สวัสดีปีใหม่ครับชาวพันทิปทุกท่าน ถ้าท่านใดจะอ่านตอนเก่าคลิกลิงก์ข้างล่างได้เลยนะครับ
ภาคที่ 1 ตอนที่ 1 โหมโรงและไซปรัสในช่วงก่อนคริสต์ศักราช
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/33027273
ภาคที่ 1 ตอนที่ 2 การล่มสลายของกรีกและความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/33035375
ภาคที่ 1 ตอนที่ 3 ดินแดนศักดิ์สิทธิ์และดินแดนแห่งคำมั่นสัญญาของพระเจ้า
วิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือในการอำนวยความสะดวก ต้องดิ้นรนในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่โหดร้าย รู้จักการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อความอยู่รอด พัฒนาระบบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงคนหมู่มาก ต่อสู้ระหว่างกันเพื่อแสวงหาทรัพยากรและขยายอาณาเขต สร้างสรรค์วัฒนธรรมความสวยงามจรรโลงใจให้กับกลุ่มของตนเอง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ถูกพัฒนามาพร้อมกับการวิวัฒนาการของมนุษย์เหล่านี้ก็คือประสบการณ์ทางจิตใจของมนุษย์นั่นเอง ความเชื่อ ความยึดมั่น และความเคารพ เป็นประสบการณ์ทางจิตใจที่มีอิทธิพลมากต่อวิวัฒนาทางอารยธรรมของมนุษย์
หมายเหตุ : การขยายตัวของการเกษตรของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณเอเชียไมเนอร์ (ดินแดนที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) จนถึงทวีปยุโรป ; จะสังเกตได้ว่า(สีแดงเข้ม) คือที่ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส, คานาอัน (เป็นคำที่คนยิวและคนคริสต์นิยมเรียกปัจจุบันคือ ประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ บางส่วนของซีเรียและอียิปต์) และ รวมถึงไซปรัส อยู่ในบริเวณที่มีการเริ่มทำการเกษตรแรกๆของโลก นั่นหมายความว่าเมื่อหลายพันปีที่ดินแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากเลยทีเดียวครับ จึงมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ที่นี่และมีอารายธรรมเก่าแก่ของโลกที่เริ่มต้นที่นี่เช่นกัน ซึ่งตรงข้ามกับปัจจุบันนี้ที่เป็นดินแดนที่แห้งแล้งมาก
ความเชื่อ ความเคารพ ต่อสิ่งที่ตนเองและกลุ่มของตนเองยึดเหนี่ยวนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม คมแรกคือทำให้กลุ่มของตนนั้นมีที่ยึดเหนี่ยวสามารถต่อสู้ทุกอุปสรรค์ได้อย่างไม่ย่อท้อ และเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างสวยงาม แต่ในอีกคมหนึ่งนั้น เมื่อความเชื่อและความเคารพเหล่านี้ ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้คนอีกกลุ่มหนึ่ง มันก็จะพัฒนาเป็นความเกลียดชังต่อกันและการทำสงครามปะหัตประหารกันได้ในที่สุด
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มีทั้งเป็นเรื่องที่อยู่ในประวัติศาสตร์จริงๆ และเป็นความเชื่อที่ยังไม่ถูกยืนยันทางประวัติศาสตร์ นะครับ ขอให้ท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาณอย่างสูงด้วยนะครับ
หมายเหตุ : ข้างบนเป็นแผนที่ที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรที่รุ่งเรืองในช่วง 1300 ปีก่อนคริสต์ศักราช (สีเหลือง)อาณาจักรอียิปต์ประมาณยุคของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (Ramesses II), (สีฟ้า) อาณาจักรฮิตไตต์ส, (สีเขียว) อาณาจักรอัสซีเรีย, (สีม่วง) อาณาจักรกรีกไมซีเนียน
หมายเหตุ : แผนที่ประมาณ ปี 1200 ก่อนคริสต์ศักราช แสดงชนชาติที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่าคานาอัน (Canaan) ซี่ง (สีเลือดหมู) เป็นชนชาติฟินีเชียซึ่งทุกท่านคนได้ยินผ่านมาแล้วที่มีความสามารถในการเดินเรือและทำการค้า ภายหลังไปตั้งอาณาจักรคาร์เธจ ส่วน (สีเหลือง) คือชนชาติอิสราเอล ; (ชาวยิว = ชนชาติอิสราเอล)
จากสองแผนที่ข้างบนจะเห็นได้ว่าในยุคของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (Ramesses II) มีพื้นที่การปกครองครอบคลุมอาณาเขตที่มีชนชาติอิสราเอลอาศัยอยู่ ชนชาติอิสราเอลในยุคนี้พูดภาษาฮิบรูและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ค่อยยุ่งกับชนชาติอื่นๆ นักประวัติศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานและเชื่อว่า ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 นั้นได้เกณฑ์ชาวอิสราเอลไปเป็นทาสที่อียิปต์ เพราะในยุคสมัย ฟาโรห์แรเมชีสที่ 2 มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่หลายแห่ง นั่นหมายถึงว่าต้องมีการใช้แรงงานทาสอย่างมากมาย แต่ปัญหาก็คือนักประวัติศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานที่เด่นชัดว่าในยุคของ ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มีการบันทึกเกี่ยวกับชนชาติอิสราเอล โดยเฉพาะเกี่ยวกับการมีอยู่ของโมเสส ซึ่งชนชาติอิสราเอลเชื่อว่าเคยเป็นเจ้าชายในยุคฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มาก่อน รวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างภัยพิบัติ 10 ประการในพระธรรมอพยพ (Exodus) ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้เกิดขึ้นจริง จะมีก็เพียงบันทึกจากศิลาของฟาโรห์เมอร์เนปตาห์ (Merneptah) ผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ ที่กล่าวถึงการมีอยู่ของคนอิสราเอลเท่านั้น
หมายเหตุ : ช่วงเวลาปกครองของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (Ramesses II) ซึ่งครองราชย์มายาวนานถึง 67 ปี ในช่วงปี 1279 – 1213 ก่อนคริสต์ศักราช และฟาโรห์เมอร์เนปตาห์ ที่ทรงครองราชย์ต่อจากฟาโรห์แรเมซีสมหาราชเป็นเวลาเพียงอีก 10 ปีเท่านั้นในช่วงปี 1213 – 1203 ก่อนคริสต์ศักราส
หมายเหตุ : ฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (แรเมซีสที่ 2) เป็นฟาโรห์คนที่ 3 ในราชวงศ์ที่ 19 ของอาณาจักรอียิปต์ ในยุคของพระองค์ถือว่าเป็นยุคที่อาณาจักรอียิปต์เจริญถึงที่สุดทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม พระองค์เคยทำสงครามใหญ่กับชาวฮิตไตต์ส (ชนชาติตุรกี) ในยุทธการที่คาเดช (Battle of Kadesh) ซึ่งอยู่บริเวณประเทศเลบานอนปัจจุบันนี้ แต่ไม่มีผู้ใดชนะได้อย่างเด็ดขาด จึงมีการทำสัญญาสงบศึกกัน ซึ่งเป็นสัญญาสงบศึกที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแห่งแรกของโลก
หมายเหตุ : ภาพแกะสลักหินและอักษรไฮโรกลิฟ (Egyptian hieroglyphs) ที่อยู่ที่มหาวิหารอะบูซิมเบล (Temple of Abu Simbel) ได้บันทึกถึงสงครามระหว่างอาณาจักรอียิปต์ในยุคของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (Ramesses II) กับ อาณาจักรฮิตไตต์สในยุคของมูวัตตาลีที่ 2 (Muwatalli II) สงครามกินเวลาหลายปีแต่ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะอย่างเด็ดขาดต่อมาฝ่ายอียิปต์ถูกรุกรานโดยชาวทะเล (Sea People) และฝ่ายฮิตไตต์สถูกรุกรานโดยอาณาจักรอัสซีเรีย (Assyrian Empire) ทางอียิปต์และฮิตไตต์สจึงตัดสินใจทำสัญญาสงบศึกขึ้นมา ซึ่งเป็นสัญญาสงบศึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแห่งแรกของโลก
หมายเหตุ : การบุกรุกของชาวทะเล (sea people) เป็นปัจจัยที่ทำให้อียิปต์ต้องยุติการสู้รบกับอาณาจักรฮิตไตต์ส ซึ่งเหล่าชาวทะเลเป็นผู้ที่ยังเป็นปริศนาสำหรับนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นใครกันแน่ และเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสำคัญในการทำให้อาณาจักรต่างๆในยุคสำริดต้องมีการเสื่อมถอยลง ลูกศรสีต่างๆเป็นเส้นทางในการเข้ามาโจมตีของเหล่าชาวทะเล จุดสีแดงเป็นเมืองที่ถูกทำลาย จะสังเกตว่าไซปรัสโดนเล่นงานโดยชาวทะเลไปถึง 4 เมือง ส่วนกรีกและอาณาจักรฮิตไตต์สนี่โดนทำลายไปหลายเมือง อาณาจักรอียิปต์เองก็โดนบุกทำลายหลายเมืองในอาณาเขตคานาอันที่ติดกับทะเลด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ : ภาพที่ลอกมาจากภาพแกะสลักบันทึกการต่อสู้ของอียิปต์กับชาวทะเลที่ลอกมาจากมหาวิหารเมดินาทฮาบู (Temple of Ramesses III) แสดงถึงการต่อสู้ระหว่างนักรบอียิปต์กับชาวทะเล (ไม่ระบุชนชาติ)
หมายเหตุ : สัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับฮิตไตต์สฉบับของชาวฮิตไตต์ส ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อิสตันบูล ตุรกี
หมายเหตุ : สัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับฮิตไตต์สที่ฉบับอียิปต์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Precinct of Amun-Re อียิปต์
หมายเหตุ : มหาวิหารอะบูซิมเบล (Abu Simbel) หนึ่งสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยฟาโรห์แรเมซีสมหาราช และนอกเหนือจากนี้ยังมีศาสนสถานอีกหลายแห่งที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างในสมัยแรเมซีสมหาราชด้วยเช่นกัน ลองคิดดูครับว่าแรงงานที่ใช้จะเอามาจากไหน
หมายเหตุ : ศิลาหินแห่งเมอร์เนปตาห์ (Merneptah Stele) ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร มีเนื้อหาเกี่ยวกับชัยชนะต่อเผ่าลิปยัน แต่ที่ศิลานี้ดังมากๆเพราะมีการพบคำว่า „อิสราเอล“ เป็นครั้งแรก
หมายเหตุ : แบบที่ถูกพิมพ์มาจากศิลาจารึกแห่งเมอร์เนปตาห์ ซึ่งถูกบันทึกด้วยอักษรไฮโรกลิฟ (Hieroglyph) ซึ่งเป็นอักษรอียิปต์โบราณ
หมายเหตุ : ในบรรทัดที่ 27 ของศิลาแห่งเมอร์เนปตาร์ ซึ่งถูกแปลโดยผู้เชียวชาญภาษาไฮโรกริฟ เป็นคำว่า „Israel is laid waste. His seed is no more“ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่นำไปตีความได้หลายแบบมาก แต่โดยรวมแล้วก็เหมือนจะบ่งบอกการมีอยู่ของชาวอิสราเอลในดินแดนของเมอร์เนปตาร์
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวความเชื่อของชาวยิวและชาวคริสต์ ที่ยังไม่ได้ถูกยืนยันการมีอยู่โดยทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจนนะครับ
หมายเหตุ : การใช้แรงงานทาสมาสร้างศาสนสถานในอาณาจักรอียิปต์ยุคของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช
ในรัชสมัยของฟาโรห์ของอียิปต์ (ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในยุคฟาโรห์แรเมซีสมหาราช) ได้มีการก่อสร้างศาสนสถานของชาวอียิปต์มากมาย และได้ใช้แรงงานทาสที่มาจากชนชาติอิสราเอล (พูดภาษาฮิบรู) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก วันหนึ่งฟาโรห์พบว่าจำนวนของชาวอิสราเอลเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัว ถ้าเมื่อใดเหล่าอิสราเอลรวมตัวกันกระด้างกระเดื่องก็จะเป็นความยุ่งยากต่ออาณาจักรอียิปต์ได้ จึงมีรับสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายที่เกิดใหม่ทุกคน โมเสสเองนั้นได้เกิดช่วงนี้พอดี แม่ของโมเสสเกรงว่าถ้าลูกอยู่กับตัวแล้วจะต้องตายแน่ๆ จึงนำเอาโมเสสใส่ในตะกร้าลอยน้ำไปตามบุญตามกรรม
หมายเหตุ : (Moses rescued from the Nile, 1638, by Nicolas Poussin) ด้วยเด็กมีบุญญาธิการสูง จึงทำให้ตะกร้าลอยไปใกล้เขตที่พระธิดาองค์หนึ่งของฟาโรห์กำลังเล่นน้ำอยู่ ซึ่งเมื่อพระธิดาได้เห็นเด็กซึ่งอยู่ในวัยประมาณ 3 เดือน มีน่าตาน่าเอ็นดูมาก จึงประสงค์ให้เก็บมาเลี้ยง โดยผู้ที่เป็นแม่นมนั้นเป็นทาสประจำพระองค์และเป็นแม่จริงๆของโมเสสเองด้วย ทำให้โมเสสได้ถูกเลี้ยงมาตามวิถีของชาวฮิบรูด้วยส่วนหนึ่งและสามารถพูดภาษาฮิบรูได้ และธิดาของฟาโรห์ได้ประทานนามให้กับเด็กว่า „โมเสส“ ซึ่งแปลว่า บุตรชาย
หมายเหตุ : เมื่อโมเสสเติบใหญ่เป็นบุรุษที่มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาที่ชาญฉลาด จึงได้มีโอกาสรับใช้ฟาโรห์ในการคุมงานก่อสร้างต่างๆหลายปี โมเสสเองรู้ว่าตนนั้นมีเชื้อสายอิสราเอล เมื่อได้เห็นพี่น้องเชื้อสายเดียวกับตนเองต้องทำงานหนัก ถูกกดขี่ข่มเหงเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดก็ทนไม่ไหวและได้แอบลงมือฆ่าทหารอียิปต์ซึ่งเป็นหัวหน้าทาสที่กำลังเฆี่ยนตีชายคนงานเชื้อสายอิสราเอลอยู่ แต่มีคนแอบเห็น ทำให้ผู้คนรู้ถึงการกระทำของโมเสสที่เข้ามาช่วยชายชาวอิสราเอล เนื่องด้วยเกรงว่าฟาโรห์จะสั่งประหารตน โมเสสจึงได้หนีไปที่บริเวณดินแดนมีเดียน (Midian)
ไซปรัส – บันไดหินแห่งอโฟรไดท์ที่แตกร้าว_03
ภาคที่ 1 ตอนที่ 1 โหมโรงและไซปรัสในช่วงก่อนคริสต์ศักราช
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาคที่ 1 ตอนที่ 2 การล่มสลายของกรีกและความยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิโรมัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ภาคที่ 1 ตอนที่ 3 ดินแดนศักดิ์สิทธิ์และดินแดนแห่งคำมั่นสัญญาของพระเจ้า
วิวัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือในการอำนวยความสะดวก ต้องดิ้นรนในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่โหดร้าย รู้จักการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อความอยู่รอด พัฒนาระบบเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงคนหมู่มาก ต่อสู้ระหว่างกันเพื่อแสวงหาทรัพยากรและขยายอาณาเขต สร้างสรรค์วัฒนธรรมความสวยงามจรรโลงใจให้กับกลุ่มของตนเอง ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ถูกพัฒนามาพร้อมกับการวิวัฒนาการของมนุษย์เหล่านี้ก็คือประสบการณ์ทางจิตใจของมนุษย์นั่นเอง ความเชื่อ ความยึดมั่น และความเคารพ เป็นประสบการณ์ทางจิตใจที่มีอิทธิพลมากต่อวิวัฒนาทางอารยธรรมของมนุษย์
หมายเหตุ : การขยายตัวของการเกษตรของมนุษย์ที่อาศัยอยู่บริเวณเอเชียไมเนอร์ (ดินแดนที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) จนถึงทวีปยุโรป ; จะสังเกตได้ว่า(สีแดงเข้ม) คือที่ลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส, คานาอัน (เป็นคำที่คนยิวและคนคริสต์นิยมเรียกปัจจุบันคือ ประเทศอิสราเอล เลบานอน ดินแดนปาเลสไตน์ บางส่วนของซีเรียและอียิปต์) และ รวมถึงไซปรัส อยู่ในบริเวณที่มีการเริ่มทำการเกษตรแรกๆของโลก นั่นหมายความว่าเมื่อหลายพันปีที่ดินแดนแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากเลยทีเดียวครับ จึงมีผู้คนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่ที่นี่และมีอารายธรรมเก่าแก่ของโลกที่เริ่มต้นที่นี่เช่นกัน ซึ่งตรงข้ามกับปัจจุบันนี้ที่เป็นดินแดนที่แห้งแล้งมาก
ความเชื่อ ความเคารพ ต่อสิ่งที่ตนเองและกลุ่มของตนเองยึดเหนี่ยวนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม คมแรกคือทำให้กลุ่มของตนนั้นมีที่ยึดเหนี่ยวสามารถต่อสู้ทุกอุปสรรค์ได้อย่างไม่ย่อท้อ และเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างสวยงาม แต่ในอีกคมหนึ่งนั้น เมื่อความเชื่อและความเคารพเหล่านี้ ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้คนอีกกลุ่มหนึ่ง มันก็จะพัฒนาเป็นความเกลียดชังต่อกันและการทำสงครามปะหัตประหารกันได้ในที่สุด
เรื่องราวที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ มีทั้งเป็นเรื่องที่อยู่ในประวัติศาสตร์จริงๆ และเป็นความเชื่อที่ยังไม่ถูกยืนยันทางประวัติศาสตร์ นะครับ ขอให้ท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาณอย่างสูงด้วยนะครับ
หมายเหตุ : ข้างบนเป็นแผนที่ที่แสดงอาณาเขตของอาณาจักรที่รุ่งเรืองในช่วง 1300 ปีก่อนคริสต์ศักราช (สีเหลือง)อาณาจักรอียิปต์ประมาณยุคของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (Ramesses II), (สีฟ้า) อาณาจักรฮิตไตต์ส, (สีเขียว) อาณาจักรอัสซีเรีย, (สีม่วง) อาณาจักรกรีกไมซีเนียน
หมายเหตุ : แผนที่ประมาณ ปี 1200 ก่อนคริสต์ศักราช แสดงชนชาติที่อาศัยอยู่ในส่วนที่ชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่าคานาอัน (Canaan) ซี่ง (สีเลือดหมู) เป็นชนชาติฟินีเชียซึ่งทุกท่านคนได้ยินผ่านมาแล้วที่มีความสามารถในการเดินเรือและทำการค้า ภายหลังไปตั้งอาณาจักรคาร์เธจ ส่วน (สีเหลือง) คือชนชาติอิสราเอล ; (ชาวยิว = ชนชาติอิสราเอล)
จากสองแผนที่ข้างบนจะเห็นได้ว่าในยุคของฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 (Ramesses II) มีพื้นที่การปกครองครอบคลุมอาณาเขตที่มีชนชาติอิสราเอลอาศัยอยู่ ชนชาติอิสราเอลในยุคนี้พูดภาษาฮิบรูและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ค่อยยุ่งกับชนชาติอื่นๆ นักประวัติศาสตร์หลายท่านสันนิษฐานและเชื่อว่า ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 นั้นได้เกณฑ์ชาวอิสราเอลไปเป็นทาสที่อียิปต์ เพราะในยุคสมัย ฟาโรห์แรเมชีสที่ 2 มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่หลายแห่ง นั่นหมายถึงว่าต้องมีการใช้แรงงานทาสอย่างมากมาย แต่ปัญหาก็คือนักประวัติศาสตร์ยังไม่พบหลักฐานที่เด่นชัดว่าในยุคของ ฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มีการบันทึกเกี่ยวกับชนชาติอิสราเอล โดยเฉพาะเกี่ยวกับการมีอยู่ของโมเสส ซึ่งชนชาติอิสราเอลเชื่อว่าเคยเป็นเจ้าชายในยุคฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 มาก่อน รวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญอย่างภัยพิบัติ 10 ประการในพระธรรมอพยพ (Exodus) ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าได้เกิดขึ้นจริง จะมีก็เพียงบันทึกจากศิลาของฟาโรห์เมอร์เนปตาห์ (Merneptah) ผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ ที่กล่าวถึงการมีอยู่ของคนอิสราเอลเท่านั้น
หมายเหตุ : ช่วงเวลาปกครองของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (Ramesses II) ซึ่งครองราชย์มายาวนานถึง 67 ปี ในช่วงปี 1279 – 1213 ก่อนคริสต์ศักราช และฟาโรห์เมอร์เนปตาห์ ที่ทรงครองราชย์ต่อจากฟาโรห์แรเมซีสมหาราชเป็นเวลาเพียงอีก 10 ปีเท่านั้นในช่วงปี 1213 – 1203 ก่อนคริสต์ศักราส
หมายเหตุ : ฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (แรเมซีสที่ 2) เป็นฟาโรห์คนที่ 3 ในราชวงศ์ที่ 19 ของอาณาจักรอียิปต์ ในยุคของพระองค์ถือว่าเป็นยุคที่อาณาจักรอียิปต์เจริญถึงที่สุดทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม พระองค์เคยทำสงครามใหญ่กับชาวฮิตไตต์ส (ชนชาติตุรกี) ในยุทธการที่คาเดช (Battle of Kadesh) ซึ่งอยู่บริเวณประเทศเลบานอนปัจจุบันนี้ แต่ไม่มีผู้ใดชนะได้อย่างเด็ดขาด จึงมีการทำสัญญาสงบศึกกัน ซึ่งเป็นสัญญาสงบศึกที่ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแห่งแรกของโลก
หมายเหตุ : ภาพแกะสลักหินและอักษรไฮโรกลิฟ (Egyptian hieroglyphs) ที่อยู่ที่มหาวิหารอะบูซิมเบล (Temple of Abu Simbel) ได้บันทึกถึงสงครามระหว่างอาณาจักรอียิปต์ในยุคของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช (Ramesses II) กับ อาณาจักรฮิตไตต์สในยุคของมูวัตตาลีที่ 2 (Muwatalli II) สงครามกินเวลาหลายปีแต่ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะอย่างเด็ดขาดต่อมาฝ่ายอียิปต์ถูกรุกรานโดยชาวทะเล (Sea People) และฝ่ายฮิตไตต์สถูกรุกรานโดยอาณาจักรอัสซีเรีย (Assyrian Empire) ทางอียิปต์และฮิตไตต์สจึงตัดสินใจทำสัญญาสงบศึกขึ้นมา ซึ่งเป็นสัญญาสงบศึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรแห่งแรกของโลก
หมายเหตุ : การบุกรุกของชาวทะเล (sea people) เป็นปัจจัยที่ทำให้อียิปต์ต้องยุติการสู้รบกับอาณาจักรฮิตไตต์ส ซึ่งเหล่าชาวทะเลเป็นผู้ที่ยังเป็นปริศนาสำหรับนักประวัติศาสตร์ว่าเป็นใครกันแน่ และเป็นกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสำคัญในการทำให้อาณาจักรต่างๆในยุคสำริดต้องมีการเสื่อมถอยลง ลูกศรสีต่างๆเป็นเส้นทางในการเข้ามาโจมตีของเหล่าชาวทะเล จุดสีแดงเป็นเมืองที่ถูกทำลาย จะสังเกตว่าไซปรัสโดนเล่นงานโดยชาวทะเลไปถึง 4 เมือง ส่วนกรีกและอาณาจักรฮิตไตต์สนี่โดนทำลายไปหลายเมือง อาณาจักรอียิปต์เองก็โดนบุกทำลายหลายเมืองในอาณาเขตคานาอันที่ติดกับทะเลด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ : ภาพที่ลอกมาจากภาพแกะสลักบันทึกการต่อสู้ของอียิปต์กับชาวทะเลที่ลอกมาจากมหาวิหารเมดินาทฮาบู (Temple of Ramesses III) แสดงถึงการต่อสู้ระหว่างนักรบอียิปต์กับชาวทะเล (ไม่ระบุชนชาติ)
หมายเหตุ : สัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับฮิตไตต์สฉบับของชาวฮิตไตต์ส ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อิสตันบูล ตุรกี
หมายเหตุ : สัญญาสันติภาพระหว่างอียิปต์กับฮิตไตต์สที่ฉบับอียิปต์อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Precinct of Amun-Re อียิปต์
หมายเหตุ : มหาวิหารอะบูซิมเบล (Abu Simbel) หนึ่งสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่มากในสมัยฟาโรห์แรเมซีสมหาราช และนอกเหนือจากนี้ยังมีศาสนสถานอีกหลายแห่งที่ยิ่งใหญ่ที่สร้างในสมัยแรเมซีสมหาราชด้วยเช่นกัน ลองคิดดูครับว่าแรงงานที่ใช้จะเอามาจากไหน
หมายเหตุ : ศิลาหินแห่งเมอร์เนปตาห์ (Merneptah Stele) ตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ไคโร มีเนื้อหาเกี่ยวกับชัยชนะต่อเผ่าลิปยัน แต่ที่ศิลานี้ดังมากๆเพราะมีการพบคำว่า „อิสราเอล“ เป็นครั้งแรก
หมายเหตุ : แบบที่ถูกพิมพ์มาจากศิลาจารึกแห่งเมอร์เนปตาห์ ซึ่งถูกบันทึกด้วยอักษรไฮโรกลิฟ (Hieroglyph) ซึ่งเป็นอักษรอียิปต์โบราณ
หมายเหตุ : ในบรรทัดที่ 27 ของศิลาแห่งเมอร์เนปตาร์ ซึ่งถูกแปลโดยผู้เชียวชาญภาษาไฮโรกริฟ เป็นคำว่า „Israel is laid waste. His seed is no more“ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่นำไปตีความได้หลายแบบมาก แต่โดยรวมแล้วก็เหมือนจะบ่งบอกการมีอยู่ของชาวอิสราเอลในดินแดนของเมอร์เนปตาร์
ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวความเชื่อของชาวยิวและชาวคริสต์ ที่ยังไม่ได้ถูกยืนยันการมีอยู่โดยทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจนนะครับ
หมายเหตุ : การใช้แรงงานทาสมาสร้างศาสนสถานในอาณาจักรอียิปต์ยุคของฟาโรห์แรเมซีสมหาราช
ในรัชสมัยของฟาโรห์ของอียิปต์ (ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในยุคฟาโรห์แรเมซีสมหาราช) ได้มีการก่อสร้างศาสนสถานของชาวอียิปต์มากมาย และได้ใช้แรงงานทาสที่มาจากชนชาติอิสราเอล (พูดภาษาฮิบรู) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก วันหนึ่งฟาโรห์พบว่าจำนวนของชาวอิสราเอลเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างน่ากลัว ถ้าเมื่อใดเหล่าอิสราเอลรวมตัวกันกระด้างกระเดื่องก็จะเป็นความยุ่งยากต่ออาณาจักรอียิปต์ได้ จึงมีรับสั่งให้ฆ่าเด็กผู้ชายที่เกิดใหม่ทุกคน โมเสสเองนั้นได้เกิดช่วงนี้พอดี แม่ของโมเสสเกรงว่าถ้าลูกอยู่กับตัวแล้วจะต้องตายแน่ๆ จึงนำเอาโมเสสใส่ในตะกร้าลอยน้ำไปตามบุญตามกรรม
หมายเหตุ : (Moses rescued from the Nile, 1638, by Nicolas Poussin) ด้วยเด็กมีบุญญาธิการสูง จึงทำให้ตะกร้าลอยไปใกล้เขตที่พระธิดาองค์หนึ่งของฟาโรห์กำลังเล่นน้ำอยู่ ซึ่งเมื่อพระธิดาได้เห็นเด็กซึ่งอยู่ในวัยประมาณ 3 เดือน มีน่าตาน่าเอ็นดูมาก จึงประสงค์ให้เก็บมาเลี้ยง โดยผู้ที่เป็นแม่นมนั้นเป็นทาสประจำพระองค์และเป็นแม่จริงๆของโมเสสเองด้วย ทำให้โมเสสได้ถูกเลี้ยงมาตามวิถีของชาวฮิบรูด้วยส่วนหนึ่งและสามารถพูดภาษาฮิบรูได้ และธิดาของฟาโรห์ได้ประทานนามให้กับเด็กว่า „โมเสส“ ซึ่งแปลว่า บุตรชาย
หมายเหตุ : เมื่อโมเสสเติบใหญ่เป็นบุรุษที่มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาที่ชาญฉลาด จึงได้มีโอกาสรับใช้ฟาโรห์ในการคุมงานก่อสร้างต่างๆหลายปี โมเสสเองรู้ว่าตนนั้นมีเชื้อสายอิสราเอล เมื่อได้เห็นพี่น้องเชื้อสายเดียวกับตนเองต้องทำงานหนัก ถูกกดขี่ข่มเหงเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดก็ทนไม่ไหวและได้แอบลงมือฆ่าทหารอียิปต์ซึ่งเป็นหัวหน้าทาสที่กำลังเฆี่ยนตีชายคนงานเชื้อสายอิสราเอลอยู่ แต่มีคนแอบเห็น ทำให้ผู้คนรู้ถึงการกระทำของโมเสสที่เข้ามาช่วยชายชาวอิสราเอล เนื่องด้วยเกรงว่าฟาโรห์จะสั่งประหารตน โมเสสจึงได้หนีไปที่บริเวณดินแดนมีเดียน (Midian)