7 เหตุผลที่เราน่าจะได้เห็นมังงะเป็นอนิเมะมากขึ้น



น่าสังเกตว่าปี 2015 ทีวีอนิเมะจากมังงะเริ่มเพิ่มปริมาณค่อนข้างมากขึ้นในช่วงเวลารอบดึก หลังจากที่แนวดัดแปลงจาก Light Novel กับ Original ครองสัดส่วนที่ค่อนข้างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาและแนวโน้มก็น่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ มีเหตุผลอะไรบ้างก็มาดูกัน

1. ยุคสมัยเปลี่ยน ภาพเริ่มสมจริงและมีมิติมากขึ้น
เวลาผ่านการพัฒนาด้านทีวีอนิเมะเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภาพออกมาคมและสวยงามมากขึ้น อีกทั้งด้าน CG ก็เข้ามามีส่วนร่วมอีก ทำให้หนังสือการ์ตูนที่เป็นขาวดำกลายเป็นภาพสีที่สวยงามได้อย่างชัดเจน ฉากทีวีอนิเมะที่เร้าใจจากภาพเคลื่อนไหว ความรู้สึกสะเทือนอารมณ์จากเสียงพากย์และเพลงประกอบ สร้างความรู้สึกให้กับคนดูได้รู้สึกสนุกได้อย่างมีส่วนร่วม


2. ลายเส้นเฉพาะและมังงะยุคเก่า
เรื่องที่ต้นฉบับไม่ค่อยสวยก็ทำเป็นอนิเมชั่นได้พอบวกกับภาพเคลื่อนไหวและเพลงประกอบ ก็ทำให้ถูกใจมากขึ้น ทำให้แม้แต่เรื่องที่วาดอนิเมชั่นยากเพราะลายเส้นเฉพาะอย่าง โจโจ้ ล่าข้ามศตวรรษ แต่พอมาทำอนิเมชั่นในยุคนี้ ถึงลายเส้นไม่ได้เป๊ะเหมือนต้นฉบับ แต่ก็ได้ความสวยงามของกราฟิกมาชดเชย

รวมถึงบางเรื่องที่เก่าแล้วแต่ยังน่าสนใจก็นำกลับมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัยได้ กระแสรีเมคเรื่องเก่าๆ ก็น่าจะมากขึ้นตามลำดับ

3. ยอมฉายจำนวนตอนไม่ยาวและลงรอบดึกมากขึ้น
เหตุผลหนึ่งที่พวกโปรดักชั่นไม่อยากผลิตมังงะไม่ค่อยอยากฉายรอบดึกเพราะกลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นเป้าหมายหลักไม่ค่อยได้ชม ถ้าผลิตรอบเช้าก็มีแต่สตูดิโอใหญ่ที่สามารถทำได้ในระยะยาว แต่ข้อจำกัดนี้ดูจะหมดไปเพราะต่อให้ฉายรอบดึกก็กระตุ้นยอดขายมังงะได้อยู่ดี ช่องทางการชมผ่านสตรีมก็มากขึ้น อาจไม่ต้องกระต้นยอดเป็นสิบๆ เท่าเหมือนสมัยผ่าพิภพไททัน แค่ไม่กี่เท่าก็หรูแล้วพอแล้ว

ผลการฉายยาวไปเรื่อยๆ ทำให้ผู้ชมไม่ค่อยตื่นเต้นด้วย เพราะรู้สึกต้องติดตามกันเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะจบ ทำให้หยุดตามก็มี กลายเป็นผลพลอยได้ของการฉายรอบดึก ถ้าอยากดูต่อก็ไปหาหนังสือการ์ตูนอ่าน ซึ่งค่อนข้างหาง่ายกว่าสื่ออื่นๆ


ลงสล็อตเวลาตีสองกว่าๆ ในญี่ปุ่น ก็ขายดีได้อยู่


4. มีการคัดเลือกสตูดิโอมีคุณภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีดีขึ้นแค่ไหน แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าเรื่องยาวหลายเรื่องไม่ได้ซีเรียสกับคุณภาพงานมากนัก มีข้อดีตรงที่ฉายได้ยาวนานตามที่ต้องการ แต่ผลจากการทำตามต้นฉบับเป๊ะๆ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมานานแล้ว ด้านเนื้อเรื่องก็ต้องปรับให้เหมาะสมกับอนิเมะเช่นกัน เหมือนเป๊ะก็อาจไม่น่าติดตาม (แต่ต่างมากก็โดนอยู่ดี)

ถึงทางโปรดักชั่นจะเป็นคนติดต่อสำนักพิมพ์เพื่อทำสัญญาขอไปผลิต แต่หลายสำนักพิมพ์ในญี่ปุ่นก็น่าจะเริ่มมีการคัดสตูดิโอมากขึ้น แทนที่จะพิจารณาข้อเสนออย่างเดียว ถ้าเทียบเรื่องในช่วงปี 2000 กับหลังปี 2010 จะเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดในการเลือกสตูดิโอที่ผลิต

5. หนังสือการ์ตูนมีฐานแฟนผลงานชัดเจน
ในมุมมองของผู้ผลิต หนังสือการ์ตูนมีฐานแฟนที่ชัดเจนกว่าสื่ออื่นๆ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีคนติดตามในระดับหนึ่งและจะเพิ่มขึ้นหลังฉาย (ถ้าไม่ผลิตแย่กว่าต้นฉบับ) ไม่ต้องมาลุ้นกับกลุ่มผู้ชมใหม่ ถือเป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งของเรื่องจากหนังสือการ์ตูน ไม่ต้องหาวิธีปั้นกระแสมากมาย

ส่วนเรื่องที่ยังไม่ค่อยมีคนตามมากนักแต่เนื้อเรื่องดีจริง ก็สามารถผลักดันได้จากฝีมือของทางสตูดิโอ ถ้าทำให้น่าสนใจจริงก็จะทำให้ทั้งหนังสือการ์ตูนและทีวีอนิเมะขายดีไปด้วย



6. Light Novel และ Visual Novel จุดสนุก “ช้า” เสมอ
Light Novel เคยได้รับความนิยมสูงเพราะมีข้อดีในเรื่องที่ไม่ค่อยมีคนได้ติดตามมากนัก ทำให้กลายเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ และผลิตออกมาจำนวนมากในตลาดหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม ไลท์โนเวลก็เริ่มได้รับความนิยมน้อยลงตามลำดับเพราะเนื้อเรื่องแทบไม่ต่างกันเลย แนวแฟนตาซีก็แนวตามๆ กันมา

Light Novel 1 เล่ม เฉลี่ยผลิตอนิเมะได้ประมาณ 3 – 6 ตอน (ขึ้นกับเนื้อหาในเล่ม) จุดสนุกหรือจุด Climax ของเรื่องส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงท้ายๆ ของแต่ละเล่มเสมอ ต้องเริ่มจากแนะนำตัวละครก่อน แล้วค่อยเข้าประเด็นในช่วงปลายเรื่องของแต่ละเล่ม



เกมแนว Visual Novel ก็ไม่ต่างกันมากที่คิดพล็อตใหม่ให้ประสบความสำเร็จยาก ตัวเรื่องกว่าจะถึงจุดสนุกส่วนใหญ่จะอยู่ช่วงกลางถึงปลายเรื่อง ทำให้ไม่ค่อยมีคนติดตามไปถึงช่วงนั้น ยุคที่มีตัวเลือกเยอะทำให้คนติดตามแนวนี้ได้ไม่ค่อยนานพอ จึงหยุดดูไปกลางทางก็มี พอปรับเนื้อเรื่องมากไป อาจกลายเป็นต่างจากที่คาดไปเลยก็ได้ …. ก็ไม่ถึงกับไม่มี เพียงแต่ยากและเกินจะคาดเดาว่าจะประสบความสำเร็จแค่ไหนหลังผลิตสำเร็จ

ต่างจากหนังสือการ์ตูนส่วนใหญ่ จะสนุกตั้งแต่ตอนแรกๆ (เพราะไม่สนุกอาจโดนตัดจบได้) ซึ่งเหมาะกับทีวีอนิเมะที่บางคนพิจารณาดูต่อหรือไม่ จากตอนแรกหรืออย่างมากก็ 3 ตอน

7. Original ความไม่แน่นอนในด้านเนื้อเรื่อง
Original ไม่ว่าจะไม่เคยมาจากสื่อไหนเลย หรือดัดแปลงจากเกมออนไลน์หรือการ์ดที่ไม่ค่อยมีเนื้อเรื่อง อีกแนวที่คาดเดาพล็อตเรื่องยาก เพราะไม่เคยทำสื่อไหนมาก่อน ทำให้คนดูตื่นเต้นได้อย่างเสมอ ซึ่งไม่มีใครเล่าเนื้อเรื่องให้คุณฟังได้ว่าจะไปจบตรงไหน ถ้าเรื่องที่ปลุกกระแสดี เล่นกระแสกับโลกโซเชียล (มีบางสตูดิโอในญี่ปุ่นเล่นแบบนั้น) จะทำให้มีคนสนใจอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสียของแนวนี้ อยู่ตรงที่ไม่สามารถบอกผลของสิ่งที่เกิดขึ้นหลังฉายไปได้เลย จะดังหรือดับก็ยากจะคาดเดา บางเรื่องทำซับซ้อนเล่นปรัชญาแบบซึ้งใจผู้กำกับ แต่ผู้ชมดูแล้วไม่เข้าใจเหมือนทีมงานที่ผลิตก็มี กลายเป็นข้อเสียมากกว่าโดยเฉพาะในมุมมองของโปรดักชั่นที่แบกรักภาระต้นทุนในการผลิต

จุดนี้ต่างจากหนังสือการ์ตูนเช่นกัน กระแสจากหนังสือการ์ตูนชัดเจนกว่าสื่ออื่น เรื่องไหนที่น่าสนใจก็จะถูกพูดถึงในโลกของโซเชียลกันในระดับหนึ่ง หรือมียอดขายที่สูงซึ่งในมุมมองของการผลิตนั้น ถือเป็นเรื่องง่ายที่จะเลือกเรื่องที่ได้รับความนิยมพอสมควร ให้กลายเป็นทีวีอนิเมะได้


บางเรื่องยังไม่จบ ก็บอกได้ยากว่าผลตอบรับจะเป็นอย่างไร


ถึงข้อดีของทีวีอนิเมะจากหนังสือการ์ตูนจะมีมากมาย แต่ข้อเสียยังพอมีให้เห็นบ้าง โดยเฉพาะพล็อตเรื่องที่ทราบกันอยู่แล้ว ทำให้ไม่ลุ้นระทึกนัก อีกทั้งถูกเอาไปเทียบกับต้นฉบับได้ง่ายกว่าเพราะแฟนติดตามผลงานมากกว่าสื่ออื่น มีจุดที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนมากเกินไปก็มีการวิจารณ์ได้ชัดเจน แล้วยังมีบางเรื่องที่ถึงได้ทำเป็นอนิเมะแต่กลายเป็นอนิเมะสั้นความยาว 5 – 15 นาที (รวมโฆษณา) แต่ก็ถือเป็นข้อเสียที่น้อยเมื่อเทียบกับสื่ออื่น

ปี 2558 นี้แนวทีวีอนิเมะจากหนังสือการ์ตูนเริ่มกลับมาครองตลาดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเห็นมากขึ้นจากในช่วงต้นถึงกลางปีนี้ และน่าจะมีแนวโน้มมากขึ้นในปีหน้า น่าจะส่งผลดีสำหรับบ้านเราที่หลายคนอ่านหนังสือการ์ตูนกันอยู่แล้วที่จะได้ดูทีวีอนิเมะจากเรื่องที่พอรู้จักและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นทีวีอนิเมะยุคก่อนๆ

ทั้งนี้ก็เป็นในมุมมองของโปรดักชั่นที่มีแนวโน้มเลือกเรื่องจากมังงะมาทำมากกว่าสื่ออื่น แต่อนิเมะจะออกมาดีหรือขายไม่ออกนี่ ก็ต้องขึ้นกับปัจจัยอีกหลายๆ ตัวเช่นกัน

ข้อมูลจาก : http://www.anime-th.com/7-reasons-anime-adaption-from-manga-2015/
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่