คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คงต้องมองตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เลยมั้งครับ ตอนนั้นมีการแยกคณะสายแพทย์ออกจากจุฬาฯ เคือ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ไปตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ.๒๔๘๖) ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตทางการแพทย์เป็นหลัก ทำให้มีเพียงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เท่านั้นที่จะผลิตบัณฑิตสายแพทย์ออกมา
ต่อมาความต้องการแพทย์ของประเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ศิริราชเพียงแห่งเดียวไม่สามารถผลิตแพทย์ออกมาได้มากพอ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่หลักผลิตบัณฑิตสายการแพทย์ ก็ต้องเพิ่มสถานที่ในการผลิตแพทย์ออกมาให้มากขึ้น ทำให้ตอนนั้น นอกจากจะมีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ยังมีคณะแพทยศาสตร์ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกถึง ๓ แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (พ.ศ.๒๔๙๐) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๙๗) และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ.๒๕๐๘)
จนเมื่อมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เริ่มมีความพร้อมและมีความต้องการผลิตบัณฑิตแพทย์เอง จึงได้มีการโอนคณะแพทยศาสตร์ไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๐๘) และโอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาฯ (พ.ศ.๒๕๑๐) คิดว่าด้วยทำเลที่ตั้งคงเหมาะสมที่จะโอนไปให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวบริหารมากกว่าและคงมีเหตุผลอื่น ๆ ด้วย การผลิตแพทย์จึงไม่จำกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกต่อไป
ส่วนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีคิดว่า น่าจะไม่มีเหตุในการโอนไปให้ที่อื่นทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะแพทยศาสตร์สังกัดอยู่ ๒ แห่งในปัจจุบัน
ต่อมาความต้องการแพทย์ของประเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ศิริราชเพียงแห่งเดียวไม่สามารถผลิตแพทย์ออกมาได้มากพอ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีหน้าที่หลักผลิตบัณฑิตสายการแพทย์ ก็ต้องเพิ่มสถานที่ในการผลิตแพทย์ออกมาให้มากขึ้น ทำให้ตอนนั้น นอกจากจะมีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลแล้ว ยังมีคณะแพทยศาสตร์ในสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกถึง ๓ แห่ง คือ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (พ.ศ.๒๔๙๐) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๔๙๗) และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ.๒๕๐๘)
จนเมื่อมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เริ่มมีความพร้อมและมีความต้องการผลิตบัณฑิตแพทย์เอง จึงได้มีการโอนคณะแพทยศาสตร์ไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น โอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๐๘) และโอนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาฯ (พ.ศ.๒๕๑๐) คิดว่าด้วยทำเลที่ตั้งคงเหมาะสมที่จะโอนไปให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวบริหารมากกว่าและคงมีเหตุผลอื่น ๆ ด้วย การผลิตแพทย์จึงไม่จำกัดอยู่ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์อีกต่อไป
ส่วนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีคิดว่า น่าจะไม่มีเหตุในการโอนไปให้ที่อื่นทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะแพทยศาสตร์สังกัดอยู่ ๒ แห่งในปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
ทำไมมหาวิทยาลัยมหิดล ถึงมี คณะแพทยศาสตร์ 2 คณะ ครับ
แต่ทำไม มหิดล ถึงมี 2 คณะ
แล้วเป็นที่เดียวในโลกรึเปล่า ที่มี คณะแพทย์ ถึง 2 คณะ ในมหาวิทยาลัยเดียวกัน