Insider' Journey ตอน Hala Bala อยู่ไหน?? กระทิง นกเงือก ทาก และเรือ

Hala Bala อยู่ไหน?? กระทิง นกเงือก ทาก และเรือ

                                   

จากทริปชมเมืองใต้ แบบชิลๆ ดูพระอาทิตย์ขึ้นลงริมน้ำ นั่งจิบชากาแฟ ดูผู้คนในเมือง
แต่!! ช้าก่อนถ้ามันเป็นไปตามนั้น คงไม่เป็นเรื่อง(ให้มานั่งพิมพ์สินะ) เพียงแค่เท้าสัมผัส สนามบิน นราธิวาส
ชีวิตก็เปลี่ยนทันที รุ่นพี่ที่มารับบอก พรุ่งนี้เราจะเข้าป่ากัน Hala Bala (ฮาลา บาลา) ไปไหม?
โห้วว ด้วยนิสัย ปฎิเสธใครเป็นสะที่ไหนหละ รีบพยักหน้าทันใด ไปพี่ เห้ยยย แต่เดียวนะ ในเป้เนี้ยไม่มีอะไรสำหรับเข้าป่าเลย
ถุงนอนที่ปกติวางอยู่ตำแหน่งก้นสุด ก็เพิ่งเอาออกเมื่อเช้าตอนจัดกระเป๋าก่อนขึ้นเครื่อง รองเท้าก็เลือกคู่สำหรับเดินในเมือง
หยุกยาสำหรับแมลงสัตว์กัดต่อย ก็ไม่มี เอาว่ะลองเข้าป่าแบบไม่พร้อมดูสักครั้ง กลั้นหายใจฮึบๆๆ ทันใดนั้น ก็ระลึกถึง วลีเด็ด
"ป่าใต้กับทากเป็นของคู่กัน" เป็นแพ็คเกจเสริมที่คุณไม่ต้องเลือก สมนาให้คุณอย่างจุใจ โอ้วววไม่นะ ทำใจอีกรอบ อย่ากลัวดิวะ

การเดินทางไป ฮาลา บาลา ก็เริ่มต้น ด้วยเรือหางยาว เข้าไปที่ฐานพักของ ต.ช.ด ใช้เวลา 1-2ชม. ขึ้นกับสถานการณ์น้ำ ลม ฝน



และสิ่งน่าสนใจระหว่างทางนี้หละที่ใช้เวลาเยอะที่สุด แต่นั้นเราสมยอมที่จะให้เวลามันอยู่แล้วสักพักเรื่องระหว่างทางก็ทำเราตื่นเต้น เมื่อฝูงกระทิงป่า ลงมากินหญ้า ฝูงกระทิงกว่า30ตัว นี้มันกระทิงป่าตัวจริง ความรู้สึกมันตื่นเต้นกว่าเจอในสวนสัตว์หลายพันเท่า ทั้งตื่นเต้นที่ได้เจอ และตื่นเต้นอีกถ้ามันเกิดอยากจะใกล้ชิดคนขึ้นมาบ้างหละ ฮึๆ



ฝูงกระทิงยืนทอดน่องกินหญ้าอย่างเพลิดเพลิน พร้อมชำเลืองมอง สิ่งมีชีวิตที่แปลกปลอมเข้ามาในป่า หนึ่งในฝูงมีกระทิงแม่ลูกอ่อน ที่เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ทั้งความน่ารักของลูกน้อย และความอันตรายของแม่ลูกอ่อน ฝนปรอยๆ กลางภูเขาที่ล้อมไปด้วยน้ำ มีฝูงกระทิงประกอบอยู่ในภาพด้วย ช่างเป็นภาพที่น่าจดจำขั้นเอยปากว่าทริปนี้ แค่นี้ก็สุดโคตรจะคุ้มค่าแล้ว หลังจากกระทิงกินอิ่ม เราก็อิ่มเช่นกัน


ขึ้นเรือและออกเดินทางกันต่อ ไม่นานเท่าไร บรรยากาศการนั่งเรือหางยาวชิลๆ
ก็กลายเป็น ล่องแก่ง ลำน้ำคดเคี้ยว สายน้ำเชี่ยว โขดหิน น้อยใหญ่ บางช่วงต้องลงเดิน ต้องดับเครื่องยนต์ ใช้แรงพาย แรงลากจูง ของสองคนเรือ




กว่าจะถึงฐานที่พักได้ก็ ปาไปพลบค่ำแล้ว
พอมาถึงฐานพักของ ต.ช.ด เราก็ได้พบกับพี่ๆทีมนกเงือก มาถึงก่อนหน้าแล้ว เราก็เป็นเด็กน้อยนั่งฟังพี่ๆเขาสนทนากัน เรื่องนั้นเรื่องนี้ เก็บๆข้อมูล ความรู้ใหม่ อ.พิไล (Great Mother of Hornbills ) ท่านมีเรื่องเล่าเยอะมาก ฟังสนุกได้แง่คิด สักพักก็ถึงเวลามื้อค่ำ มื้อนี้ว่าด้วย ป.ปลาจากแม่น้ำนี้หละ รสชาติดีเลย หลังมื้อค่ำสักพักพี่ๆทีมนกเงือกก็มีการเตรียม ฉายโปรเจคเตอร์ คือแบบว่า หอบกันข้ามน้ำเข้ามาถึงในป่านี้เลยรึ ฉากก็ใช้เป็นผ้าปูเตียงสีขาว


อ.พิไล ก็เริ่ม บรรยาย ที่ไปทีมาของนกเงือก โอ้วว ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า นกเงือกนี้เป็นนกที่สำคัญในวงจรพันธุ์พืช( พิมพ์ไม่ผิดสำคัญในการกระจายเมล็ดพันธุ์) คืนนี้เรานอนพักกันที่ฐาน ต.ช.ด นอนกันไว เก็บแรงไว้ลุยต่อพรุ่งนี้

เช้านี้ตื่นมาจัดเก็บข้าวของเตรียมออกเดิน ฮึ้ยยย ต้องเดินเท้าแล้วสินะ ต้องผจญกับเหล่าทากแล้วสินะ โอ้ววไม่นะ
ยืนอาบแดดอาบแสงรอเวลาออกเดินเท้ากัน หลังจากเมื่อว่านเย็นแช่น้ำชุ่มฝนกัน


เดินขึ้นลงลุยน้ำ ตัดลำน้ำสามสีรอบ ลงน้ำที่ ยาฉีดยุ่งที่พึ่งเดี่ยว ที่พอจะกันทากได้ ก็ละลายไปกับน้ำ



ขึ้นฝั่งทีก็ฉีดที แต่ก็ไม่รอดพ้นพี่ทาก โดนเกาะเป็นสิบ โดนกัดไป 3จุด เลือดนี้ไหลชุ่ม แต่หันไปเห็นขาคนอื่น สยองกว่า น่ากลัวจริงๆ พูดเลย บางคนใส่ถุงเท้ากันทาก กันได้จริงนะจ๊ะ แต่กันได้แค่ตรงถุงครอบนั้นหละ พี่ทากท่านโดดเกาะขอบเอว เกาะคอ หลังใบหู บรึ้ยยย อันนี้สยองกว่านะ เราจัดเปลื่อยเท้าเลย ล่อให้มันมากัดที่เท้าเพราะเราจะได้เห็นตั้งแต่ตอนมันเกาะจะได้หยิบออกทันท่วงที
เหล่าทากน้อยของพี่ (ไม่อยากจะนับญาติด้วยหรอกนะฮึๆ)



มาถึงจุดตั้งแคมป์ ที่จะเฝ้าดูนกเงือกกันช่วงบ่าย ก็จัดการ ตั้งแคมป์ ตอนปูพื้น เราก็ไปนั่งเช็ดทำความสะอาดพื้น โอ้ววไม่นะคุณพระ ทากในเรือนเบี้ย เหล่าทากที่อยู่ ในระแวกนั้น ดีดตัวเข้ามา คืนนี้จะรอดไหม นอนไปทากจะรุมดูดเลือดไหม เอานะพยายามลืมๆมันไปซะ นี้มันทริปนกเงือกนะ


มื้อเที่ยงของเราพี่ๆจัดม่าม่าให้
และเจ้า ป.ปลาเหล่านี้คืออาหารมื้อเย็นของเรา

พอตอนเย็นก็เป็นช่วงเวลาที่เรารอคอย ทุกคนเตรียมตั้งตา ตั้งกล้องรอชมฝูงนกเงือกที่คาดว่าจะมาเกาะที่ต้นไม้ใหญ่



การมารอชมสัตว์ ตามธรรมชาติ นี้ก็ว่ากันไปตามดวงจริงๆ บางครั้งแค่ไม่ทันจะหย่อนก้นลงนั่ง มันก็โผล่มาซะเราหยิบกล้องไม่ทัน บางทีนี้เปิดเลนส์รอ เซทชัตเตอร์ สตอป รอจนค้าง ก็ไม่มาให้เห็น ขอไม่บอกว่าวันนี้เราพบนกเงือกจำนวนเท่าไร แต่บอกเลยว่าเราพร้อมมาก 5555

พอแสงเริ่มหมดเราก็มานั่งที่แคมป์ ทางแคมป์ของเราตั้งถัดออกมาจากกลุ่มของพี่ๆทีมนกเงือก ฝั่งของพวกเราเป็นพี่ทีมงานจาก อบต. อัยเยอเวง มาด้วย ค่ำนี้เราเปิดประเด็นกันในหลายๆเรื่อง คนเมืองอย่างเยนถึงกับอ้าปากค้างอึ่งทึงในหลายๆเรื่อง ไหนจะเรื่อง สลัมฮาลาบาลา หมู่บ้านไม่มีทีวี สัตว์ประหลาดเท้าโต ทุเรียนฮาลาหล่นจากต้น7วัน และเรื่องเล่าของ คนขับเรือ(อดีตลูกมือพราน จริงๆเป็นลูกชายนายพราน) ที่สนุกสนานตื่นเต้น ของการพบเจอสัตว์ต่างๆในป่าฮาลา แถมด้วยประวัติของฮาลา จากคนในวงการหนังสือ บวกกับมุมมองของพี่ตากล้อง เป็นเรื่องเล่ากลางป่าที่แสนมหัศจรรย์ สำหรับคนในเมืองอย่างเรา กว่าจะได้เข้านอนกันก็หลายทุ่มอยู่

เช้านี้เรามีนัดออกเรือกันแต่เช้าเพราะมีธุระกันต่อที่ ยะลา เรือขามาที่ว่ายากลำบาก ทางกลับนี้หลายเท่าตัว ต้องยกความเก่งให้กับคนเรือทั้งสอง ทั้งคนขับเรือเเละคนท้ายเรือที่ทำงานสัมพันธ์กันได้อย่างลงตัว พาเรือผ่านโขดหินและน้ำเชียวมาได้

หลายช่วงที่ต้องลงเดิน น้ำแรงมาก มีให้เลือกว่าจะลุยน้ำแรงหรือลุยดงทางบนบก

นั่งทำใจแปป ไปทางไหนต่อหละนี้


และสุดเซอร์ไพส์ของทริปนี้ ขณะที่เรือเรากำลังล่องมา ทันไดนั้นก็มีกระทิงโทนวิ่งตัดแม่น้ำผ่านหน้าเราไประยะห่างไม่ถึง50เมตร ขั้นคนเรือต้องกระโดดลงเรือเพื่อยึดเรือไว้ไม้ให้เข้าใกล้ และดูทีท่าว่าจะต้องใส่เกียร์(เรือ) หนีหรือไหม

โมเมนท์ที่กระทิงวิ่งข้ามน้ำไปหันมาจ้องมาเราไป เป็นวินาที ที่ต้องหยุดหายใจเพื่อลุ้นกันเลยทีเดียว แต่บอกเลยเป็นความตื่นเต้นหวาดเสี่ยวที่คุ้มค่ามากก ได้เห็นกระทิง ระยะประชิดขนาดนี้ และกระทิงก็วิ่งหายเข้าป่าชายแม่น้ำไป เรือเราก็ไปต่อ ออกมาถึงท่าเลยเวลาที่คาดไว้มากอยู่ แต่ยังไงก็ต้องไปต่อในตัวเมืองยะลา เพราะมีนัดแล้ว ก็รีบเข้าเมืองกันมา เสร็จภาระกิจก็ได้เวลาอำลา พี่ๆผู้ให้ความอนุเคราะห์ทริปนี้


ทีมงาน อบต. อัยเยอเวง ทีมนี้เขาทีมคุณภาพจริงๆ

ทริปนี้ให้มุมมอง ของเรื่องราวของป่าที่ไม่ใช่แค่เรื่องของป่า สัตว์ แต่กับมีเรื่องของวิถีชีวิตผู้คนที่ เขาต้องอยู่กันยังไง เมื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่(เขื่อน)มาถึง
วิถีที่ยังต้องคงอยู่ วิถีที่เปลี่ยนไป การปรับตัวให้ได้ กับธรรมชาติที่มนุษย์พยายามที่จะเปลี่ยนมัน การใช้ชีวิตทำงานในพื้นที่3จังหวัด และคำเชื้อเชิญ โอกาสหน้ามาเยี่ยมเยือนกันใหม่ ขอบคุณค่ะ ฮาลา บาลา


ปล.
สรุปชื่อ ฮาลา บาลา หรือ บาลา ฮาลา แบคนหนึ่งตอบว่า จะชื่อไหน มันก็คือที่นี้ ที่ที่มีกระแสน้ำและความสมบูรณ์ที่ผมรู้จัก
ขอบคุณภาพประกอบสวยๆจากพี่ๆในทริป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่