จริงๆหลายๆท่านคิดว่าคงได้ตาม เรื่องพรบ มั่นคงไซเบอร์ที่ออกโดย คณะรัฐมนตรี และกำลังส่งเรื่องผ่านไปยัง สนช ผ่านร่าง ซึ่งผมจะมาพูดในเรื่องของ วลีเด็ดวลีหนึ่งที่เห็นมากกับฝ่ายที่เห็นด้วยกับพรบ มั่นคงทางไซเบอร์ คำว่า ไม่ได้ผิดจะกลัวอะไรกันนักหนา
ก่อนอื่นต้องเท้าความกันที่ พรบ คอมพิวเตอร์ ฉบับปี 50 ก่อน ซึ่งกล่าวไว้ว่าการที่พนักงานจะขอข้อมูลใดๆจะต้องส่งเรื่อง ไปยังศาลเพื่อขออนุญาตในการตรวจยึด หรือทำการตรวจสอบใดๆเกี่ยวกับบุคคลนั้น
ในขณะที่พรบ.มั่นคงทางไซเบอร์ที่กำลังจะออกมาได้เขียน ได้เขียนไว้ในมาตรา 35 (1) ไว้ดังนี้ครับ พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ สามารถเรียกให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ หรือนำส่งเอกสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาการตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ มาตรา 35 (2) ให้อำนาจสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ ส่งหนังสือ”ขอความร่วมมือ” ให้หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) ส่วนมาตรา 35 (3) ก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ส่วนคำถามด้านบนที่ ผมเขียนไว้คือ ถ้าคุณไม่ได้ทำความผิดจะกลัวอะไรกับฏหมายชุดนี้ พระราชบัญญตินี้ได้ให้ความหมายของคำว่า ความมั่นคงทางไซเบอร์ไว้ดังนี้ครับ มาตรการและการดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศให้สามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้าน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” ซึ่งถ้าตีจากความหมายนี้สามารถตีความได้อย่างครอบคลุมจักรวาลมากเช่น ผมไม่พอใจกับการทำงานของรัฐบาลและได้เขียนบทความวิจารร์รัฐบาลลงบนสื่อทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลสามารถตีความว่า ผมเป็นภัยต่อความมั่นคงแน่นอนครับ ผมก็สามารถโดนจับในข้อหานี้ได้เช่นกัน ของแบบนี้มันอยู่ที่รัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่บริหารขณะนั้นจะเป็นคนจำกัดความครับ
นายกรัฐมนตรีท่านได้พูดไว้ว่า กฎหมายนี้จะใช้ในการตามจับบุคคล ที่กระทำผิดตามกฎหมาย 112 แน่นอนครับ ผมคิดว่าเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้ากฎหมายนี้ตกไปอยู่ในเมื่อของผู้บริหาร นายกรัฐมนตรีที่ประพฤติมิชอบในอนาคตล่ะครับ ถึงเวลานั้นเราจะมาต้านหรือให้แก้มันสายไปหรือไม่ครับ กฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงาน โดยไม่มีหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบ คุณพร้อมแล้วหรอครับที่จะให้อำนาจ กับหน่วยงานที่ว่าครับ
ท่านพูดว่าทุกคนมองแต่ว่าตัวเองจะห่วงเรื่องจำกัดเสรีภาพ แต่นี้ไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพอย่างเดียวครับ นี้คือเรื่องการร่างกฎหมายที่จะใช้ ควบคุม จัดการกับ และสนับสนุนเศรษฐกิจในอนาคตนะครับ สุดท้ายผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยในการตัดสินของท่านได้นะครับว่าควรจะสนับสนุน หรือ ทำยังไงกับ พรบนี้
เกือบลืม สุดท้ายฝากแอบแปะเพจลิงค์ของผมไว้ เผื่อหลายๆท่านอยากเข้าไปพูดคุยกัน (แอบโฆษณาเลย5555)
https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A5/808813202524701?ref=ts&fref=ts
ไม่ผิดจะกลัวอะไร (พระราชบัญญัติมั่นคงไซเบอร์)
ก่อนอื่นต้องเท้าความกันที่ พรบ คอมพิวเตอร์ ฉบับปี 50 ก่อน ซึ่งกล่าวไว้ว่าการที่พนักงานจะขอข้อมูลใดๆจะต้องส่งเรื่อง ไปยังศาลเพื่อขออนุญาตในการตรวจยึด หรือทำการตรวจสอบใดๆเกี่ยวกับบุคคลนั้น
ในขณะที่พรบ.มั่นคงทางไซเบอร์ที่กำลังจะออกมาได้เขียน ได้เขียนไว้ในมาตรา 35 (1) ไว้ดังนี้ครับ พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ สามารถเรียกให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำ หรือนำส่งเอกสารต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการรักษาการตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ มาตรา 35 (2) ให้อำนาจสำนักงานความมั่นคงไซเบอร์ฯ ส่งหนังสือ”ขอความร่วมมือ” ให้หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชน ดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) ส่วนมาตรา 35 (3) ก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
ส่วนคำถามด้านบนที่ ผมเขียนไว้คือ ถ้าคุณไม่ได้ทำความผิดจะกลัวอะไรกับฏหมายชุดนี้ พระราชบัญญตินี้ได้ให้ความหมายของคำว่า ความมั่นคงทางไซเบอร์ไว้ดังนี้ครับ มาตรการและการดำเนินการที่กำหนดขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศให้สามารถปกป้อง ป้องกัน หรือรับมือกับสถานการณ์ด้าน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม หรือการให้บริการโดยปกติของดาวเทียม อันกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางการทหาร ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” ซึ่งถ้าตีจากความหมายนี้สามารถตีความได้อย่างครอบคลุมจักรวาลมากเช่น ผมไม่พอใจกับการทำงานของรัฐบาลและได้เขียนบทความวิจารร์รัฐบาลลงบนสื่อทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรัฐบาลสามารถตีความว่า ผมเป็นภัยต่อความมั่นคงแน่นอนครับ ผมก็สามารถโดนจับในข้อหานี้ได้เช่นกัน ของแบบนี้มันอยู่ที่รัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่บริหารขณะนั้นจะเป็นคนจำกัดความครับ
นายกรัฐมนตรีท่านได้พูดไว้ว่า กฎหมายนี้จะใช้ในการตามจับบุคคล ที่กระทำผิดตามกฎหมาย 112 แน่นอนครับ ผมคิดว่าเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้ากฎหมายนี้ตกไปอยู่ในเมื่อของผู้บริหาร นายกรัฐมนตรีที่ประพฤติมิชอบในอนาคตล่ะครับ ถึงเวลานั้นเราจะมาต้านหรือให้แก้มันสายไปหรือไม่ครับ กฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงาน โดยไม่มีหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบ คุณพร้อมแล้วหรอครับที่จะให้อำนาจ กับหน่วยงานที่ว่าครับ
ท่านพูดว่าทุกคนมองแต่ว่าตัวเองจะห่วงเรื่องจำกัดเสรีภาพ แต่นี้ไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพอย่างเดียวครับ นี้คือเรื่องการร่างกฎหมายที่จะใช้ ควบคุม จัดการกับ และสนับสนุนเศรษฐกิจในอนาคตนะครับ สุดท้ายผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยในการตัดสินของท่านได้นะครับว่าควรจะสนับสนุน หรือ ทำยังไงกับ พรบนี้
เกือบลืม สุดท้ายฝากแอบแปะเพจลิงค์ของผมไว้ เผื่อหลายๆท่านอยากเข้าไปพูดคุยกัน (แอบโฆษณาเลย5555) https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A5/808813202524701?ref=ts&fref=ts