ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัว R ในมือถือ
R (Roaming) หมายถึงการเชื่อมต่อสัญญาณข้ามโครงข่าย ในสมัยก่อนคนจะเข้าใจว่าเป็นการเอาไปใช้ในต่างประเทศ จึงมักจะกลัวคำว่าโรมมิ่งกันมากเพราะจะเสียค่าใช้บริการแพงมาก พอมาถึงยุค 3G เข้าใจว่าประเทศไทยต้องตั้งบริษัทแยกออกมาเพื่อประมูล 3G โดยเฉพาะ ทำให้แต่ละค่ายมีกัน 2-3 โครงข่าย แต่เบื้องหลังก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่าคือเจ้าของเดียวกัน ดังนั้นเวลาเราใช้งานโทรศัพท์จึงมีการโรมมิ่งสัญญาญไปๆมาๆแล้วแต่ว่าโครงข่ายไหนมีสัญญาณที่แรงกว่า จึงเป็นที่มาของความสับสนในเมืองไทย ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้รายใหม่เข้ามาตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับโรมมิ่งมากมายรวมทั้งฝรั่งนักท่องเที่ยวอีกเป็นจำนวนมาก
Mobile Country Code (MCC) ใช้คู่กับ Mobile Network Code (MNC) เป็นเลขของแต่ละโครงข่าย Operator (Carrier) ไม่ซ้ำกันในโลก
โดยปกติแล้วแต่ละซิมเมื่อสมัครโปรใดๆก็ตาม เราก็จะได้เลขโครงข่ายที่อ้างอิงกับซิมนั้นๆมา เราจะเรียกว่า SIM Operator Code
และเวลาที่มือถือเชื่อมต่อกับโครงข่ายใดๆ เราจะเรียกว่า Network Operator Code
โครงข่าย TrueMove-H
520 00 [TRUE-H] UMTS 850 (โครงข่ายหลัก)
520 04 [TRUE-H 2100] UMTS 2100
[TRUE-H 2100] LTE 2100
520 99 [TRUE] GSM 1800
โครงข่าย DTAC
520 05 [DTAC 2100] UMTS 2100 (โครงข่ายหลัก)
[DTAC 2100] LTE 2100 (โครงข่ายหลัก)
520 18 [dtac] GSM 1800
[DTAC] UMTS 850
โครงข่าย AIS
520 01 [AIS GSM] GSM 900
[AIS GSM] UMTS 900 (เลิกใช้)
520 03 [AIS 2100] UMTS 2100 (โครงข่ายหลัก)
520 23 [TH GSM 1800] GSM 1800 (เลิกใช้)
สรุปกันอีกครั้งว่า R (Roaming) ไม่เกี่ยวกับความเร็วของอินเตอร์เน็ท แต่เป็นการใช้โครงข่ายอื่นที่ไม่ตรงกับในซิม ตัวอย่างเช่น
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52000 จะไม่ขึ้น R
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52004 จะขึ้น R
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52099 จะขึ้น R
- ซิม DTAC TriNet (52005) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52005 จะไม่ขึ้น R
- ซิม DTAC TriNet (52005) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52018 จะขึ้น R
- ซิม AIS (52003) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52003 จะไม่ขึ้น R
- ซิม AIS (52003) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52001 จะขึ้น R
จะเห็นว่าซิม TrueMove-H จะขึ้น R เมื่อใช้นอกเหนือจากคลื่น 850Mhz ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกเพราะประชาชนอยากใช้คลื่น 2100Mhz มากกว่า
ในขณะที่ซิม DTAC TriNet และ AIS จะขึ้น R เมื่อใช้นอกเหนือจากคลื่น 2100Mhz ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นและเข้าใจง่ายกว่า
ทีนี้เรามาดูว่าแต่ละระบบแตกต่างกันอย่างไร
- ระบบ UMTS (3G) มีความสามารถรับส่งข้อมูล (data) ได้เร็วในโหมด HSPA และคุณภาพของเสียงสนทนา (voice) ก็มีความคมชัดกว่า
- ระบบ GSM (2G) รับส่งข้อมูล (data) ได้ช้าในโหมด EDGE และคุณภาพของเสียงสนทนา (voice) ก็ด้อยกว่า
ดังนั้นให้ดูที่ตัว H (HSPA) เป็นหลักเพราะจะเป็นการเชื่อมต่อกับระบบ UMTS (3G) อย่าไปกังวลเรื่องตัว R (Roaming) ว่าจะทำให้เล่นเน็ตไม่แรง
เนื่องจากแต่ละโอเปอร์เรเตอร์มี UMTS (3G) หลายโครงข่ายนั่นเอง ยกเว้นก็แต่ AIS ที่มี UMTS (3G) โครงข่ายเดียวเท่านั้น
คำศัพท์
Global System for Mobile Communications หรือ Groupe Special Mobile (GSM) = 2G
Universal Mobile Telecommunications System (UMTS) = 3G
Wideband Code Division Multiple Access (WCDMA) = เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ 3G
Long Term Evolution (LTE) = 4G
General Packet Radio Service (GPRS)
Enhanced Data rates for GSM Evolution (EDGE) (also known as Enhanced GPRS (EGPRS)
High Speed Packet Access (HSPA)
Android App ที่น่าสนใจ
Network Type Indicator (Toni Corvera)
https://play.google.com/store/apps/details?id=net.outlyer.nettype
Network Info Widget (Tony Smith)
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.indepico.netstat
Cell Widget (Dieter Thiess)
https://play.google.com/store/apps/details?id=de.dieterthiess.cellwidget
SIM - INFO (Mitraa Solutions)
https://play.google.com/store/apps/details?id=mitraa.solutions.sim.info
SIM Reader (Jae-Min Kim)
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.jaemin.simreader
Sim Details (Think Byte Limited)
https://play.google.com/store/apps/details?id=co.uk.thinkbyte.simdetails
Network Signal Info Pro (Andreas Kraemer)
https://play.google.com/store/apps/details?id=de.android.telnet2
Signal Finder (Akvelon Inc.)
https://play.google.com/store/apps/details?id=com.akvelon.signaltracker
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัว R ในมือถือ
ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัว R ในมือถือ
R (Roaming) หมายถึงการเชื่อมต่อสัญญาณข้ามโครงข่าย ในสมัยก่อนคนจะเข้าใจว่าเป็นการเอาไปใช้ในต่างประเทศ จึงมักจะกลัวคำว่าโรมมิ่งกันมากเพราะจะเสียค่าใช้บริการแพงมาก พอมาถึงยุค 3G เข้าใจว่าประเทศไทยต้องตั้งบริษัทแยกออกมาเพื่อประมูล 3G โดยเฉพาะ ทำให้แต่ละค่ายมีกัน 2-3 โครงข่าย แต่เบื้องหลังก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่าคือเจ้าของเดียวกัน ดังนั้นเวลาเราใช้งานโทรศัพท์จึงมีการโรมมิ่งสัญญาญไปๆมาๆแล้วแต่ว่าโครงข่ายไหนมีสัญญาณที่แรงกว่า จึงเป็นที่มาของความสับสนในเมืองไทย ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้ใช้รายใหม่เข้ามาตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับโรมมิ่งมากมายรวมทั้งฝรั่งนักท่องเที่ยวอีกเป็นจำนวนมาก
Mobile Country Code (MCC) ใช้คู่กับ Mobile Network Code (MNC) เป็นเลขของแต่ละโครงข่าย Operator (Carrier) ไม่ซ้ำกันในโลก
โดยปกติแล้วแต่ละซิมเมื่อสมัครโปรใดๆก็ตาม เราก็จะได้เลขโครงข่ายที่อ้างอิงกับซิมนั้นๆมา เราจะเรียกว่า SIM Operator Code
และเวลาที่มือถือเชื่อมต่อกับโครงข่ายใดๆ เราจะเรียกว่า Network Operator Code
โครงข่าย TrueMove-H
520 00 [TRUE-H] UMTS 850 (โครงข่ายหลัก)
520 04 [TRUE-H 2100] UMTS 2100
[TRUE-H 2100] LTE 2100
520 99 [TRUE] GSM 1800
โครงข่าย DTAC
520 05 [DTAC 2100] UMTS 2100 (โครงข่ายหลัก)
[DTAC 2100] LTE 2100 (โครงข่ายหลัก)
520 18 [dtac] GSM 1800
[DTAC] UMTS 850
โครงข่าย AIS
520 01 [AIS GSM] GSM 900
[AIS GSM] UMTS 900 (เลิกใช้)
520 03 [AIS 2100] UMTS 2100 (โครงข่ายหลัก)
520 23 [TH GSM 1800] GSM 1800 (เลิกใช้)
สรุปกันอีกครั้งว่า R (Roaming) ไม่เกี่ยวกับความเร็วของอินเตอร์เน็ท แต่เป็นการใช้โครงข่ายอื่นที่ไม่ตรงกับในซิม ตัวอย่างเช่น
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52000 จะไม่ขึ้น R
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52004 จะขึ้น R
- ซิม TrueMove-H (52000) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52099 จะขึ้น R
- ซิม DTAC TriNet (52005) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52005 จะไม่ขึ้น R
- ซิม DTAC TriNet (52005) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52018 จะขึ้น R
- ซิม AIS (52003) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52003 จะไม่ขึ้น R
- ซิม AIS (52003) ถ้าเชื่อมต่อกับโครงข่าย 52001 จะขึ้น R
จะเห็นว่าซิม TrueMove-H จะขึ้น R เมื่อใช้นอกเหนือจากคลื่น 850Mhz ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกเพราะประชาชนอยากใช้คลื่น 2100Mhz มากกว่า
ในขณะที่ซิม DTAC TriNet และ AIS จะขึ้น R เมื่อใช้นอกเหนือจากคลื่น 2100Mhz ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นและเข้าใจง่ายกว่า
ทีนี้เรามาดูว่าแต่ละระบบแตกต่างกันอย่างไร
- ระบบ UMTS (3G) มีความสามารถรับส่งข้อมูล (data) ได้เร็วในโหมด HSPA และคุณภาพของเสียงสนทนา (voice) ก็มีความคมชัดกว่า
- ระบบ GSM (2G) รับส่งข้อมูล (data) ได้ช้าในโหมด EDGE และคุณภาพของเสียงสนทนา (voice) ก็ด้อยกว่า
ดังนั้นให้ดูที่ตัว H (HSPA) เป็นหลักเพราะจะเป็นการเชื่อมต่อกับระบบ UMTS (3G) อย่าไปกังวลเรื่องตัว R (Roaming) ว่าจะทำให้เล่นเน็ตไม่แรง
เนื่องจากแต่ละโอเปอร์เรเตอร์มี UMTS (3G) หลายโครงข่ายนั่นเอง ยกเว้นก็แต่ AIS ที่มี UMTS (3G) โครงข่ายเดียวเท่านั้น
คำศัพท์
Global System for Mobile Communications หรือ Groupe Special Mobile (GSM) = 2G
Universal Mobile Telecommunications System (UMTS) = 3G
Wideband Code Division Multiple Access (WCDMA) = เป็นอีกชื่อเรียกหนึ่งของ 3G
Long Term Evolution (LTE) = 4G
General Packet Radio Service (GPRS)
Enhanced Data rates for GSM Evolution (EDGE) (also known as Enhanced GPRS (EGPRS)
High Speed Packet Access (HSPA)
Android App ที่น่าสนใจ
Network Type Indicator (Toni Corvera) https://play.google.com/store/apps/details?id=net.outlyer.nettype
Network Info Widget (Tony Smith) https://play.google.com/store/apps/details?id=com.indepico.netstat
Cell Widget (Dieter Thiess) https://play.google.com/store/apps/details?id=de.dieterthiess.cellwidget
SIM - INFO (Mitraa Solutions) https://play.google.com/store/apps/details?id=mitraa.solutions.sim.info
SIM Reader (Jae-Min Kim) https://play.google.com/store/apps/details?id=com.jaemin.simreader
Sim Details (Think Byte Limited) https://play.google.com/store/apps/details?id=co.uk.thinkbyte.simdetails
Network Signal Info Pro (Andreas Kraemer) https://play.google.com/store/apps/details?id=de.android.telnet2
Signal Finder (Akvelon Inc.) https://play.google.com/store/apps/details?id=com.akvelon.signaltracker