Haute Couture VS Prêt-à-porter
บทความโดย: จรินพร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ในวงการแฟชั่นนั้น แบ่งตลาดของธุรกิจเสื้อผ้าพรีเมี่ยมออกเป็น 3 ตลาดหลัก คือ
1. โอต์ กูตู (Haute Couture) หรือ High Fashion
2. บูติค (Boutique) คือ ตลาดเสื้อผ้าแบบชนิดเดียวหลายตัว
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์ ( Ready-to-wear หรือ prêt-à-porter ในภาษาฝรั่งเศส)
สองคำนี้ เป็นคำที่ผู้คนในวงการแฟชั่นทุกคนต้องรู้จัก เพราะถือว่ามีอิทธิพลกับวงการแฟชั่นมากๆ ในแต่ละปี คอลเลคชั่นโอต์ กูตู และเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์ ของดีไซน์เนอร์ชื่อดังต่างๆ จะเป็นตัวกำหนดกระแสความนิยมของสินค้าในปีนั้นๆ ว่าสีไหนจะมาแรง เสื้อสไตล์ไหนจะอิน สไตล์ไหนจะเอาท์ หรือแม้กระทั่งว่าน้ำหอมกลิ่นต่างๆ ตุ้มหู เครื่องประดับในปีนี้จะเป็นอย่างไร ก็ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก 2 คอลเลคชั่นนี้ทั้งนั้นแหละค่ะ โดยมีปารีส ศูนย์กลางแฟชั่นของโลก เป็นผู้นำในการกำหนดกระแสแฟชั่นในแต่ละปี ตามมาด้วยเมืองแฟชั่นอื่นๆ อย่าง มิลาน นิวยอร์ค โตเกียว ฯลฯ
รู้อย่างนี้แล้ว สงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมคำ 2 คำนี้ถึงมีความสำคัญถึงเพียงนี้ และมันคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่? มารู้จักแฟชั่นกันให้ถึงแก่นกันในบทนี้เลยค่ะ
อลังการงานโอต์ กูตู
“Haute Couture should be fun, foolish and almost unwearable.”
- Christian Lacroix
ถ้าพูดถึงแฟชั่นชั้นสูง หรือ Haute Couture ก็ต้องนึกถึงความหรูหราฟูฟ่าแบบไม่ธรรมดาและราคาแพงลิบของชุดที่ออกแบบมาเฉพาะให้พิเศษกว่าใคร เพราะ Haute Couture จัดว่าเป็นสุดยอดของสุดยอดแฟชั่น ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นแฟชั่นของชนชั้นสูงเท่านั้น (High Fashion)
Haute Couture เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ศิลปะการตัดเย็บชั้นสูง หรือ “high sewing” ซึ่งจำกัดวงเฉพาะอยู่ในเมืองแฟชั่นระดับแนวหน้าของโลกเท่านั้น เช่น ปารีส นิวยอร์ค ลอนดอน และมิลาน แต่ของแท้และดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่า จะต้องเป็นห้องเสื้อโอต์ กูตูของฝรั่งเศสเท่านั้น
ห้องเสื้อโอต์ กูตูมีขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเป็นแห่งแรก เสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ของดีไซเนอร์ ซึ่งเสื้อผ้าประเภทนี้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งเลยทีเดียว
โอต์ กูตูมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่กว่า 150 ปีมาแล้ว โดยในปีค.ศ. 1858 ชาร์ล เฟเดริค เวิท (Charles Frédéric Worth) ได้ก่อตั้งห้องเสื้อโอต์ กูตูแห่งแรกขึ้นที่ เลขที่ 7 ในย่าน rue de la Paix ในปารีส เพื่อออกแบบเสื้อสำหรับลูกค้าชั้นสูงที่ต้องการชุดที่ออกแบบตัดเย็บอย่างประณีต หรูหรา และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับรสนิยมอันเป็นปัจเจกสำหรับลูกค้าแต่ละคนเท่านั้น แบบเสื้อแต่ละแบบต้องมีความเป็นต้นฉบับ (original) ที่ดีไซน์โดยผู้ออกแบบเอง ไม่ได้ลอกเลียนมาจากแบบเสื้อที่เคยมีอยู่ ห้องเสื้อโอต์ กูตู จึงเป็นสถานที่ที่ดีไซน์เนอร์ได้มีโอกาสสร้างสรรผลงานใหม่ๆจากจินตนาการและความคิดของผู้ออกแบบอย่างเสรี โดยในยุคนั้นราชนิกูลจากราชวงศ์ต่างๆในยุโรปเป็นลูกค้าของเขาเกือบทั้งหมด
ห้องเสื้อโอต์ กูตู ของชาร์ล เฟเดริค เวิท ได้ปิดกิจการลงในปีค.ศ. 1945 แต่ในปัจจุบันยังคงมีน้ำหอมซึ่งผลิตภายใต้ชื่อของเขาอยู่ ผลงานของ ชาร์ล เฟเดริค เวิท นั้นจัดเป็นมรดกทางศิลปะในด้านการออกแบบอาภรณ์ ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เช่น Sugino Costume Museum, The State Hermitage Museum, Isabella Stewart Gardner Museum เป็นต้น
ดีไซน์เนอร์รุ่นน้องที่ประสบความสำเร็จในวงการโอต์ กูตู ภายหลังการบุกเบิกของเฟเดริคได้แก่ Patou, Poiret, Vionnet, Fortuny, Lavin, Chanel, Schiaparelli, Balenciaga และ Dior
จุดเด่นของชุด Haute Couture จึงอยู่ที่การออกแบบและตัดเย็บซึ่งถูกรังสรรค์มาเป็นพิเศษเพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับผู้สวมใส่เท่านั้น ความประณีตและแยบยลในการตัดเย็บด้วยเทคนิคชั้นสูงของโอต์ กูตู จะช่วยเสริมส่งให้รูปร่างของผู้สวมใส่ดูดี มีสง่า ช่วยอำพรางจุดด้อยต่างๆ และเสริมจุดเด่นของผู้สวมใส่ เช่น ซ่อนหน้าท้องให้แบนราบ เสริมลำคอให้ดูเรียวระหงส์ เพิ่มความอวบอิ่มให้ทรวงอก และอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้เสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งอาภรณ์ที่ชนชั้นสูงเลือกใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ และเพื่อความสมบูรณ์แบบในการสวมใส่ เสื้อผ้าโอต์ กูตูแต่ละชุดจึงต้องใช้เวลาในการลองเสื้อไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งในการตัดเย็บชุดแต่ละชุด
ในการตัดเย็บเสื้อผ้าสไตล์โอต์ กูตูนั้น ผู้ตัดเย็บ หรือที่เรียกว่ากูตูรีเย่ (couturier) จะไม่ตัดผ้าบนพื้นราบ แต่จะตัดผ้าตามเส้นสายของทรวดทรง เพื่อให้ได้สัดส่วนที่พริ้วไหวไปตามท่วงท่าลีลาตามเคลื่อนไหวของรูปร่าง ส่วนมาตรที่ใช้วัดนั้น จะใช้หลักวัดเป็นมิลลิเมตรเตอร์เพื่อให้ได้ขนาดและสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับคำว่า “สมบูรณ์แบบ” มากที่สุด และแน่นอนต้องตัดเย็บด้วยมือเท่านั้น
นอกเหนือไปจากฝีมือการตัดเย็บด้วยเทคนิคชั้นสูงและความประณีตพิถีพิถันแล้ว อีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในการทำเสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูก็คือความคิดส้รางสรรค์ แรงบันดาลใจ และ “ศิลปะ” ดังที่ครั้งหนึ่งดิออร์เคยกล่าวไว้ว่า “I think of my work as ephemeral architecture”
ชาร์ล เฟเดริค เวิท ได้ก่อตั้ง the Chambre Syndicale de la Haute Couture ขึ้น ในปี 1868 (พ.ศ. 2411) เพื่อดูแลอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นสูงของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับ the Chambre Syndicale du Pret-a-Porter des Couturiers et des Createurs de Mode ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของ prêt-à-porter และ the Chambre Syndicale de la Mode Masculine ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของเสื้อผ้าผู้ชาย ทั้ง 3 องค์กรณ์รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมกลาง ชื่อ the Federation Francaise de la Couture, du Pret-a-Porter des Couturiers et des Createurs de Mode ทำหน้าที่ดูแลอุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งหมด รวมถึงการกำหนดปฏิทินแฟชั่นในแต่ละปี
ยุคทองของโอต์ กูตูนั้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 50 โดยบรรดาคนดังอย่าง Capucine, Sophie Litwak และ Bettina ต่างก็ทำให้กระแสความนิยมของโอต์ กูตูขจรไกลไปทั่วโลก
แต่ในปัจจุบัน กระแสความนิยมในโอต์ กูตูได้ลดลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป จากจำนวนลูกค้ากว่า 15,000 คนในช่วงปี 1947 ลดลงเหลือน้อยกว่า 1,500 รายในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากราคามหาสูงของเสื้อผ้าโอต์ กูตูในปัจจุบัน ซึ่งมีราคาถึง 16,000-60,000 ดอลล่าสหรัฐต่อสูทหนึ่งชุด และถ้าเป็นชุดราตรีจะยิ่งราคาสูงกว่านี้อีก เนื่องจากการตัดชุดแบบชั้นสูงนี้ แต่ละชุดใช้เวลาในการทำงานกว่าร้อยชั่วโมง
การจะเป็นห้องเสื้อโอต์ กูตูของฝรั่งเศสได้นั้น จะต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก Chamber Syndicate de la Haute Couture Parisienne ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (French Ministry of Industry) ซึ่งได้รับการบัญญัติไว้เป็นกฎหมายเลยทีเดียว โดยห้องเสื้อโอต์ กูตูจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้บัญญัติไว้ในปีค.ศ. 1945 โดยมีการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 1992ดังนี้:
• จะต้องมีพนักงานในส่วนตัดเย็บไม่น้อยกว่า 15 คน
• จะต้องนำเสนอแบบเสื้อในงานแฟชั่นของโอต์ กูตูปีละ 2 ครั้ง คือ มกราคม (แฟชั่นฤดู ใบไม้ผลิ และฤดูร้อน) และกรกฎาคม (แฟชั่นฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว) เพื่อให้แก่ผู้บริโภคได้รู้ถึงทิศทาง (trend) ในฤดูที่จะมาถึง
• การแสดงแบบเสื้อในแต่ละคอลเลคชั่นจะต้องมีอย่าง 35 แบบ ทั้งชุดกลางวันและชุดราตรี
คำว่า “Haute Couture” และ “Couture Creation” นั้น เป็นคำที่ได้รับการปกป้องโดยกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งจะอนุญาตให้ห้องเสื้อที่ได้รับการรับรองใช้ได้เท่านั้น ดังนั้นในฝรั่งเศสใครจะมาแอบอ้างใช้สองคำนี้ซี๊ซั๊วไม่ได้
รูปแบบการบริหารจัดการในห้องเสื้อโอต์ กูตูนั้น โดยทั่วๆไปแบ่งเป็น 2 ระดับดังนี้ คือ
1. ดีไซน์เนอร์ เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของห้องเสื้อ เป็นผู้กำหนดแนวทางในการทำงาน การบริหารจัดการ และทิศทางธุรกิจ
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ตำแหน่งต่างๆดังนี้
• Chief Assistant
• Second Assistant
• Fitter
• Sales Chief
• Assistant to Sales Chief
3. พนักงานทั่วไป ได้แก่
• Arpettes หรือ Apprentices ทำหน้าที่ช่วยงานจุกจิกในการตัดเย็บ เช่น กลัดเข็มหมุด และคอยช่วยงานต่างๆ
• Sales Staff: ทำหน้าที่ดูแลและต้อนรับลูกค้า
ปัจจุบันมีสำนักออกแบบเครื่องแต่งกายโอต์ กูตู ในฝรั่งเศสอยู่ 24 แห่งด้วยกัน คือ
1. Balmain
2. Pierre Cardin
3. Carven
4. Chanel
5. Christain Dior
6. Lious Féraud
7. GIvenchy
8. Lecoanet Henant
9. Christian Lacroix
10. Lapidus
11. Guy Laroche
12. Hanae Mori
13. Paco Rabanne
14. Nina Ricci
15. Yves Saint Laurent
16. Jean-Louis Scherrer
17. Torrente
18. Emanuel Ungaro
19. Jean Paul Gaultier
20. Versace
21. Valentino
22. Elie Saab
23. Revillon
24. Anne Valerie Hash
ส่วน Giorgio Armani Prive นั้น แม้จะร่วมแสดงแบบแฟชั่นใน The Couture Show ด้วย แต่ยังไม่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ใช้ตรา “Haute Couture”
สำหรับโอต์ กูตูในอิตาลีนั้น อยู่ภายใต้การดูแลของ Camera Nazianale dell’ Alta Moda Intaliana มีสมาชิก 13 บริษัทซึ่งร่วมกันจัดแฟชั่นโชว์ ปีละ 2 ครั้ง ก่อนการแสดงในกรุงปารีส จุดเด่นของสินค้าจากอิตาลี คือ เนื้อผ้าที่ดีและมีคุณภาพเยี่ยม เพราะอิตาลีมีอุตสาหกรรมผลิตผ้าที่ดีที่สุดในโลก ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มพัฒนาตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น อิตาลียังมีนักออกแบบจำนวนมากและมีการถ่ายทอดวิชาการออกแบบอย่างเป็นระบบทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งเสื้อผ้า เครื่องหนัง และเครื่องประดับพัฒนาไปอย่าง
พร้อมเพรียงกัน โดยการออกแบบของอิตาลีเป็นการประยุกต์แนวทางใหม่ๆ และสร้างความแตกต่างมากกว่าการรักษาความอนุรักษ์นิยมเช่นประเทศคู่แข่งอื่นๆ ขณะที่แรงงานอิตาลีมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในยุโรป และมีฝีมือการตัดเย็บที่ประณีตไม่แพ้โอต์ กูตูในประเทศอื่นๆ
สำหรับในเมืองไทยนั้น คุณฟอร์ด-กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการนิตยสารScream ซึ่งเป็นนิตยสารเล่มแรกที่คลอดออกมาเพื่อนำเสนอแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นสูงของไทย ได้พูดถึงโอต์ กูตูในมุมมองแบบไทยๆไว้ว่า "ในเมืองไทยไม่มีคำว่าโอต์ กูตูร์ แต่เราก็พยายามสรรหาผลงานที่เป็นแฟชั่นชั้นสูง ซึ่งได้ข้อมูลจากหลายๆ ด้าน อาทิ แฟชั่นในสมัยก่อนที่เกิดจากในรั้วในวังทั้งสิ้น ซึ่งสตรีชั้นสูงเป็นแม่แบบของแฟชั่นให้สามัญชนได้เลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของผ้าแถบ สไบ ผ้าไหม นอกจากนั้นยังมีผ้าไหมและงานศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีความประณีต ล้วนแล้วแต่ถือเป็นแฟชั่นชั้นสูง"
หรูหราในแบบเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์
“They said pret-a-porter will kill your name, and it saved me.”
- Pierre Cardin
วิคิพีเดีย พจนานุกรมเสรี ได้ให้คำจำกัดความของ prêt-à-porter ไว้ดังนี้
“prêt-à-porter หรือ Ready-to-wear หมายถึง เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ได้รับการออกแบบมาตามขนาดมาตรฐาน โดยมีทั้งแบบที่ผลิตออกมาเพื่อตลาดแมส และแบบที่ผลิตมาในจำนวนจำกัด” โดยมากห้องเสื้อโอต์ กูตูต่างๆจะผลิตเสื้อผ้าในแบบ prêt-à-porter มาควบคู่ไปกับโอต์ กูตู คือ แต่ละคอลเลคชั่นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจลดทอนรายละเอียดและประยุกต์รูปแบบให้เหมาะกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
รายได้หลักๆของห้องเสื้อโอต์ กูตูนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากคอลเลคชั่น prêt-à-porter ส่วนคอลเลคชั่นโอต์ กูตู นั้นไม่ได้เน้นที่การขาย แต่เป็นโชว์ที่มีไว้สร้างชื่อเสียงและความนิยมให้กับห้องเสื้อและแบรนด์เสียมากกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมเสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูนั้น บางครั้งจึงดูพิลึก หลุดโลก ล้ำยุคและใส่ยากนัก เพราะเค้าไม่ได้ออกแบบมาให้ใส่จริงนี่คะ แต่มีไว้เพื่อความฮือฮา เพื่อสร้างกระแสให้เป็น talk of the town โอต์ กูตูจึงเป็นเสมือนลูกเล่น เป็นกระแส และเป็นสีสันของวงการแฟชั่น และถือเป็นงานศิลปที่ดีไซน์เนอร์อยากจะถ่ายทอดออกมาให้บรรเจิดเลิศเลออย่างไรก็ได้
คอลเลคชั่น Prêt-à-porter จะมีแฟชั่นโชว์ปีละ 2 ครั้ง
โอต์ กู ตู .......... เข้าใจนะ !!!!
บทความโดย: จรินพร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ในวงการแฟชั่นนั้น แบ่งตลาดของธุรกิจเสื้อผ้าพรีเมี่ยมออกเป็น 3 ตลาดหลัก คือ
1. โอต์ กูตู (Haute Couture) หรือ High Fashion
2. บูติค (Boutique) คือ ตลาดเสื้อผ้าแบบชนิดเดียวหลายตัว
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูปเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์ ( Ready-to-wear หรือ prêt-à-porter ในภาษาฝรั่งเศส)
สองคำนี้ เป็นคำที่ผู้คนในวงการแฟชั่นทุกคนต้องรู้จัก เพราะถือว่ามีอิทธิพลกับวงการแฟชั่นมากๆ ในแต่ละปี คอลเลคชั่นโอต์ กูตู และเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์ ของดีไซน์เนอร์ชื่อดังต่างๆ จะเป็นตัวกำหนดกระแสความนิยมของสินค้าในปีนั้นๆ ว่าสีไหนจะมาแรง เสื้อสไตล์ไหนจะอิน สไตล์ไหนจะเอาท์ หรือแม้กระทั่งว่าน้ำหอมกลิ่นต่างๆ ตุ้มหู เครื่องประดับในปีนี้จะเป็นอย่างไร ก็ล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก 2 คอลเลคชั่นนี้ทั้งนั้นแหละค่ะ โดยมีปารีส ศูนย์กลางแฟชั่นของโลก เป็นผู้นำในการกำหนดกระแสแฟชั่นในแต่ละปี ตามมาด้วยเมืองแฟชั่นอื่นๆ อย่าง มิลาน นิวยอร์ค โตเกียว ฯลฯ
รู้อย่างนี้แล้ว สงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไมคำ 2 คำนี้ถึงมีความสำคัญถึงเพียงนี้ และมันคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่? มารู้จักแฟชั่นกันให้ถึงแก่นกันในบทนี้เลยค่ะ
อลังการงานโอต์ กูตู
“Haute Couture should be fun, foolish and almost unwearable.”
- Christian Lacroix
ถ้าพูดถึงแฟชั่นชั้นสูง หรือ Haute Couture ก็ต้องนึกถึงความหรูหราฟูฟ่าแบบไม่ธรรมดาและราคาแพงลิบของชุดที่ออกแบบมาเฉพาะให้พิเศษกว่าใคร เพราะ Haute Couture จัดว่าเป็นสุดยอดของสุดยอดแฟชั่น ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นแฟชั่นของชนชั้นสูงเท่านั้น (High Fashion)
Haute Couture เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ศิลปะการตัดเย็บชั้นสูง หรือ “high sewing” ซึ่งจำกัดวงเฉพาะอยู่ในเมืองแฟชั่นระดับแนวหน้าของโลกเท่านั้น เช่น ปารีส นิวยอร์ค ลอนดอน และมิลาน แต่ของแท้และดั้งเดิมนั้น เชื่อกันว่า จะต้องเป็นห้องเสื้อโอต์ กูตูของฝรั่งเศสเท่านั้น
ห้องเสื้อโอต์ กูตูมีขึ้นในประเทศฝรั่งเศสเป็นแห่งแรก เสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ของดีไซเนอร์ ซึ่งเสื้อผ้าประเภทนี้จะได้รับการยกย่องว่าเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่งเลยทีเดียว
โอต์ กูตูมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่กว่า 150 ปีมาแล้ว โดยในปีค.ศ. 1858 ชาร์ล เฟเดริค เวิท (Charles Frédéric Worth) ได้ก่อตั้งห้องเสื้อโอต์ กูตูแห่งแรกขึ้นที่ เลขที่ 7 ในย่าน rue de la Paix ในปารีส เพื่อออกแบบเสื้อสำหรับลูกค้าชั้นสูงที่ต้องการชุดที่ออกแบบตัดเย็บอย่างประณีต หรูหรา และมีรูปแบบเฉพาะสำหรับรสนิยมอันเป็นปัจเจกสำหรับลูกค้าแต่ละคนเท่านั้น แบบเสื้อแต่ละแบบต้องมีความเป็นต้นฉบับ (original) ที่ดีไซน์โดยผู้ออกแบบเอง ไม่ได้ลอกเลียนมาจากแบบเสื้อที่เคยมีอยู่ ห้องเสื้อโอต์ กูตู จึงเป็นสถานที่ที่ดีไซน์เนอร์ได้มีโอกาสสร้างสรรผลงานใหม่ๆจากจินตนาการและความคิดของผู้ออกแบบอย่างเสรี โดยในยุคนั้นราชนิกูลจากราชวงศ์ต่างๆในยุโรปเป็นลูกค้าของเขาเกือบทั้งหมด
ห้องเสื้อโอต์ กูตู ของชาร์ล เฟเดริค เวิท ได้ปิดกิจการลงในปีค.ศ. 1945 แต่ในปัจจุบันยังคงมีน้ำหอมซึ่งผลิตภายใต้ชื่อของเขาอยู่ ผลงานของ ชาร์ล เฟเดริค เวิท นั้นจัดเป็นมรดกทางศิลปะในด้านการออกแบบอาภรณ์ ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ เช่น Sugino Costume Museum, The State Hermitage Museum, Isabella Stewart Gardner Museum เป็นต้น
ดีไซน์เนอร์รุ่นน้องที่ประสบความสำเร็จในวงการโอต์ กูตู ภายหลังการบุกเบิกของเฟเดริคได้แก่ Patou, Poiret, Vionnet, Fortuny, Lavin, Chanel, Schiaparelli, Balenciaga และ Dior
จุดเด่นของชุด Haute Couture จึงอยู่ที่การออกแบบและตัดเย็บซึ่งถูกรังสรรค์มาเป็นพิเศษเพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวสำหรับผู้สวมใส่เท่านั้น ความประณีตและแยบยลในการตัดเย็บด้วยเทคนิคชั้นสูงของโอต์ กูตู จะช่วยเสริมส่งให้รูปร่างของผู้สวมใส่ดูดี มีสง่า ช่วยอำพรางจุดด้อยต่างๆ และเสริมจุดเด่นของผู้สวมใส่ เช่น ซ่อนหน้าท้องให้แบนราบ เสริมลำคอให้ดูเรียวระหงส์ เพิ่มความอวบอิ่มให้ทรวงอก และอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้เสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นสุดยอดแห่งอาภรณ์ที่ชนชั้นสูงเลือกใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ และเพื่อความสมบูรณ์แบบในการสวมใส่ เสื้อผ้าโอต์ กูตูแต่ละชุดจึงต้องใช้เวลาในการลองเสื้อไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งในการตัดเย็บชุดแต่ละชุด
ในการตัดเย็บเสื้อผ้าสไตล์โอต์ กูตูนั้น ผู้ตัดเย็บ หรือที่เรียกว่ากูตูรีเย่ (couturier) จะไม่ตัดผ้าบนพื้นราบ แต่จะตัดผ้าตามเส้นสายของทรวดทรง เพื่อให้ได้สัดส่วนที่พริ้วไหวไปตามท่วงท่าลีลาตามเคลื่อนไหวของรูปร่าง ส่วนมาตรที่ใช้วัดนั้น จะใช้หลักวัดเป็นมิลลิเมตรเตอร์เพื่อให้ได้ขนาดและสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับคำว่า “สมบูรณ์แบบ” มากที่สุด และแน่นอนต้องตัดเย็บด้วยมือเท่านั้น
นอกเหนือไปจากฝีมือการตัดเย็บด้วยเทคนิคชั้นสูงและความประณีตพิถีพิถันแล้ว อีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ในการทำเสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูก็คือความคิดส้รางสรรค์ แรงบันดาลใจ และ “ศิลปะ” ดังที่ครั้งหนึ่งดิออร์เคยกล่าวไว้ว่า “I think of my work as ephemeral architecture”
ชาร์ล เฟเดริค เวิท ได้ก่อตั้ง the Chambre Syndicale de la Haute Couture ขึ้น ในปี 1868 (พ.ศ. 2411) เพื่อดูแลอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นสูงของฝรั่งเศส ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับ the Chambre Syndicale du Pret-a-Porter des Couturiers et des Createurs de Mode ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของ prêt-à-porter และ the Chambre Syndicale de la Mode Masculine ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของเสื้อผ้าผู้ชาย ทั้ง 3 องค์กรณ์รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมกลาง ชื่อ the Federation Francaise de la Couture, du Pret-a-Porter des Couturiers et des Createurs de Mode ทำหน้าที่ดูแลอุตสาหกรรมแฟชั่นทั้งหมด รวมถึงการกำหนดปฏิทินแฟชั่นในแต่ละปี
ยุคทองของโอต์ กูตูนั้นอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 50 โดยบรรดาคนดังอย่าง Capucine, Sophie Litwak และ Bettina ต่างก็ทำให้กระแสความนิยมของโอต์ กูตูขจรไกลไปทั่วโลก
แต่ในปัจจุบัน กระแสความนิยมในโอต์ กูตูได้ลดลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนที่เปลี่ยนไป จากจำนวนลูกค้ากว่า 15,000 คนในช่วงปี 1947 ลดลงเหลือน้อยกว่า 1,500 รายในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งนั้นเป็นผลมาจากราคามหาสูงของเสื้อผ้าโอต์ กูตูในปัจจุบัน ซึ่งมีราคาถึง 16,000-60,000 ดอลล่าสหรัฐต่อสูทหนึ่งชุด และถ้าเป็นชุดราตรีจะยิ่งราคาสูงกว่านี้อีก เนื่องจากการตัดชุดแบบชั้นสูงนี้ แต่ละชุดใช้เวลาในการทำงานกว่าร้อยชั่วโมง
การจะเป็นห้องเสื้อโอต์ กูตูของฝรั่งเศสได้นั้น จะต้องได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจาก Chamber Syndicate de la Haute Couture Parisienne ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมฝรั่งเศส (French Ministry of Industry) ซึ่งได้รับการบัญญัติไว้เป็นกฎหมายเลยทีเดียว โดยห้องเสื้อโอต์ กูตูจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ได้บัญญัติไว้ในปีค.ศ. 1945 โดยมีการปรับปรุงครั้งล่าสุดในปีค.ศ. 1992ดังนี้:
• จะต้องมีพนักงานในส่วนตัดเย็บไม่น้อยกว่า 15 คน
• จะต้องนำเสนอแบบเสื้อในงานแฟชั่นของโอต์ กูตูปีละ 2 ครั้ง คือ มกราคม (แฟชั่นฤดู ใบไม้ผลิ และฤดูร้อน) และกรกฎาคม (แฟชั่นฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว) เพื่อให้แก่ผู้บริโภคได้รู้ถึงทิศทาง (trend) ในฤดูที่จะมาถึง
• การแสดงแบบเสื้อในแต่ละคอลเลคชั่นจะต้องมีอย่าง 35 แบบ ทั้งชุดกลางวันและชุดราตรี
คำว่า “Haute Couture” และ “Couture Creation” นั้น เป็นคำที่ได้รับการปกป้องโดยกฎหมายของฝรั่งเศส ซึ่งจะอนุญาตให้ห้องเสื้อที่ได้รับการรับรองใช้ได้เท่านั้น ดังนั้นในฝรั่งเศสใครจะมาแอบอ้างใช้สองคำนี้ซี๊ซั๊วไม่ได้
รูปแบบการบริหารจัดการในห้องเสื้อโอต์ กูตูนั้น โดยทั่วๆไปแบ่งเป็น 2 ระดับดังนี้ คือ
1. ดีไซน์เนอร์ เป็นผู้บริหารระดับสูงสุดของห้องเสื้อ เป็นผู้กำหนดแนวทางในการทำงาน การบริหารจัดการ และทิศทางธุรกิจ
2. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ตำแหน่งต่างๆดังนี้
• Chief Assistant
• Second Assistant
• Fitter
• Sales Chief
• Assistant to Sales Chief
3. พนักงานทั่วไป ได้แก่
• Arpettes หรือ Apprentices ทำหน้าที่ช่วยงานจุกจิกในการตัดเย็บ เช่น กลัดเข็มหมุด และคอยช่วยงานต่างๆ
• Sales Staff: ทำหน้าที่ดูแลและต้อนรับลูกค้า
ปัจจุบันมีสำนักออกแบบเครื่องแต่งกายโอต์ กูตู ในฝรั่งเศสอยู่ 24 แห่งด้วยกัน คือ
1. Balmain
2. Pierre Cardin
3. Carven
4. Chanel
5. Christain Dior
6. Lious Féraud
7. GIvenchy
8. Lecoanet Henant
9. Christian Lacroix
10. Lapidus
11. Guy Laroche
12. Hanae Mori
13. Paco Rabanne
14. Nina Ricci
15. Yves Saint Laurent
16. Jean-Louis Scherrer
17. Torrente
18. Emanuel Ungaro
19. Jean Paul Gaultier
20. Versace
21. Valentino
22. Elie Saab
23. Revillon
24. Anne Valerie Hash
ส่วน Giorgio Armani Prive นั้น แม้จะร่วมแสดงแบบแฟชั่นใน The Couture Show ด้วย แต่ยังไม่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการ ให้ใช้ตรา “Haute Couture”
สำหรับโอต์ กูตูในอิตาลีนั้น อยู่ภายใต้การดูแลของ Camera Nazianale dell’ Alta Moda Intaliana มีสมาชิก 13 บริษัทซึ่งร่วมกันจัดแฟชั่นโชว์ ปีละ 2 ครั้ง ก่อนการแสดงในกรุงปารีส จุดเด่นของสินค้าจากอิตาลี คือ เนื้อผ้าที่ดีและมีคุณภาพเยี่ยม เพราะอิตาลีมีอุตสาหกรรมผลิตผ้าที่ดีที่สุดในโลก ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มพัฒนาตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น อิตาลียังมีนักออกแบบจำนวนมากและมีการถ่ายทอดวิชาการออกแบบอย่างเป็นระบบทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่น ทั้งเสื้อผ้า เครื่องหนัง และเครื่องประดับพัฒนาไปอย่าง
พร้อมเพรียงกัน โดยการออกแบบของอิตาลีเป็นการประยุกต์แนวทางใหม่ๆ และสร้างความแตกต่างมากกว่าการรักษาความอนุรักษ์นิยมเช่นประเทศคู่แข่งอื่นๆ ขณะที่แรงงานอิตาลีมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในยุโรป และมีฝีมือการตัดเย็บที่ประณีตไม่แพ้โอต์ กูตูในประเทศอื่นๆ
สำหรับในเมืองไทยนั้น คุณฟอร์ด-กุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการนิตยสารScream ซึ่งเป็นนิตยสารเล่มแรกที่คลอดออกมาเพื่อนำเสนอแฟชั่นเสื้อผ้าชั้นสูงของไทย ได้พูดถึงโอต์ กูตูในมุมมองแบบไทยๆไว้ว่า "ในเมืองไทยไม่มีคำว่าโอต์ กูตูร์ แต่เราก็พยายามสรรหาผลงานที่เป็นแฟชั่นชั้นสูง ซึ่งได้ข้อมูลจากหลายๆ ด้าน อาทิ แฟชั่นในสมัยก่อนที่เกิดจากในรั้วในวังทั้งสิ้น ซึ่งสตรีชั้นสูงเป็นแม่แบบของแฟชั่นให้สามัญชนได้เลียนแบบ ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของผ้าแถบ สไบ ผ้าไหม นอกจากนั้นยังมีผ้าไหมและงานศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีความประณีต ล้วนแล้วแต่ถือเป็นแฟชั่นชั้นสูง"
หรูหราในแบบเพรท-อะ-พอร์ทเตอร์
“They said pret-a-porter will kill your name, and it saved me.”
- Pierre Cardin
วิคิพีเดีย พจนานุกรมเสรี ได้ให้คำจำกัดความของ prêt-à-porter ไว้ดังนี้
“prêt-à-porter หรือ Ready-to-wear หมายถึง เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ได้รับการออกแบบมาตามขนาดมาตรฐาน โดยมีทั้งแบบที่ผลิตออกมาเพื่อตลาดแมส และแบบที่ผลิตมาในจำนวนจำกัด” โดยมากห้องเสื้อโอต์ กูตูต่างๆจะผลิตเสื้อผ้าในแบบ prêt-à-porter มาควบคู่ไปกับโอต์ กูตู คือ แต่ละคอลเลคชั่นจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาจลดทอนรายละเอียดและประยุกต์รูปแบบให้เหมาะกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น
รายได้หลักๆของห้องเสื้อโอต์ กูตูนั้น ส่วนใหญ่จะมาจากคอลเลคชั่น prêt-à-porter ส่วนคอลเลคชั่นโอต์ กูตู นั้นไม่ได้เน้นที่การขาย แต่เป็นโชว์ที่มีไว้สร้างชื่อเสียงและความนิยมให้กับห้องเสื้อและแบรนด์เสียมากกว่า จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมเสื้อผ้าในแบบโอต์ กูตูนั้น บางครั้งจึงดูพิลึก หลุดโลก ล้ำยุคและใส่ยากนัก เพราะเค้าไม่ได้ออกแบบมาให้ใส่จริงนี่คะ แต่มีไว้เพื่อความฮือฮา เพื่อสร้างกระแสให้เป็น talk of the town โอต์ กูตูจึงเป็นเสมือนลูกเล่น เป็นกระแส และเป็นสีสันของวงการแฟชั่น และถือเป็นงานศิลปที่ดีไซน์เนอร์อยากจะถ่ายทอดออกมาให้บรรเจิดเลิศเลออย่างไรก็ได้
คอลเลคชั่น Prêt-à-porter จะมีแฟชั่นโชว์ปีละ 2 ครั้ง