ในตอนที่สตีเฟน ซอนด์เฮมและเจมส์ ลาไพน์นั่งคุยกันถึงเรื่อง “Into the Woods” เป็นครั้งแรก ความตั้งใจของพวกเขาคือการสร้างมิวสิคัลปลุกเร้าอารมณ์ที่มีเค้าโครงจากโลกแฟนตาซี ที่ซึ่งตัวละครออกผจญภัย ทั้งคู่ ผู้ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกันในมิวสิคัลรางวัลพูลิทเซอร์เรื่อง “Sunday in the Park with George” เริ่มต้นจากเทพนิยายปรัมปราจำนวนหนึ่ง และผสมผสานมันเข้ากับเรื่องราวใหม่เกี่ยวกับคนทำขนมปังและภรรยาของเขา ผลที่ได้คือเรื่องราวที่งดงาม น่าประทับใจ ที่มีธีมร่วมสมัย และถูกบอกเล่าอย่างสง่างามผ่านทางตัวละครคลาสสิกอย่างซินเดอเรลลา แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ราพันเซลและหนูน้อยหมวกแดง ซึ่งล้วงลึกเข้าไปในสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก “มีความสุขชั่วนิจนิรันดร์”
เทพนิยายมีที่มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกแล้ว และถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าเมื่อมองจากผิวเผิน วัตถุประสงค์ของมันอาจดูเหมือนเกิดขึ้นเพื่อความบันเทิงโดยแท้ แต่เทพนิยายยังเป็นเครื่องมือสำคัญด้านการศึกษาและอารมณ์เนื่องด้วยข้อคิดเกี่ยวกับมนุษย์เราของมัน นักจิตวิทยา บรูโน เบทเทิลเฮมได้เขียนเกี่ยวกับมิติด้านจิตวิทยาของเทพนิยายในหนังสือ “The Uses of Enchantment: The Meaning and Importance of Fairy Tales” ของเขา ที่เขากล่าวถึงพลังของเทพนิยายที่ทำให้เด็กๆ สามารถสรุปความหมายที่แท้จริงของเรื่องราวเหล่านั้นในแบบของตัวพวกเขาเองได้
เมอริล สตรีพกล่าวเห็นพ้องด้วยกับความเชื่อนี้ว่า “เทพนิยายพัฒนาขึ้นมาเป็นเรื่องราวเตือนใจ มันถูกบอกเล่าเพื่อทำให้เด็กๆ กลัวอันตรายที่พวกเขาจะได้พบเจอในชีวิตและสนับสนุนให้เด็กสาวแต่งงานกับหนุ่มร่ำรวย ทุกคนถูกสนับสนุนให้ตามหาเจ้าชายและใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขชั่วนิจนิรันดร์ แต่บางครั้ง มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นค่ะ”
การนำเทพนิยายมาสู่ฉากจริงๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายดั้งเดิมอย่างหนึ่งของซอนด์เฮมและลาไพน์ เป็นแง่มุมที่ทีมนักแสดงชื่นชอบมากๆ แอนนา เคนดริคอธิบายว่า “มีเหตุผลที่ไฮสคูลส่วนใหญ่จัดแสดงแค่องก์แรก เพราะองก์แรกจบลงด้วยการมีความสุขชั่วนิจนิรันดร์ แต่จริงๆ แล้ว องก์ที่สองคือสิ่งที่ทำให้เรื่องราวนี้เหลือเชื่อ มีน้ำหนัก และจับต้องได้ค่ะ”
จอห์นนี เดปป์กล่าวเห็นพ้องด้วย “ผมชื่นชอบไอเดียของการเนรมิตชีวิตให้กับเทพนิยายทั้งหมดนี้ที่เราโตมากับมันให้อยู่ในมิวสิคัลเรื่องเดียว เราได้รู้จักพวกมันมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่าขนลุกและตลกกว่าที่เราจินตนาการไว้เสียอีก ดังนั้น มันก็เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม และมันก็ถูกรวมกันได้อย่างงดงามครับ”
ซอนด์เฮมกล่าวขยายความว่า “เจมส์ ลาไพน์ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาตลอด 500 ปีกับเรื่อง ‘Cinderella’ เขาทำให้เธอทิ้งรองเท้าไว้เบื้องหลังด้วยความตั้งใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เฉียบคมจริงๆ เพราะนั่นทำให้เธอรู้ว่าเจ้าชายรักเธอจริงรึเปล่า” ในบทเจ้าชายผู้หมายปองซินเดอเรลลา ในตอนแรก คริส ไพน์ไม่คุ้นเคยกับมิวสิคัลเรื่อง “Into the Woods” ซักเท่าไหร่ แต่หลังจากได้อ่านบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาก็หลงใหลธีมและเทคนิคของลาไพน์และซอนด์เฮมในทันที เขาอธิบายว่า “พวกเขาได้นำเทพนิยาย ซึ่งถูกนำเสนอในตอนแรกของเรื่องราว มารวมโลกและเรื่องราวที่แปลกต่างของพวกมันเข้าด้วยกัน และจากจุดนั้น เรื่องราวก็ยิ่งลึกซึ้งและซับซ้อนขึ้น ในหลายๆ แง่มุม หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเติบโตขึ้น เพราะตัวละครได้เรียนรู้ว่าชีวิตน่าตื่นตาตื่นใจได้มากเพียงไหนในหลายๆ รูปแบบ มันเป็นเรื่องของการค้นพบโลกครับ”
ความสำคัญของเทพนิยาย กับหนัง INTO THE WOODS
ในตอนที่สตีเฟน ซอนด์เฮมและเจมส์ ลาไพน์นั่งคุยกันถึงเรื่อง “Into the Woods” เป็นครั้งแรก ความตั้งใจของพวกเขาคือการสร้างมิวสิคัลปลุกเร้าอารมณ์ที่มีเค้าโครงจากโลกแฟนตาซี ที่ซึ่งตัวละครออกผจญภัย ทั้งคู่ ผู้ก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกันในมิวสิคัลรางวัลพูลิทเซอร์เรื่อง “Sunday in the Park with George” เริ่มต้นจากเทพนิยายปรัมปราจำนวนหนึ่ง และผสมผสานมันเข้ากับเรื่องราวใหม่เกี่ยวกับคนทำขนมปังและภรรยาของเขา ผลที่ได้คือเรื่องราวที่งดงาม น่าประทับใจ ที่มีธีมร่วมสมัย และถูกบอกเล่าอย่างสง่างามผ่านทางตัวละครคลาสสิกอย่างซินเดอเรลลา แจ็คผู้ฆ่ายักษ์ ราพันเซลและหนูน้อยหมวกแดง ซึ่งล้วงลึกเข้าไปในสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจาก “มีความสุขชั่วนิจนิรันดร์”
เทพนิยายมีที่มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกแล้ว และถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา แม้ว่าเมื่อมองจากผิวเผิน วัตถุประสงค์ของมันอาจดูเหมือนเกิดขึ้นเพื่อความบันเทิงโดยแท้ แต่เทพนิยายยังเป็นเครื่องมือสำคัญด้านการศึกษาและอารมณ์เนื่องด้วยข้อคิดเกี่ยวกับมนุษย์เราของมัน นักจิตวิทยา บรูโน เบทเทิลเฮมได้เขียนเกี่ยวกับมิติด้านจิตวิทยาของเทพนิยายในหนังสือ “The Uses of Enchantment: The Meaning and Importance of Fairy Tales” ของเขา ที่เขากล่าวถึงพลังของเทพนิยายที่ทำให้เด็กๆ สามารถสรุปความหมายที่แท้จริงของเรื่องราวเหล่านั้นในแบบของตัวพวกเขาเองได้
เมอริล สตรีพกล่าวเห็นพ้องด้วยกับความเชื่อนี้ว่า “เทพนิยายพัฒนาขึ้นมาเป็นเรื่องราวเตือนใจ มันถูกบอกเล่าเพื่อทำให้เด็กๆ กลัวอันตรายที่พวกเขาจะได้พบเจอในชีวิตและสนับสนุนให้เด็กสาวแต่งงานกับหนุ่มร่ำรวย ทุกคนถูกสนับสนุนให้ตามหาเจ้าชายและใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขชั่วนิจนิรันดร์ แต่บางครั้ง มันก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นค่ะ”
การนำเทพนิยายมาสู่ฉากจริงๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายดั้งเดิมอย่างหนึ่งของซอนด์เฮมและลาไพน์ เป็นแง่มุมที่ทีมนักแสดงชื่นชอบมากๆ แอนนา เคนดริคอธิบายว่า “มีเหตุผลที่ไฮสคูลส่วนใหญ่จัดแสดงแค่องก์แรก เพราะองก์แรกจบลงด้วยการมีความสุขชั่วนิจนิรันดร์ แต่จริงๆ แล้ว องก์ที่สองคือสิ่งที่ทำให้เรื่องราวนี้เหลือเชื่อ มีน้ำหนัก และจับต้องได้ค่ะ”
จอห์นนี เดปป์กล่าวเห็นพ้องด้วย “ผมชื่นชอบไอเดียของการเนรมิตชีวิตให้กับเทพนิยายทั้งหมดนี้ที่เราโตมากับมันให้อยู่ในมิวสิคัลเรื่องเดียว เราได้รู้จักพวกมันมากขึ้น ซึ่งกลายเป็นว่ามันเป็นเรื่องที่น่าขนลุกและตลกกว่าที่เราจินตนาการไว้เสียอีก ดังนั้น มันก็เป็นไอเดียที่ยอดเยี่ยม และมันก็ถูกรวมกันได้อย่างงดงามครับ”
ซอนด์เฮมกล่าวขยายความว่า “เจมส์ ลาไพน์ทำในสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาตลอด 500 ปีกับเรื่อง ‘Cinderella’ เขาทำให้เธอทิ้งรองเท้าไว้เบื้องหลังด้วยความตั้งใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่เฉียบคมจริงๆ เพราะนั่นทำให้เธอรู้ว่าเจ้าชายรักเธอจริงรึเปล่า” ในบทเจ้าชายผู้หมายปองซินเดอเรลลา ในตอนแรก คริส ไพน์ไม่คุ้นเคยกับมิวสิคัลเรื่อง “Into the Woods” ซักเท่าไหร่ แต่หลังจากได้อ่านบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาก็หลงใหลธีมและเทคนิคของลาไพน์และซอนด์เฮมในทันที เขาอธิบายว่า “พวกเขาได้นำเทพนิยาย ซึ่งถูกนำเสนอในตอนแรกของเรื่องราว มารวมโลกและเรื่องราวที่แปลกต่างของพวกมันเข้าด้วยกัน และจากจุดนั้น เรื่องราวก็ยิ่งลึกซึ้งและซับซ้อนขึ้น ในหลายๆ แง่มุม หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเติบโตขึ้น เพราะตัวละครได้เรียนรู้ว่าชีวิตน่าตื่นตาตื่นใจได้มากเพียงไหนในหลายๆ รูปแบบ มันเป็นเรื่องของการค้นพบโลกครับ”