พอดีอ่านข่าวของ มติชน ซึ่งบังเอิญเป็นคอนโดที่คุณแม่ไปดูไว้พอดี เลยอยากทราบขั้นตอน รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการของทางคอนโด
สร้างต่อได้เลย หรือหยุดสร้าง ต้องทำ EIA ใหม่ จึงจะสร้างต่อได้
ขอเพิ่มคำถาม กรณีแบบนี้ เราจะรู้ได้ไงว่าโครงการที่เราสนใจ ทำ EIA แล้วจะไม่ถูกเพิกถอนแบบ โครงการนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421387727
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าวันนี้ (16 ม.ค.) ศาลปกครองกลางเปิดศาลนัดคู่กรณีมาศาล เพื่อพิจารณาคดีที่ "สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน" กับ ชาวบ้านซอยชินเขต ถนนงามวงศ์วาน เขตหลักสี่ จำนวน 39 คน ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผอ.สำนักโยธา, ผอ.เขตหลักสี่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และการบริการชุมชน (คชก.) และบริษัท เดอะแวลู พร๊อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของ “ดิ แอสปายคอนโด งามวงศ์วาน”
ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจทางกฎหมาย ตามคดีที่ ส.3/2554
โดยนายเสถียร ทิวทอง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงว่า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ คชก. ให้ความเห็นชอบนั้นกระบวนการจัดทำและการรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียรอบโครงการไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายกล่าวคือไปรับฟังประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโครงการเกินกว่า1,000เมตรทั้งที่ต้องรับฟังชาวบ้านที่ต้องได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือนโดยรอบโครงการที่ใกล้เคียงที่สุดจึงจะถูกต้อง
ดังนั้น ข้อมูลใน EIA ที่ คชก. พิจารณาจึงไม่เป็นไปตามมาตรา 5 วรรคหนึ่งแห่ง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอน EIA และคำขออนุญาตการก่อสร้างได้ อีกทั้งกระบวนการก่อสร้างคอนโดมิเนียมดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนและเสียหายแก่ชาวบ้าน แต่ทางกรุงเทพมหานครกลับไม่ตรวจสอบการดำเนินการและเร่งรีบในการออกคำสั่งระงับเหตุ จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงเห็นควรสั่งให้กรุงเทพมหานครจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ฟ้องคดีรายละ 68,900 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 23 พ.ค.54 เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
กรณี ศาลสั่งเพิกถอน EIA คอนโด “ดิ แอสปายคอนโด งามวงศ์วาน” อันนี้ ขั้นตอนต่อเป็นจะเป็นยังไงครับ
สร้างต่อได้เลย หรือหยุดสร้าง ต้องทำ EIA ใหม่ จึงจะสร้างต่อได้
ขอเพิ่มคำถาม กรณีแบบนี้ เราจะรู้ได้ไงว่าโครงการที่เราสนใจ ทำ EIA แล้วจะไม่ถูกเพิกถอนแบบ โครงการนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1421387727
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เปิดเผยว่าวันนี้ (16 ม.ค.) ศาลปกครองกลางเปิดศาลนัดคู่กรณีมาศาล เพื่อพิจารณาคดีที่ "สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน" กับ ชาวบ้านซอยชินเขต ถนนงามวงศ์วาน เขตหลักสี่ จำนวน 39 คน ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผอ.สำนักโยธา, ผอ.เขตหลักสี่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และการบริการชุมชน (คชก.) และบริษัท เดอะแวลู พร๊อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของ “ดิ แอสปายคอนโด งามวงศ์วาน”
ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจทางกฎหมาย ตามคดีที่ ส.3/2554
โดยนายเสถียร ทิวทอง ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองกลาง ในฐานะตุลาการผู้แถลงคดีได้แถลงว่า รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ คชก. ให้ความเห็นชอบนั้นกระบวนการจัดทำและการรับฟังความเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียรอบโครงการไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายกล่าวคือไปรับฟังประชาชนในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโครงการเกินกว่า1,000เมตรทั้งที่ต้องรับฟังชาวบ้านที่ต้องได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือนโดยรอบโครงการที่ใกล้เคียงที่สุดจึงจะถูกต้อง
ดังนั้น ข้อมูลใน EIA ที่ คชก. พิจารณาจึงไม่เป็นไปตามมาตรา 5 วรรคหนึ่งแห่ง พรบ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอน EIA และคำขออนุญาตการก่อสร้างได้ อีกทั้งกระบวนการก่อสร้างคอนโดมิเนียมดังกล่าวได้สร้างความเดือดร้อนและเสียหายแก่ชาวบ้าน แต่ทางกรุงเทพมหานครกลับไม่ตรวจสอบการดำเนินการและเร่งรีบในการออกคำสั่งระงับเหตุ จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงเห็นควรสั่งให้กรุงเทพมหานครจ่ายค่าชดเชยให้ผู้ฟ้องคดีรายละ 68,900 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ 23 พ.ค.54 เป็นต้นไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด