บ้าน (พ.ศ. 2530)
สร้างจากบทประพัทธ์ “จนตรอก” ของ ชาติ กอบจิตติ นี่คือหนังที่คนดูหลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าจะหดหู่และเศร้าไปถึงไหน เรื่องราวของครอบครัวที่เจอแต่เรื่องซวยซ้ำซวยซ้อน และการตัดสินใจในชีวิตแต่ละครั้งดูจะนำพาไปสู่สิ่งที่ผิดพลาดเสมอๆ นำแสดงโดยสรพงษ์ ชาตรี และได้ดาราใหญ่อย่าง ส. อาสนจินดา มาวาดลวดลายการแสดงไว้และสามารถกวาดรางวัลการแสดงจากเรื่องนี้ด้วย นี่ถือเป็นรอยต่อระหว่างที่หนังไทยกำลังจะก้าวไปสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง ก่อนที่จะเริ่มมีกระแสหนังวัยรุ่นของค่ายเพลงต่างๆทำออกมา ก็ดูจะมีเรื่องนี้นี่ล่ะ ที่คนรักหนังควรย้อนกลับไปดูกันสักครั้ง
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน (พ.ศ. 2534)
หนังไทยคลาสสิคอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังจะถูกลืมไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนตัวคนเขียนก็เพิ่งได้มารู้จักกับหนังเรื่องนี้ไม่นาน (รู้สึกตัวเองผิดมาหลายปี) ผลงานของผู้กำกับมานพ อุดมเดช ที่หนังของเขามักเป็นเรื่องด้านมืดของมนุษย์ หนังเปิดตัวอย่างชัดเจนว่าเป็น “ฟิล์มนัวร์” ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องแรกของบ้านเราเลยที่ทำแนวนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่อง The Postman Alaways Ring Twice แบบจัดเต็ม (ถ้าจะเอา Noir จริงๆน่าจะเป็นเวอร์ชั่นขาวดำปี 1946) แต่ของเราเปลี่ยนจากเหตุเกิดในร้านอาหารเป็นปั๊มน้ำมันภาคใต้ (ต้องดูเอาเอง) ผลตอบรับที่ได้หนังทำรายได้ขาดทุน คนเข้าดูน้อยมาก แต่ในมุมของนักวิจารณ์นี่คือหนังไทยที่ทำออกมาได้ลงตัวและมีจริตจะก้านคมคายที่สุดเรื่องหนึ่ง กวาดรางวัลเวทีตุ๊กตาทองบ้านเราไปถึง 9 รางวัล
ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ. 2536)
นำแสดงโดย สัญญา คุณากร นี่คือผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่ทำให้คนเห็นฝีมือของเขา คาแรคเตอร์หนุ่มกลางคนที่ชื่อว่า “นพ” เขาเป็นพนักงานดีเยี่ยม ตั้งใจตั้งหน้าตั้งตาทำงานในโรงงานกระป๋องแบบไม่มีปากมีเสียงใดๆ จนวันหนึ่งเขาได้รับข่าวร้ายจากยมบาลว่าตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกในเวลาจำกัด จึงเกิดเป็นการทำเควสลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ของตัวเอกขึ้นมา หนังตั้งคำถามถึงชีวิตการทำงานแบบไม่สนใจสิ่งสำคัญอื่นๆในชีวิตของคนทำงาน หรือมนุษย์เงินเดือนในยุคที่ประเทศไทยกำลังผลักดันธุรกิจ ถือเป็นหนังจากค่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ที่ทำออกมามีเนื้อหาหนักหน่วงพอสมควร แต่ผ่านมือการกำกับของอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ทำให้หนังออกมาดูสนุกและเพลิดเพลิน หากไปถามถึงหนังขึ้นหิ้งในยุค 2530 นี่จะต้องเป็นเรื่องหนึ่งอยู่ในลิสต์แน่ๆ
ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540)
แหม หนังสองเรื่องที่นำแสดงโดย สัญญา คุณากร มาอยู่ในลิสต์นี้ของเราทั้งคู่เลย หนังเรื่องนี้ทำให้เห็นเขาเคยวิ่งหน้าตั้งมาแล้วทั่วกรุงเทพ! ผลงานแจ้งเกิดของผู้กำกับ ออกไซด์ แปง ที่ประสบความสำเร็จล้นหลาม คว้ารางวัลเวทีในไทยไปมากมาย เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งไปค้นพบว่าตนเองมีภารกิจที่สามารถรู้ล่วงหน้าอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ โดยช่วยเหลือผู้คนเหล่านั้นแลกกับกรรมที่เคยก่อ (โยงความเป็นพุทธศาสนาของไทยได้สมบูรณ์เสร็จสรรพ) คงเป็นเพราะเนื้อหาที่สนุกเข้มข้นลุ้นนาทีต่อนาทีคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนี้หยิบมาดูกี่ทีก็ไม่เบื่อ
กล่อง (พ.ศ. 2541)
หากจะพูดถึงหนังขึ้นหิ้งของท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) ที่ถูกใจเราคงต้องไปกองอยู่ในยุคก่อนปี 2530 หลายเรื่อง แต่ถ้าในยุคหลังมานี้เราขอยกให้เรื่อง “กล่อง” เป็น Masterpiece ชิ้นสำคัญในเส้นทางการทำหนังของท่านเลยทีเดียว เอาแค่การเลือกดาราคู่พระนางของเรื่องเป็นโน๊ต อุดม แต้พานิช กับ ลูกเกด เมทินี กิ่งโพยม ก็พอรู้แล้วว่าหนังเรื่องนี้มันจะออกมา Absurd ขนาดไหน สิ่งที่เราชอบสำหรับหนังเรื่องกล่องในทุกๆครั้งที่ได้ดู (ยอมรับว่าครั้งแรกตอนเด็กดูแบบไม่ตั้งใจ ยังคิดเลยหนังไรเนี่ยเบื่อมากๆ) คือการใช้ Scene ทั่วไปที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันของหนุ่มไทยคนหนึ่งในยุคฟองสบู่แตก นำมาใส่เรื่องราวและนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้บรรยากาศโดยรวมของหนังมันมีความแปลกใหม่และน่าสนใจสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่ตัวเอกไปเจอกล่องจากคนแปลกหน้า (ถึงตรงนี้ลุงนั่นแกเป็นคนรึเปล่าก็ไม่รู้) เพื่อนบ้านรวมถึงแฟนสาวของพระเอกที่ดูจะไม่ใช่คนพูดรู้เรื่องสักคน โลเคชั่นทั้งหอพักและที่ทิ้งขยะ สีสันที่ใช้ในเรื่อง จนมาจบด้วยฉากจบที่พีคซะจนมันทำให้เราทั้งเศร้าทั้งมึนได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากใครรู้จักชื่อท่านมุ้ยเพียงแค่สุริโยไทย หรือสมเด็จพระนเรศวร คุณจำเป็นต้องหาหนังเก่าโดยเฉพาะ กล่อง เรื่องนี้มาชมโดยด่วน
คนจร ฯลฯ (พ.ศ. 2541)
ไล่ไปไล่มา รู้สึกว่าปี 2541 นี่จะเป็นปีที่มีหนังไทยแปลกๆเข้าโรงฉายกันไม่น้อยเลยนะเนี่ย จากข้อที่แล้วเจองานฝั่ง Absurd ของท่านมุ้ยเข้าไป มาถึงข้อนี้ คนจร ฯลฯ ถือเป็นหนังอินดี้นอกกระแสเรื่องแรกเลยก็ว่าได้ ที่ได้เข้าโรงฉายแบบจัดเต็มไม่มีจำกัดเหมือนหนังอินดี้ทั่วไป ผลงานของ อรรถพร ไทยหิรัญ หนึ่งในผู้กำกับของบ้านเราที่น่าจับตามองแต่ดันมาเสียชีวิตไปเสียก่อนเมื่อช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานี้ ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะได้ เรย์ แมคโดนัลด์ มาประกับเป็นตัวเอกคู่กับฉัตรชัย เปล่งพานิช แต่เสียงตอบรับของหนังเรื่องนี้ตอนเข้าฉายก็ยังเป็นไปในทิศทางที่ไม่มีคนเข้าใจอยู่ดี เพราะการถ่ายทำทำออกมาแบบหลุดขั้วสุดๆ ทั้งกล้องที่สั่นไหวไปมาตลอดทั้งเรื่อง บทพูดสารพัดคำหยาบ รวมไปถึงคอสตูมการใช้สีในเรื่องที่แสบสันและ Weird กว่าโลกปกติ แต่เพราะหนังแบบนี้นี่ล่ะที่เมื่อเวลาผ่านไป ย้อนกลับมาดูจะถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามของวงการ
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. 2544)
เราเชื่อว่าใครที่เคยดูหนังเรื่องนี้ต้องชอบทุกคน เพราะมันมีเนื้อหาที่ถ้าคุณเป็นคนไทยก็จะอินและเข้าใจกันได้หมด รวมไปถึงทักษะการเล่าเรื่องของเป็นผู้กำกับเอก รัตนเรือง ที่ในผลงานชิ้นนี้เขาอาจจะไม่ต้องมีความพิศดารอะไรมากมาย แต่แสดงให้เห็นว่าคนๆนี้รู้ว่าต้องทำอะไรในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่จริงๆ เค้าโครงเรื่องมาจากงานประพันธ์ชื่อเดียวกันของ วัฒน์ วรรลยางกูร ที่พอนำเสนอออกมาเป็นหนังแล้ว ส่วนตัวเรารู้สึกเลยว่าใครที่คิดว่า เรื่องราวของ Forrest Gump สนุกอย่างไร ถ้าเปลี่ยนให้ตัวเอกเป็นตามนิทานคลาสสิคประเภท หนุ่มลูกทุ่งอยากเป็นนักร้อง มาหลงเข้าเมืองกรุง ก็จะเป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำออกมาได้สมบูรณ์แบบเลยจริงๆ หนังยาว 2 ชั่วโมง แต่ดูแล้วรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วจนไม่รู้ตัวเลย
เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (พ.ศ. 2546)
ที่จำเป็นต้องพูดถึง Last Life in the Universe ถึงแม้ว่าความสนุกและเข้าถึงคนดูจะไม่ได้ชัดเจนเหมือนกับ มนต์รักทรานซิสเตอร์ ข้อข้างบน แต่เรารู้สึกเสมอว่าเพราะหนังเรื่องนี้นี่ล่ะทำให้คนจำภาพคำว่า “หนังของเป็นเอก” ได้อย่างชัดเจน การเล่าเรื่องด้วยภาษาภาพและอารมณ์ที่ดูจะมีค่ามากกว่าบทพูดและไดอาล็อกระหว่างตัวละคร สิ่งที่หนังพยายามจะบอกอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนถ้าหากเอาใจของการดูหนังเรื่องอื่นๆมาจับ คนดูหลายคนอาจจะจบด้วยคำว่า “ดูไม่รู้เรื่อง” นอกจากนั้นหนังยังได้นักเขียนรางวัลซีไรต์ที่มีสำนวนของตัวเองชัดเจนอย่าง “ปราบดา หยุ่น” มารับหน้าที่เขียนบท ได้นักแสดงชาวญี่ปุ่นอย่าง “อาซาโน่ ทานาโดบุ” มาเล่นคู่กันกับสองพี่น้องบุญยศักดิ์ (หลงรักพวกเธอก็จากเรื่องนี้ล่ะ) และจะมีสักกี่ครั้งในประวัติศาสตร์วงการหนังไทย ที่งานภาพได้มือ Cinematographer ระดับโลกอย่าง “คริสโตเฟอร์ ดอยล์” เคยร่วมงานมาแล้วทั้ง หว่อง กาไว หรือจางอี้โหม่ว มาร่วมงานกับผู้กำกับชาวไทย (ก็ประทับใจงานภาพขนาดต้องขอยืมเฟรมนิ่งมาเป็นปกของคอลัมน์นี้เลยคิดดู) ผลงานชิ้นนี้ของ เป็นเอก รัตนเรือง จึงเป็น 112 นาทีที่ควรค่าแก่การ “ดู” ที่สุดแล้ว
องค์บาก (พ.ศ. 2546)
ความรู้สึกแรกของคนที่ได้ดูองค์บากโดยเฉพาะคอหนังต่างประเทศ คงไม่ต่างอะไรกับครั้งแรกที่เราเปิดหนังไม่กี่ปีมานี้จากประเทศอินโดนีเซียอย่าง The Raid: Redemption ดู สิ่งที่กำลังจะบอกคือ นี่เป็นหนังไทยที่ทำให้ต่างชาติหันมามองวงการหนังบ้านเรา โดยใช้ “ศิลปะการต่อสู้” เป็นใบเบิกทาง เช่นกันกับ The Raid ที่เราดูแล้วรู้สึกว่าวงการหนังอินโดเขาก็มีอะไรที่เป็นเอกลักษณ์และน่าจับตามองเช่นกัน ถึงแม้ว่าพล็อตเรื่องจะไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อนมาก หนุ่มจากชนบทถูกขโมยเศียรพระที่เป็นสัญญะถึงจุดศูนย์กลางความเชื่อของชุมชน ต้องเข้ามาต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเชื่อนั้นกลับคืนในเมืองหลวงใหญ่ แต่รับรองว่าด้วยผลงานการกำกับของ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ที่ทำให้หนังแอคชั่นเรื่องนี้ดูสนุกและอะเมซซิ่งในเวลาเดียวกัน ทุกคนท่ีดูองค์บากจะต้องเพลิดเพลินไปกับการแสดงศิลปะการต่อสู้มวยไทยโบราณและความผาดโผนโดยไม่ต้องพึ่งสตันท์และสลิงใดๆของ จา พนม (Tony Jaa) แบบลืมเวลาไปเลย
หมานคร (พ.ศ. 2547)
เมื่อย้อนดูภาพหนังไทยที่ผ่านมาตลอด 30 ปีนี้ หมานคร ต้องโดดเด่นออกมาแน่นอน เพราะสีสันและฉากการเล่าเรื่องที่ Surreal ไม่เหมือนใคร หนังพูดถึงเรื่องหนุ่มต่างจังหวัด เข้ามาทำงานในโรงงานกระป๋องในกรุงเทพ เสร็จแล้วก็ต้องออกจากงานด้วยอุบัติเหตุบางอย่าง (อยากให้ไปดูกันเอง) จนมาเจอกับพนักงานทำความสะอาดสาวสวยคนหนึ่ง จริงอยู่ที่หนังแปลกในโลกนี้มีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งเนื้อหาที่เอกลักษณ์ หรือการเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ แต่จุดเด่นหมานครคือการผสมผสานระหว่างโลกความจริงกับโลกเหนือจริง คุณจะได้พบกับอะไรก็ไม่รู้เกิดขึ้นในหนังไม่ต่างจากโลกการ์ตูน รวมถึงสีสันในเรื่องที่ไม่น่าจะมีอยู่จริงบนโลกใบนี้ (ตามหลักวรรณกรรมมันคือ Magical Realism ที่อิงกับโลกความจริงเพียงแต่เรื่องราวที่สามารถกระโดดข้ามความเป็นจริงได้เลย) ตอนที่หนังออกมาเสียงตอบรับในบ้านเราค่อนข้างจะเงียบและขาดทุน เพราะวงกว้างยังไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นและแสดงออกมาในหนัง (จะมีก็แต่ถูกมองว่าเป็น “หนังเด็กแนว” เท่านั้น) แต่ผิดกับฝั่งยุโรปที่ในภายหลังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปขาย และเป็นที่ชื่นชอบของคนต่างชาติมากมาย สร้างชื่อให้ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เป็นคนทำหนังในดวงใจคอหนังหลายๆคน
ที่มา
http://www.dooddot.com/
รวมหนังไทย (ปี 2530 – ปัจจุบัน) ที่ยังคงติดอยู่ในใจเราเสมอมา
บ้าน (พ.ศ. 2530)
สร้างจากบทประพัทธ์ “จนตรอก” ของ ชาติ กอบจิตติ นี่คือหนังที่คนดูหลายคนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าจะหดหู่และเศร้าไปถึงไหน เรื่องราวของครอบครัวที่เจอแต่เรื่องซวยซ้ำซวยซ้อน และการตัดสินใจในชีวิตแต่ละครั้งดูจะนำพาไปสู่สิ่งที่ผิดพลาดเสมอๆ นำแสดงโดยสรพงษ์ ชาตรี และได้ดาราใหญ่อย่าง ส. อาสนจินดา มาวาดลวดลายการแสดงไว้และสามารถกวาดรางวัลการแสดงจากเรื่องนี้ด้วย นี่ถือเป็นรอยต่อระหว่างที่หนังไทยกำลังจะก้าวไปสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง ก่อนที่จะเริ่มมีกระแสหนังวัยรุ่นของค่ายเพลงต่างๆทำออกมา ก็ดูจะมีเรื่องนี้นี่ล่ะ ที่คนรักหนังควรย้อนกลับไปดูกันสักครั้ง
กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน (พ.ศ. 2534)
หนังไทยคลาสสิคอีกหนึ่งเรื่องที่กำลังจะถูกลืมไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนตัวคนเขียนก็เพิ่งได้มารู้จักกับหนังเรื่องนี้ไม่นาน (รู้สึกตัวเองผิดมาหลายปี) ผลงานของผู้กำกับมานพ อุดมเดช ที่หนังของเขามักเป็นเรื่องด้านมืดของมนุษย์ หนังเปิดตัวอย่างชัดเจนว่าเป็น “ฟิล์มนัวร์” ซึ่งก็น่าจะเป็นเรื่องแรกของบ้านเราเลยที่ทำแนวนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่อง The Postman Alaways Ring Twice แบบจัดเต็ม (ถ้าจะเอา Noir จริงๆน่าจะเป็นเวอร์ชั่นขาวดำปี 1946) แต่ของเราเปลี่ยนจากเหตุเกิดในร้านอาหารเป็นปั๊มน้ำมันภาคใต้ (ต้องดูเอาเอง) ผลตอบรับที่ได้หนังทำรายได้ขาดทุน คนเข้าดูน้อยมาก แต่ในมุมของนักวิจารณ์นี่คือหนังไทยที่ทำออกมาได้ลงตัวและมีจริตจะก้านคมคายที่สุดเรื่องหนึ่ง กวาดรางวัลเวทีตุ๊กตาทองบ้านเราไปถึง 9 รางวัล
ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด (พ.ศ. 2536)
นำแสดงโดย สัญญา คุณากร นี่คือผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกๆที่ทำให้คนเห็นฝีมือของเขา คาแรคเตอร์หนุ่มกลางคนที่ชื่อว่า “นพ” เขาเป็นพนักงานดีเยี่ยม ตั้งใจตั้งหน้าตั้งตาทำงานในโรงงานกระป๋องแบบไม่มีปากมีเสียงใดๆ จนวันหนึ่งเขาได้รับข่าวร้ายจากยมบาลว่าตัวเองมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกในเวลาจำกัด จึงเกิดเป็นการทำเควสลูกบ้าเที่ยวล่าสุด ของตัวเอกขึ้นมา หนังตั้งคำถามถึงชีวิตการทำงานแบบไม่สนใจสิ่งสำคัญอื่นๆในชีวิตของคนทำงาน หรือมนุษย์เงินเดือนในยุคที่ประเทศไทยกำลังผลักดันธุรกิจ ถือเป็นหนังจากค่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น ที่ทำออกมามีเนื้อหาหนักหน่วงพอสมควร แต่ผ่านมือการกำกับของอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ทำให้หนังออกมาดูสนุกและเพลิดเพลิน หากไปถามถึงหนังขึ้นหิ้งในยุค 2530 นี่จะต้องเป็นเรื่องหนึ่งอยู่ในลิสต์แน่ๆ
ท้าฟ้าลิขิต (พ.ศ. 2540)
แหม หนังสองเรื่องที่นำแสดงโดย สัญญา คุณากร มาอยู่ในลิสต์นี้ของเราทั้งคู่เลย หนังเรื่องนี้ทำให้เห็นเขาเคยวิ่งหน้าตั้งมาแล้วทั่วกรุงเทพ! ผลงานแจ้งเกิดของผู้กำกับ ออกไซด์ แปง ที่ประสบความสำเร็จล้นหลาม คว้ารางวัลเวทีในไทยไปมากมาย เรื่องราวชายหนุ่มคนหนึ่งไปค้นพบว่าตนเองมีภารกิจที่สามารถรู้ล่วงหน้าอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ โดยช่วยเหลือผู้คนเหล่านั้นแลกกับกรรมที่เคยก่อ (โยงความเป็นพุทธศาสนาของไทยได้สมบูรณ์เสร็จสรรพ) คงเป็นเพราะเนื้อหาที่สนุกเข้มข้นลุ้นนาทีต่อนาทีคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หนังเรื่องนี้หยิบมาดูกี่ทีก็ไม่เบื่อ
กล่อง (พ.ศ. 2541)
หากจะพูดถึงหนังขึ้นหิ้งของท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล) ที่ถูกใจเราคงต้องไปกองอยู่ในยุคก่อนปี 2530 หลายเรื่อง แต่ถ้าในยุคหลังมานี้เราขอยกให้เรื่อง “กล่อง” เป็น Masterpiece ชิ้นสำคัญในเส้นทางการทำหนังของท่านเลยทีเดียว เอาแค่การเลือกดาราคู่พระนางของเรื่องเป็นโน๊ต อุดม แต้พานิช กับ ลูกเกด เมทินี กิ่งโพยม ก็พอรู้แล้วว่าหนังเรื่องนี้มันจะออกมา Absurd ขนาดไหน สิ่งที่เราชอบสำหรับหนังเรื่องกล่องในทุกๆครั้งที่ได้ดู (ยอมรับว่าครั้งแรกตอนเด็กดูแบบไม่ตั้งใจ ยังคิดเลยหนังไรเนี่ยเบื่อมากๆ) คือการใช้ Scene ทั่วไปที่เห็นได้ในชีวิตประจำวันของหนุ่มไทยคนหนึ่งในยุคฟองสบู่แตก นำมาใส่เรื่องราวและนำเสนอผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้บรรยากาศโดยรวมของหนังมันมีความแปลกใหม่และน่าสนใจสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่ตัวเอกไปเจอกล่องจากคนแปลกหน้า (ถึงตรงนี้ลุงนั่นแกเป็นคนรึเปล่าก็ไม่รู้) เพื่อนบ้านรวมถึงแฟนสาวของพระเอกที่ดูจะไม่ใช่คนพูดรู้เรื่องสักคน โลเคชั่นทั้งหอพักและที่ทิ้งขยะ สีสันที่ใช้ในเรื่อง จนมาจบด้วยฉากจบที่พีคซะจนมันทำให้เราทั้งเศร้าทั้งมึนได้อย่างไม่น่าเชื่อ หากใครรู้จักชื่อท่านมุ้ยเพียงแค่สุริโยไทย หรือสมเด็จพระนเรศวร คุณจำเป็นต้องหาหนังเก่าโดยเฉพาะ กล่อง เรื่องนี้มาชมโดยด่วน
คนจร ฯลฯ (พ.ศ. 2541)
ไล่ไปไล่มา รู้สึกว่าปี 2541 นี่จะเป็นปีที่มีหนังไทยแปลกๆเข้าโรงฉายกันไม่น้อยเลยนะเนี่ย จากข้อที่แล้วเจองานฝั่ง Absurd ของท่านมุ้ยเข้าไป มาถึงข้อนี้ คนจร ฯลฯ ถือเป็นหนังอินดี้นอกกระแสเรื่องแรกเลยก็ว่าได้ ที่ได้เข้าโรงฉายแบบจัดเต็มไม่มีจำกัดเหมือนหนังอินดี้ทั่วไป ผลงานของ อรรถพร ไทยหิรัญ หนึ่งในผู้กำกับของบ้านเราที่น่าจับตามองแต่ดันมาเสียชีวิตไปเสียก่อนเมื่อช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานี้ ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะได้ เรย์ แมคโดนัลด์ มาประกับเป็นตัวเอกคู่กับฉัตรชัย เปล่งพานิช แต่เสียงตอบรับของหนังเรื่องนี้ตอนเข้าฉายก็ยังเป็นไปในทิศทางที่ไม่มีคนเข้าใจอยู่ดี เพราะการถ่ายทำทำออกมาแบบหลุดขั้วสุดๆ ทั้งกล้องที่สั่นไหวไปมาตลอดทั้งเรื่อง บทพูดสารพัดคำหยาบ รวมไปถึงคอสตูมการใช้สีในเรื่องที่แสบสันและ Weird กว่าโลกปกติ แต่เพราะหนังแบบนี้นี่ล่ะที่เมื่อเวลาผ่านไป ย้อนกลับมาดูจะถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามของวงการ
มนต์รักทรานซิสเตอร์ (พ.ศ. 2544)
เราเชื่อว่าใครที่เคยดูหนังเรื่องนี้ต้องชอบทุกคน เพราะมันมีเนื้อหาที่ถ้าคุณเป็นคนไทยก็จะอินและเข้าใจกันได้หมด รวมไปถึงทักษะการเล่าเรื่องของเป็นผู้กำกับเอก รัตนเรือง ที่ในผลงานชิ้นนี้เขาอาจจะไม่ต้องมีความพิศดารอะไรมากมาย แต่แสดงให้เห็นว่าคนๆนี้รู้ว่าต้องทำอะไรในสิ่งที่ตัวเองกำลังทำอยู่จริงๆ เค้าโครงเรื่องมาจากงานประพันธ์ชื่อเดียวกันของ วัฒน์ วรรลยางกูร ที่พอนำเสนอออกมาเป็นหนังแล้ว ส่วนตัวเรารู้สึกเลยว่าใครที่คิดว่า เรื่องราวของ Forrest Gump สนุกอย่างไร ถ้าเปลี่ยนให้ตัวเอกเป็นตามนิทานคลาสสิคประเภท หนุ่มลูกทุ่งอยากเป็นนักร้อง มาหลงเข้าเมืองกรุง ก็จะเป็นสิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำออกมาได้สมบูรณ์แบบเลยจริงๆ หนังยาว 2 ชั่วโมง แต่ดูแล้วรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วจนไม่รู้ตัวเลย
เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล (พ.ศ. 2546)
ที่จำเป็นต้องพูดถึง Last Life in the Universe ถึงแม้ว่าความสนุกและเข้าถึงคนดูจะไม่ได้ชัดเจนเหมือนกับ มนต์รักทรานซิสเตอร์ ข้อข้างบน แต่เรารู้สึกเสมอว่าเพราะหนังเรื่องนี้นี่ล่ะทำให้คนจำภาพคำว่า “หนังของเป็นเอก” ได้อย่างชัดเจน การเล่าเรื่องด้วยภาษาภาพและอารมณ์ที่ดูจะมีค่ามากกว่าบทพูดและไดอาล็อกระหว่างตัวละคร สิ่งที่หนังพยายามจะบอกอย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจนถ้าหากเอาใจของการดูหนังเรื่องอื่นๆมาจับ คนดูหลายคนอาจจะจบด้วยคำว่า “ดูไม่รู้เรื่อง” นอกจากนั้นหนังยังได้นักเขียนรางวัลซีไรต์ที่มีสำนวนของตัวเองชัดเจนอย่าง “ปราบดา หยุ่น” มารับหน้าที่เขียนบท ได้นักแสดงชาวญี่ปุ่นอย่าง “อาซาโน่ ทานาโดบุ” มาเล่นคู่กันกับสองพี่น้องบุญยศักดิ์ (หลงรักพวกเธอก็จากเรื่องนี้ล่ะ) และจะมีสักกี่ครั้งในประวัติศาสตร์วงการหนังไทย ที่งานภาพได้มือ Cinematographer ระดับโลกอย่าง “คริสโตเฟอร์ ดอยล์” เคยร่วมงานมาแล้วทั้ง หว่อง กาไว หรือจางอี้โหม่ว มาร่วมงานกับผู้กำกับชาวไทย (ก็ประทับใจงานภาพขนาดต้องขอยืมเฟรมนิ่งมาเป็นปกของคอลัมน์นี้เลยคิดดู) ผลงานชิ้นนี้ของ เป็นเอก รัตนเรือง จึงเป็น 112 นาทีที่ควรค่าแก่การ “ดู” ที่สุดแล้ว
องค์บาก (พ.ศ. 2546)
ความรู้สึกแรกของคนที่ได้ดูองค์บากโดยเฉพาะคอหนังต่างประเทศ คงไม่ต่างอะไรกับครั้งแรกที่เราเปิดหนังไม่กี่ปีมานี้จากประเทศอินโดนีเซียอย่าง The Raid: Redemption ดู สิ่งที่กำลังจะบอกคือ นี่เป็นหนังไทยที่ทำให้ต่างชาติหันมามองวงการหนังบ้านเรา โดยใช้ “ศิลปะการต่อสู้” เป็นใบเบิกทาง เช่นกันกับ The Raid ที่เราดูแล้วรู้สึกว่าวงการหนังอินโดเขาก็มีอะไรที่เป็นเอกลักษณ์และน่าจับตามองเช่นกัน ถึงแม้ว่าพล็อตเรื่องจะไม่ได้มีอะไรสลับซับซ้อนมาก หนุ่มจากชนบทถูกขโมยเศียรพระที่เป็นสัญญะถึงจุดศูนย์กลางความเชื่อของชุมชน ต้องเข้ามาต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเชื่อนั้นกลับคืนในเมืองหลวงใหญ่ แต่รับรองว่าด้วยผลงานการกำกับของ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ที่ทำให้หนังแอคชั่นเรื่องนี้ดูสนุกและอะเมซซิ่งในเวลาเดียวกัน ทุกคนท่ีดูองค์บากจะต้องเพลิดเพลินไปกับการแสดงศิลปะการต่อสู้มวยไทยโบราณและความผาดโผนโดยไม่ต้องพึ่งสตันท์และสลิงใดๆของ จา พนม (Tony Jaa) แบบลืมเวลาไปเลย
หมานคร (พ.ศ. 2547)
เมื่อย้อนดูภาพหนังไทยที่ผ่านมาตลอด 30 ปีนี้ หมานคร ต้องโดดเด่นออกมาแน่นอน เพราะสีสันและฉากการเล่าเรื่องที่ Surreal ไม่เหมือนใคร หนังพูดถึงเรื่องหนุ่มต่างจังหวัด เข้ามาทำงานในโรงงานกระป๋องในกรุงเทพ เสร็จแล้วก็ต้องออกจากงานด้วยอุบัติเหตุบางอย่าง (อยากให้ไปดูกันเอง) จนมาเจอกับพนักงานทำความสะอาดสาวสวยคนหนึ่ง จริงอยู่ที่หนังแปลกในโลกนี้มีอยู่หลายรูปแบบ ทั้งเนื้อหาที่เอกลักษณ์ หรือการเล่าเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ แต่จุดเด่นหมานครคือการผสมผสานระหว่างโลกความจริงกับโลกเหนือจริง คุณจะได้พบกับอะไรก็ไม่รู้เกิดขึ้นในหนังไม่ต่างจากโลกการ์ตูน รวมถึงสีสันในเรื่องที่ไม่น่าจะมีอยู่จริงบนโลกใบนี้ (ตามหลักวรรณกรรมมันคือ Magical Realism ที่อิงกับโลกความจริงเพียงแต่เรื่องราวที่สามารถกระโดดข้ามความเป็นจริงได้เลย) ตอนที่หนังออกมาเสียงตอบรับในบ้านเราค่อนข้างจะเงียบและขาดทุน เพราะวงกว้างยังไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นและแสดงออกมาในหนัง (จะมีก็แต่ถูกมองว่าเป็น “หนังเด็กแนว” เท่านั้น) แต่ผิดกับฝั่งยุโรปที่ในภายหลังถูกซื้อลิขสิทธิ์ไปขาย และเป็นที่ชื่นชอบของคนต่างชาติมากมาย สร้างชื่อให้ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง เป็นคนทำหนังในดวงใจคอหนังหลายๆคน
ที่มา http://www.dooddot.com/