คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
ตามมาจากกระทู้อ้างอิงนะครับ ขอพูดคุยประเด็นที่ จขกท ยกขึ้นมาครับ
1. กายภาพบำบัด หรือ นักกายภาพบำบัด ในต่างประเทศมีความแตกต่างจากประเทศไทยบ้างหรือเปล่าครับ
ตอบ: มีทั้งเหมือนและแตกต่างครับ
1) ในยุโรป/ออสเตรเลีย เรียน 4 ปีเท่ากันกับไทย อาจบรรจุอยู่ใน College หรือ University ก็ได้ ในยุโรป จบออกมาทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดทั่วไป (General PT) ถ้าอยากทำเฉพาะ manual therapy/sport PT/pediatric PT ก็ต่อโท ในบางประเทศมีต่อโท Animal manual PT รับคนจบตรี PT หรือ สัตวแพทย์ (DVM)
2) ในอเมริกา ตอนนี้พัฒนาไปไกลมาก โดยยกเลิกปริญญาตรี (BSc PT) ไปแล้ว ปรับเป็น Doctor of Physical Therapy (DPT ไม่ใช่ Doctor of Philosophy (PhD) นะครับ) โดยรับคนจบตรี BSc สาขาใดก็ได้ มาต่อ DPT 3-4 ปี (เหมือนการรับเข้า MD เลยครับ) ดังนั้น การที่ PT ไทยจะมาทำงานในอเมริกา ไม่ง่ายเหมือนสมัยก่อนแล้วครับ
อย่างไรก็ตาม PT ไทยก็มีจุดแข็งที่เราอาจไม่ทราบ คือ ในต่างประเทศจะมีอาชีพ Exercise therapist/Podotherapist/Sport therapist/Manual therapist/Chiropractor มากมายไปหมด แต่ที่เมือง ทุกอย่างที่ว่ามา PT รับเหมาได้หมด (ตามความถนัด) ครับ
2. ท่านที่อยู่ต่างประเทศ/คนต่างชาติ หรือเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพกายภาพบำบัดบัดในต่างแดน มองการทำงานของนักกายภาพบำบัดอย่างไร และมีระบบการทำงานของที่อื่นเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ:
2.1) ความสามารถ PT ไทยและต่างประเทศ ไม่ต่างกันครับ เพียงแต่ PT ไทยมักถ่อมตัวและไม่ค่อยอธิบาย คือฝรั่งจะประเภทรู้ 5 พูด 10 แต่คนไทย รู้ 10 พูด 5 ซึ่งทำให้คนไข้ไม่เข้าใจว่า เรากำลังทำอะไร ส่วนเรื่องเครื่องมือแพงๆนั่น มีก็ดีนะครับ แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย ไม่จำเป็นครับ
2.2) เรื่องระบบ ก็เหมือนๆกันครับ คนไข้ > แพทย์ > PT แต่ที่คลินิก คนไข้ก็ walk in มาหาเราได้เลย (สำหรับท่านที่ไม่ทราบ มี 5 สาขาที่เปิดคลินิก (สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยค้างคืน) ได้ ได้แก่ อายุรกรรม(แพทย์)/พยาบาลและผดุงครรภ์/เทคนิคการแพทย์/แพทย์แผนไทย/กายภาพบำบัด)
2.3) เรื่องกำลังคน คือ อัตรากำลัง PT ต่อปริมาณคนไข้ในไทยยังน้อยเกินไป เอาง่ายๆ แพทย์รับคนไข้ทีละคน 1 ห้องตรวจ 1 เตียง แต่ PT 1 คน ส่วนใหญ่ เห็นวางเตียง 3-4 เตียง ผมยังอยากเสนอว่า PT ควรจัดวางระบบใหม่ PT 1 คน อยู่ในห้องตรวจ 1 เตียง ตรวจเสร็จ ให้ตนไข้ออกมา ส่งต่อผู้ช่วย PT ทำ modalities (เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า/อัลตร้าซาวนด์ ฯลฯ) ถ้ามีหัตถการ ให้รอ PT
2.4) เรื่องผลิตบัณฑิต/อาจารย์ คือ ตอนนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ให้นิสิต/นักศึกษา PT เริ่มฝึกงานกันปี 3 จบปี 4 ทำงาน/เรียนต่อโท-เอก แล้วมาเป็นอาจารย์ผมมองว่าควรมีระบบ fellow/resident เหมือนแพทย์ เพราะ PT เป็นเรื่องของ skills:knowledge 50:50 เรียนโท-เอก สาขาอื่น skills หายหมด มาเป็นอาจารย์ ก็ต้องพึ่ง PT ในโรงพยาบาลคอย train ให้ แล้วค่อยไปสอนเด็ก ผมว่าไม่ work นะครับ เสนอว่าให้ recruit คนที่อยากเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบ ป.ตรี ให้เป็น PT ประจำบ้านเลย (PT resident) อยากอยู่ ward ไหนก็ว่ากันไป คน train ก็ PT/อาจารย์ PT นี่แหละครับ ผ่านไป 3-4 ปี ฝีมือดี ค่อยมาเป็นอาจารย์ ทีนี้จะลาเรียนโท-เอก วิชา pre-clinic อะไรก็ค่อยว่ากัน
1. กายภาพบำบัด หรือ นักกายภาพบำบัด ในต่างประเทศมีความแตกต่างจากประเทศไทยบ้างหรือเปล่าครับ
ตอบ: มีทั้งเหมือนและแตกต่างครับ
1) ในยุโรป/ออสเตรเลีย เรียน 4 ปีเท่ากันกับไทย อาจบรรจุอยู่ใน College หรือ University ก็ได้ ในยุโรป จบออกมาทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดทั่วไป (General PT) ถ้าอยากทำเฉพาะ manual therapy/sport PT/pediatric PT ก็ต่อโท ในบางประเทศมีต่อโท Animal manual PT รับคนจบตรี PT หรือ สัตวแพทย์ (DVM)
2) ในอเมริกา ตอนนี้พัฒนาไปไกลมาก โดยยกเลิกปริญญาตรี (BSc PT) ไปแล้ว ปรับเป็น Doctor of Physical Therapy (DPT ไม่ใช่ Doctor of Philosophy (PhD) นะครับ) โดยรับคนจบตรี BSc สาขาใดก็ได้ มาต่อ DPT 3-4 ปี (เหมือนการรับเข้า MD เลยครับ) ดังนั้น การที่ PT ไทยจะมาทำงานในอเมริกา ไม่ง่ายเหมือนสมัยก่อนแล้วครับ
อย่างไรก็ตาม PT ไทยก็มีจุดแข็งที่เราอาจไม่ทราบ คือ ในต่างประเทศจะมีอาชีพ Exercise therapist/Podotherapist/Sport therapist/Manual therapist/Chiropractor มากมายไปหมด แต่ที่เมือง ทุกอย่างที่ว่ามา PT รับเหมาได้หมด (ตามความถนัด) ครับ
2. ท่านที่อยู่ต่างประเทศ/คนต่างชาติ หรือเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพกายภาพบำบัดบัดในต่างแดน มองการทำงานของนักกายภาพบำบัดอย่างไร และมีระบบการทำงานของที่อื่นเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ:
2.1) ความสามารถ PT ไทยและต่างประเทศ ไม่ต่างกันครับ เพียงแต่ PT ไทยมักถ่อมตัวและไม่ค่อยอธิบาย คือฝรั่งจะประเภทรู้ 5 พูด 10 แต่คนไทย รู้ 10 พูด 5 ซึ่งทำให้คนไข้ไม่เข้าใจว่า เรากำลังทำอะไร ส่วนเรื่องเครื่องมือแพงๆนั่น มีก็ดีนะครับ แต่ถามว่าจำเป็นมั้ย ไม่จำเป็นครับ
2.2) เรื่องระบบ ก็เหมือนๆกันครับ คนไข้ > แพทย์ > PT แต่ที่คลินิก คนไข้ก็ walk in มาหาเราได้เลย (สำหรับท่านที่ไม่ทราบ มี 5 สาขาที่เปิดคลินิก (สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วยค้างคืน) ได้ ได้แก่ อายุรกรรม(แพทย์)/พยาบาลและผดุงครรภ์/เทคนิคการแพทย์/แพทย์แผนไทย/กายภาพบำบัด)
2.3) เรื่องกำลังคน คือ อัตรากำลัง PT ต่อปริมาณคนไข้ในไทยยังน้อยเกินไป เอาง่ายๆ แพทย์รับคนไข้ทีละคน 1 ห้องตรวจ 1 เตียง แต่ PT 1 คน ส่วนใหญ่ เห็นวางเตียง 3-4 เตียง ผมยังอยากเสนอว่า PT ควรจัดวางระบบใหม่ PT 1 คน อยู่ในห้องตรวจ 1 เตียง ตรวจเสร็จ ให้ตนไข้ออกมา ส่งต่อผู้ช่วย PT ทำ modalities (เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า/อัลตร้าซาวนด์ ฯลฯ) ถ้ามีหัตถการ ให้รอ PT
2.4) เรื่องผลิตบัณฑิต/อาจารย์ คือ ตอนนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ให้นิสิต/นักศึกษา PT เริ่มฝึกงานกันปี 3 จบปี 4 ทำงาน/เรียนต่อโท-เอก แล้วมาเป็นอาจารย์ผมมองว่าควรมีระบบ fellow/resident เหมือนแพทย์ เพราะ PT เป็นเรื่องของ skills:knowledge 50:50 เรียนโท-เอก สาขาอื่น skills หายหมด มาเป็นอาจารย์ ก็ต้องพึ่ง PT ในโรงพยาบาลคอย train ให้ แล้วค่อยไปสอนเด็ก ผมว่าไม่ work นะครับ เสนอว่าให้ recruit คนที่อยากเป็นอาจารย์ตั้งแต่จบ ป.ตรี ให้เป็น PT ประจำบ้านเลย (PT resident) อยากอยู่ ward ไหนก็ว่ากันไป คน train ก็ PT/อาจารย์ PT นี่แหละครับ ผ่านไป 3-4 ปี ฝีมือดี ค่อยมาเป็นอาจารย์ ทีนี้จะลาเรียนโท-เอก วิชา pre-clinic อะไรก็ค่อยว่ากัน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
เราเอาบทความนักกายภาพบำบัดไทย
ประจำสโมสรเชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ประเทศอังกฤษ
ลงในแมกกาซีน HIP Thailand เดือนกรกฎาคม 2557
http://www.hipthailand.net/e-magazine/magazine.php?send=115
HIP society
www.hipthailand.net
ที่ section B on July 2014
ลองอ่านดูนะคะ
บทบาทนักกายภาพบำบัดทางกีฬา
ของสโมสรฟุตบอลอังกฤษ
เป็นกำลังใจให้น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมวิชาชีพ นะคะ
สำหรับน้องเจ้าของกระทู้เอง
เราดีใจนะคะที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน
ขอให้น้องเติบโตเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดีต่อไปค่ะ
ประจำสโมสรเชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ประเทศอังกฤษ
ลงในแมกกาซีน HIP Thailand เดือนกรกฎาคม 2557
http://www.hipthailand.net/e-magazine/magazine.php?send=115
HIP society
www.hipthailand.net
ที่ section B on July 2014
ลองอ่านดูนะคะ
บทบาทนักกายภาพบำบัดทางกีฬา
ของสโมสรฟุตบอลอังกฤษ
เป็นกำลังใจให้น้องๆ เพื่อนๆ พี่ๆ ร่วมวิชาชีพ นะคะ
สำหรับน้องเจ้าของกระทู้เอง
เราดีใจนะคะที่ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน
ขอให้น้องเติบโตเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดีต่อไปค่ะ
ความคิดเห็นที่ 2
จากประสบการณ์ ..
เคยไปพบนักกายภาพที่โรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทยอยู่สองครั้ง .. เท่าที่เจอมา ตามระบบของโรงพยาบาลที่ไป คนไข้ต้องเข้าพบหมอก่อน จากนั้น หมอถึงออกใบสั่งให้นักกายภาพ .. ทุกอย่างอยู่ที่หมอ จะให้มาทำกายภาพกี่ครั้ง .. ถ้ายังไม่ดีขึ้น จะพบนักกายภาพอีก ก็ต้องกลับไปผ่านหมอเหมือนเดิม ..
เคยไปนั่งอยู่หน้าห้องทำกายภาพของโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่มากทางภาคเหนือ .. คือ เห็นแล้วจะร้องไห้ .. อุปกรณ์และสภาพห้องมันต่างจากที่เคยเจอในต่างประเทศมาลิบลับ .. คือแบบ นี่คือดีที่สุดที่คนไทยจะได้รับบริการหรือนี่ .. คือปกติไม่เคยใช้บริการ ร.พ.รัฐ เคยเข้าไปคั้งเดียวและไม่คิดจะกลับไปอีกเลย ..
ทีนี้มาถึงต่างประเทศ .. 5 ปีก่อนสามีมีเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษา และทำกายภาพ .. ชีวิต 6 เดือนที่อยู่ในโรงพยาบาล เจอหน้านักกายภาพแทบจะสามเวลาหลังอาหาร .. โรงพยาบาลที่อยู่ เป็นโรงพยาบาลที่ว่าได้ว่าเป็น spinal injury unit และ brain injury unit ดูแลด้านนี้โดยตรง .. ว่ากันว่าทีมรักษาที่นี่เก่งที่สุดในประเทศนี้แล้ว ..
นักกายภาพที่นี่ ไม่ได้รับคำสั่งจากหมอ แต่จะทำงานร่วมกับหมอ .. นักกายภาพมีอำนาจในการตัดสินใจทางด้านการทำกายภาพว่าจะดูแลคนไข้อย่างไร วิธีไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ .. ทุกอาทิตย์ หมอและนักกายภาพจะเข้าประชุมกัน เพื่อช่วยกันออกแบบการรักษา ดูพัฒนาการ และศักยภาพ .. นักกายภาพมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่ากับหมอและคนอื่นๆ ในทีม ไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ หัวหน้าพยาบาล และ occupational therapist (อันนี้ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร ที่ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ เกี่ยวกับการทำกายภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการกลับไปใช้ชีวิตภายนอกโรงพยาบาล) ..
ทุกเช้านักกายภาพจะประชุมทีม เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเคสที่ตัวเองรับผิดชอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น .. ทุกวันจะมีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ลงไปในการทำกายภาพ ไม่ใช่แค่ทำสิ่งเดิมๆย้ำๆซ้ำๆ อย่างเดียว .. หลายครั้งนักกายภาพจะมีการทำการทดลองสิ่งใหม่ๆกับคนไข้ เพื่อที่จะเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการรักษาบำบัด .. นักกายภาพที่นี่ ไม่กลัวที่จะลอง ลองสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ..
นักกายภาพกับคนไข้ จะมีการพูดคุยถึงการทำกายภาพ .. คนไข้ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร .. คิดว่ามีอะไรที่อยากพัฒนาอยากทำได้อยากลอง .. นักกายภาพที่นี่ค่อนข้างเปิดกว้าง .. รับฟังคนไข้และญาติ .. ถือว่าทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ว่าเค้าจะเป็นคนออกคำสั่งอย่างเดียว .. การทำกายภาพ มันโหดสำหรับคนไข้แต่นักกายภาพที่นี่ทำให้มันน่าสนใจ มากกว่าที่จะเป็นกิจกรรมน่าเบื่อ ..
ยกตัวอย่างเช่น เอาเครื่อง wii มาตั้ง ให้คนไข้เล่นเกมส์แข่งกัน .. บางเกมส์ที่ต้องอาศัยการทรงตัว ประมาณนั้น .. หรือตอนที่คนไข้ขึ้นบน tilt table แทนที่จะให้ยืนเฉยๆ ก็หาลูกดอกมาให้เป่าแข่งกัน .. ช่วงเวลาในยิมจึงผ่านไปแบบเหนื่อยแต่สนุก และท่ามกลางการต่อสู้กับร่างกายตัวเองของคนไข้ ทุกคนมีเสียงหัวเราะ ..
นักกายภาพทำงานหนักมาก บางครั้งเห็นแล้วสงสารเลยค่ะ .. ตอนสามีเราหัดเดิน ระยะทางรอบโรงยิม ขนาดเท่าสนามบาส พี่แกลงไปคลานเข่าตลอดทาง เพื่อช่วยยกน้ำหนักเท้าที่สามีเราก้าวเองไม่ได้ .. ขึ้นมานี่เข่าเป็นรอยเลย ..
นักกายภาพที่นี่ ไม่ได้ทำงานกับคนไข้อย่างเดียว แต่รวมถึงทำงานกับญาติคนไข้ด้วย .. สอน อธิบาย ฝึกให้ญาติคนไข้เข้าใจและทำเป็น เพื่อที่เราจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด และรวมถึงสอนให้ญาติคนไข้เข้าใจอาการและสิ่งที่คนไข้กำลังเผชิญด้วย .. จุดนี้เราถือว่าสำคัญมาก เพราะคนไข้ ไม่ใช่คนเดียวที่ต้องเผชิญกับสภาวะที่เป็น .. ญาติหรือผู้ดูแลคนไข้ ถ้ามีความเข้าใจ ก็จะทำให้ชีวิตคนไข้ดำเนินต่อไปอย่างง่ายขึ้น ..
ตรงนี้คือ บอกเลยว่า ทีมที่นี่ดูแลญาติคนไข้ดีมากนะคะ .. มีการจัดแม้กระทั่งจิตแพทย์ เพื่อให้ญาติคนไข้ได้มีที่ปรึกษา อาจเป็นเพราะคนไข้ส่วนใหญ่ของ รพ. นี้ ค่อนข้างจะเป็นเคสซีเรียสด้วย คือ พูดง่ายๆ ส่วนมากคือออกจาก ร.พ. ในสภาพคนพิการ ไม่มากก็น้อย ..
ทุกวันนี้ มีนักกายภาพมาทำกายภาพบำบัดที่บ้าน .. อาทิตย์ละครั้ง .. มาช่วยออกแบบ ดูแลการออกกำลัง .. นี่ได้ข่าวว่า จะชวนกันไปพายเรือคายัค กับปั่นจักรยานมือ ในชั่วโมงกายภาพ เพราะถือเป็นการออกกำลังและกายภาพแบบหนึ่ง ..
อ้อ .. นักกายภาพที่นี่ดูแลรวมยาวไปถึงของเล่นต่างๆ ด้วย เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกาย ไม้ค้ำเดิน (จะว่าไปนี่สามีกำลังลองไม้ค้ำเดินอันใหม่อยู่เลย แบบมีตัวกันกระเทือนติดปลายไมีค้ำ รวมถึงปลายไม้ค้ำที่ติดกับพื้นหมุนได้ เพื่อรองรับเวลาเดินพื้นที่ไม่ราบ เก๋มากอ่ะ) .. นักกายภาพคนใหม่ล่าสุด ของเล่นเยอะมาก หลังจากมาเจอกันครั้งแรก ทำประเมินร่างกาย แกจัดของเล่นมากองไว้เพียบเลย (ของพวกนี้รัฐบาลจ่ายค่ะ) ..
สิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ชัด จากนักกายภาพทุกคนที่เจอมา คือ ความทุ่มเท .. ความก้าวหน้า อาการที่ดีขึ้นของคนไข้ เป็นสิ่งที่เค้าถือว่าคือความสำเร็จ ..
พล่ามซะยาว อยากเห็นระบบการรักษาเมืองไทยพัฒนาค่ะ .. มีแต่คนบอกว่าโชคดีที่สามีเราประสบอุบัติเหตุที่ต่างประเทศ เพราะถ้าเป็นที่เมืองไทย ป่านนี้คงจบที่นอนเป็นผักอยู่บนเตียง .. ส่วนหนึ่ง ต่างประเทศเค้าเอาเงินภาษีไปใช้ในทางที่ควร แต่มองอีกด้าน มันก็อยู่ที่บุคลากรด้วยเนอะ ..
ปล. สำหรับเรา คนที่บอกว่าสามีเราซึ่งเป็น C6 Spinal Injury (ทุกวันนี้ใช้วีลแชร์ เดินได้นิดหน่อย) สามารถรักษาหายได้ด้วยการจับเส้น คนนั้น คือ หมอนวด .. เจอมากี่รายๆ เหมือนกันหมด ..
เคยไปพบนักกายภาพที่โรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทยอยู่สองครั้ง .. เท่าที่เจอมา ตามระบบของโรงพยาบาลที่ไป คนไข้ต้องเข้าพบหมอก่อน จากนั้น หมอถึงออกใบสั่งให้นักกายภาพ .. ทุกอย่างอยู่ที่หมอ จะให้มาทำกายภาพกี่ครั้ง .. ถ้ายังไม่ดีขึ้น จะพบนักกายภาพอีก ก็ต้องกลับไปผ่านหมอเหมือนเดิม ..
เคยไปนั่งอยู่หน้าห้องทำกายภาพของโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่มากทางภาคเหนือ .. คือ เห็นแล้วจะร้องไห้ .. อุปกรณ์และสภาพห้องมันต่างจากที่เคยเจอในต่างประเทศมาลิบลับ .. คือแบบ นี่คือดีที่สุดที่คนไทยจะได้รับบริการหรือนี่ .. คือปกติไม่เคยใช้บริการ ร.พ.รัฐ เคยเข้าไปคั้งเดียวและไม่คิดจะกลับไปอีกเลย ..
ทีนี้มาถึงต่างประเทศ .. 5 ปีก่อนสามีมีเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษา และทำกายภาพ .. ชีวิต 6 เดือนที่อยู่ในโรงพยาบาล เจอหน้านักกายภาพแทบจะสามเวลาหลังอาหาร .. โรงพยาบาลที่อยู่ เป็นโรงพยาบาลที่ว่าได้ว่าเป็น spinal injury unit และ brain injury unit ดูแลด้านนี้โดยตรง .. ว่ากันว่าทีมรักษาที่นี่เก่งที่สุดในประเทศนี้แล้ว ..
นักกายภาพที่นี่ ไม่ได้รับคำสั่งจากหมอ แต่จะทำงานร่วมกับหมอ .. นักกายภาพมีอำนาจในการตัดสินใจทางด้านการทำกายภาพว่าจะดูแลคนไข้อย่างไร วิธีไหน ใช้เวลาเท่าไหร่ .. ทุกอาทิตย์ หมอและนักกายภาพจะเข้าประชุมกัน เพื่อช่วยกันออกแบบการรักษา ดูพัฒนาการ และศักยภาพ .. นักกายภาพมีสิทธิ์ในการออกเสียงเท่ากับหมอและคนอื่นๆ ในทีม ไม่ว่าจะเป็น จิตแพทย์ หัวหน้าพยาบาล และ occupational therapist (อันนี้ไม่รู้ภาษาไทยเรียกว่าอะไร ที่ทำหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ เกี่ยวกับการทำกายภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการกลับไปใช้ชีวิตภายนอกโรงพยาบาล) ..
ทุกเช้านักกายภาพจะประชุมทีม เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเคสที่ตัวเองรับผิดชอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น .. ทุกวันจะมีการเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ลงไปในการทำกายภาพ ไม่ใช่แค่ทำสิ่งเดิมๆย้ำๆซ้ำๆ อย่างเดียว .. หลายครั้งนักกายภาพจะมีการทำการทดลองสิ่งใหม่ๆกับคนไข้ เพื่อที่จะเรียนรู้และปรับปรุงวิธีการรักษาบำบัด .. นักกายภาพที่นี่ ไม่กลัวที่จะลอง ลองสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ..
นักกายภาพกับคนไข้ จะมีการพูดคุยถึงการทำกายภาพ .. คนไข้ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร .. คิดว่ามีอะไรที่อยากพัฒนาอยากทำได้อยากลอง .. นักกายภาพที่นี่ค่อนข้างเปิดกว้าง .. รับฟังคนไข้และญาติ .. ถือว่าทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ว่าเค้าจะเป็นคนออกคำสั่งอย่างเดียว .. การทำกายภาพ มันโหดสำหรับคนไข้แต่นักกายภาพที่นี่ทำให้มันน่าสนใจ มากกว่าที่จะเป็นกิจกรรมน่าเบื่อ ..
ยกตัวอย่างเช่น เอาเครื่อง wii มาตั้ง ให้คนไข้เล่นเกมส์แข่งกัน .. บางเกมส์ที่ต้องอาศัยการทรงตัว ประมาณนั้น .. หรือตอนที่คนไข้ขึ้นบน tilt table แทนที่จะให้ยืนเฉยๆ ก็หาลูกดอกมาให้เป่าแข่งกัน .. ช่วงเวลาในยิมจึงผ่านไปแบบเหนื่อยแต่สนุก และท่ามกลางการต่อสู้กับร่างกายตัวเองของคนไข้ ทุกคนมีเสียงหัวเราะ ..
นักกายภาพทำงานหนักมาก บางครั้งเห็นแล้วสงสารเลยค่ะ .. ตอนสามีเราหัดเดิน ระยะทางรอบโรงยิม ขนาดเท่าสนามบาส พี่แกลงไปคลานเข่าตลอดทาง เพื่อช่วยยกน้ำหนักเท้าที่สามีเราก้าวเองไม่ได้ .. ขึ้นมานี่เข่าเป็นรอยเลย ..
นักกายภาพที่นี่ ไม่ได้ทำงานกับคนไข้อย่างเดียว แต่รวมถึงทำงานกับญาติคนไข้ด้วย .. สอน อธิบาย ฝึกให้ญาติคนไข้เข้าใจและทำเป็น เพื่อที่เราจะได้ช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด และรวมถึงสอนให้ญาติคนไข้เข้าใจอาการและสิ่งที่คนไข้กำลังเผชิญด้วย .. จุดนี้เราถือว่าสำคัญมาก เพราะคนไข้ ไม่ใช่คนเดียวที่ต้องเผชิญกับสภาวะที่เป็น .. ญาติหรือผู้ดูแลคนไข้ ถ้ามีความเข้าใจ ก็จะทำให้ชีวิตคนไข้ดำเนินต่อไปอย่างง่ายขึ้น ..
ตรงนี้คือ บอกเลยว่า ทีมที่นี่ดูแลญาติคนไข้ดีมากนะคะ .. มีการจัดแม้กระทั่งจิตแพทย์ เพื่อให้ญาติคนไข้ได้มีที่ปรึกษา อาจเป็นเพราะคนไข้ส่วนใหญ่ของ รพ. นี้ ค่อนข้างจะเป็นเคสซีเรียสด้วย คือ พูดง่ายๆ ส่วนมากคือออกจาก ร.พ. ในสภาพคนพิการ ไม่มากก็น้อย ..
ทุกวันนี้ มีนักกายภาพมาทำกายภาพบำบัดที่บ้าน .. อาทิตย์ละครั้ง .. มาช่วยออกแบบ ดูแลการออกกำลัง .. นี่ได้ข่าวว่า จะชวนกันไปพายเรือคายัค กับปั่นจักรยานมือ ในชั่วโมงกายภาพ เพราะถือเป็นการออกกำลังและกายภาพแบบหนึ่ง ..
อ้อ .. นักกายภาพที่นี่ดูแลรวมยาวไปถึงของเล่นต่างๆ ด้วย เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกาย ไม้ค้ำเดิน (จะว่าไปนี่สามีกำลังลองไม้ค้ำเดินอันใหม่อยู่เลย แบบมีตัวกันกระเทือนติดปลายไมีค้ำ รวมถึงปลายไม้ค้ำที่ติดกับพื้นหมุนได้ เพื่อรองรับเวลาเดินพื้นที่ไม่ราบ เก๋มากอ่ะ) .. นักกายภาพคนใหม่ล่าสุด ของเล่นเยอะมาก หลังจากมาเจอกันครั้งแรก ทำประเมินร่างกาย แกจัดของเล่นมากองไว้เพียบเลย (ของพวกนี้รัฐบาลจ่ายค่ะ) ..
สิ่งที่สัมผัสและเห็นได้ชัด จากนักกายภาพทุกคนที่เจอมา คือ ความทุ่มเท .. ความก้าวหน้า อาการที่ดีขึ้นของคนไข้ เป็นสิ่งที่เค้าถือว่าคือความสำเร็จ ..
พล่ามซะยาว อยากเห็นระบบการรักษาเมืองไทยพัฒนาค่ะ .. มีแต่คนบอกว่าโชคดีที่สามีเราประสบอุบัติเหตุที่ต่างประเทศ เพราะถ้าเป็นที่เมืองไทย ป่านนี้คงจบที่นอนเป็นผักอยู่บนเตียง .. ส่วนหนึ่ง ต่างประเทศเค้าเอาเงินภาษีไปใช้ในทางที่ควร แต่มองอีกด้าน มันก็อยู่ที่บุคลากรด้วยเนอะ ..
ปล. สำหรับเรา คนที่บอกว่าสามีเราซึ่งเป็น C6 Spinal Injury (ทุกวันนี้ใช้วีลแชร์ เดินได้นิดหน่อย) สามารถรักษาหายได้ด้วยการจับเส้น คนนั้น คือ หมอนวด .. เจอมากี่รายๆ เหมือนกันหมด ..
แสดงความคิดเห็น
วิชาชีพกายภาพบำบัดในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างกับไทยอย่างไร ไทยยังต้องการหรือไม่? เชิญชวนทุกท่านมาแชร์ประสบการณ์กัน
"กายภาพบำบัดคืออะไร อยากให้คนไทยเข้าใจ"
http://ppantip.com/topic/33042316
ที่คนไทยยังไม่ค่อยเข้าใจบทบาทของวิชาชีพกายภาพบำบัด และความเข้าใจคลาดเคลื่อนสับสนกับหมอนวด ซึ่งบั่นทอนกำลังใจของนักกายภาพบำบัดในไทย
และจากข่าวที่ผ่านมาที่ นักกายภาพบำบัดออกมาโวยวายกระทรวงสาธารณสุข กับการบรรจุข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม ทั้งๆที่วิชาชีพกายภาพบำบัดเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลน (อ้างอิง : http://physicaltherapythai.blogspot.com/2010/06/blog-post.html ) และจากเงินเดือนที่ต่ำ จึงส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดนักกายภาพบำบัดให้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนได้ นักกายภาพบำบัดเลือกที่จะทำงานในโรงพยาบาลเอกชนมากกว่าเนื่องจากค่าตอบแทนสูงกว่า
สิ่งต่างๆเหล่านี้
1.การสับสนบทบาทของนักกายภาพบำบัดกับหมอนวด
2.การบรรจุข้าราชการและค่าตอบแทน
ล้วนส่งผลให้กระทบและบั่นทอนกำลังใจของนักกายภาพบำบัดที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ตัว จขกท. เองเป็นเพียงนักศึกษาคงทำได้เพียงช่วยให้กำลังใจกับรุ่นพี่นักกายภาพบำบัด และคนที่กำลังศึกษาอยู่
เลยอยากตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาบอกถึงปัญหาที่วิชาชีพกายภาพบำบัดกำลังเผชิญอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นหนึ่งกระบอกเสียงให้คนหันมามองเราบ้าง
และอยากทราบว่า
- กายภาพบำบัด หรือ นักกายภาพบำบัด ในต่างประเทศมีความแตกต่างจากประเทศไทยบ้างหรือเปล่าครับ
- ท่านที่อยู่ต่างประเทศ/คนต่างชาติ หรือเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพกายภาพบำบัดบัดในต่างแดน มองการทำงานของนักกายภาพบำบัดอย่างไร และมีระบบการทำงานของที่อื่นเป็นอย่างไรบ้าง
อยากเชิญชวนทุกๆท่านมาร่วมกันแสดงความคิดเห็น ตลอดทั้งแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ที่ท่านมีต่อวิชาชีพกายภาพบำบัดทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อหวังว่ากระทู้นี้จะเป็นกระทู้ต่อยอดไปสู่การเปลี่ยนแปลง และหวังว่าประสบการณ์ต่างๆจะมีประโยชน์ต่อน้องๆที่กำลังตัดสินใจเรียนต่อ นศ.และนักกายภาพบำบัดไทย ที่สนใจจะศึกษาต่อหรือทำงานในต่างประเทศ
จาก นศ.กายภาพบำบัดตัวเล็กๆ