ของใหม่ใช่จะดีกว่าของเก่าเสมอไปสินค้าปรับปรุงใหม่อาจคุณภาพห่วยกว่าสินค้าตัวเดิม
ฉันใดก็ฉันเพล ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ฉายหนังโฆษณาว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในรอบ 80 ปี
ตอนนี้เริ่มเห็นเค้าลางว่าจะไม่แจ๋วเหมือนราคาคุย
เอาแค่ มาตรา 7 มาตราเดียวก็เสียวทะลุซอยแล้วท่านประธาน
“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ซึ่งถูก (อ้าง) เป็นทางออกเพื่อจะเอา
“คนนอก” แหกด่านมะขามเตี้ยเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ระเบิดกำแพงให้
“คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างสะดวกโยธิน
มาตรา 7 ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้เป็นประตูฉุกเฉินอีกต่อไป
แต่ปรากฏว่า คณะกรรมาธิการยกร่างของ
“ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” ยังยืนหยัดยืนยันจะอนุรักษ์มาตรา 7 (เด็ดสะระตี๋) เอาไว้ตามเดิม
โดยใช้
“ช่องโหว่มาตรา 7” เพิ่มอำนาจเบ็ดเสร็จให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ถือดุลสูงสุดทางการเมือง
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือรัฐบาล เหนือรัฐสภา เหนือศาลฎีกา เหนือศาลปกครอง เหนือองค์กรอิสระ
และเหนืออำนาจประชาชน 65 ล้านคน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ...มันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเขียนไว้กว้างๆ ว่า ในกรณีใดที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ให้ดำเนินการไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เคยใช้มา
แต่ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการเขียนขยายเพิ่มให้ชัดเจนว่า ในกรณีใด
ที่ไม่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด รวมถึงองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด (แต่ผู้เดียว) เท่ากับขยายเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญครอบจักรวาล
มอบดาบอาญาสิทธิ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาต่างๆทุกกรณี
หมายความว่า อะไรก็ตามที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ยกให้เป็นอำนาจศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินใจเอง
จะให้เลี้ยวซ้าย? เลี้ยวขวา? เดินหน้า? ถอยหลัง? อยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ของศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน
หรือพูดอย่างถึงกึ๋น
เรื่องอะไรที่ไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดกติกาได้เอง
แบบนี้ก็สุขกันเถอะเราน่ะสิโยม
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าการประเคนอำนาจเบ็ดเสร็จให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน...อาจเป็นดาบสองคม??
ยิ่งกว่านั้น การเพิ่มอำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไปจะทำให้ระบอบประชาธิปไตย ผิดฝาผิดตัว ผิดรูปผิดทรง
เพราะหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือแยกอำนาจอธิปไตย เป็น 3 ฝ่าย
1.ฝ่ายบริหาร
2.ฝ่ายนิติบัญญัติ
3.ฝ่ายตุลาการ
เพื่อให้อำนาจ 3 ฝ่ายถ่วงดุลกันและกัน
แต่การยกศาลรัฐธรรมนูญไปครอบเหนือ 3 อำนาจอธิปไตย จึงทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ผูกขาดอำนาจสูงสุดแต่ผู้เดียว
“แม่ลูกจันทร์” สารภาพตามตรงว่าไม่สบายใจ เพราะศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาท่านได้สร้างความงามไส้เอาไว้หลายกรณี
ถ้าเอาไส้ใหญ่ไส้เล็กไส้อ่อนมากองรวมกัน คงทำกวยจั๊บ ตือฮวนและต้มแซ่บได้ 3 หม้อโตๆ
จะมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้สังคมมั่นใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีต่างๆอย่างโปร่งใส? เป็นกลาง? และเป็นธรรม?
ขอผ่านความห่วงใยประเด็นนี้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับไว้พิจารณาด้วยเทอญ.
"แม่ลูกจันทร์"
✿ หากมอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้ ต่อไปบ้านเมืองจะวุ่นวายไม่จบสิ้น ฝากถึง พล.อ.ประยุทธ ได้โปรดรับไว้พิจารณาด้วย ✿
ของใหม่ใช่จะดีกว่าของเก่าเสมอไปสินค้าปรับปรุงใหม่อาจคุณภาพห่วยกว่าสินค้าตัวเดิม
ฉันใดก็ฉันเพล ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ฉายหนังโฆษณาว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในรอบ 80 ปี
ตอนนี้เริ่มเห็นเค้าลางว่าจะไม่แจ๋วเหมือนราคาคุย
เอาแค่ มาตรา 7 มาตราเดียวก็เสียวทะลุซอยแล้วท่านประธาน
“แม่ลูกจันทร์” กราบเรียนว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 7 ซึ่งถูก (อ้าง) เป็นทางออกเพื่อจะเอา “คนนอก” แหกด่านมะขามเตี้ยเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ระเบิดกำแพงให้ “คนนอก” เป็นนายกรัฐมนตรีได้อย่างสะดวกโยธิน
มาตรา 7 ก็ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้เป็นประตูฉุกเฉินอีกต่อไป
แต่ปรากฏว่า คณะกรรมาธิการยกร่างของ “ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ” ยังยืนหยัดยืนยันจะอนุรักษ์มาตรา 7 (เด็ดสะระตี๋) เอาไว้ตามเดิม
โดยใช้ “ช่องโหว่มาตรา 7” เพิ่มอำนาจเบ็ดเสร็จให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ถือดุลสูงสุดทางการเมือง
กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือรัฐบาล เหนือรัฐสภา เหนือศาลฎีกา เหนือศาลปกครอง เหนือองค์กรอิสระ
และเหนืออำนาจประชาชน 65 ล้านคน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ...มันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่ารัฐธรรมนูญมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญฉบับเก่าเขียนไว้กว้างๆ ว่า ในกรณีใดที่ไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ให้ดำเนินการไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เคยใช้มา
แต่ในร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีการเขียนขยายเพิ่มให้ชัดเจนว่า ในกรณีใด
ที่ไม่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด รวมถึงองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด (แต่ผู้เดียว) เท่ากับขยายเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญครอบจักรวาล
มอบดาบอาญาสิทธิ์ให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชี้ขาดปัญหาต่างๆทุกกรณี
หมายความว่า อะไรก็ตามที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ยกให้เป็นอำนาจศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินใจเอง
จะให้เลี้ยวซ้าย? เลี้ยวขวา? เดินหน้า? ถอยหลัง? อยู่ที่เสียงส่วนใหญ่ของศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน
หรือพูดอย่างถึงกึ๋น เรื่องอะไรที่ไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดกติกาได้เอง
แบบนี้ก็สุขกันเถอะเราน่ะสิโยม
“แม่ลูกจันทร์” มองว่าการประเคนอำนาจเบ็ดเสร็จให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน...อาจเป็นดาบสองคม??
ยิ่งกว่านั้น การเพิ่มอำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไปจะทำให้ระบอบประชาธิปไตย ผิดฝาผิดตัว ผิดรูปผิดทรง
เพราะหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย คือแยกอำนาจอธิปไตย เป็น 3 ฝ่าย
1.ฝ่ายบริหาร
2.ฝ่ายนิติบัญญัติ
3.ฝ่ายตุลาการ
เพื่อให้อำนาจ 3 ฝ่ายถ่วงดุลกันและกัน
แต่การยกศาลรัฐธรรมนูญไปครอบเหนือ 3 อำนาจอธิปไตย จึงทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ผูกขาดอำนาจสูงสุดแต่ผู้เดียว
“แม่ลูกจันทร์” สารภาพตามตรงว่าไม่สบายใจ เพราะศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาท่านได้สร้างความงามไส้เอาไว้หลายกรณี
ถ้าเอาไส้ใหญ่ไส้เล็กไส้อ่อนมากองรวมกัน คงทำกวยจั๊บ ตือฮวนและต้มแซ่บได้ 3 หม้อโตๆ
จะมีหลักประกันอะไรที่จะทำให้สังคมมั่นใจว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีต่างๆอย่างโปร่งใส? เป็นกลาง? และเป็นธรรม?
ขอผ่านความห่วงใยประเด็นนี้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รับไว้พิจารณาด้วยเทอญ.
"แม่ลูกจันทร์"