คือ ผมนี่..เห็นอนาคตรำไรๆเลยครับ ถ้ามีงานด่วน แล้วต้องรออนุมัติจากราชการ
ผมในฐานะคนผลิต อดได้ภาพสวยๆ ผู้ให้บริการถ่ายภาพทางอากาศ อดได้งาน
รวมๆหลายงานที่ขออนุญาตไม่ทัน ตัดเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ไปไม่ใช่น้อยเลย
บริการภาพถ่ายทางอากาศเป็นอาชีพใหม่ที่กำลังสร้างอนาคตให้กับหลายๆคน ผมในฐานผู้ผลิตวิดีโอก็สามารถมีทางเลือกในการ
สร้างสรรค์งานที่สวยงาม ยังไงท่านก็วางระบบและระยะเวลาในการขออนุญาตให้ดีนะครับ อย่าให้ช้าจนคนที่กำลังมีอาชีพต้องน้ำตาตก
รายละเอียดตามเนื้อข่าวมีดังนี้ครับ เผื่อจะได้เตรียมตัวกันทัน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้กรมการบินพลเรือน (บพ.) ออกประกาศเพิ่มเติม ภายใต้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล การขออนุญาตการใช้และปล่อยอากาศยานไร้คนขับ หรือ "โดรน" เพื่อป้องกันไม่ให้การใช้งานส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศ และการนำไปใช้งานที่เป็นการไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เบื้องต้นแบ่งหลักเกณฑ์การกำกับดูแลออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.โดรนที่นำมาใช้เพื่องานด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือใช้เป็นเกมการแข่งขันกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการบินในระดับที่ไม่สูงมากนั้น และ
2.โดรนที่นำมาใช้ส่วนบุคคล ซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำละเมิดบุคคลอื่นนั้น อาจต้องออกมาตรการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยการจราจรอากาศ และความมั่นคงด้านความปลอดภัยประเทศ
ด้านนายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เผยว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้โดรน เบื้องต้นจะออกมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดยมีเกณฑ์สำคัญ 3 ด้าน คือ
1. สมรรถนะ จะกำหนด น้ำหนัก ขนาด รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรนต้องบินในระยะที่ไม่นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้บินเป็นระยะเวลานานเกินไปจนรบกวนจราจรทางอากาศ
2. ภารกิจ จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่จะอนุญาตให้นำโดรนที่ติดตั้งกล้องไปใช้งานได้เฉพาะธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพเท่านั้น เช่น ธุรกิจประเภทสื่อสารมวลชน หรือธุรกิจการถ่ายทำภาพยนต์ เป็นต้น
3. ระดับความสูง กำหนดห้ามโดรนบินในระดับความสูงที่เกินกว่า 500 ฟุต และต่ำเกินกว่า 50 ฟุตจากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ที่ปกติจะมีการบินในระดับต่ำสุด 1,000 ฟุต และห้ามบินต่ำเกินไปจนส่งกระทบต่อบ้านเรือนและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งจะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เครดิต :
http://www.bangkokbiznews.com
'ประจิน'สั่ง'โดรนต้องขออนุญาตก่อนบิน
คือ ผมนี่..เห็นอนาคตรำไรๆเลยครับ ถ้ามีงานด่วน แล้วต้องรออนุมัติจากราชการ
ผมในฐานะคนผลิต อดได้ภาพสวยๆ ผู้ให้บริการถ่ายภาพทางอากาศ อดได้งาน
รวมๆหลายงานที่ขออนุญาตไม่ทัน ตัดเงินหมุนเวียนในธุรกิจ ไปไม่ใช่น้อยเลย
บริการภาพถ่ายทางอากาศเป็นอาชีพใหม่ที่กำลังสร้างอนาคตให้กับหลายๆคน ผมในฐานผู้ผลิตวิดีโอก็สามารถมีทางเลือกในการ
สร้างสรรค์งานที่สวยงาม ยังไงท่านก็วางระบบและระยะเวลาในการขออนุญาตให้ดีนะครับ อย่าให้ช้าจนคนที่กำลังมีอาชีพต้องน้ำตาตก
รายละเอียดตามเนื้อข่าวมีดังนี้ครับ เผื่อจะได้เตรียมตัวกันทัน
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้กรมการบินพลเรือน (บพ.) ออกประกาศเพิ่มเติม ภายใต้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล การขออนุญาตการใช้และปล่อยอากาศยานไร้คนขับ หรือ "โดรน" เพื่อป้องกันไม่ให้การใช้งานส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศ และการนำไปใช้งานที่เป็นการไปละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เบื้องต้นแบ่งหลักเกณฑ์การกำกับดูแลออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.โดรนที่นำมาใช้เพื่องานด้านการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ หรือใช้เป็นเกมการแข่งขันกีฬา ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการบินในระดับที่ไม่สูงมากนั้น และ
2.โดรนที่นำมาใช้ส่วนบุคคล ซึ่งอาจจะสุ่มเสี่ยงต่อการทำละเมิดบุคคลอื่นนั้น อาจต้องออกมาตรการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยการจราจรอากาศ และความมั่นคงด้านความปลอดภัยประเทศ
ด้านนายสมชาย พิพุธวัฒน์ อธิบดีกรมการบินพลเรือน เผยว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะออกประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตใช้โดรน เบื้องต้นจะออกมาตรการกำกับดูแลการใช้งานโดยมีเกณฑ์สำคัญ 3 ด้าน คือ
1. สมรรถนะ จะกำหนด น้ำหนัก ขนาด รวมทั้งปริมาณเชื้อเพลิงที่บรรจุภายในโดรนต้องบินในระยะที่ไม่นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้บินเป็นระยะเวลานานเกินไปจนรบกวนจราจรทางอากาศ
2. ภารกิจ จะไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปนำโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพขึ้นบิน เพราะอาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่จะอนุญาตให้นำโดรนที่ติดตั้งกล้องไปใช้งานได้เฉพาะธุรกิจที่มีความจำเป็นในการถ่ายภาพเท่านั้น เช่น ธุรกิจประเภทสื่อสารมวลชน หรือธุรกิจการถ่ายทำภาพยนต์ เป็นต้น
3. ระดับความสูง กำหนดห้ามโดรนบินในระดับความสูงที่เกินกว่า 500 ฟุต และต่ำเกินกว่า 50 ฟุตจากระดับพื้นดิน เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบินพาณิชย์ที่ปกติจะมีการบินในระดับต่ำสุด 1,000 ฟุต และห้ามบินต่ำเกินไปจนส่งกระทบต่อบ้านเรือนและประชาชนทั่วไป
รวมทั้งจะกำหนดให้โดรนที่บินจะต้องยื่นขออนุญาตกระทรวงคมนาคม ก่อนขึ้นบินทุกครั้ง หากพบว่าไม่ขออนุญาตจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เครดิต : http://www.bangkokbiznews.com