ก่อนอื่น ต้องขออธิบายเรื่อง เรตติ้งว่า สำคัญอย่างไรกับความอยู่รอด ทั้งที่บางท่านอาจจะไม่สนใจ ชั้นก็ดูรายการที่ชอบ เรตติ้งดีก็โอเค ไม่ดีก็บอกเรตติ้งไม่น่าเชื่อถือ แล้วแต่ว่าเหตุผลจะอ้าง แต่ในทางธุรกิจ เรตติ้งสำคัญมาก เพราะวงการโฆษณาจะซื้อสื่อได้ก็ต้องมีค่าทางสถิติอ้างอิง นั่นคือจากเรตติ้ง เรตติ้งต่ำ ก็ใช่ว่าจะขายไม่ได้ เพราะเค้าจะดูค่าใช้จ่ายต่อเรตติ้ง (CPRP) เช่น รายการ A ราคาต่อสปอต 30 วิ 150,000 บาท มีค่าเรตติ้งในกลุ่มเป้าหมาย 4 % ค่า CPRP = 37,500 บาท กับอีกรายการ B เรตติ้งอาจจต่ำกว่า ได้แค่ 2.5 % ราคาต่อสปอต 75,000 บาท ค่า CPRP = 30,000 บาท เช่นนี้ รายการ B ก็ยังขายได้เช่นกัน
*การวัดผลเรตติ้งในทางสื่อโฆษณา จะวัดตามกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว เช่น สินค้าที่ต้องการเจาะหัวเมือง กทม.ปริมณฑล และ หัวเมืองหลัก ต่างหวัด ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าหลัก ๆ ก็มักจะกำหนดเฉพาะด้วย ดังนั้น ถึงแม้ดิจิตอลทีวี จะครอบคลุมไม่ทั่วประเทศ แต่ถ้าใน กทม. หัวเมือง ก็น่าจะรับได้อยู่แล้ว จึงไม่เกี่ยวกับเรื่อง พื้นที่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะไม่วัดหรือวัดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างการวัดผลด้วย
ในเรื่องที่ว่า ถ้าไม่สนใจเรตติ้ง ดูกระแสเอาว่าเรื่องอะไรดี รายการไหนถูกกล่าวถึง แน่นอน ธุรกิจหรือผู้ดูแลการตลาดในประเทศอาจจะได้รับข้อมูลข่าวสาร ก็อาจจะไม่สนใจค่าเรตติ้ง หรือ CPRP ได้ แต่ ในประเทศไทย ธุรกิจหลักอย่าง Unilever, P&G, L'oreal, Beierdorf, Coca Cola , และอื่น ๆ ซึ่งใช้เงินมากกว่า 60% ของธุรกิจทั้งหมด กลุ่มสินค้าเหล่านี้ธุรกิจมาจากต่างประเทศ ซึ่งเค้าจะดูค่าสถิติอ้างอิงเป็นหลัก ถ้าขายกลุ่มนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปจับธุรกิจของคนใทย หน่วยงานของรัฐ ซึ่งบางหน่วยงานหรือบริษัท ก็ยังต้องมีค่าตัวเลขมาอ้างอิงในการซื้อด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน ช่องดิจิตอลทีวีต่าง ๆ ก็ได้ถูกวัดแล้ว แต่ปัญหา คือ การกำหนดระดับรายได้ในกลุ่มตัวอย่าง (ได้เขียนไปบ้างในทู้นี้
http://ppantip.com/topic/33061469 คหที่ 29-4 และ 42
จากการวัดผลของเนลสัน พบว่า รายการทางช่องดิจิตอลทีวีใหม่
ค่า TV Rating (TVR) ไม่ถึง 1% จะทำให้ CPRP สูงเกินกำหนดมาก ถึงแม้ว่าราคาต่อสปอตจะกำหนดไว้ในขั้นต่ำ เช่น ราคาสปอตโฆษณา 30 วินาที ของ Digital TV รายการที่นิยมประมาณ 50,000-65,000 บาทต่อสปอต
TVR สูงสุดที่รายการ Prime Time ของดิจิตอลทีวี (ไม่นับช่อง 3 หรือ 7) จะได้ประมาณ 0.5-0.9
ค่า CPRP ที่จะได้ประมาณ 55,555 บาท ถึง 72,000 บาท เป็นค่าที่สูงมากเกินไป ถึงแม้จะซื้อได้ ก็จะซื้อได้ไม่มากนัก และผู้ซื้อจะต้องหาชดเชยด้วยสปอตที่มีค่า CPRP ต่ำมาก ๆ มาช่วยเฉลี่ย
ดังนั้น รายการทวี DTT ถ้ายังคงได้เรตติ้งไม่ถึง 1% เช่นนี้ ไม่มีทางอยู่รอดได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน ระเบียบวิธีการวัด
เรื่องการกระจายพื้นที่ หรือ แจกกล่องจากทาง กสท ไม่น่าจะใช่ตัวปัญหาหลักของความอยู่รอด เพราะการวัดผลวิจัย จะมีกำหนดพื้นที่ทั้งในเขตเมือง และ Rural ซึ่งถ้าจะวัดกลุ่มเป้าหมายคนในเมือง ก็สามารถเลือกคำนวณเรตติ้งเฉพาะกลุ่มได้
ประเด็นปัญหา เรื่องการลงทุนสร้าง หรือ ผลิตรายการใหม่ ๆ จึงเกี่ยวข้องอย่างมากกับการวัดผล ถ้าทำมาแนวช่อง 3 - 7 ก็ไม่มีทางไปแย่งเรตติ้งมาได้ หรือ เกิน 1% ถ้าทำแหวกแนว เจาะเฉพาะกลุ่ม การวัดผลก็ไม่ได้กำหนดสัดส่วนกลุ่มที่น่าเชื่อถือได้ ***
ประเด็นที่คิดว่าเป็นปัญหาและแก้ไขในเรื่องการวิจัย มาจากกระทู้ตามลิ้งค์ข้างบน
"การวัดเรตติ้งทีวี เป็นเรื่องของมีเดียเอเยนซี่ กับ บริษัทเนลสัน เพราะผู้จ่ายเงินก็คือมีเดียเอเยนซี่เป็นหลัก ดังนั้น ไม่เกี่ยวกับ กสท. จะเข้าไปวัดเองหรือไม่ หรือ เจ้าของสื่อวัดเองก็ไม่มีประโยชน์ เพราะมีเดียเอเยนซี่เค้ายึดแค่อันเดียวคือของเนลสัน ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันที่จะใช้ที่นี้ จากการ pitch เลือกบ.วิจัยมาก่อนหน้า เนลสัน เป็นผู้ชนะการคัดเลือกมาตรวจวัดเรตติ้งทีวี
การที่จะแยกวัดเรตติ้งออกมาจากบริษัทที่ทางเอเยนซี่ใช้อยู่ไม่มีประโยชน์ เพราะเค้าวัดละเอียดถึงนาที real time ไปจนถึงช่วงโฆษณาสินค้าอะไรลงนาทีที่เท่าไร เอเยนซี่จึงสามารถนำไปวิเคราะห์กับการซื้อสื่อโฆษณาได้ ในขณะที่เคยมีสมาตมเคเบิ้ล พยายามจะวัดในกลุ่มเคเบิ้ลด้วยกันเอง แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในส่วนของเอเยนซี่ เพราะขาดข้อมูลการวัดที่เป็นโฆษณา
กระบวนการวัดเรตติ้ง ต้องใช้ทุนสูงมาก ทำให้ต้องรวมตัวลงทุนจ้างบริษัทใดบริษัทหนึ่งดำเนินการ การที่เนลสันชนะการคัดเลือก ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง คือ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีการ process data ไปจนถึงโปรแกรม ให้ใช้งานได้ตามที่มีเดียเอเยนซี่จะนำไปใช้ได้
ปัญหาของทีวีเรตติ้ง มีมาแต่ดั้งเดิม คือในส่วนของ การวัดผลกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มระดับผู้มีรายได้กลางถึงสูง ซึ่งแน่นอนในประเทศไทยเป็นกลุ่มเล็ก การกำหนดระดับรายได้ของกลุ่มที่ไปวัดผล ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก คือ
กลุ่มระดับปานกลาง กำหนดช่วงรายได้ แค่ 30,000 -49,999 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
กลุ่มระดับรายได้สูง กำหนดช่วงรายได้ แค่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปัญหาอีกประการ คือ การกำหนดโควต้าของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดโควต้าเป็นพิ้นที่ เช่น กทม. จำนวน xxxx , จ. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะเป้น xxx เป็นต้น
ในขณะที่ไม่ได้กำหนดโควต้าสัดส่วนด้วยระดับรายได้ ซึ่งเหตุผลก็คือ เพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่แท้จริง แต่ในความเป็นจริงคือ การเข้าถึงกลุ่มคนรายได้กลางถึงสูงยากมาก เพราะอาจจะด้วยคนจะยอมเสียเวลามาให้ตรวจวัด ไม่ค่อยมี เค้าเสียเวลามาก กับเงินตอบแทนนิดหน่อยในการเป็นกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น เชื่อว่ากลุ่มที่มีรายได้กลางถึงสูงจริง จึงไม่ได้ถูกจัดเก็บมากนัก
ดังนั้นกลุ่มที่วัดว่าอยู่กลางถึงสูง จะไม่ใช่กลาง - สูงที่แท้จริง มีผลกับรายการประเภทคุณภาพ ที่มีกลุ่มผู้ชมคุณภาพเช่น ผู้บริหาร นักธุรกิจ หรือ กลุ่มราชการระดับกลางถึงสูง เป็นต้น เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจะไม่ได้ถูกตรวจวัด เรตติ้งในรายการที่มีคุณภาพ จึงได้ ไม่ถึง 1% เช่นนี้ ไม่สามารถจะขายได้ เพราะเอเยนซี่ต้องนำไปคำนวณวัดเป็นค่าใช้จ่ายต่อเรตติ้งอีก
คหสต. ทาง กสท ไม่น่าจะไปแทรกแซงการทำงานของเอกชน มีเดียเอเยนซี่ กับ ทางเนลสันได้ เพราะเป็นการทำงานในระบบเอกชน
และการที่จะให้ไปทำแยกต่างหากก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้ามีเดียเอเยนซี่ไม่ใช้
เรื่อง Coverage ของดิจิตอลทีวี จริง ๆ ถ้ามองในมุมของการวัดผล อาจจะไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะถ้าการวัดเจาะกลุ่ม แบบ กทม. และ หัวเมืองหลัก
ก็จะเฉพาะเจาะจงได้แล้ว แต่เรตติ้งก็ยังต่ำสุดขั้ว ซื้อไม่ได้อยู่ดี อาจจะเพราะ ปัญหาเรื่องกลุ่มตัวอย่างนั่นเอง
ปัญหาเรื่องการผลิตจึงตามมาว่า วนอยู่ในอ่าง ไม่มีการพัฒนา จึงตามมา เพราะผู้ผลิต เชื่อว่า ทำรายการที่เรียกเรตติ้งได้ก็ต้องทำให้ชาวบ้านชอบ เช่น แนวตลก แย่งสามี ภรรยา ตบตี เป็นต้น ข่าวก็ต้องกอสซิบ เป็นต้น เพราะจะทำให้มีเรตติ้ง ซึ่งทำให้เป็นที่มาว่าแต่ลช่องไม่อยากจะฉีกแนวไป ไปทำรายการแบบคุณภาพ
ระหว่างเรตติ้ง กับ การครอบคลุมพื้นที่ อะไรเป็นตัวแปรสำคัญมากกว่ากันของความอยู่รอดของช่องดิจิตอลทีวี
*การวัดผลเรตติ้งในทางสื่อโฆษณา จะวัดตามกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว เช่น สินค้าที่ต้องการเจาะหัวเมือง กทม.ปริมณฑล และ หัวเมืองหลัก ต่างหวัด ซึ่งส่วนใหญ่สินค้าหลัก ๆ ก็มักจะกำหนดเฉพาะด้วย ดังนั้น ถึงแม้ดิจิตอลทีวี จะครอบคลุมไม่ทั่วประเทศ แต่ถ้าใน กทม. หัวเมือง ก็น่าจะรับได้อยู่แล้ว จึงไม่เกี่ยวกับเรื่อง พื้นที่ไม่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้วจะไม่วัดหรือวัดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดกลุ่มตัวอย่างการวัดผลด้วย
ในเรื่องที่ว่า ถ้าไม่สนใจเรตติ้ง ดูกระแสเอาว่าเรื่องอะไรดี รายการไหนถูกกล่าวถึง แน่นอน ธุรกิจหรือผู้ดูแลการตลาดในประเทศอาจจะได้รับข้อมูลข่าวสาร ก็อาจจะไม่สนใจค่าเรตติ้ง หรือ CPRP ได้ แต่ ในประเทศไทย ธุรกิจหลักอย่าง Unilever, P&G, L'oreal, Beierdorf, Coca Cola , และอื่น ๆ ซึ่งใช้เงินมากกว่า 60% ของธุรกิจทั้งหมด กลุ่มสินค้าเหล่านี้ธุรกิจมาจากต่างประเทศ ซึ่งเค้าจะดูค่าสถิติอ้างอิงเป็นหลัก ถ้าขายกลุ่มนี้ไม่ได้ ก็ต้องไปจับธุรกิจของคนใทย หน่วยงานของรัฐ ซึ่งบางหน่วยงานหรือบริษัท ก็ยังต้องมีค่าตัวเลขมาอ้างอิงในการซื้อด้วยเช่นกัน
ปัจจุบัน ช่องดิจิตอลทีวีต่าง ๆ ก็ได้ถูกวัดแล้ว แต่ปัญหา คือ การกำหนดระดับรายได้ในกลุ่มตัวอย่าง (ได้เขียนไปบ้างในทู้นี้
http://ppantip.com/topic/33061469 คหที่ 29-4 และ 42
จากการวัดผลของเนลสัน พบว่า รายการทางช่องดิจิตอลทีวีใหม่
ค่า TV Rating (TVR) ไม่ถึง 1% จะทำให้ CPRP สูงเกินกำหนดมาก ถึงแม้ว่าราคาต่อสปอตจะกำหนดไว้ในขั้นต่ำ เช่น ราคาสปอตโฆษณา 30 วินาที ของ Digital TV รายการที่นิยมประมาณ 50,000-65,000 บาทต่อสปอต
TVR สูงสุดที่รายการ Prime Time ของดิจิตอลทีวี (ไม่นับช่อง 3 หรือ 7) จะได้ประมาณ 0.5-0.9
ค่า CPRP ที่จะได้ประมาณ 55,555 บาท ถึง 72,000 บาท เป็นค่าที่สูงมากเกินไป ถึงแม้จะซื้อได้ ก็จะซื้อได้ไม่มากนัก และผู้ซื้อจะต้องหาชดเชยด้วยสปอตที่มีค่า CPRP ต่ำมาก ๆ มาช่วยเฉลี่ย
ดังนั้น รายการทวี DTT ถ้ายังคงได้เรตติ้งไม่ถึง 1% เช่นนี้ ไม่มีทางอยู่รอดได้ ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยน ระเบียบวิธีการวัด
เรื่องการกระจายพื้นที่ หรือ แจกกล่องจากทาง กสท ไม่น่าจะใช่ตัวปัญหาหลักของความอยู่รอด เพราะการวัดผลวิจัย จะมีกำหนดพื้นที่ทั้งในเขตเมือง และ Rural ซึ่งถ้าจะวัดกลุ่มเป้าหมายคนในเมือง ก็สามารถเลือกคำนวณเรตติ้งเฉพาะกลุ่มได้
ประเด็นปัญหา เรื่องการลงทุนสร้าง หรือ ผลิตรายการใหม่ ๆ จึงเกี่ยวข้องอย่างมากกับการวัดผล ถ้าทำมาแนวช่อง 3 - 7 ก็ไม่มีทางไปแย่งเรตติ้งมาได้ หรือ เกิน 1% ถ้าทำแหวกแนว เจาะเฉพาะกลุ่ม การวัดผลก็ไม่ได้กำหนดสัดส่วนกลุ่มที่น่าเชื่อถือได้ ***
ประเด็นที่คิดว่าเป็นปัญหาและแก้ไขในเรื่องการวิจัย มาจากกระทู้ตามลิ้งค์ข้างบน
"การวัดเรตติ้งทีวี เป็นเรื่องของมีเดียเอเยนซี่ กับ บริษัทเนลสัน เพราะผู้จ่ายเงินก็คือมีเดียเอเยนซี่เป็นหลัก ดังนั้น ไม่เกี่ยวกับ กสท. จะเข้าไปวัดเองหรือไม่ หรือ เจ้าของสื่อวัดเองก็ไม่มีประโยชน์ เพราะมีเดียเอเยนซี่เค้ายึดแค่อันเดียวคือของเนลสัน ซึ่งเป็นการตกลงร่วมกันที่จะใช้ที่นี้ จากการ pitch เลือกบ.วิจัยมาก่อนหน้า เนลสัน เป็นผู้ชนะการคัดเลือกมาตรวจวัดเรตติ้งทีวี
การที่จะแยกวัดเรตติ้งออกมาจากบริษัทที่ทางเอเยนซี่ใช้อยู่ไม่มีประโยชน์ เพราะเค้าวัดละเอียดถึงนาที real time ไปจนถึงช่วงโฆษณาสินค้าอะไรลงนาทีที่เท่าไร เอเยนซี่จึงสามารถนำไปวิเคราะห์กับการซื้อสื่อโฆษณาได้ ในขณะที่เคยมีสมาตมเคเบิ้ล พยายามจะวัดในกลุ่มเคเบิ้ลด้วยกันเอง แต่ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในส่วนของเอเยนซี่ เพราะขาดข้อมูลการวัดที่เป็นโฆษณา
กระบวนการวัดเรตติ้ง ต้องใช้ทุนสูงมาก ทำให้ต้องรวมตัวลงทุนจ้างบริษัทใดบริษัทหนึ่งดำเนินการ การที่เนลสันชนะการคัดเลือก ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง คือ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีการ process data ไปจนถึงโปรแกรม ให้ใช้งานได้ตามที่มีเดียเอเยนซี่จะนำไปใช้ได้
ปัญหาของทีวีเรตติ้ง มีมาแต่ดั้งเดิม คือในส่วนของ การวัดผลกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มระดับผู้มีรายได้กลางถึงสูง ซึ่งแน่นอนในประเทศไทยเป็นกลุ่มเล็ก การกำหนดระดับรายได้ของกลุ่มที่ไปวัดผล ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก คือ
กลุ่มระดับปานกลาง กำหนดช่วงรายได้ แค่ 30,000 -49,999 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน
กลุ่มระดับรายได้สูง กำหนดช่วงรายได้ แค่ 50,000 บาทขึ้นไปต่อเดือนต่อครัวเรือน
ปัญหาอีกประการ คือ การกำหนดโควต้าของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดโควต้าเป็นพิ้นที่ เช่น กทม. จำนวน xxxx , จ. ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะเป้น xxx เป็นต้น
ในขณะที่ไม่ได้กำหนดโควต้าสัดส่วนด้วยระดับรายได้ ซึ่งเหตุผลก็คือ เพื่อให้เป็นไปตามสภาพที่แท้จริง แต่ในความเป็นจริงคือ การเข้าถึงกลุ่มคนรายได้กลางถึงสูงยากมาก เพราะอาจจะด้วยคนจะยอมเสียเวลามาให้ตรวจวัด ไม่ค่อยมี เค้าเสียเวลามาก กับเงินตอบแทนนิดหน่อยในการเป็นกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้น เชื่อว่ากลุ่มที่มีรายได้กลางถึงสูงจริง จึงไม่ได้ถูกจัดเก็บมากนัก
ดังนั้นกลุ่มที่วัดว่าอยู่กลางถึงสูง จะไม่ใช่กลาง - สูงที่แท้จริง มีผลกับรายการประเภทคุณภาพ ที่มีกลุ่มผู้ชมคุณภาพเช่น ผู้บริหาร นักธุรกิจ หรือ กลุ่มราชการระดับกลางถึงสูง เป็นต้น เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจะไม่ได้ถูกตรวจวัด เรตติ้งในรายการที่มีคุณภาพ จึงได้ ไม่ถึง 1% เช่นนี้ ไม่สามารถจะขายได้ เพราะเอเยนซี่ต้องนำไปคำนวณวัดเป็นค่าใช้จ่ายต่อเรตติ้งอีก
คหสต. ทาง กสท ไม่น่าจะไปแทรกแซงการทำงานของเอกชน มีเดียเอเยนซี่ กับ ทางเนลสันได้ เพราะเป็นการทำงานในระบบเอกชน
และการที่จะให้ไปทำแยกต่างหากก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้ามีเดียเอเยนซี่ไม่ใช้
เรื่อง Coverage ของดิจิตอลทีวี จริง ๆ ถ้ามองในมุมของการวัดผล อาจจะไม่ใช่ปัญหาหลัก เพราะถ้าการวัดเจาะกลุ่ม แบบ กทม. และ หัวเมืองหลัก
ก็จะเฉพาะเจาะจงได้แล้ว แต่เรตติ้งก็ยังต่ำสุดขั้ว ซื้อไม่ได้อยู่ดี อาจจะเพราะ ปัญหาเรื่องกลุ่มตัวอย่างนั่นเอง
ปัญหาเรื่องการผลิตจึงตามมาว่า วนอยู่ในอ่าง ไม่มีการพัฒนา จึงตามมา เพราะผู้ผลิต เชื่อว่า ทำรายการที่เรียกเรตติ้งได้ก็ต้องทำให้ชาวบ้านชอบ เช่น แนวตลก แย่งสามี ภรรยา ตบตี เป็นต้น ข่าวก็ต้องกอสซิบ เป็นต้น เพราะจะทำให้มีเรตติ้ง ซึ่งทำให้เป็นที่มาว่าแต่ลช่องไม่อยากจะฉีกแนวไป ไปทำรายการแบบคุณภาพ