พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2 ม.ค. 2449
ภาพจาก Facebook
https://www.facebook.com/MemoriesAtPRC
2 มกราคม 2558 ผมเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมานั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบในยามเย็น
ตั้งใจมาตั้งแต่เช้าว่าจะเขียนเรื่องของ วันเกิดของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยและโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ที่ผมได้เคยเรียนหนังสือรับการศึกษาที่นี่มาทั้งสองโรงเรียนทั้งในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา วันนี้โรงเรียนทั้งสองมีอายุครบอย่างเป็นทางการ 109 ปี เพราะได้รับการพระราชทานนามตั้งแต่ปี ค.ศ.1906 (พ.ศ.2449) สมัยตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่ยังเป็นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์เสด็จขึ้นไปมณฑลพายัพได้เสร็จไปพระราชทานนามและเปิดโรงเรียนทั้งสองแห่ง
บัตรเชิญร่วมงานพระราชทานนามโรงเรียน 109 ปี
วันเวลาที่ผ่านไปทำให้เรารู้ว่าการศึกษานั้นมีความสำคัญกับชีวิตขนาดไหนบ้าง
การศึกษาก็คือความรู้แต่ที่มากกว่าความรู้ก็คือการหล่อหลอมอบรมสั่งสอนให้เป็นบุคคลในสังคมซึ่งโรงเรียนแต่ละโรงเรียนก็จะมีแนวทางรูปแบบของตนเอง
สำหรับผมแล้วเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่ได้สนใจประวัติศาสตร์ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ความรู้สึกของผมได้รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณคณะนักบวชมิชชันนารีชาวอเมริกัน เพราะว่าระบบการศึกษาที่ผมได้เรียนนั้นก่อตั้งโดยนักการศึกษาชาวอเมริกัน คุณพ่อวิลเลี่ยม แฮรีส ลองคิดดูซิครับว่า เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ จังหวัดทางเหนือของประเทศไทยยังห่างไกลความเจริญขนาดไหน ถึงแม้ว่าจะเคยมีความเกรียงไกรในอดีตก่อสร้างเมืองเมื่อ 700 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ก็เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศพม่าสัก 200 ปีเห็นจะได้ ใครที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ก็คงจะเห็นวัดวาอารามเจดีย์รูปทรงพม่ารวมถึงวัฒนธรรมอาหารการกินที่ยังคงหลงเหลืออยู่
เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว 109 ปี
หลังจากผมจบการศึกษามาจากโรงเรียนปรินส์ฯเกือบ 30 ปี ผมก็เพิ่งมาทราบว่า
คุณพ่อแฮรีส ที่ผมเคยได้ยินชื่อท่านในสมัยวัยเด็กนั้น ความจริงแล้วท่านเป็นนักการศึกษาระดับด๊อกเตอร์จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันในรัฐนิวเจอร์ซี่ ถ้าพูดถึงความดังก็ไม่แพ้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเหมือนกัน ผมมาคิดว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้ท่านติดสินใจมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วมาตั้งโรงเรียนชายวังสิงห์คำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง สมัยนั้นที่ท่านไปเชียงใหม่เส้นทางรถไฟยังไม่มีนะครับ รถไฟไปมีไปถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2461 แล้วนักบวชนิกายโปรแตสแตนส์กลุ่มนี้
นอกจากสร้างระบบการศึกษายังได้สร้างระบบการสาธารณสุขคือสร้างโรงพยาบาลรักษาโรคเรื้อนแมคเคนและโรงพยาบาลแม็คคอร์มิคไว้อีกด้วย
และที่สำคัญโรงเรียนปรินส์ฯ แห่งนี้ก็ยังได้ให้โอกาสกับนักเรียนชายจากโรงเรียนดีบุก จ.พังงา นายวีระ คำวิเศษณ์ คุณพ่อของผมได้ไปเรียนหนังสือในปี พ.ศ.2504 และหลังจากเรียนจบพ่อก็ได้เป็นครูสอนหนังสือต่อที่โรงเรียนปรินส์อีก 8 ปี ก่อนจะสอบเข้ารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ใช่คุณพ่อของผมเท่านั้นคุณแม่ของผมก็จบจากโรงเรียนปรินส์ รวมถึงน้องชายอีกคนด้วย
คุณพ่อวิลเลี่ยม แฮรีส ในวัยหนุ่ม ผู้สร้างคุณูปการกับวงการศึกษาในประเทศไทย
ความทรงจำสำหรับโรงเรียนปรินส์ ผมเริ่มจำความได้ในปี พ.ศ. 2521 เป็นปีแรกที่ผมเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ห้อง ป.1/3 ครูแจ่มจันทร์ มหาวันสุ เป็นครูประจำชั้น ผมยังจำภาพที่เขียนบนกระดานดำแล้วให้อ่านออกเสียงคำว่า
ออกดอก ผมเริ่มที่จะจำได้กับการศึกษาก็ที่นี่แหละครับ เด็กนักเรียนชายเมื่อ 36 ปีที่แล้วก็ไม่มีอะไรมาก ทีวีช่อง 7 ก็เพิ่งมีการทดลองออกอากาศไปเชียงใหม่ โทรทัศน์สีก็เพิ่งจะมี
เมื่อครั้งเป็นเด็กผมก็ไม่รู้ความสำคัญของโรงเรียนหรอกครับว่าเป็นอย่างไร เพราะความไม่สนใจของผมเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปรู้เลยครับว่าการบ่มเพาะของโรงเรียนก็คือการให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียนทุกคนที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ผมมีเพื่อนที่มีคุณพ่อคุณแม่จากหลายอาชีพ พ่อค้า ข้าราชการ ภารโรง เจ้าของกิจการ คหบดีในจังหวัด ชาวสวน ชาวไร่ เรียนปนเปกันไปหมด
ไม่มีแบ่งชั้นวรรณะยากดีมีจน เชียงใหม่เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วยังไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่โตจากกรุงเทพไปเปิด ผู้คนก็จะดูเท่า ๆ กัน ไม่มีความเหลื่อมล้ำกันมากมายนัก
ห้องทำงานคุณพ่อแฮรีส
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 จนมาถึง พ.ศ.2558 เด็กนักเรียนชายที่เคยเรียนด้วยกันก็ยังคงจับกลุ่มกันอยู่มาจนถึงปัจจุบันยิ่งมี Facebook และ Line ด้วยแล้วในหน้าที่การงานที่ต่างกันวันเวลา แต่ทุกคนก็มาเจอกันบนอินเทอร์เน็ต
พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า โรงเรียนปรินส์ฯ ไม่ได้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นเรื่องแบ่งชนชั้นของการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งผมก็เห็นด้วย แต่วันเวลาก็อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยบ้าง เพราะพื้นที่ในการเรียนก็ค่อนข้างจำกัด ใครก็อยากมาเรียนที่โรงเรียนปรินส์ ผมก็ถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้เรียน
ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และในชั้นมัธยมศึกษาผมอยากลองไปเรียนที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยดูบ้าง
หลุมศพของคุณพ่อแฮรีส ที่สหรัฐอเมริกา ผมหวังว่าวันหนึ่งคงได้ไปเคารพท่าน
ความทรงจำค่อยๆ ฟื้นมาหลังจากหายไปเกือบ 30 ปี นักเรียนจะต้องเข้าโบสถ์ทุกวันอังคารและพฤหัสแล้วแต่ชั้นปี ถึงแม้ว่าผมจะเป็นชาวพุทธแต่โรงเรียนก็ไม่เคยให้เราเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ทุกวันนี้เพลงสรรเสริญพระเจ้าผมก็ยังคงร้องได้อยู่บางท่อนในความทรงจำที่เลือนลาง
โรงเรียนปรินส์ฯ เป็นโรงเรียนใหญ่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ด้านเหนือติดวันเชตุพน และยังมีโรงเรียนนานาชาติ สมัยผมเรียนชั้น ป.6 จำได้ว่ามีทุ่งนา ในการเรียนวิชาเกษตร เราไปเรียนปลูกผักกันที่นั่น ทุกวันนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว
สมุดภาพกรมหมื่นพิทยลาภฯ
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมภูมิใจมากที่สุดก็คือปลายปี 2557 ผมไปซื้อหนังสือ สมุดภาพกรมหมื่นพิทยลาภฯ ตอนตรวจราชการ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ในปี พ.ศ.2470 ได้มีจดหมายทูลเกล้าถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.7 มีใจความบางส่วนในหน้า 138 ว่า
คณะมิชชันนารีมีความหวังและดำเนินการอยู่แล้วที่จะยกเอาเชียงใหม่ เป็นศูนย์ใหญ่ของการศึกษาและการงานของเขาทั่วไปคู่กันกับกรุงเทพฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ฝ่ายธรรมการจะต้องวางตัวเป็นผู้อุปภัมภ์การงานของ Mission แทนที่จะไปถือว่าเป็นคู่แข่งวิธีวางตัวเช่นนี้ควรจำทำได้สนิธไปกว่าโรงเรียนจีน เพราะคณะมิชชันนารีพยายามจะตามเราด้วยน้ำใจสุจริตโดยทั่วถึง ไม่ว่าครูหรือผู้จัดการกรรมการใดๆ และไม่ต้องสงสัยเลยว่าโรงเรียนเช่น Prince Royal’s College เชียงใหม่นั้น เป็นสถานที่ศึกษาใหญ่โตและให้การศึกษาได้ผลเป็นอย่างยิ่งยวดที่สุดแห่งหนึ่ง ใช่แต่ในมณฑลพายัพ แต่ทั่วทั้งประเทศสยาม ถ้าจะพูดด้วยความยุตติธรรมแล้วต้องรับว่า
โรงเรียนรัฐบาลสยามใด ๆ ที่จะสู้เขาได้เห็นจะยาก แลเะเขาก็ปรารถนาความคุ้มครองของรัฐบาลในกิจการของเขาหลายอย่าง
นี่เป็นบางข้อความที่ กรมหมื่นพิทยลาภฯ ได้เขียนถึงโรงเรียนปรินส์ฯ เมื่อคราวไปตรวจ หลังจากที่ผมอ่านข้อความนี้ ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
เอกสารหน้าแรกที่เขียนรายงานทูลให้ในหลวง ร.7 ทราบถึงการศึกษาในมณฑลพายัพ
รายงานหน้าที่เขียนถึงโรงเรียนปรินส์รอยแยลวิทยาลัย
รายงานหน้าสุดท้ายที่ได้กล่าวถึงโรงเรียนปรินส์ฯ
ขอข้ามฝั่งแม่น้ำปิงไปที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนพี่น้องกับโรงเรียนปรินส์ฯ เพราะ
ความหมายของโรงเรียนทั้งสองเหมือนกันเพียงแต่ต่างกันเป็นชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานนามโรงเรียนยุพราช
พ.ศ. 2527 ผมจบการศึกษาชั้น ป.6 ก็ไปสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย วันที่ผมสอบได้จำได้ว่าไปยืนไว้พระบรมราชานุสาวรีย์ ในหลวง ร.6 ซึ่งตั้งอยู่กลางโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย วันนั้นพ่อยืนน้ำตาซึมคงตื้นตันใจที่ผมสอบได้เรียนที่นี่มั้งครับ ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบว่าโรงเรียนยุพราชมีความสำคัญอย่างไรกับโรงเรียนปรินส์ เหมือนกับโรงเรียนพี่น้องกัน
วันหนึ่งใจได้ว่าสัก ม.2 เห็นจะได้ วันหนึ่งก็ได้ไปเห็นป้ายที่หน้าตึกผู้อำนวยการ
เป็นป้ายแกะสลักลายพระหัตถ์ของในหลวง ร.6 ว่า
ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้
ที่ข้าอยากได้นั้น คือเยาวชน
ที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์
สุจริต มีอุปนิสัย ใจคอดี
ลายแกะสลักพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ก็ยอมรับว่าตอนนั้นอ่านไปก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย แต่วันเวลาผ่านมาทำให้ได้รู้ซึ้งทุกคุณค่าของการหล่อหลอมค่านิยม โรงเรียนยุพราชนั้นเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง และที่โรงเรียนยุพราชนี้
เองในปี พ.ศ. 2528 เวลาเช้าตอนเข้าแถว คุณครูอำพล สงวนศิริธรรม ครูสอนคอมพิวเตอร์ได้ขึ้นไปพูดหน้าเสาธงว่า เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้เราสามารถเรียนขับเครื่องบินจำลองได้แล้ว ซึ่งตอนนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก แต่เวลาผ่านมา 20 กว่าปี เสียงก้องของอาจารย์อำพล ทำให้ผมได้ทำโครงการโรงเรียนการบินจำลองขึ้นมา และในที่สุดผมเรียนที่โรงเรียนยุพราชถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องมีอันสัญจรไพรไปตามแรงโชคชะตาแต่ในปี พ.ศ. 2550 ผมได้กลับมาการใช้ Google Apps For Education ที่โรงเรียนยุพราชของผม
ครูอำพล สงวนศิริธรรม ผู้ทุ่มเทกับการสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปัจจุบันเกษียณแล้ว
ผู้เขียน เมื่อคราวไปสอน Google Apps ให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราช ปี พ.ศ. 2550
ที่เขียนมาทั้งหมดนี่ไม่ได้ยกตนข่มท่านกับโรงเรียนใด ผมเชื่อว่าโรงเรียนทุกแห่งให้การศึกษาเหมือนกันหมด การเขียนขึ้นครั้งนี้มาเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงบุญคุณที่ทำให้ผมผู้เป็นเด็กชายธรรมดาหนึ่งคนจากจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นผู้เป็นคนกับเขาและอยู่รอดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยครับ
ถ้าหากมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญไปแคมปัสทัวร์ท่องเที่ยวแบบการศึกษากับโรงเรียนปรินส์ฯ และ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยนะครับ
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Twitter @tri333
2 มกราคม 2558 ชวนแคมปัสทัวร์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยและ ยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ครบรอบ 109 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเยี่ยมโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย 2 ม.ค. 2449
ภาพจาก Facebook https://www.facebook.com/MemoriesAtPRC
2 มกราคม 2558 ผมเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมานั่งอยู่ท่ามกลางความเงียบในยามเย็น
ตั้งใจมาตั้งแต่เช้าว่าจะเขียนเรื่องของ วันเกิดของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยและโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ที่ผมได้เคยเรียนหนังสือรับการศึกษาที่นี่มาทั้งสองโรงเรียนทั้งในชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา วันนี้โรงเรียนทั้งสองมีอายุครบอย่างเป็นทางการ 109 ปี เพราะได้รับการพระราชทานนามตั้งแต่ปี ค.ศ.1906 (พ.ศ.2449) สมัยตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่ยังเป็นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์เสด็จขึ้นไปมณฑลพายัพได้เสร็จไปพระราชทานนามและเปิดโรงเรียนทั้งสองแห่ง
บัตรเชิญร่วมงานพระราชทานนามโรงเรียน 109 ปี
วันเวลาที่ผ่านไปทำให้เรารู้ว่าการศึกษานั้นมีความสำคัญกับชีวิตขนาดไหนบ้าง
การศึกษาก็คือความรู้แต่ที่มากกว่าความรู้ก็คือการหล่อหลอมอบรมสั่งสอนให้เป็นบุคคลในสังคมซึ่งโรงเรียนแต่ละโรงเรียนก็จะมีแนวทางรูปแบบของตนเอง
สำหรับผมแล้วเมื่อไม่นานมานี้หลังจากที่ได้สนใจประวัติศาสตร์ของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ความรู้สึกของผมได้รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณคณะนักบวชมิชชันนารีชาวอเมริกัน เพราะว่าระบบการศึกษาที่ผมได้เรียนนั้นก่อตั้งโดยนักการศึกษาชาวอเมริกัน คุณพ่อวิลเลี่ยม แฮรีส ลองคิดดูซิครับว่า เมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ จังหวัดทางเหนือของประเทศไทยยังห่างไกลความเจริญขนาดไหน ถึงแม้ว่าจะเคยมีความเกรียงไกรในอดีตก่อสร้างเมืองเมื่อ 700 กว่าปีที่ผ่านมา แต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ก็เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศพม่าสัก 200 ปีเห็นจะได้ ใครที่ไปเที่ยวเชียงใหม่ก็คงจะเห็นวัดวาอารามเจดีย์รูปทรงพม่ารวมถึงวัฒนธรรมอาหารการกินที่ยังคงหลงเหลืออยู่
เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว 109 ปี
หลังจากผมจบการศึกษามาจากโรงเรียนปรินส์ฯเกือบ 30 ปี ผมก็เพิ่งมาทราบว่า
คุณพ่อแฮรีส ที่ผมเคยได้ยินชื่อท่านในสมัยวัยเด็กนั้น ความจริงแล้วท่านเป็นนักการศึกษาระดับด๊อกเตอร์จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตันในรัฐนิวเจอร์ซี่ ถ้าพูดถึงความดังก็ไม่แพ้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเหมือนกัน ผมมาคิดว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้ท่านติดสินใจมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ แล้วมาตั้งโรงเรียนชายวังสิงห์คำทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง สมัยนั้นที่ท่านไปเชียงใหม่เส้นทางรถไฟยังไม่มีนะครับ รถไฟไปมีไปถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2461 แล้วนักบวชนิกายโปรแตสแตนส์กลุ่มนี้
นอกจากสร้างระบบการศึกษายังได้สร้างระบบการสาธารณสุขคือสร้างโรงพยาบาลรักษาโรคเรื้อนแมคเคนและโรงพยาบาลแม็คคอร์มิคไว้อีกด้วย
และที่สำคัญโรงเรียนปรินส์ฯ แห่งนี้ก็ยังได้ให้โอกาสกับนักเรียนชายจากโรงเรียนดีบุก จ.พังงา นายวีระ คำวิเศษณ์ คุณพ่อของผมได้ไปเรียนหนังสือในปี พ.ศ.2504 และหลังจากเรียนจบพ่อก็ได้เป็นครูสอนหนังสือต่อที่โรงเรียนปรินส์อีก 8 ปี ก่อนจะสอบเข้ารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ใช่คุณพ่อของผมเท่านั้นคุณแม่ของผมก็จบจากโรงเรียนปรินส์ รวมถึงน้องชายอีกคนด้วย
คุณพ่อวิลเลี่ยม แฮรีส ในวัยหนุ่ม ผู้สร้างคุณูปการกับวงการศึกษาในประเทศไทย
ความทรงจำสำหรับโรงเรียนปรินส์ ผมเริ่มจำความได้ในปี พ.ศ. 2521 เป็นปีแรกที่ผมเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ห้อง ป.1/3 ครูแจ่มจันทร์ มหาวันสุ เป็นครูประจำชั้น ผมยังจำภาพที่เขียนบนกระดานดำแล้วให้อ่านออกเสียงคำว่า
ออกดอก ผมเริ่มที่จะจำได้กับการศึกษาก็ที่นี่แหละครับ เด็กนักเรียนชายเมื่อ 36 ปีที่แล้วก็ไม่มีอะไรมาก ทีวีช่อง 7 ก็เพิ่งมีการทดลองออกอากาศไปเชียงใหม่ โทรทัศน์สีก็เพิ่งจะมี
เมื่อครั้งเป็นเด็กผมก็ไม่รู้ความสำคัญของโรงเรียนหรอกครับว่าเป็นอย่างไร เพราะความไม่สนใจของผมเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปรู้เลยครับว่าการบ่มเพาะของโรงเรียนก็คือการให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียนทุกคนที่ได้เข้ามาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ผมมีเพื่อนที่มีคุณพ่อคุณแม่จากหลายอาชีพ พ่อค้า ข้าราชการ ภารโรง เจ้าของกิจการ คหบดีในจังหวัด ชาวสวน ชาวไร่ เรียนปนเปกันไปหมด
ไม่มีแบ่งชั้นวรรณะยากดีมีจน เชียงใหม่เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้วยังไม่มีห้างสรรพสินค้าใหญ่โตจากกรุงเทพไปเปิด ผู้คนก็จะดูเท่า ๆ กัน ไม่มีความเหลื่อมล้ำกันมากมายนัก
ห้องทำงานคุณพ่อแฮรีส
ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2521 จนมาถึง พ.ศ.2558 เด็กนักเรียนชายที่เคยเรียนด้วยกันก็ยังคงจับกลุ่มกันอยู่มาจนถึงปัจจุบันยิ่งมี Facebook และ Line ด้วยแล้วในหน้าที่การงานที่ต่างกันวันเวลา แต่ทุกคนก็มาเจอกันบนอินเทอร์เน็ต
พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า โรงเรียนปรินส์ฯ ไม่ได้เอาเรื่องเศรษฐกิจมาเป็นเรื่องแบ่งชนชั้นของการศึกษาในโรงเรียน ซึ่งผมก็เห็นด้วย แต่วันเวลาก็อาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยบ้าง เพราะพื้นที่ในการเรียนก็ค่อนข้างจำกัด ใครก็อยากมาเรียนที่โรงเรียนปรินส์ ผมก็ถือว่าโชคดีมากๆ ที่ได้เรียน
ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 และในชั้นมัธยมศึกษาผมอยากลองไปเรียนที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยดูบ้าง
หลุมศพของคุณพ่อแฮรีส ที่สหรัฐอเมริกา ผมหวังว่าวันหนึ่งคงได้ไปเคารพท่าน
ความทรงจำค่อยๆ ฟื้นมาหลังจากหายไปเกือบ 30 ปี นักเรียนจะต้องเข้าโบสถ์ทุกวันอังคารและพฤหัสแล้วแต่ชั้นปี ถึงแม้ว่าผมจะเป็นชาวพุทธแต่โรงเรียนก็ไม่เคยให้เราเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ทุกวันนี้เพลงสรรเสริญพระเจ้าผมก็ยังคงร้องได้อยู่บางท่อนในความทรงจำที่เลือนลาง
โรงเรียนปรินส์ฯ เป็นโรงเรียนใหญ่มีขนาดพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ด้านเหนือติดวันเชตุพน และยังมีโรงเรียนนานาชาติ สมัยผมเรียนชั้น ป.6 จำได้ว่ามีทุ่งนา ในการเรียนวิชาเกษตร เราไปเรียนปลูกผักกันที่นั่น ทุกวันนี้น่าจะเปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว
สมุดภาพกรมหมื่นพิทยลาภฯ
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมภูมิใจมากที่สุดก็คือปลายปี 2557 ผมไปซื้อหนังสือ สมุดภาพกรมหมื่นพิทยลาภฯ ตอนตรวจราชการ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ในปี พ.ศ.2470 ได้มีจดหมายทูลเกล้าถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง ร.7 มีใจความบางส่วนในหน้า 138 ว่า
คณะมิชชันนารีมีความหวังและดำเนินการอยู่แล้วที่จะยกเอาเชียงใหม่ เป็นศูนย์ใหญ่ของการศึกษาและการงานของเขาทั่วไปคู่กันกับกรุงเทพฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ฝ่ายธรรมการจะต้องวางตัวเป็นผู้อุปภัมภ์การงานของ Mission แทนที่จะไปถือว่าเป็นคู่แข่งวิธีวางตัวเช่นนี้ควรจำทำได้สนิธไปกว่าโรงเรียนจีน เพราะคณะมิชชันนารีพยายามจะตามเราด้วยน้ำใจสุจริตโดยทั่วถึง ไม่ว่าครูหรือผู้จัดการกรรมการใดๆ และไม่ต้องสงสัยเลยว่าโรงเรียนเช่น Prince Royal’s College เชียงใหม่นั้น เป็นสถานที่ศึกษาใหญ่โตและให้การศึกษาได้ผลเป็นอย่างยิ่งยวดที่สุดแห่งหนึ่ง ใช่แต่ในมณฑลพายัพ แต่ทั่วทั้งประเทศสยาม ถ้าจะพูดด้วยความยุตติธรรมแล้วต้องรับว่า
โรงเรียนรัฐบาลสยามใด ๆ ที่จะสู้เขาได้เห็นจะยาก แลเะเขาก็ปรารถนาความคุ้มครองของรัฐบาลในกิจการของเขาหลายอย่าง
นี่เป็นบางข้อความที่ กรมหมื่นพิทยลาภฯ ได้เขียนถึงโรงเรียนปรินส์ฯ เมื่อคราวไปตรวจ หลังจากที่ผมอ่านข้อความนี้ ภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
เอกสารหน้าแรกที่เขียนรายงานทูลให้ในหลวง ร.7 ทราบถึงการศึกษาในมณฑลพายัพ
รายงานหน้าที่เขียนถึงโรงเรียนปรินส์รอยแยลวิทยาลัย
รายงานหน้าสุดท้ายที่ได้กล่าวถึงโรงเรียนปรินส์ฯ
ขอข้ามฝั่งแม่น้ำปิงไปที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยซึ่งเป็นโรงเรียนพี่น้องกับโรงเรียนปรินส์ฯ เพราะ
ความหมายของโรงเรียนทั้งสองเหมือนกันเพียงแต่ต่างกันเป็นชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษครับ
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานนามโรงเรียนยุพราช
พ.ศ. 2527 ผมจบการศึกษาชั้น ป.6 ก็ไปสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย วันที่ผมสอบได้จำได้ว่าไปยืนไว้พระบรมราชานุสาวรีย์ ในหลวง ร.6 ซึ่งตั้งอยู่กลางโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย วันนั้นพ่อยืนน้ำตาซึมคงตื้นตันใจที่ผมสอบได้เรียนที่นี่มั้งครับ ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบว่าโรงเรียนยุพราชมีความสำคัญอย่างไรกับโรงเรียนปรินส์ เหมือนกับโรงเรียนพี่น้องกัน
วันหนึ่งใจได้ว่าสัก ม.2 เห็นจะได้ วันหนึ่งก็ได้ไปเห็นป้ายที่หน้าตึกผู้อำนวยการ
เป็นป้ายแกะสลักลายพระหัตถ์ของในหลวง ร.6 ว่า
ข้าไม่ต้องการตำราเรียนที่เดินได้
ที่ข้าอยากได้นั้น คือเยาวชน
ที่เป็นสุภาพบุรุษ ซื่อสัตย์
สุจริต มีอุปนิสัย ใจคอดี
ลายแกะสลักพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงนักเรียนโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
ก็ยอมรับว่าตอนนั้นอ่านไปก็ไม่ได้เข้าใจอะไรมากมาย แต่วันเวลาผ่านมาทำให้ได้รู้ซึ้งทุกคุณค่าของการหล่อหลอมค่านิยม โรงเรียนยุพราชนั้นเป็นโรงเรียนชายประจำจังหวัด อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง และที่โรงเรียนยุพราชนี้
เองในปี พ.ศ. 2528 เวลาเช้าตอนเข้าแถว คุณครูอำพล สงวนศิริธรรม ครูสอนคอมพิวเตอร์ได้ขึ้นไปพูดหน้าเสาธงว่า เดี๋ยวนี้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้เราสามารถเรียนขับเครื่องบินจำลองได้แล้ว ซึ่งตอนนั้นผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก แต่เวลาผ่านมา 20 กว่าปี เสียงก้องของอาจารย์อำพล ทำให้ผมได้ทำโครงการโรงเรียนการบินจำลองขึ้นมา และในที่สุดผมเรียนที่โรงเรียนยุพราชถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก็ต้องมีอันสัญจรไพรไปตามแรงโชคชะตาแต่ในปี พ.ศ. 2550 ผมได้กลับมาการใช้ Google Apps For Education ที่โรงเรียนยุพราชของผม
ครูอำพล สงวนศิริธรรม ผู้ทุ่มเทกับการสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปัจจุบันเกษียณแล้ว
ผู้เขียน เมื่อคราวไปสอน Google Apps ให้กับนักเรียนโรงเรียนยุพราช ปี พ.ศ. 2550
ที่เขียนมาทั้งหมดนี่ไม่ได้ยกตนข่มท่านกับโรงเรียนใด ผมเชื่อว่าโรงเรียนทุกแห่งให้การศึกษาเหมือนกันหมด การเขียนขึ้นครั้งนี้มาเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงบุญคุณที่ทำให้ผมผู้เป็นเด็กชายธรรมดาหนึ่งคนจากจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นผู้เป็นคนกับเขาและอยู่รอดเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยครับ
ถ้าหากมีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญไปแคมปัสทัวร์ท่องเที่ยวแบบการศึกษากับโรงเรียนปรินส์ฯ และ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยนะครับ
ชีพธรรม คำวิเศษณ์
Twitter @tri333