คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
คือไม่ทราบว่าเจ้าของกระทู้ต้องการจะเทียบ Chomsky ในด้านไหนหรือคะ
จากที่เจ้าของกระทู้ตอบ:
"ผมเชื่อว่าถ้าคนเก่งมีความสามารถจริง ผลงานของเขาจะโดดเด่นและมีอิทธิพล ซึ่งชื่อเสียงของเขาก็จะตามมาเอง
อย่างผมอยู่สายวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) แต่ผลงานของ Chomsky หนังสือที่ผมอ่านที่เขาเขียนก็ชื่นชมมาก
ไม่จำเป็นเลยว่าอยู่คนละสายและจะไม่รู้จักกัน ถ้าเก่งจริงชื่อเสียงก็จะกระจายสู่สาธาณะเอง
ยกตัวอย่าง ชาลี แชปปุยก็ได้ เขาเก่งจริง คนหลากหลายอาชีพก็รู้จักเขา คนทั้งประเทศรู้จักเขาจะพูดแบบนั้นก็ได้
ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในวงการฟุตบอลเท่านั้น"
เข้าใจว่าเจ้าของกระทู้หมายถึง Chomsky มีอิทธิพลและคนก็รู้จักข้ามศาสตร์ได้เอง
แต่คิดว่าในตอนต้นที่พูดว่า "คนเก่งมีความสามารถจริง ผลงานของเขาจะโดดเด่นและมีอิทธิพล ซึ่งชื่อเสียงของเขาก็จะตามมาเอง" นี่ไม่ถูกต้องเสมอไปนะคะ
บนโลกนี้ "คนเก่งมีความสามารถจริง" เยอะมากค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถโดดเด่นและมีอิทธิพล และมีชื่อเสียงตามมาได้เสมอไปนะคะ
Chomsky นี่คือเขาพลิกหน้าประวัติศาสตร์ เปลี่ยนทิศทางภาษาศาสตร์ไปทั้งแขนงเลยนะคะ อย่างไรเขาก็ต้องมีอิทธิพลและชื่อเสียงแน่นอน
นักภาษาศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่เก่งและมีความสามารถจริงเนี่ยมีเยอะมากนะคะ แต่ตราบใดที่เขาไม่ได้พลิกทิศทางของแขนงวิชานั้นๆ ไปเลยแบบ Chomsky เขาก็ดังอยู่ได้แต่ในแขนงวิชาของตนเอง คนนอกที่ไม่ได้สนใจเข้ามาศึกษาจริงจังก็ไม่รู้จักหรอกค่ะ
แต่เขาเก่งจริงๆ เก่งมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
ขอโทษนะคะคุณ แต่ดิฉันรู้สึกว่าสิ่งที่คุณถามหามันไม่ realistic เลยอะค่ะ
คือไม่ต้องถามหาในเมืองไทยก็ได้ค่ะ ในโลกนี้ (ซึ่งจริงๆ มีนักภาษาศาสตร์ขั้นเทพเยอะมาก) นอกจาก Chomsky นี่คุณรู้จักใครอีกบ้างในวงการภาษาศาสตร์หรือใกล้เคียงอะคะ
เอาคนที่จบ MIT ก็ได้ค่ะ คือน่าจะตรงตามที่เจ้าของกระทู้บอกว่า "input เมพ => progress เมพ => output ก็ควรจะเมพ" เนี่ย เจ้าของกระทู้รู้จักนักภาษาศาสตร์ที่จบจาก MIT กี่คนคะ (Chomsky สอนที่ MIT แต่จบ Penn เพราะงั้นไม่นับนะคะ)
แล้วตัวอย่างที่คุณยกมาอย่าง ชัปปุยส์ เนี่ย ก็ออกจะนอกประเด็นไปหน่อยนะคะ คือคุณต้องดูบริบทด้วย
กีฬาฟุตบอลในตัวมันเองก็เป็นที่นิยม มีคนดูมากมายอยู่แล้ว แมตช์ระดับชาติ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
ออกสื่อให้ดูกันสดๆ จบแล้วก็ยังมีสื่อต่างๆ ทีวีทุกช่องทำข่าวมากมาย
แต่ตอนนักภาษาศาสตร์เขานั่งวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางภาษา ไม่ได้มีนักข่าวมาถ่ายทอดสดนี่คะ
ถึงมี ก็จะมีสักกี่คนกันที่มานั่งดู
อีกอย่างคือต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในตัวคนคนนั้นด้วยนะคะ เช่น Chomsky เขาก็ไม่ได้ทำงานแต่ภาษาศาสตร์อย่างเดียว เขายังวิพากษ์การเมืองและอะไรอีกมากมาย หรืออย่างชัปปุยส์ เขาก็หน้าตาดีมาก อีกคนที่ยิงประตูได้ในวันนั้นคือ เมสซี่เจ เมื่อกี้ดิฉันยังนึกชื่อไม่ออก ต้องไป google มาเลยค่ะ หรือจิตร ภูมิศักดิ์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ก็ไม่ได้ทำงานแต่ทางด้านภาษาศาสตร์นิรุกติศาสตร์เท่านั้น เขายังมีบทบาททางการเมืองมาก มากจนอาจจะเป็นสิ่งแรกที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อพูดถึงจิตร ภูมิศักดิ์ด้วยซ้ำ
สุดท้ายนี้ ดิฉันจะบอกว่ามันไม่จำเป็นขนาดนั้นหรอกค่ะ ที่จะต้องมีอิทธิพลและชื่อเสียง คือถ้ามีมันก็ดี แบบพูดอะไรคนก็หันมาสนใจ อาจช่วยเปลี่ยนทิศทางหรือปรับปรุงระบบอะไรในประเทศได้ แต่คนบางคนเขาก็แค่อยากจะทำงานที่เขาอยากจะทำ ตอบโจทย์ที่เขาอยากจะตอบ สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการในจุดที่เขายืน เท่านั้นเองค่ะ
แต่ก็เข้าใจได้อะนะคะ เพียงแต่รู้สึกว่าเจ้าของกระทู้อาจจะต้อง realistic กว่านี้สักหน่อย
และขอความกรุณาอย่าถือสาความขวานผ่าซากของดิฉันเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
จากที่เจ้าของกระทู้ตอบ:
"ผมเชื่อว่าถ้าคนเก่งมีความสามารถจริง ผลงานของเขาจะโดดเด่นและมีอิทธิพล ซึ่งชื่อเสียงของเขาก็จะตามมาเอง
อย่างผมอยู่สายวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) แต่ผลงานของ Chomsky หนังสือที่ผมอ่านที่เขาเขียนก็ชื่นชมมาก
ไม่จำเป็นเลยว่าอยู่คนละสายและจะไม่รู้จักกัน ถ้าเก่งจริงชื่อเสียงก็จะกระจายสู่สาธาณะเอง
ยกตัวอย่าง ชาลี แชปปุยก็ได้ เขาเก่งจริง คนหลากหลายอาชีพก็รู้จักเขา คนทั้งประเทศรู้จักเขาจะพูดแบบนั้นก็ได้
ไม่จำเป็นว่าต้องอยู่ในวงการฟุตบอลเท่านั้น"
เข้าใจว่าเจ้าของกระทู้หมายถึง Chomsky มีอิทธิพลและคนก็รู้จักข้ามศาสตร์ได้เอง
แต่คิดว่าในตอนต้นที่พูดว่า "คนเก่งมีความสามารถจริง ผลงานของเขาจะโดดเด่นและมีอิทธิพล ซึ่งชื่อเสียงของเขาก็จะตามมาเอง" นี่ไม่ถูกต้องเสมอไปนะคะ
บนโลกนี้ "คนเก่งมีความสามารถจริง" เยอะมากค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถโดดเด่นและมีอิทธิพล และมีชื่อเสียงตามมาได้เสมอไปนะคะ
Chomsky นี่คือเขาพลิกหน้าประวัติศาสตร์ เปลี่ยนทิศทางภาษาศาสตร์ไปทั้งแขนงเลยนะคะ อย่างไรเขาก็ต้องมีอิทธิพลและชื่อเสียงแน่นอน
นักภาษาศาสตร์ทั้งไทยและเทศที่เก่งและมีความสามารถจริงเนี่ยมีเยอะมากนะคะ แต่ตราบใดที่เขาไม่ได้พลิกทิศทางของแขนงวิชานั้นๆ ไปเลยแบบ Chomsky เขาก็ดังอยู่ได้แต่ในแขนงวิชาของตนเอง คนนอกที่ไม่ได้สนใจเข้ามาศึกษาจริงจังก็ไม่รู้จักหรอกค่ะ
แต่เขาเก่งจริงๆ เก่งมากๆๆๆๆๆๆๆๆ
ขอโทษนะคะคุณ แต่ดิฉันรู้สึกว่าสิ่งที่คุณถามหามันไม่ realistic เลยอะค่ะ
คือไม่ต้องถามหาในเมืองไทยก็ได้ค่ะ ในโลกนี้ (ซึ่งจริงๆ มีนักภาษาศาสตร์ขั้นเทพเยอะมาก) นอกจาก Chomsky นี่คุณรู้จักใครอีกบ้างในวงการภาษาศาสตร์หรือใกล้เคียงอะคะ
เอาคนที่จบ MIT ก็ได้ค่ะ คือน่าจะตรงตามที่เจ้าของกระทู้บอกว่า "input เมพ => progress เมพ => output ก็ควรจะเมพ" เนี่ย เจ้าของกระทู้รู้จักนักภาษาศาสตร์ที่จบจาก MIT กี่คนคะ (Chomsky สอนที่ MIT แต่จบ Penn เพราะงั้นไม่นับนะคะ)
แล้วตัวอย่างที่คุณยกมาอย่าง ชัปปุยส์ เนี่ย ก็ออกจะนอกประเด็นไปหน่อยนะคะ คือคุณต้องดูบริบทด้วย
กีฬาฟุตบอลในตัวมันเองก็เป็นที่นิยม มีคนดูมากมายอยู่แล้ว แมตช์ระดับชาติ ยิ่งไม่ต้องพูดถึง
ออกสื่อให้ดูกันสดๆ จบแล้วก็ยังมีสื่อต่างๆ ทีวีทุกช่องทำข่าวมากมาย
แต่ตอนนักภาษาศาสตร์เขานั่งวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางภาษา ไม่ได้มีนักข่าวมาถ่ายทอดสดนี่คะ
ถึงมี ก็จะมีสักกี่คนกันที่มานั่งดู
อีกอย่างคือต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ในตัวคนคนนั้นด้วยนะคะ เช่น Chomsky เขาก็ไม่ได้ทำงานแต่ภาษาศาสตร์อย่างเดียว เขายังวิพากษ์การเมืองและอะไรอีกมากมาย หรืออย่างชัปปุยส์ เขาก็หน้าตาดีมาก อีกคนที่ยิงประตูได้ในวันนั้นคือ เมสซี่เจ เมื่อกี้ดิฉันยังนึกชื่อไม่ออก ต้องไป google มาเลยค่ะ หรือจิตร ภูมิศักดิ์ที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ก็ไม่ได้ทำงานแต่ทางด้านภาษาศาสตร์นิรุกติศาสตร์เท่านั้น เขายังมีบทบาททางการเมืองมาก มากจนอาจจะเป็นสิ่งแรกที่คนทั่วไปนึกถึงเมื่อพูดถึงจิตร ภูมิศักดิ์ด้วยซ้ำ
สุดท้ายนี้ ดิฉันจะบอกว่ามันไม่จำเป็นขนาดนั้นหรอกค่ะ ที่จะต้องมีอิทธิพลและชื่อเสียง คือถ้ามีมันก็ดี แบบพูดอะไรคนก็หันมาสนใจ อาจช่วยเปลี่ยนทิศทางหรือปรับปรุงระบบอะไรในประเทศได้ แต่คนบางคนเขาก็แค่อยากจะทำงานที่เขาอยากจะทำ ตอบโจทย์ที่เขาอยากจะตอบ สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการในจุดที่เขายืน เท่านั้นเองค่ะ
แต่ก็เข้าใจได้อะนะคะ เพียงแต่รู้สึกว่าเจ้าของกระทู้อาจจะต้อง realistic กว่านี้สักหน่อย
และขอความกรุณาอย่าถือสาความขวานผ่าซากของดิฉันเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ความคิดเห็นที่ 31
คิดว่าจขกท คงใช้ chomsky เป็นแค่ตัวอย่าง (เพราะคิดว่า น่าจะเคยได้ยินชื่อกัน ทั้งผู้เรียนในสายภาษา และนอกสายภาษา) คงไม่ได้หมายความว่ามี chomsky เป็น reference point คนเดียว
เข้าเรื่อง...
อักษรจุฬา ยังไงก็ทำไม่ได้ครับ... เพราะ
1) หลักสูตรและแนวการสอน คือ การสอนแบบ ESL (English as a second language) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม (เช่น นักเรียนไม่ได้เป็น native speaker, etc) ... ยกตัวอย่างภาคอังกฤษ เวลาเค้าสอน เค้าจะมีวิชาประเภท reading, background to american literature, background to british literature, speaking, phonetics for pronunciation, translation, introduction to translation, intermediate translation... ซึ่งวิชาพวกนี้ นักเรียนอเมริกันไม่จำเป็นต้องเรียน (เพราะพูดได้แล้ว เพราะออกเสียงได้แล้วหรืออะไรก็แล้วแต่)... และวิชาที่เค้าเรียน ไม่ใช่เป็นประเภท background to... แต่เป็นวิชาเจาะไปเลย เช่น american literature from X to Y period เป็นต้น...
ส่วนคอร์สออกเสียง เรียนไป ได้ดีสุด ก็สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา แต่จริงๆแล้วไม่ได้มีการสร้างองค์ความรู้อะไรใหม่ (ในเชิง chomsky สร้าง) อะไรสักอย่าง
นี่ยังไม่นับว่าที่เรียน มันทฤษฎีเก่าดึกดำบรรพ์ ขนาดปี 1950 ที่มันตกยุคไปแล้ว ยังเอามาสอนกันอยู่ (และไม่ได้สอนในเชิง development และ movement แต่สอนในเชิงว่า อันนี้คือ สิ่งที่เรียกว่า ทฤษฏีไวยากรณ์ ฯลฯ) ... เช่น ในวิชา syntax ใช้ทฤษฏี structuralism ซึ่งเก่าและ chomsky ได้มาทำลายล้างไป ... แต่ยังให้นิสิตเรียนราวกับว่า นี่คือ สิ่งที่เรียกว่า ทฤษฏีไวยากรณ์
2. คุณภาพอาจารย์ คุณลองเปิดโปรไฟล์อจ. ภาคอังกฤษ http://www.arts.chula.ac.th/~english/ ดูจำนวนคนจบ ดร. เทียบกับคนจบโท หรือตรี (มีอาจารย์จบตรีด้วยซ้ำ)... ในขณะที่ต่างประเทศ เค้าไม่รับคนจบโท และอย่าพูดถึงเป็นอจ. ด้วยวุฒิปริญญาตรี รอส่งไปเรียนต่อเลยครับ....
และถึงแม้มีอจ. ที่เป็นดร. แล้ว ... ก็หาคนทำวิจัยน้อยมาก... คุณลองไล่โพรไฟล์แต่ละคน... มีคนไหนมีบทความลง international journal ระดับที่ถือว่าเป็นแนวหน้าในสายนั้นๆบ้าง... ตอบตรงๆ ยังไม่เห็นสักคน... หลายๆคนได้ตำแหน่ง ผศ รศ จากหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทย (แต่สอนภาษาอังกฤษ???) และตีพิมพ์ที่สนพ. จุฬา ... ยังไม่นับว่า หลายคนทำงานมาสามสี่สิบปี ไม่เคยตีพิมพ์อะไรเลยสักหน้าเดียว (แต่อยู่ได้จนเกษียณ สอนวิชาเดิมๆ ทุกปีๆๆๆ)
คงไม่ใช่ว่า หนังสือหรือบทความเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ แต่เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ผ่านการคัดกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็น international ต่างหาก...
อีกอย่าง ผู้เชี่ยวชาญมีไม่ครบด้าน ... ในต่างประเทศ ในภาคภาษาอังกฤษ เค้าจะมีแยกย่อย เช่น วรรณคดีสมัย anglo-saxon, สมัย medieval, สมัย renaissance และอื่นๆ เช่น rhetoric composition แต่ในประเทศไทย หาสักคนที่เชี่ยวชาญเช่น anglo-saxon หรือ medieval หรือ renaissance ยังไม่มีสักคน...จะเอาใครมาพัฒนานักศึกษาไปถึงยอดครับ?
3) ไม่มีการเปิดรับความคิดใหม่ๆ เช่น ในวิชา phonetics for pronunciation ... เวลาสอบ ก็จะให้ transcribe เสียงอ่านเป็นตัวสัญลักษณ์ทางสัทวิทยา.... แต่ถูกหรือผิด จะได้คะแนนหรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่านักเรียนจำสิ่งที่สอนได้หรือไม่ หรือสิ่งที่เขียนมานั้น มันตรงตาม dictionary หรือไม่ (คือ ยึด dictionary เป็นคำตอบนั่นเอง เพราะตัวครูผู้สอนเองก็ใช่ native speaker ซะที่ไหน ครูก็ต้องเปิด dic มาเหมือนกัน)...
แต่ที่แย่ไปกว่านั้น คือ ในขณะที่นักวิชาการทั่วโลก(ในปัจจบัน) เค้าตั้งคำถามถึงการมีอยู่ถึง ภาษาแบบมาตรฐาน หรือแม้กระทั่ง อะไรคือ ภาษามาตรฐานแบบอเมริกัน...(คำตอบคือ "ไม่มี" สิ่งที่เรียกว่า การออกเสียงที่มาตรฐานหรือการออกเสียงที่ถูกต้องอยู่จริง) .... แต่คณะอักษร สอนราวกับว่า สิ่งนั้นมันมีอยู่ และ perpetuate ความเชื่อผิดๆนี้ไป... ในขณะที่ถ้าเป็นที่อเมริกา ถ้าให้นักเรียนถอดเสียง ก็ให้ถอดเสียงเป็นสิ่งที่ตัวเองออกเสียงได้เลย ไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นไหน ขอแค่ไม่ใช่ผิดเพราะสับสนตัวสัญลักษณ์ทางเสียงเป็นพอ)....
มันมีอีกหลายปัจจัย แต่เอาแค่นี้ก่อน
เข้าเรื่อง...
อักษรจุฬา ยังไงก็ทำไม่ได้ครับ... เพราะ
1) หลักสูตรและแนวการสอน คือ การสอนแบบ ESL (English as a second language) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม (เช่น นักเรียนไม่ได้เป็น native speaker, etc) ... ยกตัวอย่างภาคอังกฤษ เวลาเค้าสอน เค้าจะมีวิชาประเภท reading, background to american literature, background to british literature, speaking, phonetics for pronunciation, translation, introduction to translation, intermediate translation... ซึ่งวิชาพวกนี้ นักเรียนอเมริกันไม่จำเป็นต้องเรียน (เพราะพูดได้แล้ว เพราะออกเสียงได้แล้วหรืออะไรก็แล้วแต่)... และวิชาที่เค้าเรียน ไม่ใช่เป็นประเภท background to... แต่เป็นวิชาเจาะไปเลย เช่น american literature from X to Y period เป็นต้น...
ส่วนคอร์สออกเสียง เรียนไป ได้ดีสุด ก็สำเนียงเหมือนเจ้าของภาษา แต่จริงๆแล้วไม่ได้มีการสร้างองค์ความรู้อะไรใหม่ (ในเชิง chomsky สร้าง) อะไรสักอย่าง
นี่ยังไม่นับว่าที่เรียน มันทฤษฎีเก่าดึกดำบรรพ์ ขนาดปี 1950 ที่มันตกยุคไปแล้ว ยังเอามาสอนกันอยู่ (และไม่ได้สอนในเชิง development และ movement แต่สอนในเชิงว่า อันนี้คือ สิ่งที่เรียกว่า ทฤษฏีไวยากรณ์ ฯลฯ) ... เช่น ในวิชา syntax ใช้ทฤษฏี structuralism ซึ่งเก่าและ chomsky ได้มาทำลายล้างไป ... แต่ยังให้นิสิตเรียนราวกับว่า นี่คือ สิ่งที่เรียกว่า ทฤษฏีไวยากรณ์
2. คุณภาพอาจารย์ คุณลองเปิดโปรไฟล์อจ. ภาคอังกฤษ http://www.arts.chula.ac.th/~english/ ดูจำนวนคนจบ ดร. เทียบกับคนจบโท หรือตรี (มีอาจารย์จบตรีด้วยซ้ำ)... ในขณะที่ต่างประเทศ เค้าไม่รับคนจบโท และอย่าพูดถึงเป็นอจ. ด้วยวุฒิปริญญาตรี รอส่งไปเรียนต่อเลยครับ....
และถึงแม้มีอจ. ที่เป็นดร. แล้ว ... ก็หาคนทำวิจัยน้อยมาก... คุณลองไล่โพรไฟล์แต่ละคน... มีคนไหนมีบทความลง international journal ระดับที่ถือว่าเป็นแนวหน้าในสายนั้นๆบ้าง... ตอบตรงๆ ยังไม่เห็นสักคน... หลายๆคนได้ตำแหน่ง ผศ รศ จากหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทย (แต่สอนภาษาอังกฤษ???) และตีพิมพ์ที่สนพ. จุฬา ... ยังไม่นับว่า หลายคนทำงานมาสามสี่สิบปี ไม่เคยตีพิมพ์อะไรเลยสักหน้าเดียว (แต่อยู่ได้จนเกษียณ สอนวิชาเดิมๆ ทุกปีๆๆๆ)
คงไม่ใช่ว่า หนังสือหรือบทความเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ แต่เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นไม่ได้ผ่านการคัดกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็น international ต่างหาก...
อีกอย่าง ผู้เชี่ยวชาญมีไม่ครบด้าน ... ในต่างประเทศ ในภาคภาษาอังกฤษ เค้าจะมีแยกย่อย เช่น วรรณคดีสมัย anglo-saxon, สมัย medieval, สมัย renaissance และอื่นๆ เช่น rhetoric composition แต่ในประเทศไทย หาสักคนที่เชี่ยวชาญเช่น anglo-saxon หรือ medieval หรือ renaissance ยังไม่มีสักคน...จะเอาใครมาพัฒนานักศึกษาไปถึงยอดครับ?
3) ไม่มีการเปิดรับความคิดใหม่ๆ เช่น ในวิชา phonetics for pronunciation ... เวลาสอบ ก็จะให้ transcribe เสียงอ่านเป็นตัวสัญลักษณ์ทางสัทวิทยา.... แต่ถูกหรือผิด จะได้คะแนนหรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่านักเรียนจำสิ่งที่สอนได้หรือไม่ หรือสิ่งที่เขียนมานั้น มันตรงตาม dictionary หรือไม่ (คือ ยึด dictionary เป็นคำตอบนั่นเอง เพราะตัวครูผู้สอนเองก็ใช่ native speaker ซะที่ไหน ครูก็ต้องเปิด dic มาเหมือนกัน)...
แต่ที่แย่ไปกว่านั้น คือ ในขณะที่นักวิชาการทั่วโลก(ในปัจจบัน) เค้าตั้งคำถามถึงการมีอยู่ถึง ภาษาแบบมาตรฐาน หรือแม้กระทั่ง อะไรคือ ภาษามาตรฐานแบบอเมริกัน...(คำตอบคือ "ไม่มี" สิ่งที่เรียกว่า การออกเสียงที่มาตรฐานหรือการออกเสียงที่ถูกต้องอยู่จริง) .... แต่คณะอักษร สอนราวกับว่า สิ่งนั้นมันมีอยู่ และ perpetuate ความเชื่อผิดๆนี้ไป... ในขณะที่ถ้าเป็นที่อเมริกา ถ้าให้นักเรียนถอดเสียง ก็ให้ถอดเสียงเป็นสิ่งที่ตัวเองออกเสียงได้เลย ไม่ว่าจะเป็นภาษาถิ่นไหน ขอแค่ไม่ใช่ผิดเพราะสับสนตัวสัญลักษณ์ทางเสียงเป็นพอ)....
มันมีอีกหลายปัจจัย แต่เอาแค่นี้ก่อน
ความคิดเห็นที่ 29
ตอบเจ้าของกระทู้ ความเห็นที่ 26
"คนเก่ง ยังไงก็ต้องมีผลงาน คนรู้จัก คนรู้จักนี่ผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทยอย่างเดียวครับ อย่างแดนอรัญ แสงทองนี่ถ้าพูดถึงคนรู้จัก คนตปทก็รู้จักเขาหลายคนจากงานเขียนของเขา อย่าง Chomsky ก็ไม่ได้รู้จักแค่ในอเมริกา
ถ้าจะเป็นแบบนั้นก็ต้องถามว่า มีนักภาษาศาสตร์ในไทยที่เก่งๆ แต่คนไทยไม่รู้จัก แต่มีผลงานมากมาย จนตปทรู้จักยกย่องบ้างไหม ช่วยยกตัวอย่างรายชื่อให้ทีครับ"
นักภาษาศาสตร์ในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จักในวงวิชาการต่างประเทศก็อย่างคณาจารย์ภาคภาษาศาสตร์ ที่จุฬาฯ ไงคะ
แต่ไม่ใช่หน้าที่ของดิฉันที่ต้อง list ออกมาให้คุณทั้งหมด คุณ google เองก็พบ
ดิฉันเคยพูดคุยส่วนตัวกับอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งในอเมริกา อาจารย์เขาก็ยกย่องอาจารย์ที่ภาคภาษาศาสตร์ จุฬาฯว่ามีชื่อเสียงมากและเขาไม่กังขาใดๆ
เพียงแต่คุณก็ต้องเปิดใจกว้างสักนิดว่าจะให้ดังอย่างนักเขียนวรรณกรรม มันคงไม่ใช่
แต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการต่างประเทศนี่เป็นไปได้ และเป็นไปแล้ว
แล้วที่คุณพูดว่า "ส่วนจะมองว่าเราไม่ต้องมีคนเก่งมากๆ ก็อยู่ได้ไม่มีปัญหาอะไร แบบนี้ก็ถูก เหมือนบอกว่าชาวเขา ทำไร่ทำนาไม่ต้องรู้จักอะไรมากก็อยู่ได้ ไม่ได้ดูถูกนะ แต่มายถึงคือพวกเขาก็อยู่กันได้
แต่ถ้าเป็นยุคปัจจุบัน พูดถึงในระดับประเทศ ความสามารถในการแข่งขัน competitiveness ไม่ว่าสาขาวิชาใดก็จำเป็นต้องการคนเก่งๆทั้งสิ้น
ถ้าขาดคนเก่ง ประเทศก็มีปัญหาด้าน competitiveness แน่นอน
ดังนั้นผมมองว่านี่แหละเป็นปัญหาครับ "
อีกครั้งคือดิฉันไม่ได้พูดสักนิดว่า "ไม่มีคนเก่งมากไม่เป็นไรก็อยู่กันได้" แต่ถ้าคุณหมายถึงว่าจะต้องมี "คนอย่าง Chomsky" ถึงเรียกว่า "เก่งมาก" มันก็ไม่ใช่ไงคะ
อีกประเด็นนึงที่ดิฉันเห็นว่าต่างคือ แขนงต่างๆ ในวิทยาศาสตร์เนี่ยถือว่าค่อนข้างเป็นสากลอะค่ะ
แต่พอมาถึงภาษาศาสตร์ จะเริ่ม prove Universal Grammar มันก็ต้องเริ่มจากภาษาที่เรารู้ดีก่อน อย่าง Chomsky ดูภาษาอังกฤษ แล้วพอดีคนในโลกนี้ก็เป็นภาษาอังกฤษกันมากเสียด้วย ก็เลยเกิดการโต้เถียงกันได้มาก ได้กว้างขวาง คนอื่นๆ เริ่มเอาภาษาอื่นๆ มาท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ
นักภาษาศาสตร์ในไทยก็เริ่มต้นจากการทำงานด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทยเป็นหลัก ไม่ใช่ภาษาที่คนทั่วโลกเขารู้กันดีมาก
ต่างชาติเขามองงาน เขาก็ว่าน่าสนใจและยอมรับ แต่เขาก็มีข้อจำกัดในการที่จะลงมาร่วมวิเคราะห์และโต้เถียงด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีใครทำ อาจารย์ภาษาศาสตร์ต่างประเทศเขียนวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย อ้างอิงงานของนักภาษาศาสตร์ของไทยตั้งมากมาย
ถ้าคุณเปิดใจที่จะเรียนรู้จริงๆ ข้อมูลสมัยนี้หาง่ายจะตาย ไม่ต้องมาถามเอาในพันทิปหรอกค่ะ
สิ่งที่คุณพูดดูเป็นการกล่าวหาทั้งนั้น คุณพูดค่อนข้างแรงเลยนะคะที่คุณบอกว่า
"สมมติอาจารย์ด้านภาษาหรือคนที่เกี่ยวข้องมีความคิดว่าไม่มีคนเก่งมากไม่เป็นไรก็อยู่กันได้ มีเงินเดือน ไม่ต้องพัฒนาอะไร แบบนี้ผมมองว่าปัญหาหนักเลยครับ อย่างสายวิทย์เนี่ยพวกเด็กฟิสิกส์โอลิมปิกมอปลายนี่หลายคนอยากได้รางวัลโนเบล มีการตั้งเป้าหมาย พัฒนาตนเองไปแข่งระดับชาติ นานาชาติ พวกเขาอาจจะไม่ได้ก็ได้ แต่พวกเขาก็พัฒนามุ่งมั่นตลอด ไม่เคยมองว่าเป้าหมายสิ่งที่เขาตั้งมันไม่ realistic เลย ชอบการแข่งขัน พอมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็กระตือรือร้นผลิตงานวิจัยได้ตีพิมพ์วารสารระดับโลก มีค่า IF สูงหลายเรื่อง เด็กเก่งๆถึงเลือกมาเรียนสายวิทย์บางส่วนก็เพราะแบบนี้แหละครับ"
คุณกำลังเทียบว่าสายวิทย์กระตือรือร้นแต่สายศิลป์นอนกินเงินเดือน ไม่ได้คิดจะพัฒนาตัวเองให้เก่งมาก
คุณทราบได้อย่างไรคะว่าขณะนี้ไม่ได้มีคนนอกสายวิทย์ที่กำลังพยายามเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ในวงวิชาการระดับนานาชาติได้
ถึงคุณจะใช้คำว่า "สมมติ" แต่คุณก็ค่อนข้างเหยียดสายชัดเจน
แล้วคนที่คุณยกตัวอย่างมาแต่ละคน ถ้าไม่ cliché ก็หัวออกสายวิทย์ทั้งนั้น คือคุณจะยกย่องใครก็ได้ แต่ก็อย่ากดอีกสายหรือคนที่มีปรัชญาชีวิตต่างจากคุณให้จมลงไปสิคะ
ขอโทษนะคะคุณ แต่ดิฉันเสียเวลากับตรงนี้มากไปแล้ว
ฉันหนะเรียนภาษาศาสตร์อยู่ คุณก็คงทราบว่าเป็นแขนงที่อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองสาย
แต่บางทีฉันก็อยากจะไปในสายที่มีความเป็นมนุษยศาสตร์มากกว่านี้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะเวลาเจอคนอย่างคุณแล้วต้องเถียงให้ปวดหัวเนี่ย
ยิ่งไอ้ตอนคุณพูดถึง "ชาวเขา ทำไร่ทำนา" แล้วต่อด้วยว่า "ไม่ได้ดูถูกนะ" เนี่ย มันก็ค่อนข้างชัดเจนอะว่าในใจคุณลึกๆ ก็มองเขาว่าต่ำกว่า ถึงต้องป้องตัวว่า "ไม่ได้ดูถูกนะ"
เฮ้ยคุณ คือเถียงกันมันก็ดี แต่พอคุณเอาอะไรมาปนเยอะๆ แล้วทำให้ดิฉันปวดหัวอะ
ขอตัวจริงๆ ฉันจะไม่เปิดกระทู้นี้อีกจนกว่างานจะเสร็จ
ขอโทษที่พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะคุณก็ยำประเด็นมาเหมือนกันอะนะ
"คนเก่ง ยังไงก็ต้องมีผลงาน คนรู้จัก คนรู้จักนี่ผมไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนไทยอย่างเดียวครับ อย่างแดนอรัญ แสงทองนี่ถ้าพูดถึงคนรู้จัก คนตปทก็รู้จักเขาหลายคนจากงานเขียนของเขา อย่าง Chomsky ก็ไม่ได้รู้จักแค่ในอเมริกา
ถ้าจะเป็นแบบนั้นก็ต้องถามว่า มีนักภาษาศาสตร์ในไทยที่เก่งๆ แต่คนไทยไม่รู้จัก แต่มีผลงานมากมาย จนตปทรู้จักยกย่องบ้างไหม ช่วยยกตัวอย่างรายชื่อให้ทีครับ"
นักภาษาศาสตร์ในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จักในวงวิชาการต่างประเทศก็อย่างคณาจารย์ภาคภาษาศาสตร์ ที่จุฬาฯ ไงคะ
แต่ไม่ใช่หน้าที่ของดิฉันที่ต้อง list ออกมาให้คุณทั้งหมด คุณ google เองก็พบ
ดิฉันเคยพูดคุยส่วนตัวกับอาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคุณภาพแห่งหนึ่งในอเมริกา อาจารย์เขาก็ยกย่องอาจารย์ที่ภาคภาษาศาสตร์ จุฬาฯว่ามีชื่อเสียงมากและเขาไม่กังขาใดๆ
เพียงแต่คุณก็ต้องเปิดใจกว้างสักนิดว่าจะให้ดังอย่างนักเขียนวรรณกรรม มันคงไม่ใช่
แต่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการต่างประเทศนี่เป็นไปได้ และเป็นไปแล้ว
แล้วที่คุณพูดว่า "ส่วนจะมองว่าเราไม่ต้องมีคนเก่งมากๆ ก็อยู่ได้ไม่มีปัญหาอะไร แบบนี้ก็ถูก เหมือนบอกว่าชาวเขา ทำไร่ทำนาไม่ต้องรู้จักอะไรมากก็อยู่ได้ ไม่ได้ดูถูกนะ แต่มายถึงคือพวกเขาก็อยู่กันได้
แต่ถ้าเป็นยุคปัจจุบัน พูดถึงในระดับประเทศ ความสามารถในการแข่งขัน competitiveness ไม่ว่าสาขาวิชาใดก็จำเป็นต้องการคนเก่งๆทั้งสิ้น
ถ้าขาดคนเก่ง ประเทศก็มีปัญหาด้าน competitiveness แน่นอน
ดังนั้นผมมองว่านี่แหละเป็นปัญหาครับ "
อีกครั้งคือดิฉันไม่ได้พูดสักนิดว่า "ไม่มีคนเก่งมากไม่เป็นไรก็อยู่กันได้" แต่ถ้าคุณหมายถึงว่าจะต้องมี "คนอย่าง Chomsky" ถึงเรียกว่า "เก่งมาก" มันก็ไม่ใช่ไงคะ
อีกประเด็นนึงที่ดิฉันเห็นว่าต่างคือ แขนงต่างๆ ในวิทยาศาสตร์เนี่ยถือว่าค่อนข้างเป็นสากลอะค่ะ
แต่พอมาถึงภาษาศาสตร์ จะเริ่ม prove Universal Grammar มันก็ต้องเริ่มจากภาษาที่เรารู้ดีก่อน อย่าง Chomsky ดูภาษาอังกฤษ แล้วพอดีคนในโลกนี้ก็เป็นภาษาอังกฤษกันมากเสียด้วย ก็เลยเกิดการโต้เถียงกันได้มาก ได้กว้างขวาง คนอื่นๆ เริ่มเอาภาษาอื่นๆ มาท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ
นักภาษาศาสตร์ในไทยก็เริ่มต้นจากการทำงานด้านภาษาศาสตร์ภาษาไทยเป็นหลัก ไม่ใช่ภาษาที่คนทั่วโลกเขารู้กันดีมาก
ต่างชาติเขามองงาน เขาก็ว่าน่าสนใจและยอมรับ แต่เขาก็มีข้อจำกัดในการที่จะลงมาร่วมวิเคราะห์และโต้เถียงด้วย
แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีใครทำ อาจารย์ภาษาศาสตร์ต่างประเทศเขียนวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทย อ้างอิงงานของนักภาษาศาสตร์ของไทยตั้งมากมาย
ถ้าคุณเปิดใจที่จะเรียนรู้จริงๆ ข้อมูลสมัยนี้หาง่ายจะตาย ไม่ต้องมาถามเอาในพันทิปหรอกค่ะ
สิ่งที่คุณพูดดูเป็นการกล่าวหาทั้งนั้น คุณพูดค่อนข้างแรงเลยนะคะที่คุณบอกว่า
"สมมติอาจารย์ด้านภาษาหรือคนที่เกี่ยวข้องมีความคิดว่าไม่มีคนเก่งมากไม่เป็นไรก็อยู่กันได้ มีเงินเดือน ไม่ต้องพัฒนาอะไร แบบนี้ผมมองว่าปัญหาหนักเลยครับ อย่างสายวิทย์เนี่ยพวกเด็กฟิสิกส์โอลิมปิกมอปลายนี่หลายคนอยากได้รางวัลโนเบล มีการตั้งเป้าหมาย พัฒนาตนเองไปแข่งระดับชาติ นานาชาติ พวกเขาอาจจะไม่ได้ก็ได้ แต่พวกเขาก็พัฒนามุ่งมั่นตลอด ไม่เคยมองว่าเป้าหมายสิ่งที่เขาตั้งมันไม่ realistic เลย ชอบการแข่งขัน พอมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยก็กระตือรือร้นผลิตงานวิจัยได้ตีพิมพ์วารสารระดับโลก มีค่า IF สูงหลายเรื่อง เด็กเก่งๆถึงเลือกมาเรียนสายวิทย์บางส่วนก็เพราะแบบนี้แหละครับ"
คุณกำลังเทียบว่าสายวิทย์กระตือรือร้นแต่สายศิลป์นอนกินเงินเดือน ไม่ได้คิดจะพัฒนาตัวเองให้เก่งมาก
คุณทราบได้อย่างไรคะว่าขณะนี้ไม่ได้มีคนนอกสายวิทย์ที่กำลังพยายามเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ในวงวิชาการระดับนานาชาติได้
ถึงคุณจะใช้คำว่า "สมมติ" แต่คุณก็ค่อนข้างเหยียดสายชัดเจน
แล้วคนที่คุณยกตัวอย่างมาแต่ละคน ถ้าไม่ cliché ก็หัวออกสายวิทย์ทั้งนั้น คือคุณจะยกย่องใครก็ได้ แต่ก็อย่ากดอีกสายหรือคนที่มีปรัชญาชีวิตต่างจากคุณให้จมลงไปสิคะ
ขอโทษนะคะคุณ แต่ดิฉันเสียเวลากับตรงนี้มากไปแล้ว
ฉันหนะเรียนภาษาศาสตร์อยู่ คุณก็คงทราบว่าเป็นแขนงที่อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองสาย
แต่บางทีฉันก็อยากจะไปในสายที่มีความเป็นมนุษยศาสตร์มากกว่านี้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะเวลาเจอคนอย่างคุณแล้วต้องเถียงให้ปวดหัวเนี่ย
ยิ่งไอ้ตอนคุณพูดถึง "ชาวเขา ทำไร่ทำนา" แล้วต่อด้วยว่า "ไม่ได้ดูถูกนะ" เนี่ย มันก็ค่อนข้างชัดเจนอะว่าในใจคุณลึกๆ ก็มองเขาว่าต่ำกว่า ถึงต้องป้องตัวว่า "ไม่ได้ดูถูกนะ"
เฮ้ยคุณ คือเถียงกันมันก็ดี แต่พอคุณเอาอะไรมาปนเยอะๆ แล้วทำให้ดิฉันปวดหัวอะ
ขอตัวจริงๆ ฉันจะไม่เปิดกระทู้นี้อีกจนกว่างานจะเสร็จ
ขอโทษที่พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะคุณก็ยำประเด็นมาเหมือนกันอะนะ
แสดงความคิดเห็น
คณะอักษรศาสตร์ในไทยที่ว่ายากๆทำไมถึงไม่สามารถสร้างคนแบบ Noam Chomsky ออกมาได้ หรือว่ามีแต่ผมไม่รู้จักเอง ?
Avram Noam Chomsky (born December 7, 1928) is an American linguist, philosopher, cognitive scientist, logician,political commentator and anarcho-syndicalist activist. Sometimes described as the "father of modern linguistics", Chomsky is also a major figure in analytic philosophy. He has spent most of his career at the Massachusetts Institute of Technology (MIT), where he is currently Professor Emeritus, and has authored over 100 books. He has been described as a prominent cultural figure, and was voted the "world's top public intellectual" in a 2005 poll.
http://en.wikipedia.org/wiki/Noam_Chomsky