เกือบจะทันทีเลยก็ว่าได้หลังจากที่โซนี่ พิคเจอร์สตกเป็นเหยื่อจากโจมตีรายล่าสุดของโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เป็นเดือดเป็นร้อนแทนก็รีบออกมากล่าวโทษว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการกระทำที่ลบเหลี่ยมพญาอินทรีก็คือ เกาหลีเหนือ ซึ่งถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาจะมีบางสื่อออกมาติติงว่า มันเร็วเกินไปที่สหรัฐฯ จะออกมาประณาม แต่ล่าสุดรายงานใหม่จาก The New York Times ยืนยันว่าเป็นเพราะ NSA มีการติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว
สำนักข่าว The New York Times ขยายความเรื่องนี้ว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ NSA ได้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มแฮ็คเกอร์เกาหลีเหนืออย่างลับๆ มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2010 หนำซ้ำยังมีการเปิดเผยของผู้เชี่ยวชาญหลายราย รวมถึงการปล่อยเอกสารลับของ Edward Snowden อดีตสายลับของ NSA ที่ปัจจุบันกลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ ที่มีการนำเสนอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้แฮ็คเกอร์สามารถเจาะเข้าระบบได้ แม้สหรัฐฯ จะยังคงมอนิเตอร์อยู่ก็ตาม
วงในที่ใกล้ชิดกับการสอบสวน ระบุว่า แฮ็คเกอร์ใช้เวลาราวสองเดือนในการเจาะระบบโซนี่โดยปราศจากระบบเตือนภัย เนื่องจากเป็นลักษณะตามปกติของการฟิชชิ่งที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวยังได้รับข้อมูลประจำตัวของระบบแอดมินของโซนี่โดยไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดทันสังเกต และนั่นจึงทำให้ในที่สุดโซนี่ฯ ต้องตกเป็นเหยื่อ
ที่มา TechSpot
เผย NSA แอบติดตามแฮ็คเกอร์เกาหลีเหนือมานานแล้ว แต่ไม่ทันเอะใจช่วยโซนี่ฯ
เกือบจะทันทีเลยก็ว่าได้หลังจากที่โซนี่ พิคเจอร์สตกเป็นเหยื่อจากโจมตีรายล่าสุดของโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ที่เป็นเดือดเป็นร้อนแทนก็รีบออกมากล่าวโทษว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังการกระทำที่ลบเหลี่ยมพญาอินทรีก็คือ เกาหลีเหนือ ซึ่งถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาจะมีบางสื่อออกมาติติงว่า มันเร็วเกินไปที่สหรัฐฯ จะออกมาประณาม แต่ล่าสุดรายงานใหม่จาก The New York Times ยืนยันว่าเป็นเพราะ NSA มีการติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลานานแล้ว
สำนักข่าว The New York Times ขยายความเรื่องนี้ว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ NSA ได้มีการติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่มแฮ็คเกอร์เกาหลีเหนืออย่างลับๆ มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2010 หนำซ้ำยังมีการเปิดเผยของผู้เชี่ยวชาญหลายราย รวมถึงการปล่อยเอกสารลับของ Edward Snowden อดีตสายลับของ NSA ที่ปัจจุบันกลายเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ ที่มีการนำเสนอข้อมูลใหม่เกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้แฮ็คเกอร์สามารถเจาะเข้าระบบได้ แม้สหรัฐฯ จะยังคงมอนิเตอร์อยู่ก็ตาม
วงในที่ใกล้ชิดกับการสอบสวน ระบุว่า แฮ็คเกอร์ใช้เวลาราวสองเดือนในการเจาะระบบโซนี่โดยปราศจากระบบเตือนภัย เนื่องจากเป็นลักษณะตามปกติของการฟิชชิ่งที่ต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้ กลุ่มดังกล่าวยังได้รับข้อมูลประจำตัวของระบบแอดมินของโซนี่โดยไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดทันสังเกต และนั่นจึงทำให้ในที่สุดโซนี่ฯ ต้องตกเป็นเหยื่อ
ที่มา TechSpot