จากมติชนออนไลน์
ร้านอาหารเปียงยาง ของเกาหลีเหนือ
คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน
โดย ศรีสกุล ลีลาพีระพันธ์ srisakul@matichon.co.th
ถ้าไม่ได้เจอเรื่องนี้ ขอบอกเลยว่าไม่รู้มาก่อนว่า "เกาหลีเหนือ" มีเครือข่ายร้านอาหารตั้งอยู่ในเมืองนอกกับเขาด้วย และร้านอาหารที่ว่านั้น ก็มีชื่อว่า "เปียงยาง" ชื่อเหมือนกับเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือนั่นแหละ
แต่ที่เป็นข่าวขึ้นมาก็เพราะมีข่าวว่าคิมจอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ กำลังพยายามมองหาที่ตั้งของร้านอาหาร "เปียงยาง" แห่งใหม่ที่สกอตแลนด์ เพื่อขายอาหารเกาหลีที่ขึ้นชื่อ อย่าง "ซุปเนื้อสุนัข" หลังจากที่ไปเปิดร้านเปียงยางมาแล้วที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2012 แล้วก็เลยอยากจะเปิดอีกสักสาขาหนึ่งเพิ่มเติมในยุโรป
ไมเคิล แมดเดน บรรณาธิการของ "นอร์ธโคเรีย ลีดเดอร์ชิป วอทช์" บอกว่า คิม จอง อึน กำลังพยายามดิ้นรนอย่างยิ่งที่จะสร้างสัมพันธ์กับประเทศในยุโรป แล้วก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าสกอตแลนด์จะยินยอมให้เกาหลีเหนือเปิดร้านอาหาร แม้ว่าเกาหลีเหนือดูจะเป็นเด็กดื้อสำหรับอีกหลายประเทศก็ตาม
แมดเดนบอกว่า เหตุผลที่เลือกสกอตแลนด์เป็นลำดับต้นๆ เพราะ "วิสกี้" จากสก็อต เป็นที่ชื่นชอบมากในหมู่ผู้มีอันจะกินในเกาหลีเหนือ และเกาหลีเหนือเองก็สนับสนุนให้สกอตแลนด์แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรในการลงประชามติเมื่อปีที่ผ่านมาด้วย
ด้วยเหตุนี้ถ้าสกอตแลนด์จะเปิดทางให้เกาหลีเหนือเข้าไปเปิดร้านอาหารก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลก
สำหรับเครือข่ายร้านอาหารเปียงยางนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน ทั้งในประเทศจีนและอีกหลายประเทศในเอเชีย ทั้งในอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ของไทยก็เคยมีอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและพัทยา แต่ก็ปิดตัวไปเรียบร้อย
ร้านอาหารเปียงยางนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางหาเงินส่งกลับไปยังรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยเป็นการบริหารร่วมกับบริษัท ออฟฟิส 39 (บ้างก็เรียก รูม 39) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลลับสาขาหนึ่งของเกาหลีเหนือ ที่ไว้ใช้สำหรับการหาเงินอย่างถูกกฎหมายในต่างแดน
โดยร้านอาหารเปียงยางนี้ จะทำเหมือนกับแฟรนไชส์ที่ทางรัฐบาลเกาหลีเหนือจะให้เช่าแบรนด์ของทางร้านให้ชาวเกาหลีไปทำกิจการ แต่ดูเหมือนเมนูของทางร้านดูจะพิเศษเกินไป และคิดว่าลูกค้าในยุโรปก็ไม่น่าจะปลื้มกับเมนูเนื้อสุนัขสักเท่าไหร่
สำหรับรายได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องส่งรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ กลับไปให้รัฐบาลเกาหลีเหนือ แต่นักวิจารณ์หลายคนก็เชื่อได้อีกว่า เงินเหล่านั้นน่าจะเข้ากระเป๋าของท่านผู้นำคิมแต่เพียงผู้เดียวอย่างแน่นอน
กรุงเปียงยาง ก็มีร้านอาหารแฟรนไชส์ของตัวเองนะ!
ร้านอาหารเปียงยาง ของเกาหลีเหนือ
คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน
โดย ศรีสกุล ลีลาพีระพันธ์ srisakul@matichon.co.th
ถ้าไม่ได้เจอเรื่องนี้ ขอบอกเลยว่าไม่รู้มาก่อนว่า "เกาหลีเหนือ" มีเครือข่ายร้านอาหารตั้งอยู่ในเมืองนอกกับเขาด้วย และร้านอาหารที่ว่านั้น ก็มีชื่อว่า "เปียงยาง" ชื่อเหมือนกับเมืองหลวงของประเทศเกาหลีเหนือนั่นแหละ
แต่ที่เป็นข่าวขึ้นมาก็เพราะมีข่าวว่าคิมจอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ กำลังพยายามมองหาที่ตั้งของร้านอาหาร "เปียงยาง" แห่งใหม่ที่สกอตแลนด์ เพื่อขายอาหารเกาหลีที่ขึ้นชื่อ อย่าง "ซุปเนื้อสุนัข" หลังจากที่ไปเปิดร้านเปียงยางมาแล้วที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อปี 2012 แล้วก็เลยอยากจะเปิดอีกสักสาขาหนึ่งเพิ่มเติมในยุโรป
ไมเคิล แมดเดน บรรณาธิการของ "นอร์ธโคเรีย ลีดเดอร์ชิป วอทช์" บอกว่า คิม จอง อึน กำลังพยายามดิ้นรนอย่างยิ่งที่จะสร้างสัมพันธ์กับประเทศในยุโรป แล้วก็คงไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าสกอตแลนด์จะยินยอมให้เกาหลีเหนือเปิดร้านอาหาร แม้ว่าเกาหลีเหนือดูจะเป็นเด็กดื้อสำหรับอีกหลายประเทศก็ตาม
แมดเดนบอกว่า เหตุผลที่เลือกสกอตแลนด์เป็นลำดับต้นๆ เพราะ "วิสกี้" จากสก็อต เป็นที่ชื่นชอบมากในหมู่ผู้มีอันจะกินในเกาหลีเหนือ และเกาหลีเหนือเองก็สนับสนุนให้สกอตแลนด์แยกตัวออกจากสหราชอาณาจักรในการลงประชามติเมื่อปีที่ผ่านมาด้วย
ด้วยเหตุนี้ถ้าสกอตแลนด์จะเปิดทางให้เกาหลีเหนือเข้าไปเปิดร้านอาหารก็คงจะไม่ใช่เรื่องแปลก
สำหรับเครือข่ายร้านอาหารเปียงยางนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน ทั้งในประเทศจีนและอีกหลายประเทศในเอเชีย ทั้งในอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ของไทยก็เคยมีอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและพัทยา แต่ก็ปิดตัวไปเรียบร้อย
ร้านอาหารเปียงยางนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางหาเงินส่งกลับไปยังรัฐบาลเกาหลีเหนือ โดยเป็นการบริหารร่วมกับบริษัท ออฟฟิส 39 (บ้างก็เรียก รูม 39) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรัฐบาลลับสาขาหนึ่งของเกาหลีเหนือ ที่ไว้ใช้สำหรับการหาเงินอย่างถูกกฎหมายในต่างแดน
โดยร้านอาหารเปียงยางนี้ จะทำเหมือนกับแฟรนไชส์ที่ทางรัฐบาลเกาหลีเหนือจะให้เช่าแบรนด์ของทางร้านให้ชาวเกาหลีไปทำกิจการ แต่ดูเหมือนเมนูของทางร้านดูจะพิเศษเกินไป และคิดว่าลูกค้าในยุโรปก็ไม่น่าจะปลื้มกับเมนูเนื้อสุนัขสักเท่าไหร่
สำหรับรายได้นั้น ผู้ประกอบการจะต้องส่งรายได้ 30 เปอร์เซ็นต์ กลับไปให้รัฐบาลเกาหลีเหนือ แต่นักวิจารณ์หลายคนก็เชื่อได้อีกว่า เงินเหล่านั้นน่าจะเข้ากระเป๋าของท่านผู้นำคิมแต่เพียงผู้เดียวอย่างแน่นอน