ขอคำแนะนำ: แบ่งชำระหนี้ กยศ. อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าเงิน

สวัสดีครับ ทุกท่าน วันนี้มาขอคำปรึกษา เรื่องการชำระหนี้ กยศ อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าเงิน ครับ
รายละเอียด หนี้กยศ. ตามภาพด้านล่างครับ สถานะการชำระหนี้: ปกติ (ได้ชำระ 2 งวดแรกตามเงื่อนไขปกติไปแล้วครับ)
ข้อมูลภาพรวม

ตารางแสดงการผ่อนชำระรายปี จากกยศ.

วิธีคำนวณดอกเบี้ย

ยอดเงินกู้คงเหลือ x 1%(อัตรา) x จำนวนวัน
                          365

ประวัติการชำระ
วันที่                     เงินต้น                ดอกเบี้ย           ค่าธรรมเนียม           รวม
05/06/2556        4,018.50                0.00                 10.00            4,028.50
10/03/2557        7,553.38         1,792.94                 10.00            9,356.32

รายได้ต่อเดือน
-โดยประมาณ 33,000 บาท (หลังหักภาษี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันสังคมแล้ว)
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน
-ให้คุณพ่อคุณแม่   6,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 12,000 บาท

คงเหลือ 15,000 บาท ตั้งใจจะแบ่งเป็น เงินสำรองฉุกเฉิน และชำระหนี้ กยศ. (ลงทุน ถ้าเป็นไปได้)
เลยอยากขอคำแนะนำจากเพื่อนๆ ที่มีความรู้ความเข้าใจว่า
1.)เราควรจะแบ่งสัดส่วนเงิน 15,000 บาทนี้ อย่างไรให้คุ้มค่าที่สุดครับ
2.)การชำระหนี้กยศ. ควรจะส่งชำระรายเดือน, รายปี หรือ ชำระแบบปิดบัญชี(สมมติว่ามีเงินก้อน) แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

ปล.ปัจจุบัน อายุ 26 ปี กำลังจะเริ่มงานและรายได้เดือนแรกจะได้ประมาณสิ้นเดือน มีนาคม 2558 ครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นและคำแนะนำจากเพื่อนๆ ครับ ยิ้ม

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เอาแบบผมละกัน งวดแรกๆเงินมันน้อยจ่ายปีละครั้ง งวดหลังๆเงินเยอะขึ้นให้ใช้วิธีเปิดบัญชีออมทรัพย์ขึ้นมาใหม่พวกออมทรัพย์พิเศษดอกเบี้ยเยอะทั้งหลายของผมเปิดซุปเปอร์ออมทรัพย์พิเศษของ ธอส ส่วนคุณจะเปิดอะไรให้ดูเงื่อนไขที่สะดวกและใกล้บ้านแต่หลักๆต้องสามารถถอนได้อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และไม่ได้กำหนดจำนวนเงินว่าจะต้องฝากเงินเข้าทุกเดือน เพื่อสมมุติว่าคุณมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นฉุกเฉินก็สามารถถอนเอามาใช้ได้ทันที

วิธีการต้องเตียมการล่วงหน้าคือ....... สมมุติ เดือน กค 2558 ต้องชำระหนี้ 30,000 บาท ผมก็จะเอา 30,000 /10 ได้ 3,000 (ทำไมต้องหาร10อ่านไปจะเข้าใจเอง) สรุปผมต้องฝากเดือนละ 3,000 ดังนั้น ตั้งแต่สิ้นเดือน กค 2557 ผมจะต้องฝากเงิน 3,000 บาท ทุกเดือนจนถึงสิ้นเดือน เมย 2558 ผมก็จะมีเงิน 30,000 พร้อมจ่าย กยส พอดี แต่อย่าเพิ่งถอนมาจ่ายนะครับทิ้งไว้อย่างนั้นก่อนเพื่อรอให้ดอกเบี้ยมันออก (ดอกเบี้ยจะออกปีละ 2 ครั้งคือ สิ้นเดือน มิย และ ธค)

พอถึงสิ้นเดือน พค 2558 ก็ไม่จำเป็นต้องฝากถึง 3,000 ก็ได้ แต่เพื่อวินัยในการออมก็ฝากมันเท่ากันซะเลย  สาเหตุที่ให้ฝากต่อเพราะว่าบัญชีประเภทนี้จะต้องมีเงินคาบัญชีขั้นต่ำเอาไว้อันนี้ต้องไปดูเงือนไขของธนาคารว่าเท่าไหร่นะครับ

พอถึงสิ้นเดือน มิย 2558 ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องเตรียมหาเงินมาชำระหนี้ กยส ถ้าผมยังฝาก 3,000 ทุกเดือนผมจะมีเงินในบัญชีนี้ 33,000 บาท  โดยเดือนนี้ไม่จำเป็นต้องฝากก็ได้เพราะต้องถอนเงินก้อนนี้ออกมาใช้อยู่แล้ว

ปกติ กยส จะให้จ่ายภายในวันที่ 5-6 กค ผมก็จะถอนเงินก้อนนี้ 30,000 เพื่อมาชำระหนี้ กยส ช่วงต้น กค เพื่อ ให้เงินมันออกดอกออกผลซะก่อน

พอถึงสิ้นเดือน กค 2558 ผมก็เริ่มฝากด้วยวิธีเดิมสำหรับงวดของปีถัดไป ซึ่งวิธีนี้เงินที่ผมจะเอามาจ่าย กยส ก็สามารถออกดอกออกผลให้ผมได้อีกโดยที่ความเสี่ยงน้อยอีกด้วย  แต่ถ้าคุณจ่ายกับธนาคารโดยชำระแต่ละเดือนเป็นงวดหรือจ่ายที่เดียวหมดเท่ากับว่าคุณเสียโอกาสที่จะเอาเงินที่จะจ่าย กยส มาสร้างรายได้ให้งอกเงยขึ้นเพราะว่าดอกเบี้ยของ กยส มันไม่ลดต้นลดดอก ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรีบจ่ายให้หมดครับ

และที่สำคัญการเปิดบัญชีแยกตังหากจะทำให้เราแยกเงินออกมาชัดเจนไม่ปนกัน การที่ปล่อยให้เงินอยู่บัญชีเดียว ยังไงมันอดใจไม่ไหวต้องถอนออกมาใช้แน่นอน

ส่วนสาเหตุที่ต้องหาร 10 เพราะว่าคุณจะเก็บเงินที่จ่าย กยส ในเดือนที่ 10 ของการฝากเงิน และสามารถจ่ายเงิน กยส ได้ทันเวลา แต่ถ้าหาร 12 เงินมันครบเอาเดือนที่ 12 ซึ่งจะจ่ายไม่ทันต้นเดือน กค ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่