ช่วงปลายปีที่ผ่านมาญาติมิตรทั้งหลายคงจะได้ยินได้เห็นคำว่า “
สวดมนต์ข้ามปี” กันชุกชุม
ผมไปทำบุญวันพระ หลวงพ่อท่านก็ปรารภคำนี้
ท่านว่าเมื่อก่อนก็ไม่ได้เรียกกันอย่างนี้
ผมมาอยู่วัดมหาธาตุ ราชบุรี เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๕ จำได้แม่นเพราะวันรุ่งขึ้นเป็นวันปีใหม่
ตอนนั้นวัดมหาธาตุก็มีสวดมนต์ในคืนสิ้นปีแล้ว เรียกกันว่า “
สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่”
ขั้นตอนก็คือ
เวลาประมาณห้าทุ่มพระสงฆ์ทั้งวัดลงชุมนุมกันในอุโบสถ ทำวัตรเย็นแล้วสวดมนต์เช่นที่ทำเป็นกิจวัตร
แล้วรอจนกระทั่งถึงเวลา ๒๔:๐๐ ได้สัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่าขึ้นปีใหม่แล้ว
พระสงฆ์ก็เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำกลองย่ำระฆัง
ชาวบ้านรอบๆ วัดได้ยินเสียงกลองเสียงระฆังก็อนุโมทนาสาธุรับรู้รับทราบว่า
พระสงฆ์ท่านแผ่สิริมงคลให้ปวงประชาชนในโอกาสขึ้นปีใหม่
เวลานั้น คำว่า “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” นิยมพูดกันทั่วไป รวมทั้งคำว่า สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
แต่ไม่มีใครพูดว่า “สวดมนต์ข้ามปี”
สาระสำคัญของการสวดมนต์ “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ก็คือ
พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน
ต่างจาก “สวดมนต์ข้ามปี” ที่ทำกันเดี๋ยวนี้ที่ประชาชนมาสวดมนต์กันเอง หรือสวดร่วมกับพระ โดยไม่รู้ว่าใครสวดให้ใคร
หรือมองอีกแง่หนึ่งได้ว่า ประชาชนไม่ต้องรอรับสิริมงคลจากพระสงฆ์อีกแล้ว เพราะสวดเอาเองได้แล้ว-อะไรประมาณนั้น
ดูๆ ไปก็ชอบกลอยู่
คำว่า “สวดมนต์ข้ามปี” น่าจะมีผู้เรียกกันมาไม่เกิน ๒๐ ปีมานี้
เป็นธรรมชาติธรรมดาอย่างหนึ่งของภาษาลักษณะนี้ นั่นคือ มักจะไม่มีข้อมูลหลักฐานว่าใช้กันมาตั้งแต่เมื่อไร ใครคือผู้ใช้เป็นคนแรก
ผมเข้าใจว่าประเทศที่เจริญแล้วเขาจะมีหน่วยงานทำหน้าที่บันทึกประวัติของถ้อยคำภาษาที่ผู้คนใช้พูดกัน
น่าเสียดายที่บ้านเรายังไม่มีใครคิดจะตั้งหน่วยงานแบบนั้น
“สวดมนต์ข้ามปี” เป็นคำที่ว่า “ติดตลาด” คือพูดง่าย เข้าใจง่าย
“ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ก็เคยติดตลาด แต่เมื่อเทียบกันแล้ว “สวดมนต์ข้ามปี” ได้เปรียบตรงที่กระชับกว่า
แต่ข้อจำกัดของ “สวดมนต์ข้ามปี” ก็คือใช้ได้เรื่องเดียว ในขณะที่ “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ใช้ได้กว้างขวางกว่า
สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ทำบุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ปฏิบัติธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
จัดเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
สังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
------------
สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่สมัยโน้นทำกันเฉพาะคนวัดคือพระภิกษุสามเณร
มีเด็กวัดเป็นตัวประกอบบ้างเล็กน้อย ไม่มีชาวบ้านมาร่วมด้วย
เพราะชาวบ้านสมัยโน้นถือว่าการสวดมนต์ในโอกาสเช่นนี้เป็นกิจของพระ คือพระสวดมนต์ให้เป็นสิริมงคลแก่ประชาชน
จึงไม่ใช่โอกาสที่ชาวบ้านจะไปสวดมนต์ร่วมกับพระ หรือสวดแทนพระ
จะว่ากันไปแล้ว สมัยโน้นชาวบ้านสวดมนต์ร่วมกับพระ ผมก็ไม่เคยเห็น
เคยได้ยินบางท่านให้เหตุผลว่า
มีสิกขาบทบัญญัติว่า ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน (คือบุคคคลที่ไม่ใช่ภิกษุภิกษุณี) ถ้าสวดพร้อมกันต้องอาบัติ
ท่านตีความว่าสวดมนต์พร้อมกันเข้าข่ายสิกขาบทนี้ หรือแม้จะไม่เข้าข่ายแต่ก็ถือข้างเคร่งครัดไว้ก่อน
เทียบเคียงกับกรณีสตรีประเคนของ แม้จะไม่มีข้อห้ามให้ใช้มือรับโดยตรง แต่พระไทยก็ถือข้างเคร่งไว้ก่อน คือใช้ผ้ารับ ไม่ใช้มือรับ-ฉันใด
สวดมนต์ร่วมกับชาวบ้านจะผิดหรือจะไม่ผิดก็ตาม ก็ถือเคร่งไว้ก่อน คือไม่สวดพร้อมกัน-ฉันนั้น
แต่มาถึง พ.ศ.นี้ พระกับชาวบ้านสวดมนต์ร่วมกันกลายเป็นเรื่องดีไปแล้ว
จะว่าท่านแต่ปางก่อนเข้าใจสิกขาบทข้อนี้ผิด หรือจะว่าท่านในปัจจุบันถือว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นโทษ ก็แล้วแต่จะพิจารณา
แต่การพิจารณานั้นก็ควรมีหลัก เช่นบทบัญญัติในคัมภีร์ หรืออย่างต่ำๆ ก็แบบธรรมเนียมเก่า ไม่ใช่พิจารณาตามความเห็นส่วนตัว
หรือแม้แต่อ้างความเห็นหรือข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์
สวดมนต์ข้ามปีในสมัยนี้ไม่เหมือนสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในสมัยก่อนที่เป็นข้อสำคัญก็คือ มีชาวบ้านมาร่วมสวดด้วย
และในหลายๆ แห่งทางราชการเป็นเจ้าภาพจัดเอง เพียงแต่อาศัยทำที่วัด
เชื่อว่าต่อไปอาจจะไปจัดกันนอกวัดโดยวัดและพระสงฆ์ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย
หรือเผลอๆ ที่ทำกันเวลานี้อาจเป็นแบบนั้นไปแล้วบ้างก็ไม่รู้
สรุปได้ว่า
๑ เมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ วัดต่างๆ เคยมีการสวดมนต์กันมาแล้ว เรียกว่า “สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ไม่ได้เรียกว่า “สวดมนต์ข้ามปี”
๒ เป็นการสวดมนต์ของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ ไม่ได้มีชาวบ้านมาร่วมสวดด้วย
๓ เป็นการสวดมนต์แบบพระสวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่ประชาชนมาสวดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
ความคิดเห็น :
(๑) ถ้าถามผมว่า สวดมนต์ข้ามปีดีหรือไม่
ผมก็ตอบได้ทันทีว่าดี
แต่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อะไรที่ไม่เคยทำ ไม่ได้แปลว่าทำไม่ได้
ข้อสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีปัญญารู้เหตุผลที่ถูกต้องในการกระทำนั้น
เช่นควรเข้าใจว่าอย่างแจ่มชัดว่า สวดมนต์ในพระพุทธศาสนาคือทำอะไร ทำอย่างไร และทำทำไม
(๒) มีผู้ถามว่า ขึ้นปีใหม่นั้นนับกันที่เวลาไหน ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เท่าที่ตกลงกันจะโดยหลักโหราศาสตร์หรือหลักดาราศาสตร์หรือศาสตร์อะไรผมก็ไม่แน่ใจและไม่มีความรู้
ก็คือวันใหม่นับเมื่อสิ้นสุดเวลา ๒๔ นาฬิกา พูดอีกอย่างหนึ่งว่าหลังหกทุ่มไปแล้วนับเป็นวันใหม่
ดังนั้นสวดมนต์ข้ามปีจึงต้องเริ่มก่อนหกทุ่มวันที่ ๓๑ ธันวาคม และไปเลิกเอาหลังหกทุ่ม
เมื่อตกลงกันอย่างนี้ก็เป็นไปตามนี้ ไม่ต้องเถียงกัน
แต่โดยสามัญสำนึกของสัตว์โลก หกทุ่มยังมืดอยู่ ยังไม่ใช่วันใหม่ ต่อเมื่อได้เห็นแสงเงินแสงทองนั่นคือเริ่มวันใหม่
เริ่มวันใหม่หลังหกทุ่ม เป็นวันใหม่ตามที่สังคมตกลงกัน
แต่เริ่มวันใหม่เมื่อเห็นแสงเงินแสงทองเป็นวันใหม่ตามที่สัมผัสได้จริง
จึงมีผู้เสนอความเห็นว่า เราควรสวดมนต์กันตอนเช้ามืดวันที่ ๑ มกราคมจึงจะถูกต้องตามที่สัมผัสได้จริง
ผู้เสนอความเห็นได้แสดงเหตุผลประกอบอีกแง่หนึ่งด้วยว่า เรานิยมทำบุญตักบาตรในวันขึ้นปีใหม่ การไปชุมนุมสวดมนต์กันตั้งแต่สี่ทุ่มห้าทุ่มและเลยไปจนถึงหลังเที่ยงคืน เมื่อเสร็จพิธีแล้วจนกว่าจะถึงเวลาเช้า จะไปทำอะไรกัน ?
ถ้ากลับบ้าน ได้นอนอีกนิดหน่อยก็ต้องลุกขึ้นมาเตรียมตัวไปทำบุญตอนเช้าอีกแล้ว
ถ้าไม่กลับบ้าน จะทำกิจกรรมอะไรต่อ
ถ้าทำกิจกรรมต่อไปจนถึงเช้า จะเตรียมตัวทำบุญตักบาตรตอนไหน
สรุปว่าจังหวะเวลาไม่เหมาะ
แต่ถ้าสวดมนต์กันตอนเช้ามืดวันที่ ๑ มกราคม ก็เพียงแต่ตื่นแต่เช้าหน่อย เตรียมของไปทำบุญตักบาตรแล้วไปสวดมนต์ตั้งแต่ยังไม่สว่าง
ใช้เวลาแบบเดียวกับพระตื่นตีสี่ทำวัตรเช้ามืดในช่วงเวลาเข้าพรรษา
สวดมนต์กันไปจนสว่าง
จะเรียกว่าสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่แบบเดิมก็ตรงตามข้อเท็จจริง
จะเรียกว่าสวดมนต์ข้ามปีตามที่เรียกกันติดตลาดก็ได้ เพราะสวดตั้งแต่ยังไม่หมดปีเก่าและสวดติดต่อมาจนถึงปีใหม่
พอสว่างก็ต่อด้วยทำบุญปีใหม่ได้เลย
ก็คงได้แต่เสนอแนะ แต่จะให้เปลี่ยนคงยาก เพราะไปยอมรับกันแล้วว่าขึ้นปีใหม่ตั้งแต่หลังหกทุ่ม
แต่อะไรที่ไม่เคยทำ ก็ไม่ได้แปลว่าทำไม่ได้
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๗ มกราคม ๒๕๕๘
ที่มา :
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/786893534737719
สาระน่ารู้ : สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ vs. สวดมนต์ข้ามปี
ผมไปทำบุญวันพระ หลวงพ่อท่านก็ปรารภคำนี้ ท่านว่าเมื่อก่อนก็ไม่ได้เรียกกันอย่างนี้
ผมมาอยู่วัดมหาธาตุ ราชบุรี เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๕ จำได้แม่นเพราะวันรุ่งขึ้นเป็นวันปีใหม่
ตอนนั้นวัดมหาธาตุก็มีสวดมนต์ในคืนสิ้นปีแล้ว เรียกกันว่า “สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่”
ขั้นตอนก็คือ
เวลาประมาณห้าทุ่มพระสงฆ์ทั้งวัดลงชุมนุมกันในอุโบสถ ทำวัตรเย็นแล้วสวดมนต์เช่นที่ทำเป็นกิจวัตร
แล้วรอจนกระทั่งถึงเวลา ๒๔:๐๐ ได้สัญญาณจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยว่าขึ้นปีใหม่แล้ว
พระสงฆ์ก็เจริญชัยมงคลคาถา ย่ำกลองย่ำระฆัง
ชาวบ้านรอบๆ วัดได้ยินเสียงกลองเสียงระฆังก็อนุโมทนาสาธุรับรู้รับทราบว่า
พระสงฆ์ท่านแผ่สิริมงคลให้ปวงประชาชนในโอกาสขึ้นปีใหม่
เวลานั้น คำว่า “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” นิยมพูดกันทั่วไป รวมทั้งคำว่า สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
แต่ไม่มีใครพูดว่า “สวดมนต์ข้ามปี”
สาระสำคัญของการสวดมนต์ “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ก็คือ
พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน
ต่างจาก “สวดมนต์ข้ามปี” ที่ทำกันเดี๋ยวนี้ที่ประชาชนมาสวดมนต์กันเอง หรือสวดร่วมกับพระ โดยไม่รู้ว่าใครสวดให้ใคร
หรือมองอีกแง่หนึ่งได้ว่า ประชาชนไม่ต้องรอรับสิริมงคลจากพระสงฆ์อีกแล้ว เพราะสวดเอาเองได้แล้ว-อะไรประมาณนั้น
ดูๆ ไปก็ชอบกลอยู่
คำว่า “สวดมนต์ข้ามปี” น่าจะมีผู้เรียกกันมาไม่เกิน ๒๐ ปีมานี้
เป็นธรรมชาติธรรมดาอย่างหนึ่งของภาษาลักษณะนี้ นั่นคือ มักจะไม่มีข้อมูลหลักฐานว่าใช้กันมาตั้งแต่เมื่อไร ใครคือผู้ใช้เป็นคนแรก
ผมเข้าใจว่าประเทศที่เจริญแล้วเขาจะมีหน่วยงานทำหน้าที่บันทึกประวัติของถ้อยคำภาษาที่ผู้คนใช้พูดกัน
น่าเสียดายที่บ้านเรายังไม่มีใครคิดจะตั้งหน่วยงานแบบนั้น
“สวดมนต์ข้ามปี” เป็นคำที่ว่า “ติดตลาด” คือพูดง่าย เข้าใจง่าย
“ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ก็เคยติดตลาด แต่เมื่อเทียบกันแล้ว “สวดมนต์ข้ามปี” ได้เปรียบตรงที่กระชับกว่า
แต่ข้อจำกัดของ “สวดมนต์ข้ามปี” ก็คือใช้ได้เรื่องเดียว ในขณะที่ “ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ใช้ได้กว้างขวางกว่า
สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ทำบุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
ปฏิบัติธรรมส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
จัดเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
สังสรรค์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
------------
สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่สมัยโน้นทำกันเฉพาะคนวัดคือพระภิกษุสามเณร
มีเด็กวัดเป็นตัวประกอบบ้างเล็กน้อย ไม่มีชาวบ้านมาร่วมด้วย
เพราะชาวบ้านสมัยโน้นถือว่าการสวดมนต์ในโอกาสเช่นนี้เป็นกิจของพระ คือพระสวดมนต์ให้เป็นสิริมงคลแก่ประชาชน
จึงไม่ใช่โอกาสที่ชาวบ้านจะไปสวดมนต์ร่วมกับพระ หรือสวดแทนพระ
จะว่ากันไปแล้ว สมัยโน้นชาวบ้านสวดมนต์ร่วมกับพระ ผมก็ไม่เคยเห็น
เคยได้ยินบางท่านให้เหตุผลว่า
มีสิกขาบทบัญญัติว่า ภิกษุสอนธรรมแก่อนุปสัมบัน (คือบุคคคลที่ไม่ใช่ภิกษุภิกษุณี) ถ้าสวดพร้อมกันต้องอาบัติ
ท่านตีความว่าสวดมนต์พร้อมกันเข้าข่ายสิกขาบทนี้ หรือแม้จะไม่เข้าข่ายแต่ก็ถือข้างเคร่งครัดไว้ก่อน
เทียบเคียงกับกรณีสตรีประเคนของ แม้จะไม่มีข้อห้ามให้ใช้มือรับโดยตรง แต่พระไทยก็ถือข้างเคร่งไว้ก่อน คือใช้ผ้ารับ ไม่ใช้มือรับ-ฉันใด
สวดมนต์ร่วมกับชาวบ้านจะผิดหรือจะไม่ผิดก็ตาม ก็ถือเคร่งไว้ก่อน คือไม่สวดพร้อมกัน-ฉันนั้น
แต่มาถึง พ.ศ.นี้ พระกับชาวบ้านสวดมนต์ร่วมกันกลายเป็นเรื่องดีไปแล้ว
จะว่าท่านแต่ปางก่อนเข้าใจสิกขาบทข้อนี้ผิด หรือจะว่าท่านในปัจจุบันถือว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นโทษ ก็แล้วแต่จะพิจารณา
แต่การพิจารณานั้นก็ควรมีหลัก เช่นบทบัญญัติในคัมภีร์ หรืออย่างต่ำๆ ก็แบบธรรมเนียมเก่า ไม่ใช่พิจารณาตามความเห็นส่วนตัว
หรือแม้แต่อ้างความเห็นหรือข้อปฏิบัติของครูบาอาจารย์
สวดมนต์ข้ามปีในสมัยนี้ไม่เหมือนสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในสมัยก่อนที่เป็นข้อสำคัญก็คือ มีชาวบ้านมาร่วมสวดด้วย
และในหลายๆ แห่งทางราชการเป็นเจ้าภาพจัดเอง เพียงแต่อาศัยทำที่วัด
เชื่อว่าต่อไปอาจจะไปจัดกันนอกวัดโดยวัดและพระสงฆ์ไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย
หรือเผลอๆ ที่ทำกันเวลานี้อาจเป็นแบบนั้นไปแล้วบ้างก็ไม่รู้
สรุปได้ว่า
๑ เมื่อถึงวันขึ้นปีใหม่ วัดต่างๆ เคยมีการสวดมนต์กันมาแล้ว เรียกว่า “สวดมนต์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่” ไม่ได้เรียกว่า “สวดมนต์ข้ามปี”
๒ เป็นการสวดมนต์ของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ ไม่ได้มีชาวบ้านมาร่วมสวดด้วย
๓ เป็นการสวดมนต์แบบพระสวดมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน ไม่ใช่ประชาชนมาสวดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
ความคิดเห็น :
(๑) ถ้าถามผมว่า สวดมนต์ข้ามปีดีหรือไม่ ผมก็ตอบได้ทันทีว่าดี
แต่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
อะไรที่ไม่เคยทำ ไม่ได้แปลว่าทำไม่ได้
ข้อสำคัญอยู่ที่ผู้ทำต้องมีปัญญารู้เหตุผลที่ถูกต้องในการกระทำนั้น
เช่นควรเข้าใจว่าอย่างแจ่มชัดว่า สวดมนต์ในพระพุทธศาสนาคือทำอะไร ทำอย่างไร และทำทำไม
(๒) มีผู้ถามว่า ขึ้นปีใหม่นั้นนับกันที่เวลาไหน ?
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๗ มกราคม ๒๕๕๘
ที่มา :
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/786893534737719