ทุกครั้งที่เห็นคนซื้อนกซื้อปลาไปปล่อยเพื่อเอาบุญแล้ว คนขวางโลกอย่างผมมักรู้สึกสมเพชทั้งต่อสัตว์ที่ถูกปล่อยและคนปล่อยสัตว์ เหตุผลเพราะมันไม่เคยมีการปล่อยนกปล่อยปลาอย่างแท้จริง ผ่านมาหลายสิบปีตั้งแต่ผมเห็นการซื้อนกปลาไปปล่อยเป็นครั้งแรก ก็ยังคงมีนกปลามาให้ชาวบ้านซื้อไปปล่อยเสมอ ไม่เคยขาดตอน
พ่อค้าแม่ค้ามีรายได้จากการจับนกจับปลามาให้ลูกค้าปล่อย เมื่อกรงว่างนก กระบะว่างปลาแล้ว ก็ไปจับนกจับปลามาใหม่ เพื่อให้คนที่นิยมทำบุญซื้อไปปล่อยต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด
การปล่อยนกปล่อยปลาเพื่อบุญจึงเป็นการหลอกตัวเองเปล่าๆ ทำให้คนจ่ายเงินรู้สึกดีและอิ่มอกอิ่มใจกับบุญสำเร็จรูป เพราะเพื่อกำไรสูงสุด นกจำนวนมากถูกตัดปีกให้พิการ บินไม่ได้ เมื่อปล่อยไปแล้ว พวกมันก็บินไปไม่ได้ไกล ถูกจับกลับมาง่ายๆ สำหรับธุรกิจบุญต่อไป
ส่วนปลาที่ถูกจับแล้วปล่อยลงน้ำเกิดความเครียด บ่อยครั้งบาดเจ็บที่เหงือกและครีบ ทำให้ติดเชื้อโรคง่าย เมื่อลงน้ำก็ตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นง่ายขึ้น
ความเห็นแก่ตัวของคนเราคงฝังรากลึกในยีนจริงๆ เพราะจะทำดีก็ยังคิดถึงตัวเอง! ทั้งที่การทำบุญแบบปล่อยสัตว์ก็คือรูปหนึ่งของความเห็นแก่ตัว เมื่อปลงใจเชื่อว่าปล่อยนกปล่อยปลาแล้วได้บุญ ก็ไม่สนใจว่านกปลาจะเดือดร้อนเพราะการทำบุญนี้หรือไม่
ไม่ต้องใช้สมองระดับอัจฉริยะก็มองเห็นว่า หากนี่เป็นบุญ ก็เป็นบุญปลอมๆ ในโลกมนุษย์ที่อาบด้วยความฉาบฉวย
ลองคิดดูเล่นๆ สมมุติว่าสังคมเรามีค่านิยมหรือประเพณีทำบุญด้วยการแบกอิฐ แบกปูน ลากซุง นอนนอกบ้านให้ฝูงยุงกัดสักสองสามคืน หรือต้องปืนเขาสูงห้าพันฟุตขึ้นไป เชื่อว่าจำนวนคนทำบุญทางนี้คงลดน้อยลงกว่าครึ่ง! พวกเขาจะหาทางประดิษฐ์คิดค้นหนทางทำบุญที่ไม่ต้องเหนื่อยมากขึ้นจนได้
มนุษย์เราชอบหนทางลัดเสมอ และต้องเป็นทางลัดประเภทที่ควักเงินซื้อได้ง่ายๆ เราได้สร้างค่านิยมที่ดำเนินมาอย่างยาวนานว่า เมื่อไม่สบายใจก็หาทางลัดที่ทำให้สบายใจโดยทำบุญ เมื่อประสบเคราะห์ร้าย ก็เข้าวัดทำบุญสะเดาะเคราะห์ให้ตัวเองพ้นกรรม ตกงานก็ทำบุญ บริจาคเงินในวัดก็อธิษฐานขอความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ให้เงินขอทานบาทสองบาทก็อธิษฐานขอชีวิตที่ดีกว่า ให้เงินคนตาบอดก็อธิษฐานขอสิ่งมงคลต่อตัวเอง ตักบาตรก็อธิษฐานขอพบพานเนื้อคู่ น้อยคนเหลือเกินที่ทำบุญโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือไม่อธิษฐาน
นอกจากนี้ยังคิดข้ามชอตไปถึงภพหน้า อธิษฐานขอชาติหน้าที่ดีกว่า ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของชาติหน้าไว้ก่อน โดยจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ชาตินี้ มันน่ากลัวเอาการถ้าชาติหน้าเกิดใหม่เป็นกิ้งกือหรือแมลงสาบ
ลัทธิทำบุญเพื่อตัวเองลามระบาดไปในทุกระบบ แม้กระทั่งการกินอาหารก็ยังต้องการบุญ หลายคนกินเจปีละครั้งเพื่อบุญหรือใจที่สะอาดขึ้น แต่มันจะเป็น ‘บุญ’ จริงหรือหากการกินเจแค่ยืดเวลาตายของสัตว์ ไม่ได้ช่วยชีวิตสัตว์จริงๆ?
ดังนั้นคิดให้รอบคอบก่อนทำบุญว่า กระบวนการสร้าง ‘บุญ’ นั้นสร้าง ‘บาป’ อะไรบ้าง ต่อให้ใส่บาตรพระด้วยใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์และไม่ต้องการผลตอบแทนเลย ก็ยังต้องระวังว่ามันมีบาปแฝงอยู่หรือไม่ ดูจากจำนวนพระสงฆ์องค์เจ้าที่อ้วนเกินพิกัด เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพราะอาหารที่ญาติโยมนำไปถวายเป็นต้นเหตุ
นี่แปลว่าถึงจะทำเรื่องดี ก็ต้องคิดถึงผลระยะยาวของการทำดีนั้นว่ามันกลายเป็นผลร้ายหรือไม่
คงเป็นเรื่องตลกขันขื่นหากชาติหน้าอาจเกิดใหม่เป็นนกเป็นปลาให้พ่อค้าแม่ค้าจับมาให้คนปล่อยครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะชาตินี้สร้างกรรมโดยทรมานนกปลาในพิธีกรรมปล่อยนกปล่อยปลา!
ไม่ใช่เรื่องผิดหรือแปลกที่คนเราโหยหาความปลอดภัย อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก กล่าวว่า “แม้แต่คนมีการศึกษาก็ต้องการไม้เท้าทางจิตวิญญาณ และมันก็รู้สึกดีที่มีใครบางคนเบื้องบนดูแลเราอยู่ ก็ไม่เป็นอันตรายอะไรหรอกตราบที่มันไม่กลายเป็นความคลั่งไคล้ลุ่มหลง”
บางทีก่อนที่คิดจะปล่อยสัตว์ให้เป็นอิสระ ควรปล่อยใจตัวเองให้เป็นอิสระก่อน
เพียงแค่เอาใจเขามาใส่ใจเราสักหน่อย ก็น่าจะตอบได้ไม่ยาก
ลองคิดดูว่า เรานำสัตว์มาเลี้ยงในกรงด้วยความรัก ไม่ว่าในบ้านหรือในสวนสัตว์เป็นความรักหรือความเห็นแก่ตัว? เป็นบุญหรือเป็นกรรม? ลองมองเข้าไปในใจของพวกมัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองนึกว่าตัวเองถูกจับไปปล่อยชั่วคราว แล้วถูกจับมาอีก เราจะรู้สึกอย่างไร ลองถามใจลูกชะนีลูกค่างที่เราไปซื้อมาเลี้ยงว่า มันเห็นแม่ของมันถูกยิงตายหรือเปล่า ลองถามตัวเองว่าหากใครคนหนึ่งยิงแม่เราตายแล้วนำเราไปเลี้ยงดูอย่างดี ให้อาหารสามมื้อ เรายังจะมองว่ามันเป็นความรักหรือไม่? ลองถามตัวเองว่า หากเรารักพ่อแม่ รักลูกของเรา เราจะจับพ่อแม่และลูกขังในกรงหรือไม่?
ลองคิดให้ดีว่า มีบุญในโลกไหนที่มาจากความเห็นแก่ตัว? ถามตัวเองว่าถ้าบุญเป็นเรื่องดีงาม มันก็ไม่ควรเกี่ยวข้องกับเรื่องไม่ดีใช่หรือไม่? การอยากได้บุญเป็นตัณหาอย่างหนึ่งหรือไม่? ถ้าบุญมาจากการใช้เงินซื้อหามาได้ ก็มีแต่คนมีเงินเท่านั้นที่จะได้ชาติหน้าที่ดีขึ้นใช่ไหม? บุญอยู่ที่ไหนก่อนหน้าที่มนุษย์ประดิษฐ์เงินตรา?
ใจเขาใจเรา!
ใช่! ใจเขาใจเรา! บุญแปลว่าการกระทำเรื่องดี บุญเป็นเรื่องการลดความเห็นแก่ตัว บุญคือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่กระทำสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นกระทำกับเรา
บุญมิใช่การกระทำที่ทำแล้วมีแต่เราเท่านั้นที่รู้สึกดี บุญไม่ใช่การเอาตัวเราเองเป็นตัวตั้ง บุญคือการคิดถึงคนอื่น ชีวิตอื่น แม้กระทั่งสิ่งไร้ชีวิตอื่นๆ บุญคือการเอาใจเขามาใส่ใจเราเสมอ ไม่ว่า ‘เขา’ จะเป็นเพียงสัตว์หรือพืช หรือโลกทั้งใบ
มองให้ดีจะเห็นว่าขอบเขตของ ‘บุญ’ และ ‘บาป’ กว้างกว่าแค่ชะตากรรมของมนุษย์คนหนึ่ง
ทุกศาสนาในโลก ไม่ว่าจะเป็นสายเทวนิยมหรืออเทวนิยม ล้วนมีหลักการหนึ่งที่เหมือนกันคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ทำเรื่องที่เราไม่อยากให้คนเราทำต่อเรา
บางทีสาระของการทำบุญก็มีเพียงเท่านี้ ที่เหลือเป็นแค่เปลือก
เพื่อนคนหนึ่งของผมบอกว่า ทำให้คนในบ้านกับคนรอบตัวมีความสุขก่อนคิดไปทำบุญที่ไหน
เรามักโยงบุญเข้ากับพิธีกรรมและศาสนา จนลืมไปว่าสาระของบุญมิได้อยู่ที่พิธีกรรมว่าต้องปล่อยนกกี่ตัว ปล่อยปลากี่ตัว ชาติหน้าจึงไม่เกิดใหม่เป็นแมลงสาบ
บางทีโลกอาจสวยงามขึ้นมากหากเราคิดให้ง่ายขึ้น อยากปล่อยนกปล่อยปลาให้เป็นอิสระจากความทุกข์ทรมานจริงๆ มีวิธีเดียวคือไม่ซื้อนกซื้อปลาไปปล่อย รักสัตว์จริงก็ไม่พรากพวกมันจากแม่มาเลี้ยงเพื่อความสุขของตนเองที่บ้าน รักสัตว์ป่าจริงก็เลิกเยือนสวนสัตว์ เมื่อไม่มีอุปสงค์ อุปทานก็หายไปเอง และการช่วยชีวิตสัตว์ก็จะเกิดขึ้นจริงๆ
ลองเปลี่ยนมุมมองว่า ‘การทำบุญ’ เป็นแค่การ ‘ออกกำลังกาย’ จิตใจของเรา เราออกกำลังกายโดยรู้ดีว่ามันไม่ทำให้เราตายแล้วขึ้นสวรรค์ หรือมีชาติหน้าที่ดีกว่าชาตินี้ เราออกกำลังกายเพื่อยกระดับสุขภาพของเรา เราก็สามารถทำอย่างเดียวกันโดยการออกกำลังทางจิต
การออกกำลังจิตมีหลายวิธี การทำบุญจริงๆ เป็นวิธีหนึ่ง การทำจิตให้สงบเป็นอีกวิธีหนึ่ง การไม่ใส่ขยะในใจก็เป็นวิธีหนึ่ง
การออกกำลังทางจิตทำให้ใจแข็งแรงขึ้น มันช่วยลดคอเลสเตอรอลแห่งความโลภ ลดสารพิษแห่งความหลง หลั่งสารเอ็นโดฟินแห่งความเมตตา ทำให้เรามีความพึงใจต่อการใช้ชีวิตในสถานะมนุษย์มากขึ้น
นี่ก็คือผลบุญแห่งชีวิตที่ได้มาจากการคิดถึงชีวิตอื่นก่อนตนเองเสมอ
วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
29 มิถุนายน 2556
http://www.winbookclub.com/article.php?articleid=453#453
----------- บุญสำเร็จรูป -------------
พ่อค้าแม่ค้ามีรายได้จากการจับนกจับปลามาให้ลูกค้าปล่อย เมื่อกรงว่างนก กระบะว่างปลาแล้ว ก็ไปจับนกจับปลามาใหม่ เพื่อให้คนที่นิยมทำบุญซื้อไปปล่อยต่อไป เป็นวงจรอุบาทว์ไม่สิ้นสุด
การปล่อยนกปล่อยปลาเพื่อบุญจึงเป็นการหลอกตัวเองเปล่าๆ ทำให้คนจ่ายเงินรู้สึกดีและอิ่มอกอิ่มใจกับบุญสำเร็จรูป เพราะเพื่อกำไรสูงสุด นกจำนวนมากถูกตัดปีกให้พิการ บินไม่ได้ เมื่อปล่อยไปแล้ว พวกมันก็บินไปไม่ได้ไกล ถูกจับกลับมาง่ายๆ สำหรับธุรกิจบุญต่อไป
ส่วนปลาที่ถูกจับแล้วปล่อยลงน้ำเกิดความเครียด บ่อยครั้งบาดเจ็บที่เหงือกและครีบ ทำให้ติดเชื้อโรคง่าย เมื่อลงน้ำก็ตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นง่ายขึ้น
ความเห็นแก่ตัวของคนเราคงฝังรากลึกในยีนจริงๆ เพราะจะทำดีก็ยังคิดถึงตัวเอง! ทั้งที่การทำบุญแบบปล่อยสัตว์ก็คือรูปหนึ่งของความเห็นแก่ตัว เมื่อปลงใจเชื่อว่าปล่อยนกปล่อยปลาแล้วได้บุญ ก็ไม่สนใจว่านกปลาจะเดือดร้อนเพราะการทำบุญนี้หรือไม่
ไม่ต้องใช้สมองระดับอัจฉริยะก็มองเห็นว่า หากนี่เป็นบุญ ก็เป็นบุญปลอมๆ ในโลกมนุษย์ที่อาบด้วยความฉาบฉวย
ลองคิดดูเล่นๆ สมมุติว่าสังคมเรามีค่านิยมหรือประเพณีทำบุญด้วยการแบกอิฐ แบกปูน ลากซุง นอนนอกบ้านให้ฝูงยุงกัดสักสองสามคืน หรือต้องปืนเขาสูงห้าพันฟุตขึ้นไป เชื่อว่าจำนวนคนทำบุญทางนี้คงลดน้อยลงกว่าครึ่ง! พวกเขาจะหาทางประดิษฐ์คิดค้นหนทางทำบุญที่ไม่ต้องเหนื่อยมากขึ้นจนได้
มนุษย์เราชอบหนทางลัดเสมอ และต้องเป็นทางลัดประเภทที่ควักเงินซื้อได้ง่ายๆ เราได้สร้างค่านิยมที่ดำเนินมาอย่างยาวนานว่า เมื่อไม่สบายใจก็หาทางลัดที่ทำให้สบายใจโดยทำบุญ เมื่อประสบเคราะห์ร้าย ก็เข้าวัดทำบุญสะเดาะเคราะห์ให้ตัวเองพ้นกรรม ตกงานก็ทำบุญ บริจาคเงินในวัดก็อธิษฐานขอความเจริญรุ่งเรืองสืบไป ให้เงินขอทานบาทสองบาทก็อธิษฐานขอชีวิตที่ดีกว่า ให้เงินคนตาบอดก็อธิษฐานขอสิ่งมงคลต่อตัวเอง ตักบาตรก็อธิษฐานขอพบพานเนื้อคู่ น้อยคนเหลือเกินที่ทำบุญโดยไม่หวังผลตอบแทน หรือไม่อธิษฐาน
นอกจากนี้ยังคิดข้ามชอตไปถึงภพหน้า อธิษฐานขอชาติหน้าที่ดีกว่า ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของชาติหน้าไว้ก่อน โดยจ่ายเบี้ยประกันตั้งแต่ชาตินี้ มันน่ากลัวเอาการถ้าชาติหน้าเกิดใหม่เป็นกิ้งกือหรือแมลงสาบ
ลัทธิทำบุญเพื่อตัวเองลามระบาดไปในทุกระบบ แม้กระทั่งการกินอาหารก็ยังต้องการบุญ หลายคนกินเจปีละครั้งเพื่อบุญหรือใจที่สะอาดขึ้น แต่มันจะเป็น ‘บุญ’ จริงหรือหากการกินเจแค่ยืดเวลาตายของสัตว์ ไม่ได้ช่วยชีวิตสัตว์จริงๆ?
ดังนั้นคิดให้รอบคอบก่อนทำบุญว่า กระบวนการสร้าง ‘บุญ’ นั้นสร้าง ‘บาป’ อะไรบ้าง ต่อให้ใส่บาตรพระด้วยใจผ่องแผ้วบริสุทธิ์และไม่ต้องการผลตอบแทนเลย ก็ยังต้องระวังว่ามันมีบาปแฝงอยู่หรือไม่ ดูจากจำนวนพระสงฆ์องค์เจ้าที่อ้วนเกินพิกัด เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพราะอาหารที่ญาติโยมนำไปถวายเป็นต้นเหตุ
นี่แปลว่าถึงจะทำเรื่องดี ก็ต้องคิดถึงผลระยะยาวของการทำดีนั้นว่ามันกลายเป็นผลร้ายหรือไม่
คงเป็นเรื่องตลกขันขื่นหากชาติหน้าอาจเกิดใหม่เป็นนกเป็นปลาให้พ่อค้าแม่ค้าจับมาให้คนปล่อยครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะชาตินี้สร้างกรรมโดยทรมานนกปลาในพิธีกรรมปล่อยนกปล่อยปลา!
ไม่ใช่เรื่องผิดหรือแปลกที่คนเราโหยหาความปลอดภัย อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก กล่าวว่า “แม้แต่คนมีการศึกษาก็ต้องการไม้เท้าทางจิตวิญญาณ และมันก็รู้สึกดีที่มีใครบางคนเบื้องบนดูแลเราอยู่ ก็ไม่เป็นอันตรายอะไรหรอกตราบที่มันไม่กลายเป็นความคลั่งไคล้ลุ่มหลง”
บางทีก่อนที่คิดจะปล่อยสัตว์ให้เป็นอิสระ ควรปล่อยใจตัวเองให้เป็นอิสระก่อน
เพียงแค่เอาใจเขามาใส่ใจเราสักหน่อย ก็น่าจะตอบได้ไม่ยาก
ลองคิดดูว่า เรานำสัตว์มาเลี้ยงในกรงด้วยความรัก ไม่ว่าในบ้านหรือในสวนสัตว์เป็นความรักหรือความเห็นแก่ตัว? เป็นบุญหรือเป็นกรรม? ลองมองเข้าไปในใจของพวกมัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองนึกว่าตัวเองถูกจับไปปล่อยชั่วคราว แล้วถูกจับมาอีก เราจะรู้สึกอย่างไร ลองถามใจลูกชะนีลูกค่างที่เราไปซื้อมาเลี้ยงว่า มันเห็นแม่ของมันถูกยิงตายหรือเปล่า ลองถามตัวเองว่าหากใครคนหนึ่งยิงแม่เราตายแล้วนำเราไปเลี้ยงดูอย่างดี ให้อาหารสามมื้อ เรายังจะมองว่ามันเป็นความรักหรือไม่? ลองถามตัวเองว่า หากเรารักพ่อแม่ รักลูกของเรา เราจะจับพ่อแม่และลูกขังในกรงหรือไม่?
ลองคิดให้ดีว่า มีบุญในโลกไหนที่มาจากความเห็นแก่ตัว? ถามตัวเองว่าถ้าบุญเป็นเรื่องดีงาม มันก็ไม่ควรเกี่ยวข้องกับเรื่องไม่ดีใช่หรือไม่? การอยากได้บุญเป็นตัณหาอย่างหนึ่งหรือไม่? ถ้าบุญมาจากการใช้เงินซื้อหามาได้ ก็มีแต่คนมีเงินเท่านั้นที่จะได้ชาติหน้าที่ดีขึ้นใช่ไหม? บุญอยู่ที่ไหนก่อนหน้าที่มนุษย์ประดิษฐ์เงินตรา?
ใจเขาใจเรา!
ใช่! ใจเขาใจเรา! บุญแปลว่าการกระทำเรื่องดี บุญเป็นเรื่องการลดความเห็นแก่ตัว บุญคือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่กระทำสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นกระทำกับเรา
บุญมิใช่การกระทำที่ทำแล้วมีแต่เราเท่านั้นที่รู้สึกดี บุญไม่ใช่การเอาตัวเราเองเป็นตัวตั้ง บุญคือการคิดถึงคนอื่น ชีวิตอื่น แม้กระทั่งสิ่งไร้ชีวิตอื่นๆ บุญคือการเอาใจเขามาใส่ใจเราเสมอ ไม่ว่า ‘เขา’ จะเป็นเพียงสัตว์หรือพืช หรือโลกทั้งใบ
มองให้ดีจะเห็นว่าขอบเขตของ ‘บุญ’ และ ‘บาป’ กว้างกว่าแค่ชะตากรรมของมนุษย์คนหนึ่ง
ทุกศาสนาในโลก ไม่ว่าจะเป็นสายเทวนิยมหรืออเทวนิยม ล้วนมีหลักการหนึ่งที่เหมือนกันคือ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ทำเรื่องที่เราไม่อยากให้คนเราทำต่อเรา
บางทีสาระของการทำบุญก็มีเพียงเท่านี้ ที่เหลือเป็นแค่เปลือก
เพื่อนคนหนึ่งของผมบอกว่า ทำให้คนในบ้านกับคนรอบตัวมีความสุขก่อนคิดไปทำบุญที่ไหน
เรามักโยงบุญเข้ากับพิธีกรรมและศาสนา จนลืมไปว่าสาระของบุญมิได้อยู่ที่พิธีกรรมว่าต้องปล่อยนกกี่ตัว ปล่อยปลากี่ตัว ชาติหน้าจึงไม่เกิดใหม่เป็นแมลงสาบ
บางทีโลกอาจสวยงามขึ้นมากหากเราคิดให้ง่ายขึ้น อยากปล่อยนกปล่อยปลาให้เป็นอิสระจากความทุกข์ทรมานจริงๆ มีวิธีเดียวคือไม่ซื้อนกซื้อปลาไปปล่อย รักสัตว์จริงก็ไม่พรากพวกมันจากแม่มาเลี้ยงเพื่อความสุขของตนเองที่บ้าน รักสัตว์ป่าจริงก็เลิกเยือนสวนสัตว์ เมื่อไม่มีอุปสงค์ อุปทานก็หายไปเอง และการช่วยชีวิตสัตว์ก็จะเกิดขึ้นจริงๆ
ลองเปลี่ยนมุมมองว่า ‘การทำบุญ’ เป็นแค่การ ‘ออกกำลังกาย’ จิตใจของเรา เราออกกำลังกายโดยรู้ดีว่ามันไม่ทำให้เราตายแล้วขึ้นสวรรค์ หรือมีชาติหน้าที่ดีกว่าชาตินี้ เราออกกำลังกายเพื่อยกระดับสุขภาพของเรา เราก็สามารถทำอย่างเดียวกันโดยการออกกำลังทางจิต
การออกกำลังจิตมีหลายวิธี การทำบุญจริงๆ เป็นวิธีหนึ่ง การทำจิตให้สงบเป็นอีกวิธีหนึ่ง การไม่ใส่ขยะในใจก็เป็นวิธีหนึ่ง
การออกกำลังทางจิตทำให้ใจแข็งแรงขึ้น มันช่วยลดคอเลสเตอรอลแห่งความโลภ ลดสารพิษแห่งความหลง หลั่งสารเอ็นโดฟินแห่งความเมตตา ทำให้เรามีความพึงใจต่อการใช้ชีวิตในสถานะมนุษย์มากขึ้น
นี่ก็คือผลบุญแห่งชีวิตที่ได้มาจากการคิดถึงชีวิตอื่นก่อนตนเองเสมอ
วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
29 มิถุนายน 2556
http://www.winbookclub.com/article.php?articleid=453#453