ยังพอจะจำหนังสือเรื่อง ไมน์คัมพฟ์ (Mein Kampf) กันได้หรือเปล่า
ไมน์คัมพฟ์ เป็นหนังสือเยอรมัน เคยแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" ซึ่งผู้ประพันธ์คือบุคคลโลกไม่ลืมอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำสูงสุดของเยอรมนีในช่วงปี 1933-1945 และเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน
ฮิตเลอร์เขียนหนังสือเล่มนี้ในช่วงที่ถูกจองจำในคุกลันดิสแบร์กอัมเลช ในข้อหาอาชญากรทางการเมืองเมื่อปี 1925 จากการปฏิวัติที่ล้มเหลวในมิวนิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1923 ซึ่งเนื้อหาในเล่มนี้นอกจากจะเขียนถึงชีวประวัติของตัวเองแล้ว วิธีคิดของฮิตเลอร์ทั้งหมดยังปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอุดมการณ์ทางการเมือง แนวคิด นโยบายพรรคของนาซี แนวความคิดลัทธิฟาสซิสต์ ความเกลียดชังชาวยิว
หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบในฐานะโฆษณาชวนเชื่อแบบล้างสมองของฮิตเลอร์ ในวันที่ฮิตเลอร์กลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง คู่แต่งงานใหม่ทุกคู่จะต้องได้รับหนังสือเป็นของขวัญจากเขา ทุกบ้านจะมีไมน์คัมพฟ์ราวกับเป็นคัมภีร์ประจำบ้าน ซึ่งยอดขายและยอดแจกแบบถล่มทลายของมันได้ส่งผลให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นบนโลกใบนี้ นั่นคือสงครามโลกครั้งที่ 2 และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดถึงเนื้อหาเลยว่าจะขนาดไหน ไม่มีคำว่าเบาสักนิด
หลังความสูญเสียจากสงครามสิ้นสุดลงในเชิงรูปธรรม ไมน์คัมพฟ์กลายเป็นหนังสือต้องห้ามแห่งศตวรรษที่ 20 ด้วยการเรียกร้องจากกระทรวงยุติธรรม ประเทศเยอรมนี
ทว่าวันนี้ ไมน์คัพฟ์กำลังจะกลับมา
เว็บไซต์บีบีซีรายงานว่าในปี 2015 หนังสือเล่มนี้หมดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะอายุงานของลิขสิทธิ์ที่เคยถูกดูแลโดยเดอะ บาวาเรียนส์ ได้สิ้นสุดลงแล้ว และผลงานนี้จะกลายเป็นสมบัติสาธารณะที่สามารถนำไปพิมพ์เผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขอลิขสิทธิ์ รัฐเองไม่มีสิทธิที่ระงับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่แต่อย่างใด
และมีคนไม่น้อยที่แสดงเจตจำนงว่าต้องการจะเผยแพร่ไมน์คัพฟ์อีกครั้ง
Atrayee Sen ศาสตราจารย์ด้าน Contemporary religion and conflict มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์บอกว่านักการเมืองสายชาตินิยมฮินดูในอินเดียชื่นชอบไมน์คัพฟ์อย่างยิ่ง และนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่นชมวิธีคิดแบบฮิตเลอร์ ยังมีอีกหลายกลุ่มบนโลกใบนี้ที่เชื่อมั่นในหลักคิดดังกล่าว แม้ว่าจะแบ่งย่อยเป็นประเด็นต่างๆ กันไป อาทิ เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ทรรศนะทางการเมือง ฯลฯ
เพราะฉะนั้นการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ได้อย่างอิสระจึงเป็นเรื่องอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมโลกมาก เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือพร้อมที่จะไปสนับสนุนหรือกระตุ้นแนวความคิดเดิมที่มีอยู่
Atrayee Sen ยังบอกด้วยว่าสิ่งหนึ่งที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้อันตรายมากกว่าที่เป็น คือกลุ่มคนที่เลือกใช้บางบริบทของหนังสือไปเผยแพร่เพื่อสนับสนุนความคิดของตัวเอง และมีผู้คนมากมายในโลกใบนี้ที่เจอเรื่องราวอยุติธรรมมามากจนพร้อมที่จะรับแนวคิดบางส่วนที่ถูกคัดเลือกแล้วเหล่านั้นเข้าไปในความคิด หรือตีความไปในทิศทางที่ตนเองสนใจ
สถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งมิวนิกตั้งใจว่าเมื่อหนังสือเล่มนี้หมดลิขสิทธิ์จะนำมาพิมพ์ซ้ำ โดยเพิ่มเชิงอรรถที่จะชี้ให้เห็นถึงการบิดเบือนประวัติศาสตร์และข้อผิดพลาดจากวิธีคิดดังกล่าว แต่ถูกกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนาซีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อต้าน เพราะเชื่อว่าเชิงอรรถพวกนี้ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งมิวนิกถูกระงับทุนสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นมาจากหลายฝ่ายว่าการห้ามไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะห้ามคนทั้งโลกไม่ให้อ่านไมน์คัมพฟ์ในโลกปัจจุบันที่ทุกการสื่อสารสามารถเข้าถึงทุกคนได้อย่างง่ายดาย
มีข้อเสนอว่าอาจจะต้องใช้กฎหมายในการควบคุมหรือดำเนินคดี เพื่อต่อต้านการปลุกปั่นให้เกลียดชังเชื้อชาติ ด้าน ลุดวิก อังเกอร์ บอกว่าหนังสือที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ของฮิตเลอร์เล่มนี้ไม่ต่างอะไรกับเครื่องมือยั่วยุให้คนทำร้ายกัน และอีกประโยคของเขานั้น เชื่อว่าทุกคนน่าจะพยักหน้าเห็นด้วยแน่ๆ เพราะเขาบอกว่า
"มันเป็นหนังสืออันตราย โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในมือของคนผิด"
โดย ดอกฝน มติชนรายวัน
Mein Kampf การกลับมาของหนังสืออันตรายระดับโลก?
ไมน์คัมพฟ์ เป็นหนังสือเยอรมัน เคยแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" ซึ่งผู้ประพันธ์คือบุคคลโลกไม่ลืมอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ผู้นำสูงสุดของเยอรมนีในช่วงปี 1933-1945 และเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน
ฮิตเลอร์เขียนหนังสือเล่มนี้ในช่วงที่ถูกจองจำในคุกลันดิสแบร์กอัมเลช ในข้อหาอาชญากรทางการเมืองเมื่อปี 1925 จากการปฏิวัติที่ล้มเหลวในมิวนิก เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1923 ซึ่งเนื้อหาในเล่มนี้นอกจากจะเขียนถึงชีวประวัติของตัวเองแล้ว วิธีคิดของฮิตเลอร์ทั้งหมดยังปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอุดมการณ์ทางการเมือง แนวคิด นโยบายพรรคของนาซี แนวความคิดลัทธิฟาสซิสต์ ความเกลียดชังชาวยิว
หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบในฐานะโฆษณาชวนเชื่อแบบล้างสมองของฮิตเลอร์ ในวันที่ฮิตเลอร์กลับมาเรืองอำนาจอีกครั้ง คู่แต่งงานใหม่ทุกคู่จะต้องได้รับหนังสือเป็นของขวัญจากเขา ทุกบ้านจะมีไมน์คัมพฟ์ราวกับเป็นคัมภีร์ประจำบ้าน ซึ่งยอดขายและยอดแจกแบบถล่มทลายของมันได้ส่งผลให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นบนโลกใบนี้ นั่นคือสงครามโลกครั้งที่ 2 และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
เพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดถึงเนื้อหาเลยว่าจะขนาดไหน ไม่มีคำว่าเบาสักนิด
หลังความสูญเสียจากสงครามสิ้นสุดลงในเชิงรูปธรรม ไมน์คัมพฟ์กลายเป็นหนังสือต้องห้ามแห่งศตวรรษที่ 20 ด้วยการเรียกร้องจากกระทรวงยุติธรรม ประเทศเยอรมนี
ทว่าวันนี้ ไมน์คัพฟ์กำลังจะกลับมา
เว็บไซต์บีบีซีรายงานว่าในปี 2015 หนังสือเล่มนี้หมดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะอายุงานของลิขสิทธิ์ที่เคยถูกดูแลโดยเดอะ บาวาเรียนส์ ได้สิ้นสุดลงแล้ว และผลงานนี้จะกลายเป็นสมบัติสาธารณะที่สามารถนำไปพิมพ์เผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขอลิขสิทธิ์ รัฐเองไม่มีสิทธิที่ระงับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่แต่อย่างใด
และมีคนไม่น้อยที่แสดงเจตจำนงว่าต้องการจะเผยแพร่ไมน์คัพฟ์อีกครั้ง
Atrayee Sen ศาสตราจารย์ด้าน Contemporary religion and conflict มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์บอกว่านักการเมืองสายชาตินิยมฮินดูในอินเดียชื่นชอบไมน์คัพฟ์อย่างยิ่ง และนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่นชมวิธีคิดแบบฮิตเลอร์ ยังมีอีกหลายกลุ่มบนโลกใบนี้ที่เชื่อมั่นในหลักคิดดังกล่าว แม้ว่าจะแบ่งย่อยเป็นประเด็นต่างๆ กันไป อาทิ เชื้อชาติ ศาสนา สีผิว ทรรศนะทางการเมือง ฯลฯ
เพราะฉะนั้นการเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ได้อย่างอิสระจึงเป็นเรื่องอันตรายต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมโลกมาก เนื่องจากเนื้อหาของหนังสือพร้อมที่จะไปสนับสนุนหรือกระตุ้นแนวความคิดเดิมที่มีอยู่
Atrayee Sen ยังบอกด้วยว่าสิ่งหนึ่งที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้อันตรายมากกว่าที่เป็น คือกลุ่มคนที่เลือกใช้บางบริบทของหนังสือไปเผยแพร่เพื่อสนับสนุนความคิดของตัวเอง และมีผู้คนมากมายในโลกใบนี้ที่เจอเรื่องราวอยุติธรรมมามากจนพร้อมที่จะรับแนวคิดบางส่วนที่ถูกคัดเลือกแล้วเหล่านั้นเข้าไปในความคิด หรือตีความไปในทิศทางที่ตนเองสนใจ
สถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งมิวนิกตั้งใจว่าเมื่อหนังสือเล่มนี้หมดลิขสิทธิ์จะนำมาพิมพ์ซ้ำ โดยเพิ่มเชิงอรรถที่จะชี้ให้เห็นถึงการบิดเบือนประวัติศาสตร์และข้อผิดพลาดจากวิธีคิดดังกล่าว แต่ถูกกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนาซีในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อต้าน เพราะเชื่อว่าเชิงอรรถพวกนี้ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง และเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สถาบันศิลปะร่วมสมัยแห่งมิวนิกถูกระงับทุนสนับสนุน
อย่างไรก็ตาม มีความเห็นมาจากหลายฝ่ายว่าการห้ามไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะห้ามคนทั้งโลกไม่ให้อ่านไมน์คัมพฟ์ในโลกปัจจุบันที่ทุกการสื่อสารสามารถเข้าถึงทุกคนได้อย่างง่ายดาย
มีข้อเสนอว่าอาจจะต้องใช้กฎหมายในการควบคุมหรือดำเนินคดี เพื่อต่อต้านการปลุกปั่นให้เกลียดชังเชื้อชาติ ด้าน ลุดวิก อังเกอร์ บอกว่าหนังสือที่เต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ของฮิตเลอร์เล่มนี้ไม่ต่างอะไรกับเครื่องมือยั่วยุให้คนทำร้ายกัน และอีกประโยคของเขานั้น เชื่อว่าทุกคนน่าจะพยักหน้าเห็นด้วยแน่ๆ เพราะเขาบอกว่า
"มันเป็นหนังสืออันตราย โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในมือของคนผิด"
โดย ดอกฝน มติชนรายวัน