จากเชียงแสน ไปเที่ยวคาสิโน(คิงส์โรมัน)ฝั่งลาวกัน ในราคาแสนถูกสุดคุ้มค่า

เรามีเรื่องราวอยากมาแบ่งบันเพื่อนๆค่ะ เนื่องจากเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเรามีโอกาสได้ไปเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ ... จะขอพาทุกคนไปเที่ยว"คาสิโน"ที่ลาว แต่ไม่ได้พาไปเล่นพนันนะคะ แต่จะพาไปเยี่ยมชมพระราชวังจำลองกับไซน่าทาวน์ พร้อมเดินชมบรรยากาศรอบๆคาสิโนกัน เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวที่อยากลองให้ทุกคนไปสัมผัส

โดยเราจะแนะนำ Step by step ดูตั้งแต่ขั้นตอนการทำหนังสืออนุญาตเดินทางไปจนถึงนั่งเรือข้ามฟากไปและกลับ โดยการเดินทางของเราจะเริ่มจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย >> บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ >> คาสิโนฝั่งลาว
ปล.รูปภาพทั้งหมดเป็นฝีมือการถ่ายภาพของจขกท.และเพื่อนๆทั้งสิ้น ไม่อนุญาตให้นำไปแอบอ้างหรือใช้เพื่อการใดๆนะคะ
(แม้รูปภาพจะไม่สวยมากก็เถอะ)

เริ่มออกเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง เชียงราย-เชียงแสน สามารถดักโบกรถได้ตลอดเส้นทางที่รถผ่านซึ่งถ้าขึ้นจากบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงไปถึงจุดหมายสนนราคาแค่ 32 บาทเท่านั้น ออกเดินทางแต่เช้าไปกับรถเมล์ใช้เวลาประมาณ 30-45นาที เมื่อเข้าสู่ช่วงตัวอำเภอเชียงแสน จะสังเกตเห็นกำแพงอิฐเก่าๆกับป้ายต้อนรับอย่างเห็นได้ชัด เป็นสัญญาณให้เตรียมพร้อมก้าวลงจากรถ

เมื่อถึงจุดหมายก็เดินตรงไปสุดถนนจะพบกับจุดชมวิวสวยงาม ซึ่งเราเดินทางไปถึงแต่เช้าก็ไม่จำต้องไปเบียดเสียดแย่งถ่ายรูปกับใคร






ความสนุกที่แท้จริงนั้นมิใช่การถ่ายรูปวิวหรือเซลฟี่กับธรรมชาติแต่อย่างใด แต่คือการ "หาที่ทำหนังสืออนุญาตข้ามแดน" ซึ่งโดยปกติเราในฐานะประชาชนคนไทยสามารถใช้พาสปอร์ตเล่มเดียวออกเดินทางข้ามประเทศได้โดยสะดวกแต่เนื่องจากเรากับเพื่อนลืมคิดไป เดินทางไปแบบตัวเปล่าร่างเปลือยเลยต้องวุ่นหาทางข้ามแดนให้ปวดหัว ... ว่าแล้วไม่รอช้า เรากับเพื่อนเดินตรงไปที่ที่ว่าการอำเภอเชียงแสน แต่ปรากฎว่าที่ว่าการอำเภอ "ปิดค่ะ" ห๊าาาา??? ถ้าจะอ้างว่าเพราะเป็นเสาร์อาทิตย์แต่นักท่องเที่ยวเดินทางทุกวันโดยเฉพาะวันหยุดนะคะ แบบนี้หนูจะทำยังไง

ว่าแล้วเดินกลับไปตั้งหลักใหม่ที่ป้อมตำรวจบริเวณนั้น คุณอาตำรวจบอกเร็วพลัน อิหนู...จะทำหนังสือไปลาวหน่ะที่อำเภอถูกแล้ว แต่เดินเข้าไปหน่อย /// อยากจะเตือนทุกท่านให้ทราบว่าแท้จริงแล้วจุดทำหนังสือนั้นไม่ได้อยู่ในสำนักงานหรือตั้งในจุดที่สังเกตง่ายแต่อย่างใด แต่ลึกลับซับซ้อนและดู"บ้านๆ"สุดๆ เดินหลงเข้าไปตอนแรกเราก็คิดเอ๊ะใจว่าคงมาผิดที่

ให้พยายามสังเกตแล้วเดินตามป้ายไปเรื่อยๆ อย่าเผลอหลงเข้าไปในตัวสำนักงาน เขาไม่รับทำนะจ้ะ ... แต่เดินลึกเข้าไปเรื่อยๆ (สังเกตลูกศรที่ตัวใหญ่และชัดเจนมากๆไปเรื่อยๆ)

ในที่สุด ข้างหลังต้นไม้ใหญ่นั้นก็พบกับสถานที่ออกหนังสือเดินทางค่ะ เดินไปขำไปกับเพื่อนตลอดทางสรุปเรามาถูกที่จริงๆใช่มั้ยหรือคุณอาตำรวจจะหลอกพวกเราสาวๆซะแล้ว ... ณ ที่นั้นมีออฟฟิซไม้ตารางไม้ดูคลาสิกภายในห้องมีโต๊ะเจ้าหน้าที่ตั้งอยู่สองจุดกับเครื่องถ่ายเอกสารอีกหนึ่ง พี่เจ้าหน้าที่ยิ้มต้อนรับอย่างสดใสแถมแนะแนวทางการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวหน้าใหม่อย่างพวกเราอีกด้วย เพียงแค่ยื่นบัตรประจำตัวประชาชน นั่งรอไม่ถึง5นาทีก็เรียบร้อย สำหรับค่าทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราวตกอยู่ที่ 30 บาทไม่ถูกไม่แพง


หลังจากสอบถามก็ทราบข้อมูลคร่าวๆจึงทราบว่า นักท่องเที่ยวเมื่อมาถึงเชียงแสนแล้วสามารถเลือกท่องเที่ยวได้สองแบบคือ เลี้ยวซ้ายเดินทางไปบริเวณ"สามเหลี่ยมทองคำ"หรือเลี้ยวขวาไปเที่ยว"เชียงของ" แต่เนื่องจากภารกิจหลักของเราในวันนี้คือไปเที่ยวต่างประเทศ จำต้องเดินทางไปบริเวณสามเหลี่ยมทองคำเพื่อนั่งเรือข้ามฝากเดินทางต่อไป ... ว่าแล้วก็เดินย้อนกลับมาที่จุดลงรถเมล์ครั้งแรกเพื่อเดินไปจุด"รถสกายแลป"สุดเท่ห์รับจ้าง จะสังเกตเห็นได้ง่ายมากฉะนั้นใครที่เพิ่งเคยเดินทางไปครั้งแรกไม่จำเป็นต้องกังวลแต่อย่างใด เหมารถไปเที่ยวละ 150 บาทเท่านั้น

มุ่งหน้าไปสามเหลี่ยมทองคำ !!!!
นั่งรถสกายแลปสุดหรูประมาณ 5-10 นาทีก็ถึงบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

แวะเก็บภาพพระเชียงแสนสี่แผ่นดิน หรือ พระพุทธนวล้านตื้อที่ตั้งโดดเด่นเป๋นสง่าบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ วันที่เดินทางไปนั้นพบกับทั้งทัวร์จีนหัวดำและทัวร์ฝรั่งหัวทองเดินกันให้วุ่นวายไปหมด ดังนั้นจึงไม่รอช้าคว้ากล้องขึ้นมาถ่ายภาพอย่างเร็วไว เดินเก็บภาพไปเรื่อยๆจนมาถึงบริเวณ...

"สบรวก" ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างสามประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย (จังหวัดเชียงราย) ลาว (แขวงบ่อแก้ว) และพม่า (แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน) มีลักษณะเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมบรรจบกัน โดยมีแม่น้ำโขงตัดผ่านชายแดนไทยและลาว บริเวณนี้เป็นที่บรรจบกันของแม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกและถ้าสังเกตให้ดีจะว่าแม่น้ำรวกจากฝั่งไทยกับแม่น้ำโขงมีสีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเรากับเพื่อนก็พยายามตั้งข้อสังเกตกันว่าอาจเป็นเพราะดินฟากไทยอดุมสมบูรณ์กว่าสีสันจึงดูอุดมไปด้วยสารอาหารมากกว่า(เดาเองล้วนๆ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มีต่อๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่