รับการเชื้อเชิญเข้ามาเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนเข้าตลาด โดยที่ซีพีกรุ๊ปถือหุ้นซิติกเป็นจำนวน 1% ผ่านทางเจี่ยไต๋ไบรต์
ซีพีกรุ๊ปแถลงเอาไว้ตั้งแต่ก่อนการจดทะเบียนเข้าตลาดของซิติกแล้วว่า มีเจตนาที่จะซื้อหุ้นตัวนี้เพิ่มเพิ่มขึ้นอีก ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ แหล่งข่าวเปิดเผย ต่อมาในเดือนกันยายน เจี่ยไต๋ไบรต์ได้เปิดเจรจากับซิติกอีกครั้งในเรื่องที่ต้องการเพิ่มการลงทุน ปรากฏว่าคราวนี้ใช้เวลาไม่นานนัก ก็สามารถตกลงกันที่จะให้เจี่ยไต๋ไบรต์เพิ่มสัดส่วนถือครองหุ้นของซิติกเป็น 20%
แหล่งข่าวที่มีความรู้เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองกันคราวนั้นรายหนึ่ง อธิบายว่า การที่เจี่ยไต๋ไบรต์ต้องการถือหุ้นซิติก 20% เพราะถ้าถือครองในสัดส่วนต่ำกว่านั้น ก็จะไม่สามารถนำเอาผลกำไรในอนาคตของซิติก เข้ามาบันทึกไว้ในงบดุลของตนได้
ทั้งนี้ ตามระเบียบกฎเกณฑ์ทางบัญชีนั้น มูลค่าทางธุรกรรมของการลงทุนรายหนึ่งๆ มีวิธีที่จะบันทึกเอาไว้อยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้ทำการลงทุนมีอิทธิพลอย่างสำคัญเหนือกิจการที่เข้าไปลงทุกมากน้อยแค่ไหน โดยที่อิทธิพลมากน้อยนี้วัดเอาจากสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทที่เข้าไปลงทุน
ถ้าการลงทุนอยู่ในระดับไม่ถึง 20% ปกติแล้วจะต้องบันทึกไว้ในทางบัญชีว่าเป็นค่าใช้จ่าย ขณะที่หากเป็นการลงทุนตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แม้ในตอนแรกจะบันทึกไว้ในทางบัญชีว่าเป็นค่าใช้จ่ายเช่นกัน ทว่าหลังจากนั้นสามารถที่จะปรับเปลี่ยน เพื่อให้เป็นไปตามส่วนแบ่งกำไรหรือส่วนแบ่งขาดทุนซึ่งผู้ทำการลงทุนได้รับจากกิจการลงทุนนั้นๆ ภายหลังการเข้าซื้อแล้ว
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้า เจี่ยไต๋ไบรต์ ถือหุ้นในบริษัทซิติกจำกัดไม่ถึง 20%ภายหลังทำการลงทุนแล้ว ก็จะไม่สามารถบันทึกในทางบัญชีถึงส่วนแบ่งในกำไรที่ซิติกคาดหมายว่าจะทำได้
“โดยเฉพาะสำหรับอิโตชูแล้ว การทุ่มเทลงทุนก้อนมหึมาถึงขนาดนี้จะกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ไปเลย ถ้าหากสิ่งที่ซื้อไว้ไม่สามารถให้ประโยชน์ต่องบดุลบัญชีการเงินของบริษัท” แหล่งข่าวที่มาจากซิติก แจกแจง
สำหรับรายรับซึ่งจะได้จากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์คราวนี้ ซิติกเตรียมจะนำเอาไปใช้พัฒนาธุรกิจต่างๆ ตลอดจนนำไปลงทุนในอุตสาหกรรมที่เพิ่งปรากฏตัวขึ้นมาแต่มีศักยภาพสูง ทั้งนี้เป็นการเปิดเผยของแหล่งข่าวรายหนึ่งในบริษัทซิติกซีเคียวริตีส์ (Citic Securities) ซึ่งเป็นกิจการในเครือซิติกเองและทำหน้าที่ที่ปรึกษาทางการเงินให้แก่การทำธุรกรรมคราวนี้
ทางด้านบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ (Moody's) แถลงว่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนโดยรวม (consolidated debt-to-capital ratio) ของซิติก จะลดลงมาเหลือ 36% จากที่เคยอยู่ในระดับ 40% ณ เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว หากมีการนำเอารายรับครึ่งหนึ่งจากการขายหุ้นบุริมสิทธิ์นี้ไปชำระหนี้ของบริษัท
ในส่วนของอิโตชูแถลงว่า บริษัทและหุ้นส่วนของตนต่างคาดหมายว่าจะได้กำไรจากการลงทุนคราวนี้ เนื่องจากความแข็งแกร่งในด้านธุรกิจบริการทางการเงินของซิติก รวมทั้งจากการที่รัฐวิสาหกิจแห่งนี้มีเครือข่ายที่กว้างขวางและมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแข็งแรงทั้งกับรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลในระดับท้องถิ่นต่างๆ
ทั้ง อิโตชู และ ซีพีกรุ๊ป ต่างเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างคึกคักอยู่ในประเทศจีนมาเป็นเวลายาวนานแล้ว อิโตชูระบุว่าตนเป็นบริษัทแรกที่ได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลจีนให้มีฐานะเป็น “บริษัทเทรดดิ้งผู้เป็นเพื่อนมิตร” (friendly trading company) ตั้งแต่ปี 1972 แล้ว ส่วนกลุ่มซีพีเข้ามาในจีนเมื่อปี 1979 ไม่นานนักหลังจากประเทศนี้เปิดประตูรับการลงทุนจากต่างชาติ
หลิว ไช่ผิง (Liu Caiping) ผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ และ หยาง กัง (Yang Gang) ผู้สื่อข่าวประจำฮ่องกง ร่วมกันรายงานข่าวชิ้นนี้ โดยมี หวัง อี้ว์เฉียน (Wang Yuqian) เป็นผู้เรียบเรียง
ไฉซิน ออนไลน์ (Caixin Online) เป็นหนึ่งในกิจการของบริษัทไฉซิน มีเดีย จำกัด (Caixin Media Co.Ltd.) กลุ่มกิจการสื่อซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ในปักกิ่ง และมุ่งเน้นการหาข่าวและสารสนเทศทางด้านการเงินและธุรกิจ และนำเสนอผ่านทางนิตยสาร, ออนไลน์, แอปมือถือ, การจัดการประชุมสัมมนา, หนังสือ, รายการทีวี/วิดีโอ