ชีวิตชาวบ้านคลองหวะ-เงินสัจจะออมทรัพย์

กระทู้สนทนา
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
กลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านคลองหวะ


วันนี้ได้นั่งคุยกับปราชญ์ชาวบ้านคลองหวะ
เกี่ยวกับเรื่องเงินสัจจะออมทรัพย์ของหมู่บ้านคลองหวะ

(กองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองหวะ)
แรกเริ่มตั้งวันที่ 1 มกราคม 2520
มีสมาชิกแรกเริ่มจำนวน 47 คน
ฝากขั้นต่ำคนละ 50.-บาท
ปรากฏว่าเงินเริ่มต้นมีเพียง 2,500.-บาท
กำลังตกลงกันว่า
จะนำเงินทั้งหมดไปฝากธนาคาร

แต่มีสมาชิกคนหนึ่งแย้งว่า
เงินก้อนนี้มีเพื่อช่วยเหลือสมาชิก
ถ้าไปฝากที่ธนาคารทั้งหมด
ก็ไม่ได้ช่วยเหลือสมาชิกแต่อย่างใด
ที่ประชุมเลยถามว่า  
แล้วจะให้ช่วยเหลืออะไรบ้าง
แกบอกว่ากำลังจะจัดงาน
แต่งงานลูกสาวขาดเงินอยู่ราว 2,000.-บาท
ที่ประชุมเลยอนุมัติให้แกยืมเงินไปก่อน
แล้วค่อยผ่อนส่งคืนในภายหลัง
เงินเหลืออีก 500.-บาท
จึงไปฝากที่ธนาคารเอเซีย จำกัด สาขาหาดใหญ่
(ตอนนี้คือ ธนาคารยูโอบี จำกัด สายหนึ่ง)

ส่วนเงินฝากทั้งหมดในตอนนี้
ไปฝากที่สหกรณ์ออมทรัพย์หาดใหญ่
มีจำนวนเงินฝากรวม 15.6 ล้านบาท
ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี

ในช่วงแรก ๆ ยังมีสมาชิกเข้าร่วมน้อยมาก
เงินฝากเริ่มต้นจาก 2,500,-8,000 บาท
กว่าจะได้หลักแสนต่อเดือน
เหมือนตอนนี้ใช้เวลาหลายปี
สมาชิกตอนนี้จำกัดไว้เพียง 400 คนเท่านั้น
ไม่มีการรับสมาชิกเพิ่มอีก
ไม่ตาย ไม่(ลา)ออก ไม่รับ
มีคนรอคิวอยากเข้ามาเป็น
สมาชิกหลายร้อยคนแล้ว
แต่น่าจะไม่ได้เป็น
เพราะลูกหลานสมาชิกต่างรอคิวเสียบ

มีสมาชิกที่เป็นคนนอกหมู่บ้านคลองหวะ
เหลือเพียงคนเดียวเป็นคนบ้านคลองเรียน
คือ ครูคลาย อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านคลองหวะ

การรวมกลุ่มนี้จึงเหนียวแน่นมาก
ไม่เหมือนบางกลุ่มแบบ ม x
ออก กูถอน
หรือกรรมการลาออกหรือไม่ได้รับเลือกตั้งอีก
สมาชิกจะรุมกันถอนเงินฝากออก
ไปตั้งวงใหม่เหมือนอีกหลายกลุ่ม
ทำให้ล้มลุกคลุกคลานกันไป ไม่ตายก็ไม่โต

แต่เดิมมีปัญหามากในเรื่องการเงิน
เพราะธรรมชาติของคน
ชอบขอกู้เงินมากกว่าออมเงิน
เรียกว่าหาเงินมาให้กู้เท่าไรก็ไม่พอ
สมัยลุงเคลือบ เป็นประธานครั้งหนึ่ง
มีคนขอกู้เงินจำนวน 25,000.-บาท
น่าจะไม่เพียงพอต่อเงิน
ที่มีคนมารอคิวขอกู้เงินอยู่

หลักการของกลุ่มคือไม่อยากกู้เงินจากภายนอก
จึงมีการเรียกคนรอคิวขอกู้เงินมาพูดคุยกันก่อน
เช่นขอลดเงินกู้ลงเช่น เหลือ 800 จาก 1,000
ขอกู้  1,500 บาทก็บอกไม่เป็นไร
เป็นเดือนหน้าก็ได้ ไม่แคบ(รีบร้อน)

มีบางรายขอกู้ 1,200 บาท
แต่บอกซื้อลูกหมู 800 บาท
ก็บอกเอาแค่นี้ก็แล้วกัน
(ความเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน
และนับถือเป็นเครือญาติจึงออมชอมกันง่าย)


ต่อมาจึงเริ่มมีนโยบายออมเงินมากกว่ากู้เงิน
ไม่ส่งเสริมและสนับสนุนการกู้เงิน
ยินดีให้สมาชิกถอนเงินฝาก
ที่ออมไว้จำนวนมากออกไป

หรือบางรายต้องขอร้องแกมบังคับ
ให้กู้เงินเพื่อมีดอกเบี้ยบ้าง
แต่มีการกู้เงินกันน้อยมาก
เพราะสิ้นปีที่แล้วมียอดเงินกู้
คงค้างในบัญชีเพียง 5.9 ล้านบาท
จากเงินฝากในบัญชี 15.7 ล้านบาท

รายรับจากดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้
รวม 1.4 ล้านบาท/ปี

มีบางรายขอถอนเงินฝากไป 2 แสนบาท
จะไปซื้อรถยนต์ราคา 2.4 แสนบาทให้ลูกสาว
ก็รีบให้ถอนไปเลยแล้วค่อยฝากใหม่วันหลัง
ส่งเสริมให้คนถอนเงินฝากออกไปบ้าง
แต่ไม่ค่อยมีคนอยากถอนเงินออมออกไป

ข้อสรุปเบื้องต้นในแต่ก่อนคือ
เงินสัจจะออมทรัพย์จะมาลงทุนได้ 3 อย่าง

1. เงินฝากไปซื้อรถจักรยานยนต์ผ่อนส่ง
สมัยก่อนคันละ 25,000.-บาท
ได้กำไรคันละ 5,000.-บาท
ไม่ต้องมีเงินดาวน์เหมือนกับ
การซื้อผ่อนส่งผู้ขายรถจักรยานยนต์
แต่ให้ชาวบ้านผ่อนรวมทั้งเงินต้น
และดอกเบี้ยเดือนละ 800.-บาท
รวม 3 ปีเศษพอผ่อนหมดก็โอนกรรมสิทธิ์ให้ไป
ดอกเบี้ยที่ผ่อนก็จะมีปันผลจ่ายให้ตอนปลายปี
ดอกเบี้ยที่แต่ละคนจ่ายไป 2,000.-บาทต่อปี
มีปันผลคืนให้ร้อยละ 2.00 บาทเป็นต้น
แต่ต้องรอคิวมีเงินเหลือก็ไปซื้อสดมาผ่อนต่อ
ทำอยู่ได้ราว 10 คันก็ยุติโครงการ

เพราะเงินไม่พอกับคนมาขอกู้เงินส่วนหนึ่ง

(การซื้อแบบนี้ต้องมีเงินฝากค้ำเต็มวงเงิน
ถ้าไม่พอต้องมีคนค้ำประกันที่มีเงินฝากพอด้วย)

ต่อมาผู้ค้าจักรยานยนต์เข้ามาแข่งขันเอง
ในตลาดรถจักรยานยนต์
ไม่ต้องรอคิวเหมือนชาวบ้าน
ธุรกิจเลยต้องยุติไปโดยปริยาย

2. นำเงินมาซื้อขายสินค้าในชุมชน
แต่เดิมสั่งเฉพาะสินค้าที่จำเป็น
มีคนไปสอบถามว่าต้องการ
ข้าวสาร แฟ๊บ น้ำปลา น้ำมันพืช
โดยเริ่มถามร้านค้าในชุมชนก่อน
แล้วไปติดต่อกับยี่ปั้วในตลาดให้มาส่ง
โดยมาเก็บเงินที่กองทุน ฯ โดยตรง
ส่วนคนของกองทุน ฯ จะไปเก็บเงิน
จากร้านค้าในชุมชนอีกต่อหนึ่ง
แรกเริ่มก็กำไรดี ได้ส่วนลดจากยี่ปั้วมาก
เพราะมาส่งครั้งเดียวได้เป็นกอบเป็นกำ
และไม่ต้องปวดหัวในเรื่องการเก็บหนี้ตามหนี้

ต่อมากรรมการชาวบ้านคิดการใหญ่
ตั้งร้านค้าแบบสหกรณ์ในชุมชนขึ้นเอง
ต้องมีการจ้างคนขับรถยนต์
พนักงานขนส่งอีก 2 คน
ขายหมดทุกอย่าง ทั้งเข็มกลัด
กระดาษ ปากกา ฯลฯ
ผลสุดท้ายภายในหนึ่งปี  สรุปว่าเท่าทุน
เพราะเงินจมในสินค้า  ค่าแรงงาน
ค่ารถยนต์ ค่าน้ำมัน Stock ของหาย
รายจ่ายที่ไม่เกิดรายได้มากกว่า
รวมทั้งคนในชุมชนเข้าไปซื้อสินค้าในเมืองหมด
สิ้นปีจึงต้องเลิกกิจการไปในที่สุด
ดีที่ไม่ขาดทุนในเรื่องนี้

แต่โมเดลนี้มีการนำไปใช้ที่
สัจจะออมทรัพย์แห่งหนึ่งในสงขลา
ให้ชาวบ้านสั่งสินค้าจำเป็นหลัก ๆ เช่น 
ข้าวสาร น้ำตาล น้ำปลา แฟ็บ น้ำมันพืช
ให้สั่งสินค้าก่อนวันที่
จะมาฝากเงินและกู้เงินในวันเดียวกัน
ใครต้องการอะไรแจ้งล่วงหน้ากับ
หัวหน้ากลุ่มย่อยหนึ่งสัปดาห์
แล้วจะมาสรุปรวบรวมจำนวนไว้ล่วงหน้า
ก่อนสั่งยี่ปั้วในเมืองให้มาส่งที่
สำนักงานสัจจะออมทรัพย์
พร้อมกับรวมรวมเงินจากชาวบ้าน
ชำระเงินตามราคาขายส่งให้
ได้ส่วนต่างกำไรเป็นเงินทุนหมุนเวียน
กับปล่อยกู้ชาวบ้านต่อไป
โดยตั้งเป็นกองทุนอีกกองทุนให้กู้ยืมเงิน
มีเงินหมุนหลักล้านบาทในตอนนี้
.
[ hr]
.
การลงทุนสินทรัพย์ประจำประเภทรถยนต์
มีธนาคารไทยแห่งหนึ่งหลังจากการขายหุ้น
ให้ต่างชาติเข้ามาบริหาร
สิ่งแรกที่ฝาหรั่งถามมีไว้ทำไม  ทำไมต้องมี
กำไรหรือขาดทุนจากการนี้
สรุปรวมทุกสาขาในประเทศไทย
มีรถยนต์ที่ธนาคารเป็นเจ้าของ
รถยนต์ รถกะบะ รถตู้ มากกว่า 4,000 คัน
คิดเป็นราคาเฉลี่ยคันละ 700,000 บาท
เป็นเงินจมไปแล้ว 2,800,000,000 บาท
แทนที่จะทำประโยชน์เรื่องอื่น

รองลงมาต้องจ้างพนักงานฝ่ายธุรการ
บริหารจัดการเรื่องรถยนต์อีก 69 คน
เงินเดือนเฉลี่ยคนละ 20,000 บาท
หรือเดือนละ 800,000 บาท
ปีละ 9,600,000 บาท
ต้องยุ่งกับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี 
ทำ พรบ. ประกันรถยนต์
เวลารถยนต์ธนาคารไปชนหรือถูกชน
ต้องรอซ่อมรอเคลม  วุ่นวายขายปลาช่อน

ฝรั่งเลยบอกเลิกให้หมด
ขายรถยนต์คืนบริษัท/พนักงาน
ในราคาทุนหรือราคาถูก
แล้วธนาคารทำสัญญาเช่า
จากบริษัทภายนอกแทน 
พร้อมกับแช่แข็งจำนวนรถยนต์ทุกสาขา
ให้แต่ละสาขามีรถยนต์ใช้ไม่เกิน 1 ค้น
เว้นแต่สาขาขนาดใหญ่ก็ไม่เกิน 2 คัน
เหลือพนักงานดูแลเรื่องรถยนต์ 2 คน

มีตัวเลขกำไรขึ้นมาทันที
ลดความวุ่นวายภายในไปมากทีเดียว
.


.
3. การหารายได้จากจากเงินกู้
จะมีหลักการคือ การฝากเงินที่ตกลง(สัจจะ)ว่า
ฝากเดือนละ 100 หรือ 1,000 บาททุก ๆ เดือน
ฝากน้อยกว่าก็ไม่ได้/มากกว่าก็ไม่รับ
โดยเด็ดขาดใน 1 ปี ต้องรอปีหน้า
จึงฝากได้ในอัตราเพิ่มหรือลด
การกู้เงินต้องไม่เกินยอดเงินฝาก
ถ้าขอกู้เงินเกินต้องมีเงินฝากผู้อื่นค้ำประกัน
เต็มวงเงินกู้ คนดีมีคนค้ำ คนไม่ดีไม่มี
เช่น มีเงินฝาก 100,000 บาท
ขอกู้เงิน 70,000 บาท ปล่อยกู้ได้เลย
แต่ถ้าขอกุ้เงิน 200,000 บาท
เงินฝากตนเองค้ำ 100,000 บาทเต็มยอด
ต้องมีเงินฝากคนอื่นอีก 100,000 บาท
ค้ำเต็มยอดเช่นกัน จึงจะปล่อยกู้
เท่ากับเอาเงินตนเองกู้เงินตนเอง
หนี้เสียไม่มีเพราะจะใช้วิธีการหักกลบลบหนี้

ดอกเบี้ยเงินกู้แต่เดิมจะคิดใน
อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของยอดเงินกู้
หรือ 18% ต่อปี ชำระแบบชาวบ้าน
คิดเลขแบบง่าย ๆ ตัวกลม ๆ
กู้ 10,000 บาท เดือนแรกจ่ายดอกเบี้ย 150 บาท
(ร้อยละ 1.50 บาท พันละ 15 บาท
หมื่นละ 150 บาท)

จ่ายเงินต้น 1,000 บาท เหลือเงินกู้ 9,000 บาท
เดือนถัดไปก็เป็น ดอกเบี้ย 135 บาท
เงินต้นเหลือ 8,000 บาท
(ไม่คิดจำนวนวัน 28,29,30,31 แบบธนาคาร)
พอสิ้นปีก็เอาจำนวนดอกเบี้ยรับทั้งหมดมารวมไว้

ปัญหาของที่นี่ไม่ค่อยมีคนกู้เงิน
จนต้องบังคับแกมขอร้องให้คนฐานะดี
ถอนเงินออมหรือให้กู้เงินซะบ้าง
เพราะเงินฝากมากกว่ายอดเงินกู้มาก 
และบางคนไม่ยอมค้ำประกันเงินกู้ให้ใครด้วย

หมายเหตุ

ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 1.25 ต่อเดือนหรือ 15% ต่อปี
แม้ว่าจะเป็นการกู้ภายในชาวบ้าน
และชาวบ้านยินยอม แต่ไม่อยากผิดกฎหมาย
และควรเป็นตัวอย่างที่ดี

สัจจะออมทรัพย์กลุ่มชาวบ้านจะทำกันง่ายมาก

มีการออมเงินกับกู้เงินภายในวันเดียวกัน
ใช้เวลาทุกเย็นวันที่ 5 ของแต่ละเดือน

ไม่เกิน  3  ชั่วโมงก็แล้วเสร็จ
สรุปยอดฝาก/ยอดกู้ได้เลย
เพราะทุกคนต่างรู้หน้าที่มาฝากมาถอน
ตั้งแต่ 5 โมงเย็น ณ ที่ทำการของกองทุน
ไม่เกิน 3 ทุ่มก็แล้วเสร็จแล้ว
(มีขาประจำที่ต้องตาม
ต้องเตือนอยู่ไม่เกิน 3 รายใน 400 คน)

เพราะคนกู้เงินจะแจ้งล่วงหน้าก่อน
และมีค่าทำสัญญากู้เงินฉบับละ 30 บาท
เก็บไว้จ่ายเป็นค่ายามวันละ 200 บาท
ทำไม่เกิน 3 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้แล้ว
ยามเป็นคนบ้านคลองหวะ
เป็นยามที่ธนาคารชาติด้วย

เงินเหลือจากค่าทำสัญญาก็เก็บไว้คราวต่อไป
หลังจากนำยอดดอกเบี้ยเงินกู้กับดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารมารวมกัน
หักค่าใช้จ่ายภายในก่อน
มีเงินตอบแทนกรรมการปีละ 90,000 บาท
ประธาน 6,000 บาท
กรรมการ 4,500 บาท (10 คน)
คนทำบัญชี 5,500 บาท
ผู้ตรวจสอบบัญชี 7,000 บาท
ค่าเลี้ยงรับรองปีละ 2,000 บาท
ยังมีสวัสดิการภายในคือ
ค่าทุนการศึกษาบุตรรายละ 2,000 บาท
จ่ายน้อยลงเพราะตอนนี้สมาชิกส่วนใหญ่
ลูก ๆ จบการศึกษาทำงานกันแล้ว

ค่างานศพคนตายศพละ 1,000 บาท
แต่ไม่มีลูกหลานคนไหน อยากใช้เงินก้อนนี้

ค่าช่วยคนป่วยปีละ 500 บาทไม่เกิน 1 ครั้ง
เงินส่วนนี้ส่วนหนึ่งมาจาก
การตั้งกองทุนสมทบไว้ 1 ล้านบาท
ดอกเบี้ยจากเงินกู้จากกองทุนนี้
นำดอกเบี้ยเป็นสวัสดิการข้างต้นด้วย
เช่น คนป่วยปีละไม่เกิน 1 ครั้ง ๆ ละ 500 บาท

จริง ๆ น่าจะให้คนไม่ป่วย ที่สุขภาพดึ
สุขภาพใครสุขภาพตนเองควรดูแลกันเอง

เงินเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย จึงจะนำมาปันผล
เงินฝากคืนร้อยละ 7 ของยอดเงินฝาก
ทุกคนต้องมีเงินฝากทุกเดือน
(กู้ส่วนกู้ ฝากส่วนฝาก)
ปีที่ผ่านมามีการเฉลี่ยคืนเงินฝาก 1.3 ล้านบาท
เงินกู้มีการคืนให้ร้อยะ 2 ของยอดเงินกู้
ยอดเฉลี่ยคืนเงินให้คนกู้ 26,000.-บาท

สัจจะออมทรัพย์บางแห่งในสงขลา
มีสมาชิกนับเป็นพันคน
ในสัจจะออมทรัพย์บางกลุ่ม
เช่น  คลองเปรี๊ยะ นาหว้า
แต่ตัวอย่างที่ยกมา
ไม่มีปัญหาการบริหารจัดการ
เป็นกลุ่มตัวอย่าง/แกนนำ
ในเรื่องสัจจะออมทรัพย์
.


.
กลุ่มที่มีปัญหาชาวบ้านโวยวายกันว่า
เงินหายไปไหนจากเงินฝาก
ที่ควรมีเป็น 10 ล้านบาทแล้ว
จนต้องขอให้พัฒนากรอำเภอ
กับ ผู้ก่อตั้งสัจจะออมทรัพย์
ไปข่วยตรวจสอบเรื่องนี้

สาเหตุ คือ ประกาศปันผล 12% ของเงินฝาก
แต่ลืมคิดถึงรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้
ก่อนหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่พออยู่แล้ว
ดอกเบี้ยจากเงินฝากสหกรณ์สูงสุดแค่ 4%

ดังนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นคือ วันประกาศปันผล
เงินฝากสัจจะออมทรัพย์ร้อยละ 12
กลายเป็นวันหยุดโลก/หยุดเงิน/เงินหาย

เพราะ กู้ส่วนกู้ ฝากส่วนฝาก

สมมุติวันนั้นมียอดเงินฝากรวมทั้งปี 10 ล้านบาท
ต้องจ่ายเงินปันผล 1,200,000 บาท
เรียกว่ากินจากเงินทุนที่ชาวบ้านฝากเอง
ไหนจะต้องจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ  
จ่ายคืนเงินกู้ที่ผ่อนส่งอีกจำนวนหนึ่ง
สะสมมาปีละ 1.2 ล้านบาท
10 ปี เงินหายไป 12 ล้านบาท
เรื่องธรรมดามาก/ปรกติ
เพราะไม่คิดถึงรายรับ/รายจ่าย

มีสัจจะออมทรัพย์แห่งหนึ่ง
ประกาศจะจ่ายปันผล 12% ต่อปี
แต่เมื่อมีการอธิบายถึง Best Practice
สัจจะออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จ
ต้องรวมดอกเบี้ยกู้ เงินฝาก หัก ค่าใช้จ่าย
เหลือสุทธิเท่าไรจึงจะจ่ายปันผล
แน่นอนต้องน้อยกว่าร้อยละ 12 อยู่แล้ว
ชาวบ้านที่เข้าใจเรื่องนี้
จึงยุติประกาศจ่ายปันผล 12% ต่อปี
แต่จะจ่ายเงินตามผลประกอบการในแต่ละปี

เขียนขึ้นจากความทรงจำร่วมกัน
ก่อนที่จะลืมเลือนหายไปเหมือนธนบัตรรุ่นเก่า ๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่