คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
ผมขออธิบายเพิ่มเติมให้ก่อนครับ
เมื่อเวลาวัตถุตกลงมาระยะหนึ่ง ตัววัตถุจะต้านอากาศไปด้วยทำให้วัตถุก้อนนั้น "ต้านลม" ขณะที่ตกลงมา
และการที่ต้านลมไปด้วย และตกไปด้วยในขณะเดียวกัน จะทำให้ความเร็วในการตกนั้น กลายเป็นความเร็วที่คงที่
เรียกว่า "Terminal velocity" (ความเร็วสุดท้าย) ซึ่งแรงต้านอากาศที่กระทำต่อวัตถุนั้น
จะหักลัางก้บแรงโน้มถ่วงพอดี วัตถุจึงมีแรงลัพท์เป็นศูนย์ ความเร็วที่ตกลงมาจึงคงที่ครับ
การคำนวณเรื่องนี้ จะมีสูตรสำเร็จดังนี้
มีเว็บที่คำนวณ Online ด้วยครับ ----> http://www.calctool.org/CALC/eng/aerospace/terminal
สำหรับที่ จขกท.ถามมาเรื่องมด ก็ตอบได้ว่า
หากมดตกลงมาที่ความสูงมากถึง 500 เมตร ทำให้เกิดความสมดุลย์ของแรง G
กับแรงต้านอากาศ โดยมันจะสมดุลย์ที่ระยะตกเพียงไม่กี่เมตรจากที่เริ่มตก
และตัวมดจะมีน้ำหนักน้อยมากเฉลี่ย 3 มิลลิกลัม ดังนั้นเมื่อน้ำเข้าสมการด้านบนแล้ว
โดยใช้ drag coefficieny = 0.82 และ พื้นที่หน้าตัด = 0.5 ตารางเซนติเมตร
จะได้ terminal velocity (ความเร็วตกกระทบพื้น) = 0.978 เมตร/วินาที เท่านั้น
ซึ่งสบายมากสำหรับมดครับ มดไม่ตายแน่นอน
การบาดเจ็บของมด (หากมี) สามารถคำนวณได้จากหลักอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุ
และนำมาพิจารณากับโครงสร้างของวัตถุนั้นครับ ตอบตอนนี้ไม่ได้หรอกว่าโครงสร้างมดตัวนั้นจะแข็งแรงเพียงใด
ในการคำนวณคร่าว ๆ นั้น สามารถหาได้จากสูตรตามภาพนี้
แต่เท่าที่ผมลองกดดูเล่น ๆ จะได้แรงกระทำต่อมดน้อยม๊ากกก (ประมาณ 0.000015 N)
เมื่อเวลาวัตถุตกลงมาระยะหนึ่ง ตัววัตถุจะต้านอากาศไปด้วยทำให้วัตถุก้อนนั้น "ต้านลม" ขณะที่ตกลงมา
และการที่ต้านลมไปด้วย และตกไปด้วยในขณะเดียวกัน จะทำให้ความเร็วในการตกนั้น กลายเป็นความเร็วที่คงที่
เรียกว่า "Terminal velocity" (ความเร็วสุดท้าย) ซึ่งแรงต้านอากาศที่กระทำต่อวัตถุนั้น
จะหักลัางก้บแรงโน้มถ่วงพอดี วัตถุจึงมีแรงลัพท์เป็นศูนย์ ความเร็วที่ตกลงมาจึงคงที่ครับ
การคำนวณเรื่องนี้ จะมีสูตรสำเร็จดังนี้
มีเว็บที่คำนวณ Online ด้วยครับ ----> http://www.calctool.org/CALC/eng/aerospace/terminal
สำหรับที่ จขกท.ถามมาเรื่องมด ก็ตอบได้ว่า
หากมดตกลงมาที่ความสูงมากถึง 500 เมตร ทำให้เกิดความสมดุลย์ของแรง G
กับแรงต้านอากาศ โดยมันจะสมดุลย์ที่ระยะตกเพียงไม่กี่เมตรจากที่เริ่มตก
และตัวมดจะมีน้ำหนักน้อยมากเฉลี่ย 3 มิลลิกลัม ดังนั้นเมื่อน้ำเข้าสมการด้านบนแล้ว
โดยใช้ drag coefficieny = 0.82 และ พื้นที่หน้าตัด = 0.5 ตารางเซนติเมตร
จะได้ terminal velocity (ความเร็วตกกระทบพื้น) = 0.978 เมตร/วินาที เท่านั้น
ซึ่งสบายมากสำหรับมดครับ มดไม่ตายแน่นอน
การบาดเจ็บของมด (หากมี) สามารถคำนวณได้จากหลักอัตราการเปลี่ยนโมเมนตัมของวัตถุ
และนำมาพิจารณากับโครงสร้างของวัตถุนั้นครับ ตอบตอนนี้ไม่ได้หรอกว่าโครงสร้างมดตัวนั้นจะแข็งแรงเพียงใด
ในการคำนวณคร่าว ๆ นั้น สามารถหาได้จากสูตรตามภาพนี้
แต่เท่าที่ผมลองกดดูเล่น ๆ จะได้แรงกระทำต่อมดน้อยม๊ากกก (ประมาณ 0.000015 N)
สุดยอดความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
มดแดงถ้าตกจากที่สูงซัก 500 เมตร ในสภาพปิดไม่มีลมใดๆ มดตัวนั้นจะเป็นอะไรมั้ยคะ
ถ้าตกจากที่สูงในพื้นที่เปิด แบบว่ามีลมพัดไปมา คิดว่ายังไงๆมันก็ไม่น่าจะเป็นอะไร เพราะลมจะพัดมันไปทำให้ความเร็วในการตกลดลงเรื่อยๆจนไม่มีผลทำให้มันเป็นอะไร
แต่ถ้าเกิดมดตัวนั้นตกจากความสูงซัก 500 เมตร ในสภาพปิด ไม่มีลม แต่ยังมีอากาศนะคะ เมื่อตัวมดตกลงมาถึงพื้นแล้ว จะทำให้มดตายหรือบาดเจ็บบ้างรึเปล่า
หรือว่าเนื่องมาจากความเบาของมันเมื่อเทียบกับความหนาแน่นของอากาศ ก็ยังจะทำให้เกิดการพยุงตัว หรือจนอาจทำให้มันร่อนได้ หรือทำให้มันตกแบบไร้ทิศทางไม่ใช่ตกลงมาตรงๆ ทำให้ความเร็วการตกลดลงเรื่อยๆ จนทำให้มันไม่เป็นอะไรเหมือนเดิม