ปู่คลินท์ อีสวู้ด กลับมาอีกครั้งหลังจากกำกับ Jersey Boys (2014) และ J. Edgar (2011) ซึ่งคำวิจารณ์ก็ไม่ได้ดีเด่อะไรเท่าไหร่ทั้งสองเรื่องนั่นแหละ
งวดนี้มาพร้อมเรื่องราวจากชีวิตจริงของคริส ไคล์น สไนเปอร์จากหน่วยซีลที่ไปๆ กลับๆ สงครามอยู่ 4 รอบ รวมแล้ว 1,000 กว่าวัน หลายคนเกรงๆ ว่ามันจะกลายเป็นหนังเชิดชูอเมริกาไปซะไหม หรือเทิดทูนฮีโร่ในแบบที่หนังสงครามชอบทำกัน
คำตอบคือก็ไม่ถึงขนาดนั้น อเมริกันสไนเปอร์เล่าเรื่องชีวิตของไคล์นโดยที่พูดถึงความเหี้ยมโหดของสงคราม, ภาวะหืดขึ้นคอในสนามรบ, มิตรภาพ ฯลฯ แบบกลางๆ คือไม่ได้บี้มันไปจนสุดทางแบบหนังสงครามนิยมทำ อาจเพราะจริงๆ แล้วมันเน้นเล่าชีวิตของคนคนหนึ่งมากกว่าจะไปหมกมุ่นในเรื่องนั้น
ผู้กำกับปูให้เห็นวิธีคิด-วิธีสอน, วิธีที่ไคล์นถูกเลี้ยงมาเมื่อสมัยเด็ก เขาเป็นเด็กผู้ชายแม่นปืนชนิดที่พ่อวาดหวังว่าอีกหน่อยเขาคงเป็นนายพรานมือดี เคารพศาสนา ไปโบสถ์ ฟังเทศน์ พกไบเบิ้ลติดตัวเสมือนหนึ่งเป็นที่พึ่ง และยึดติดยึดมั่นกับคำสอนของพ่อที่ว่า ต้องปกป้องทุกคนในครอบครัว เราจึงได้เห็นพ่อของไคล์นหัวฟัดหัวเหวี่ยงเมื่อน้องชายของไคล์นถูกเด็กคนอื่นฟาดเอาเข้าจนตาปูด แต่พ่อก็เย็นลงเมื่อไคล์นยืดอกบอกว่าเขาจัดการไอ้เด็กนั่นได้แล้ว เขาดูแลน้องได้
อย่างไรก็ดี หลายฉากสะท้อนให้เห็นพื้นฐานอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้ายและเกรี้ยวกราดของไคล์น นับตั้งแต่การบงการน้องชาย (ที่โตไล่ๆ กันแล้ว) การไม่สามารถดูแลความรู้สึกคนรักในขณะนั้นได้ ชอบความตื่นเต้นท้าทายและเสี่ยงตาย
โตมาแล้ว ขอบเขตของสิ่งที่ไคล์นคิดว่าต้องปกป้องไม่ได้หยุดแค่คนในบ้าน คนในอาณัติของเขาเสมอไปเท่านั้น แต่มันยังครอบคลุมไปถึงเพื่อนร่วมชาติ เหตุการณ์ 9/11 จึงเป็นตัวจุดชนวนอย่างดีให้เขาเดินดุ่มๆ เข้าไปสมัครทหาร หน่วยซีล และเป็นสไนเปอร์ ซึ่งแน่นอนว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ชนิดที่ถ้ารู้ว่ามีเขาอยู่ในหน่วยด้วย เพื่อนทหารด้วยกันก็เบาใจไปเยอะว่ายังมีเขาคอยคุ้มกัน
อาการยินดียินร้ายของไคล์นที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ก็แสดงออกเพิ่มมากขึ้นเมื่อเขามีครอบครัว ปู่คลินท์ไม่ได้แสดงออกเรื่องนี้อย่างโต้งๆ แต่ทุกครั้งที่เขากลับไปสงคราม อาการวูบไหว ลังเลของไคล์นจะปรากฏในบางห้วงขณะที่ต้องเหนี่ยวไก
ฉากที่พีคมากๆ คือตอนที่สไนเปอร์ของฝ่ายตรงข้ามยิงสวนมาบนดาดฟ้าซึ่งไคล์นกบดานอยู่ ในภาวะอารมณ์อ่อนไหวและประสาทกินจากเรื่องเพื่อน เสียงทุกเสียงที่เข้าหูเขาในเวลานั้นกัดกินเขาไปอีกนานอย่างน้อยก็เป็นปี ทั้งเสียงหมา ปืน เด็กร้อง และสว่าน ซึ่งชัดมากๆ)
ความหดหู่ในระยะหลังชวนให้นึกถึงเรื่อง The Hurt Locker (2008) ที่ก็ตอบยากแล้วว่ามันกลับไปทำอะไรในสงครามตั้งสี่รอบ ที่ไม่เหมือน The Hurt Locker คือเจมส์เป็นโรคเสพติดสงคราม แต่ไคล์นไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น ถ้าให้พูดจริงๆ คือเขาแพ้ไม่เป็นมากกว่า เป้าหมายของเขาไม่ใช่ทำให้อเมริกาปลอดภัยหรือชนะอิรัก แต่เพียงเพื่อจะเด็ดหัวสไนเปอร์ที่ฝีมือดีระดับสิบกะโหลก (และไม่ใช่ชาวอิรัก เป็นชาวซีเรีย ปู่คลินท์เขาร้าย…)
ฉากหนึ่งที่ชอบมากๆ คือ ท่ามกลางฝุ่งคลุ้งหม่นมัว ไคล์นวิ่งตัวเปล่าขึ้นรถ ทิ้งของสารพัดที่เคยพกติดตัวไว้ รวมทั้งเครื่องช่วยทางจิตใจและตรงกลับบ้าน เริ่มต้นใช้ชีวิตกับครอบครัวจริงๆ
รวมๆ แล้วหนังไม่ได้มีความแปลกใหม่ขนาดนั้น มันก็ยังมีสูตรของหนังสงครามอยู่เต็มเปี่ยม ความกดดันก่อนเหนี่ยวไก, การยิงผู้ที่อ่อนแอกว่า, การถูกล้อม, ภาวะเฮงซวยหลังสงคราม, ลังเลว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูกต้องไหม ฯลฯ แต่เพราะปู่คลินท์ไม่ได้ผลักทุกอย่างที่พูดมาไปจนสุดทาง มันเลยออกมาเป็นชีวประวัติของคนคนหนึ่งมากกว่า คือถ้าจะหาหนังที่พูดถึงความกดดันในสงคราม The Hurt Locker, Black Hawk Down (2001) หรือ Saving Private Ryan (1998) คงจะตอบโจทย์นี้ได้มากกว่า
แต่ถ้าพูดถึงในแง่ที่มันเล่าเรื่องของคนคนหนึ่งมันก็ดีอยู่ ที่จากตั้งเป้าจะทำเพื่อประเทศชาติ สุดท้ายมันก็ไปไม่พ้นตัวเองอยู่ดี
.
.
.
-แบรดลีย์ คูเปอร์ ชิงออสการ์จากเรื่องนี้ จริงๆ ก็เล่นดีนะ ลืมภาพสมัยเล่น The Hangover (2009) หรือ American Hustle (2013) เกลี้ยงเลย
-ตามประสาหนังสงคราม มันต้องมีฉากให้สะดุ้งด้วยเสียงทุกทีสิน่า คืออาจจะไม่เท่า Black Hawk Down แต่มันก็ยังเยอะอยู่ดี
-ยิงกันเกลื่อนมากๆ ยิงกันจนไม่แปลกใจที่จะมีคนด่ารัฐบาลอเมริกาช่วงนั้นในเรื่องแบ่งภาษีไปให้ทหาร มันคงหมดไปเยอะจริงๆ
ฝากบล็อก-เพจ สำหรับติดตามข่าวสาร-แลกเปลี่ยนกันนะคะ
Page:
https://www.facebook.com/llkhimll
Blog:
http://llkhimll.wordpress.com/
(Review) American Sniper (Clint Eastwood; 2014) ชีวประวัติของสไนเปอร์
ปู่คลินท์ อีสวู้ด กลับมาอีกครั้งหลังจากกำกับ Jersey Boys (2014) และ J. Edgar (2011) ซึ่งคำวิจารณ์ก็ไม่ได้ดีเด่อะไรเท่าไหร่ทั้งสองเรื่องนั่นแหละ
งวดนี้มาพร้อมเรื่องราวจากชีวิตจริงของคริส ไคล์น สไนเปอร์จากหน่วยซีลที่ไปๆ กลับๆ สงครามอยู่ 4 รอบ รวมแล้ว 1,000 กว่าวัน หลายคนเกรงๆ ว่ามันจะกลายเป็นหนังเชิดชูอเมริกาไปซะไหม หรือเทิดทูนฮีโร่ในแบบที่หนังสงครามชอบทำกัน
คำตอบคือก็ไม่ถึงขนาดนั้น อเมริกันสไนเปอร์เล่าเรื่องชีวิตของไคล์นโดยที่พูดถึงความเหี้ยมโหดของสงคราม, ภาวะหืดขึ้นคอในสนามรบ, มิตรภาพ ฯลฯ แบบกลางๆ คือไม่ได้บี้มันไปจนสุดทางแบบหนังสงครามนิยมทำ อาจเพราะจริงๆ แล้วมันเน้นเล่าชีวิตของคนคนหนึ่งมากกว่าจะไปหมกมุ่นในเรื่องนั้น
ผู้กำกับปูให้เห็นวิธีคิด-วิธีสอน, วิธีที่ไคล์นถูกเลี้ยงมาเมื่อสมัยเด็ก เขาเป็นเด็กผู้ชายแม่นปืนชนิดที่พ่อวาดหวังว่าอีกหน่อยเขาคงเป็นนายพรานมือดี เคารพศาสนา ไปโบสถ์ ฟังเทศน์ พกไบเบิ้ลติดตัวเสมือนหนึ่งเป็นที่พึ่ง และยึดติดยึดมั่นกับคำสอนของพ่อที่ว่า ต้องปกป้องทุกคนในครอบครัว เราจึงได้เห็นพ่อของไคล์นหัวฟัดหัวเหวี่ยงเมื่อน้องชายของไคล์นถูกเด็กคนอื่นฟาดเอาเข้าจนตาปูด แต่พ่อก็เย็นลงเมื่อไคล์นยืดอกบอกว่าเขาจัดการไอ้เด็กนั่นได้แล้ว เขาดูแลน้องได้
อย่างไรก็ดี หลายฉากสะท้อนให้เห็นพื้นฐานอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้ายและเกรี้ยวกราดของไคล์น นับตั้งแต่การบงการน้องชาย (ที่โตไล่ๆ กันแล้ว) การไม่สามารถดูแลความรู้สึกคนรักในขณะนั้นได้ ชอบความตื่นเต้นท้าทายและเสี่ยงตาย
โตมาแล้ว ขอบเขตของสิ่งที่ไคล์นคิดว่าต้องปกป้องไม่ได้หยุดแค่คนในบ้าน คนในอาณัติของเขาเสมอไปเท่านั้น แต่มันยังครอบคลุมไปถึงเพื่อนร่วมชาติ เหตุการณ์ 9/11 จึงเป็นตัวจุดชนวนอย่างดีให้เขาเดินดุ่มๆ เข้าไปสมัครทหาร หน่วยซีล และเป็นสไนเปอร์ ซึ่งแน่นอนว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ชนิดที่ถ้ารู้ว่ามีเขาอยู่ในหน่วยด้วย เพื่อนทหารด้วยกันก็เบาใจไปเยอะว่ายังมีเขาคอยคุ้มกัน
อาการยินดียินร้ายของไคล์นที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ก็แสดงออกเพิ่มมากขึ้นเมื่อเขามีครอบครัว ปู่คลินท์ไม่ได้แสดงออกเรื่องนี้อย่างโต้งๆ แต่ทุกครั้งที่เขากลับไปสงคราม อาการวูบไหว ลังเลของไคล์นจะปรากฏในบางห้วงขณะที่ต้องเหนี่ยวไก
ฉากที่พีคมากๆ คือตอนที่สไนเปอร์ของฝ่ายตรงข้ามยิงสวนมาบนดาดฟ้าซึ่งไคล์นกบดานอยู่ ในภาวะอารมณ์อ่อนไหวและประสาทกินจากเรื่องเพื่อน เสียงทุกเสียงที่เข้าหูเขาในเวลานั้นกัดกินเขาไปอีกนานอย่างน้อยก็เป็นปี ทั้งเสียงหมา ปืน เด็กร้อง และสว่าน ซึ่งชัดมากๆ)
ความหดหู่ในระยะหลังชวนให้นึกถึงเรื่อง The Hurt Locker (2008) ที่ก็ตอบยากแล้วว่ามันกลับไปทำอะไรในสงครามตั้งสี่รอบ ที่ไม่เหมือน The Hurt Locker คือเจมส์เป็นโรคเสพติดสงคราม แต่ไคล์นไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น ถ้าให้พูดจริงๆ คือเขาแพ้ไม่เป็นมากกว่า เป้าหมายของเขาไม่ใช่ทำให้อเมริกาปลอดภัยหรือชนะอิรัก แต่เพียงเพื่อจะเด็ดหัวสไนเปอร์ที่ฝีมือดีระดับสิบกะโหลก (และไม่ใช่ชาวอิรัก เป็นชาวซีเรีย ปู่คลินท์เขาร้าย…)
ฉากหนึ่งที่ชอบมากๆ คือ ท่ามกลางฝุ่งคลุ้งหม่นมัว ไคล์นวิ่งตัวเปล่าขึ้นรถ ทิ้งของสารพัดที่เคยพกติดตัวไว้ รวมทั้งเครื่องช่วยทางจิตใจและตรงกลับบ้าน เริ่มต้นใช้ชีวิตกับครอบครัวจริงๆ
รวมๆ แล้วหนังไม่ได้มีความแปลกใหม่ขนาดนั้น มันก็ยังมีสูตรของหนังสงครามอยู่เต็มเปี่ยม ความกดดันก่อนเหนี่ยวไก, การยิงผู้ที่อ่อนแอกว่า, การถูกล้อม, ภาวะเฮงซวยหลังสงคราม, ลังเลว่าสิ่งที่ตัวเองทำถูกต้องไหม ฯลฯ แต่เพราะปู่คลินท์ไม่ได้ผลักทุกอย่างที่พูดมาไปจนสุดทาง มันเลยออกมาเป็นชีวประวัติของคนคนหนึ่งมากกว่า คือถ้าจะหาหนังที่พูดถึงความกดดันในสงคราม The Hurt Locker, Black Hawk Down (2001) หรือ Saving Private Ryan (1998) คงจะตอบโจทย์นี้ได้มากกว่า
แต่ถ้าพูดถึงในแง่ที่มันเล่าเรื่องของคนคนหนึ่งมันก็ดีอยู่ ที่จากตั้งเป้าจะทำเพื่อประเทศชาติ สุดท้ายมันก็ไปไม่พ้นตัวเองอยู่ดี
.
.
.
-แบรดลีย์ คูเปอร์ ชิงออสการ์จากเรื่องนี้ จริงๆ ก็เล่นดีนะ ลืมภาพสมัยเล่น The Hangover (2009) หรือ American Hustle (2013) เกลี้ยงเลย
-ตามประสาหนังสงคราม มันต้องมีฉากให้สะดุ้งด้วยเสียงทุกทีสิน่า คืออาจจะไม่เท่า Black Hawk Down แต่มันก็ยังเยอะอยู่ดี
-ยิงกันเกลื่อนมากๆ ยิงกันจนไม่แปลกใจที่จะมีคนด่ารัฐบาลอเมริกาช่วงนั้นในเรื่องแบ่งภาษีไปให้ทหาร มันคงหมดไปเยอะจริงๆ
ฝากบล็อก-เพจ สำหรับติดตามข่าวสาร-แลกเปลี่ยนกันนะคะ
Page: https://www.facebook.com/llkhimll
Blog: http://llkhimll.wordpress.com/